ASTVผู้จัดการรายวัน - ผวาลงทุนญี่ปุ่นหนีไทย “กนอ.” กล่อมนักลงทุนให้เห็นถึงความสำคัญการดูแลสิ่งแวดล้อมคู่กับชุมชน ยันไปที่ไหนท้ายสุดจะต้องเจอปัญหานี้ เหตุทุกประเทศมู่งสู่กระแสลดโลกร้อน ”อมตะ”หวั่นเกิดวิกฤติลงทุนไทยหลังยุ่นออกมาลดชั้น ปตท.ยันไม่เคยเจรจาปรับโครงสร้างหนี้หรือขอยืดการชำระหนี้
ยุ่นลดชั้นหวั่นเกิดวิกฤตลงทุนไทย
นายประสาน ตันประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(บอร์ดกนอ.) เปิดเผยว่า นักลงทุนญี่ปุ่นได้ส่งสัญญาณการลงทุนในไทยแล้ว ดังนั้นกนอ.คงจะต้องทำหน้าที่ในการชี้แจงให้นักลงทุนเข้าใจว่า การลงทุนจำเป็นต้องมาคู่กับการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งในอนาคตเชื่อว่าไม่ว่าประเทศใดๆ เมื่อการพัฒนาถึงจุดหนึ่งก็จะต้องหันกลับมาดูแลในเรื่องนี้ เพราะกระแสโลกกำลังมุ่งไปสู่การดูแลปัญหาโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้น
**25 กิจการมีลุ้นแต่ยังติดคดีหลัก
ทั้งนี้ 64 กิจการเริ่มทยอยยื่นศาลปกครองกลางในการขอเพิกถอนคำสั่งการระงับกิจการชั่วคราวบ้างแล้วซึ่งส่วนตัวมองว่ามีเพียง 25 กิจการที่มีโอกาสลุ้นพ้นการถูกระงับกิจการมากสุด แต่ที่เหลืออาจจะยาก ดังนั้นสิ่งที่เอกชนและกนอ.กังวลยังไม่สิ้นสุด เนื่องจากแม้ว่ากิจการเหล่านี้จะมีความชัดเจนในแง่ต่างๆมากขึ้น แต่คดีหลักยังคงอยู่และยังไม่รู้ว่าข้างหน้าจะออกมาในรูปใดอีก
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ญี่ปุ่นมีการลงทุนไทยเป็นอันดับ 1 ผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) โดยแต่ละปีเฉลี่ยคิดเป็นมูลค่าประมาณแสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเกือบร้อยละ 50-60 จากการลงทุนตรงจากต่างประเทศ(FDI) เชื่อว่านักลงทุนญี่ปุ่นจะยังไม่คิดย้ายฐานการผลิตจากไทย เนื่องจากการลงทุนเป็นระยะยาว แต่สิ่งที่กังวลคือการลงทุนใหม่ที่อาจต้องชะลอการตัดสินใจได้
“หากปัญหามาบตาพุดไม่เห็นภาพชัดเจนในระยะ 2-3 เดือนนี้ ก็อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจใน 2 รูปแบบคือ ชะลอการลงทุนออกไปก่อน และอาจมองหาประเทศอื่นๆที่ใกล้เคียงกับไทย” แหล่งข่าวกล่าว
**มองเป็นวิกฤติลงทุนไทย
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อมตะคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นได้ส่งสัญญาณถึงความเชื่อมั่นต่อไทยที่ลดลงในการลงทุนหลังจากเกิดกรณีปัญหามาบตาพุด นี่คือวิกฤติการลงทุนไทย เนื่องจากญี่ปุ่นลงทุนมากสุดเช่นเดียวกับกรณีของนิคมอุตสาหกรรมอมตะที่ร้อยละ 60 เป็นนักลงทุนญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนดังนั้นรัฐบาลจะต้องกล้าฟันธงในการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจนโดยเร็วสุด
“ถ้าความเชื่อมั่นเขาสั่นคลอนจนลดชั้นการลงทุนในไทยยุ่งแน่นอนและหากเขาย้ายไปที่อื่นการดึงการลงทุนกลับมาไม่ใช่เรื่องสนุก" นายวิบูลย์กล่าว
**เอกชนจี้รัฐแจงผลทำงานดึงเชื่อมั่น
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)กล่าวว่า การที่ญี่ปุ่นออกมาส่งสัญญาณต่อการลงทุนในประเทศไทยกรณีมาบตาพุด เชื่อมั่นว่าคงจะยังไม่ถึงกับย้ายฐานการผลิตเพราะไทยมีบรรยากาศในหลายๆเรื่องที่ดีกว่าหากเทียบกับบางประเทศในอาเซียน ดังนั้นรัฐบาลต้องสร้างบรรยากาศให้นักลงทุนเห็นถึงทิศทางการทำงานเช่นคณะกรรมการ 4 ฝ่ายควรจะชี้แจงถึงความคืบหน้าของการหารือเป็นระยะ
นายสมมาต ขุนเศษฐ รองเลขาธิการส.อ.ท.กล่าวว่า ปัญหามาบตาพุดกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงทางธุรกิจปี 2553 เพราะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนแต่การลงทุนไทยใหม่ๆ นั้นอาจจะมีผลต่อการตัดสินใจและชะลอออกไปจนกว่าจะมีความชัดเจน
**ปตท.ยันไม่เคยเจรจาปรับโครงสร้างหนี้
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ปตท.และบริษัทเครือฯยังไม่มีการเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ หรือยืดชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยกับเจ้าหนี้สถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ อันสืบเนื่องจากคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ให้ชะลอโครงการในมาบตาพุดเพียงแต่มีการพูดคุยให้ข้อมูลรายละเอียดสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อให้เจ้าหนี้มีความเข้าใจ
ทั้งนี้โครงการในกลุ่มปตท.ที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งดังกล่าวมีทั้งหมด 25 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 1.3 แสนล้านบาท แต่จากคำสั่งศาลปกครองสูงสุดได้อนุญาตให้เดินหน้าโครงการไป 7 โครงการ ยังคงเหลืออีก 18 โครงการ ซึ่งล่าสุดปตท.ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อขอเดินหน้าโครงการเพิ่มเติม 6 โครงการ เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่ไม่มีผลกระทบรุนแรงและบางโครงการได้รับอีไอเอก่อนรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ส่วนโครงการที่เหลือจะทยอยยื่นคำร้องศาลฯต่อไป
**หวั่นญี่ปุ่นถอนยวงไปเวียดนาม
สมาคมอาคารชุดไทย ได้จัดดินเนอร์ ทอล์กเมื่อวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยมีนายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยระบุว่าทิศทางของเศรษฐกิจในปี 2553 ปรับตัวดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน เนื่องจากปี 2552 ถือเป็นปีแห่งวิกฤต แต่ยังคงมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตามอง โดยเฉพาะประเด็นทางการเมือง
นอกจากนี้ ยังมีปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ศาลสั่งระงับ 64 โครงการ หากรัฐบาลไม่สามารถหาทางออกที่เหมาะสมได้ภายในระยะเวลา 4-5 เดือนนี้ นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ที่เข้ามาลงทุนในมาบตาพุดอาจตัดสินใจเปลี่ยนฐานการผลิตจากไทยสู่ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศเวียดนาม สังเกตได้จากท่าทีของคณะทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยที่แข็งกร้าวมากขึ้นแล้ว นอกจากนี้นักลงทุนชาวญี่ปุ่นยังไม่เข้าใจว่า ทำไมโครงการในมาบตาพุดถึงถูกระงับ ทั้งๆที่ดำเนินตามกรอบกฎหมายการลงทุนของไทยอย่างถูกต้องแล้ว
ปัจจัยเรื่องมาบตาพุดยังส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วน รวมถึงภาคอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน ซึ่งภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี53 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นวัดได้จากตัวเลขความต้องการปูนซีเมนต์ที่มีแนวโน้มเป็นบวก ในขณะที่ไตรมาส 1 ในปี 2552 ติดลบสูงถึง 10% และปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจนกระทั้งไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมากลับมีอัตราความต้องการเป็นบวกที่ 10% สะท้อนให้เห็นว่าภาคก่อสร้างกำลังจะกลับมาอีกครั้ง โดยเฉพาะอาคารสูงที่มีการก่อสร้างมากขึ้น
ด้านตลาดที่อยู่อาศัย นอกจากโซนตะวันออกจะมีแนวโน้มที่ชะลอตัวจากปัจจัยเรื่องมาบตาพุดแล้ว โซนภาคใต้ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบของ 3 จังหวัดภาคใต้เช่นกัน ส่วนตลาดทางภาคเหนือ และภาคอีสานกลับมีแนวโน้มที่ดี มีความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีการขยายตัวด้านการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง สำหรับตลาดในกรุงเทพฯ จะเติบโตจากคอนโดมิเนียมเป็นหลัก ตามความต้องการของตลาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการที่อยู่อาศัยในเมือง เดินทางด้วยรถไฟฟ้าเป็นหลัก
**เสนอตั้งองค์กรอิสระชั่วคราว
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก 1 ในคณะกรรมการ 4 ฝ่าย แก้ปัญหามาบตาพุด จ.ระยอง กล่าวว่า การทำงานของคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ซึ่งมีนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการ นั้น ขณะนี้คืบหน้าไปมาก ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการออกประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเรื่องของการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ผ่านพระราชกฤษฎีกาไปแล้ว รวมทั้งกำลังหาช่องทางผลักดันที่จะขอออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีชั่วคราวในการจัดตั้งองค์กรอิสระชั่วคราวที่กำลังเดินหน้าไปด้วยดี เพื่อไม่ให้เกิดสุญญากาศในระหว่างที่ต้องรอการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่ง ส.ส. และ ส.ว. ต้องใช้เวลาการพิจารณาในเรื่องนี้ค่อนข้างนาน
ยุ่นลดชั้นหวั่นเกิดวิกฤตลงทุนไทย
นายประสาน ตันประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(บอร์ดกนอ.) เปิดเผยว่า นักลงทุนญี่ปุ่นได้ส่งสัญญาณการลงทุนในไทยแล้ว ดังนั้นกนอ.คงจะต้องทำหน้าที่ในการชี้แจงให้นักลงทุนเข้าใจว่า การลงทุนจำเป็นต้องมาคู่กับการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งในอนาคตเชื่อว่าไม่ว่าประเทศใดๆ เมื่อการพัฒนาถึงจุดหนึ่งก็จะต้องหันกลับมาดูแลในเรื่องนี้ เพราะกระแสโลกกำลังมุ่งไปสู่การดูแลปัญหาโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้น
**25 กิจการมีลุ้นแต่ยังติดคดีหลัก
ทั้งนี้ 64 กิจการเริ่มทยอยยื่นศาลปกครองกลางในการขอเพิกถอนคำสั่งการระงับกิจการชั่วคราวบ้างแล้วซึ่งส่วนตัวมองว่ามีเพียง 25 กิจการที่มีโอกาสลุ้นพ้นการถูกระงับกิจการมากสุด แต่ที่เหลืออาจจะยาก ดังนั้นสิ่งที่เอกชนและกนอ.กังวลยังไม่สิ้นสุด เนื่องจากแม้ว่ากิจการเหล่านี้จะมีความชัดเจนในแง่ต่างๆมากขึ้น แต่คดีหลักยังคงอยู่และยังไม่รู้ว่าข้างหน้าจะออกมาในรูปใดอีก
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ญี่ปุ่นมีการลงทุนไทยเป็นอันดับ 1 ผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) โดยแต่ละปีเฉลี่ยคิดเป็นมูลค่าประมาณแสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเกือบร้อยละ 50-60 จากการลงทุนตรงจากต่างประเทศ(FDI) เชื่อว่านักลงทุนญี่ปุ่นจะยังไม่คิดย้ายฐานการผลิตจากไทย เนื่องจากการลงทุนเป็นระยะยาว แต่สิ่งที่กังวลคือการลงทุนใหม่ที่อาจต้องชะลอการตัดสินใจได้
“หากปัญหามาบตาพุดไม่เห็นภาพชัดเจนในระยะ 2-3 เดือนนี้ ก็อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจใน 2 รูปแบบคือ ชะลอการลงทุนออกไปก่อน และอาจมองหาประเทศอื่นๆที่ใกล้เคียงกับไทย” แหล่งข่าวกล่าว
**มองเป็นวิกฤติลงทุนไทย
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อมตะคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นได้ส่งสัญญาณถึงความเชื่อมั่นต่อไทยที่ลดลงในการลงทุนหลังจากเกิดกรณีปัญหามาบตาพุด นี่คือวิกฤติการลงทุนไทย เนื่องจากญี่ปุ่นลงทุนมากสุดเช่นเดียวกับกรณีของนิคมอุตสาหกรรมอมตะที่ร้อยละ 60 เป็นนักลงทุนญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนดังนั้นรัฐบาลจะต้องกล้าฟันธงในการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจนโดยเร็วสุด
“ถ้าความเชื่อมั่นเขาสั่นคลอนจนลดชั้นการลงทุนในไทยยุ่งแน่นอนและหากเขาย้ายไปที่อื่นการดึงการลงทุนกลับมาไม่ใช่เรื่องสนุก" นายวิบูลย์กล่าว
**เอกชนจี้รัฐแจงผลทำงานดึงเชื่อมั่น
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)กล่าวว่า การที่ญี่ปุ่นออกมาส่งสัญญาณต่อการลงทุนในประเทศไทยกรณีมาบตาพุด เชื่อมั่นว่าคงจะยังไม่ถึงกับย้ายฐานการผลิตเพราะไทยมีบรรยากาศในหลายๆเรื่องที่ดีกว่าหากเทียบกับบางประเทศในอาเซียน ดังนั้นรัฐบาลต้องสร้างบรรยากาศให้นักลงทุนเห็นถึงทิศทางการทำงานเช่นคณะกรรมการ 4 ฝ่ายควรจะชี้แจงถึงความคืบหน้าของการหารือเป็นระยะ
นายสมมาต ขุนเศษฐ รองเลขาธิการส.อ.ท.กล่าวว่า ปัญหามาบตาพุดกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงทางธุรกิจปี 2553 เพราะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนแต่การลงทุนไทยใหม่ๆ นั้นอาจจะมีผลต่อการตัดสินใจและชะลอออกไปจนกว่าจะมีความชัดเจน
**ปตท.ยันไม่เคยเจรจาปรับโครงสร้างหนี้
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ปตท.และบริษัทเครือฯยังไม่มีการเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ หรือยืดชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยกับเจ้าหนี้สถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ อันสืบเนื่องจากคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ให้ชะลอโครงการในมาบตาพุดเพียงแต่มีการพูดคุยให้ข้อมูลรายละเอียดสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อให้เจ้าหนี้มีความเข้าใจ
ทั้งนี้โครงการในกลุ่มปตท.ที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งดังกล่าวมีทั้งหมด 25 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 1.3 แสนล้านบาท แต่จากคำสั่งศาลปกครองสูงสุดได้อนุญาตให้เดินหน้าโครงการไป 7 โครงการ ยังคงเหลืออีก 18 โครงการ ซึ่งล่าสุดปตท.ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อขอเดินหน้าโครงการเพิ่มเติม 6 โครงการ เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่ไม่มีผลกระทบรุนแรงและบางโครงการได้รับอีไอเอก่อนรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ ส่วนโครงการที่เหลือจะทยอยยื่นคำร้องศาลฯต่อไป
**หวั่นญี่ปุ่นถอนยวงไปเวียดนาม
สมาคมอาคารชุดไทย ได้จัดดินเนอร์ ทอล์กเมื่อวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยมีนายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยระบุว่าทิศทางของเศรษฐกิจในปี 2553 ปรับตัวดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน เนื่องจากปี 2552 ถือเป็นปีแห่งวิกฤต แต่ยังคงมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตามอง โดยเฉพาะประเด็นทางการเมือง
นอกจากนี้ ยังมีปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ศาลสั่งระงับ 64 โครงการ หากรัฐบาลไม่สามารถหาทางออกที่เหมาะสมได้ภายในระยะเวลา 4-5 เดือนนี้ นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ที่เข้ามาลงทุนในมาบตาพุดอาจตัดสินใจเปลี่ยนฐานการผลิตจากไทยสู่ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศเวียดนาม สังเกตได้จากท่าทีของคณะทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยที่แข็งกร้าวมากขึ้นแล้ว นอกจากนี้นักลงทุนชาวญี่ปุ่นยังไม่เข้าใจว่า ทำไมโครงการในมาบตาพุดถึงถูกระงับ ทั้งๆที่ดำเนินตามกรอบกฎหมายการลงทุนของไทยอย่างถูกต้องแล้ว
ปัจจัยเรื่องมาบตาพุดยังส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วน รวมถึงภาคอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน ซึ่งภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี53 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นวัดได้จากตัวเลขความต้องการปูนซีเมนต์ที่มีแนวโน้มเป็นบวก ในขณะที่ไตรมาส 1 ในปี 2552 ติดลบสูงถึง 10% และปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจนกระทั้งไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมากลับมีอัตราความต้องการเป็นบวกที่ 10% สะท้อนให้เห็นว่าภาคก่อสร้างกำลังจะกลับมาอีกครั้ง โดยเฉพาะอาคารสูงที่มีการก่อสร้างมากขึ้น
ด้านตลาดที่อยู่อาศัย นอกจากโซนตะวันออกจะมีแนวโน้มที่ชะลอตัวจากปัจจัยเรื่องมาบตาพุดแล้ว โซนภาคใต้ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบของ 3 จังหวัดภาคใต้เช่นกัน ส่วนตลาดทางภาคเหนือ และภาคอีสานกลับมีแนวโน้มที่ดี มีความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีการขยายตัวด้านการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง สำหรับตลาดในกรุงเทพฯ จะเติบโตจากคอนโดมิเนียมเป็นหลัก ตามความต้องการของตลาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการที่อยู่อาศัยในเมือง เดินทางด้วยรถไฟฟ้าเป็นหลัก
**เสนอตั้งองค์กรอิสระชั่วคราว
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก 1 ในคณะกรรมการ 4 ฝ่าย แก้ปัญหามาบตาพุด จ.ระยอง กล่าวว่า การทำงานของคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ซึ่งมีนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการ นั้น ขณะนี้คืบหน้าไปมาก ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการออกประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเรื่องของการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ผ่านพระราชกฤษฎีกาไปแล้ว รวมทั้งกำลังหาช่องทางผลักดันที่จะขอออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีชั่วคราวในการจัดตั้งองค์กรอิสระชั่วคราวที่กำลังเดินหน้าไปด้วยดี เพื่อไม่ให้เกิดสุญญากาศในระหว่างที่ต้องรอการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่ง ส.ส. และ ส.ว. ต้องใช้เวลาการพิจารณาในเรื่องนี้ค่อนข้างนาน