ASTVผู้จัดการรายวัน - “มาร์ค” หน้าบาน! เครือข่ายด้านเด็ก สตรี และครอบครัว แห่ชื่นชม ชี้หากเกิด ส่งเด็กติดหวยงอมแงมเพิ่ม 40% โพลล์ระบุคนไทย 58% ค้านพร้อมหนุนรัฐบาลสู้คดีกับล็อกซเล่ย์ถึงที่สุด
วานนี้(6 ม.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 11.30 น. ที่ห้องประชุม 14 ตุลา อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ถ.ราชดำเนินกลาง องค์กรเครือข่ายทำงานด้านเด็ก เยาวชน สตรีและครอบครัว 44 องค์กร จัดการประชุมระดมความคิดเห็นเรื่อง “นโยบายนายกรัฐมนตรี กับ กรณีหวยออนไลน์” โดยนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือ ครูหยุย ประธานคณะทำงานด้านเด็ก และเลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก กล่าวว่า ตามที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มีการประกาศอย่างชัดเจนต่อสาธารณะในการยับยั้งไม่ให้มีการเล่นหวยออนไลน์ในสังคมไทย โดยจะพิจารณายกเลิกสัญญาที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลทำไว้กับบริษัทล็อกซเล่ย์ จีเทค เทคโนโลยี จำกัดนั้น ต้องขอบคุณท่านนายกฯ และคณะรัฐมนตรี ที่ยืนหยัดและแสดงเจตนาที่จะล้มเลิกการจำหน่ายหวยออนไลน์ ซึ่งถือเป็นผู้นำคนแรกของไทยที่ยืนหยัดในเรื่องนี้เพื่อดำเนินตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการมุ่งเน้น ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการส่งเสริมให้ชุมชนลด ละ เลิก อบายมุข
ทั้งนี้ หากหวยออนไลน์เกิดขึ้นจะมีผลกระทบในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. จะทำให้ไทยเป็นประเทศที่มีอบายมุขมากเกินไป ตั้งแต่สถานบริการ ผับ เทค ร้านเกม ที่การจัดโซนนิ่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ รวมถึงปัญหาเครื่องดื่มแอลลกอฮอล์ สื่อลามกอนาจาร และการพนันในรูปแบบต่างๆ และหากหวยออนไลน์เกิดขึ้นก็จะถือเป็นการเพิ่มอบายมุขอีกช่องทางหนึ่ง เป็นเหมือนการซ้ำเติมสัมคมให้ยิ่งตกต่ำลงไปอีก 2.จะทำให้เด็ก เยาวชน หันมาเล่นมากขึ้น เพราะในปัจจุบันมีเด็กซื้อลอตเตอรรี่แล้ว 5% เมื่อมีการเปิดขายหวยบนดินทำให้เด็กเล่นเพิ่มขึ้น 15% และคาดการณ์ว่าหากมีหวยออนไลน์เกิดขึ้นจะทำให้เยาวชนเล่นเพิ่มขึ้นถึง 30-40% 3.จะเกิดผลกระทบต่อทัศนคติหลักของสังคมไทย ซึ่งขัดต่อคำสอนทางศาสนาที่ไม่ให้ส่งเสริมเรื่องของอบายมุข และ 4.จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อคนในครอบครัว
นายวัลลภ กล่าวต่อว่า สำหรับข้อเสนอที่อยากฝากถึงรัฐบาลคือ 1.การที่คิดว่าเมื่อหวยออนไลน์จะช่วยให้ลอตเตอรรี่มีราคาถูกลงนั้นไม่เป็นความจริง เพราะการที่ลอตเตอรรี่ราคาแพงมาจากโครงสร้างการกระจายโควต้าจำหน่ายที่ไม่ทั่วถึง มีพ่อค้าคนกลาง กว่าจะถึงผู้ค้ารายย่อยก็ทำให้ราคาสูงขึ้น จึงอยากฝากให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลพิจารณาการจัดโควต้าเพื่อลดพ่อค้าคนกลาง อาจใช้การส่งทางไปรษณีย์เพื่อถึงมือผู้ค้ารายย่อยโดยตรง 2.ต้องใช้หลักกฎหมายในการจัดการกับผู้ค้าหวยใต้ดิน โดยใช้ พ.ร.บ.การฟอกเงิน พ.ศ.2552 ที่ระบุความผิดเรื่องการพนัน จะต้องถูกยึดทรัพย์ หากรัฐบาลใช้พ.ร.บ.นี้อย่างจริงจังเจ้ามือหวยก็จะเกิดความกลัว 3.ให้มีการรณรงค์ สร้างค่านิยม ลด ละ เลิก อบายมุขให้เกิดขึ้น และรัฐบาลต้องตั้งคณะรัฐมนตรีด้านสังคมขึ้นเพื่อเข้าไปดูแล กำหนดทิศทางการดำเนินการ
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หวยออนไลน์จะทำให้เกิดนักพนันหน้าใหม่ขึ้น โดยเฉพาะเด็กในช่วงประถมศึกษาตอนปลาย และชั้นมัธยมศึกษา ทั้งนี้ปัจจุบันเด็กและเยาวชนมีพื้นที่เสี่ยง และพื้นที่ดี อยู่ที่ 3:1 และการเพิ่มเครื่องจำหน่ายหวยออนไลน์กว่า 12,000 เครื่อง ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่ไม่ดีมากขึ้นถึง 4 เท่า ซึ่งเด็กจะไม่สามารถหาพื้นที่ดีได้เลยจากสังคมไทย
“เด็กที่สนใจการพนันจะไม่มีสมาธิสำหรับการเรียนรู้ ไม่สนใจสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจตามวัย ซึ่งเด็กจะถูกผู้ใหญ่ยัดเยียดสิ่งที่ไม่เหมาะสมให้อยู่ตลอด นอกจากนี้หวยยังไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน จากคำพูดที่ว่าคนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้นนั้น เป็นวาทะกรรมที่ยัดเยียดให้คนจนเล่นหวยตลอดชีวิต ซึ่งครอบงำคนจนมานานมาก สิ่งที่ควรเป็นคือคนจนต้องหันกลับมาสู่แนวทางพอเพียง ซึ่งจะเป็นบทสรุปที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต” รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว
ด้าน นพ.สุริยเดว ทรีปาตี อนุกรรมการดูแลสุขภาพวัยรุ่นราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผลกระทบจากหวยออนไลน์ที่จะเกิดกับเด็ก และเยาวชน คือ 1.ทัศนคติของเด็กที่เปลี่ยนไป หันมาเสี่ยงโชคหวังรวยทางลัดมากขึ้น 2.ก่อให้เกิดกระบวนการทำลายสมอง ทั้งเหล้า บุหรี่ เกม การพนัน จะทำให้มีสารเคมีบางประเภทที่ทำลายหน่วยความจำ สมองส่วนของความคิดสร้างสรรค์มีปัญหา 3.ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วโลกเห็นตรงกันว่าแม้ครอบครัวจะเลี้ยงลูกดีอย่างไร แต่เมื่อลูกเจอกลุ่มเพื่อนก็จะเปลี่ยนไป หากเจอกลุ่มเพื่อที่ไม่ดี เล่นหวย มุ่งแต่เรื่องอบายมุขก็จะนำไปสู่หายนะได้
“เนื่องจากใกล้วันเด็กแห่งชาติในทุกๆ ปี เด็กจะได้คำขวัญจากนายกรัฐมนตรี แต่สำหรับปีนี้นอกจากคำขวัญแล้ว ยังได้เห็นความเอาจริงเอาจังของนายกฯ ในการแก้ปัญหาเรื่องอบายมุข ซึ่งถือเป็นของขวัญล้ำค่าแก่เด็กเป็นอย่างมาก” นพ.สุริยเดว กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นในช่วงบ่ายองค์กรเครือข่ายทำงานด้านเด็ก เยาวชน สตรีและครอบครัว จะเดินทางไปยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลต่อไป
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวถึงการยกเลิกหวยออนไลน์ว่า ไม่ต้องการให้เด็กหมกมุ่นในอบายมุข ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด หากยังไม่มีมาตรการดูแลที่เข้มงวด อาจจะเกิดผลกระทบถึงเยาวชนแน่นอน โดยเยาวชนจะเข้ามาสู่วงจรหวยออนไลน์มากขึ้น
นายณัฐพงศ์ สมพันธุ์ ประธานสภานักเรียนไทย ปี 2552 แสดงความเห็นว่า รัฐบาลสามารถยกเลิกหวยออนไลน์ได้จะเป็นเรื่องดี หากมีหวยออนไลน์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะมีพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือสมาชิกในครอบครัวมัวเมาไปเล่นมากขึ้น เมื่อเด็กเห็นตัวอย่างเด็กจะเล่นหวยเช่นกัน เพราะมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา
**เอแบคโพลล์ชี้คนไทยหนุน “มาร์ค”
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่าง เปรียบเทียบแนวโน้มความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อกรณีหวยออนไลน์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ปทุมธานี เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี ชลบุรี หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น ระนอง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,063 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 5 มกราคม 2553
ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่รับทราบข่าวเกี่ยวกับหวยออนไลน์มากขึ้นจากร้อยละ 79.7 ในเดือนมิถุนายน 2552 มาอยู่ที่ร้อยละ 82.6 ในการสำรวจครั้งล่าสุด
ที่น่าพิจารณาคือ ตัวอย่างประชาชนที่คิดว่าหวยออนไลน์จะเป็นการมอมเมาคนไทยมากขึ้น เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก ร้อยละ 52.4 ในเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา มาอยู่ที่ร้อยละ 53.6 ในการสำรวจครั้งนี้ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนที่คิดว่าจะทำให้เด็กและเยาวชนที่เป็นผู้หญิงหันมาเล่นหวยออนไลน์มากขึ้นด้วยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59.4 ในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว มาอยู่ที่ร้อยละ 62.6 ในการสำรวจครั้งล่าสุด
ส่วนสาเหตุที่ทำให้คนไทยเล่นหวยมากขึ้น ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.8 ในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 77.2 ในการวิจัยครั้งนี้มองว่า เจ้าหน้าที่รัฐไม่กวดขันจริงจัง ในขณะที่ร้อยละ 73.2 มองว่าเป็นความง่ายในการเล่น ร้อยละ 72.6 มองว่าคนไทยชอบเสี่ยง ร้อยละ 67.4 มองว่า รูปแบบการเล่นที่ทันสมัย และร้อยละ 57.9 มองว่าเป็นอิทธิพลมาจากการโฆษณา ตามลำดับ
ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.8 คิดว่าถ้าเล่นแล้วจะทำให้ติด และอยากเล่นต่อไปเรื่อยๆ ในขณะที่ร้อยละ 29.2 ไม่คิดเช่นนั้น นอกจากนี้ ปัญหาที่ประชาชนเป็นห่วงกังวลว่าจะเกิดขึ้นตามมา หากเด็กและเยาวชนมีการเล่นหวยมากยิ่งขึ้น พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.1 กังวลปัญหาแหล่งพนัน อบายมุขมากขึ้น รองลงมาคือร้อยละ 72.7 กังวลเป็นห่วงปัญหาโจรกรรมทรัพย์สิน ร้อยละ 69.0 กังวลปัญหาครอบครัว ร้อยละ 62.1 กังวลปัญหายาเสพติดจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.2 กังวลปัญหาการขายบริการทางเพศ ร้อยละ 54.0 เป็นห่วงปัญหาเด็กหนีเรียนจะมากขึ้น ร้อยละ 53.7 กังวลปัญหาความรุนแรง ทะเลาะวิวาท อย่างไรก็ตาม มีเพียงร้อยละ 10.4 เท่านั้นที่ไม่คิดว่าจะเกิดปัญหาอะไร
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.0 ไม่เห็นด้วยกับการมีหวยออนไลน์เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยให้เหตุผลว่า สังคมไทยเป็นสังคมแห่งพระพุทธศาสนาควรช่วยกันลดอบายมุขมากกว่าส่งเสริม /หวยออนไลน์จะเป็นการมอมเมาประชาชน/ ทำให้คนเล่นการพนันมากขึ้น /ยังไม่มีกฎเกณฑ์และเจ้าหน้าที่ที่เข้มงวดเพียงพอ/ จะทำให้เกิดปัญหาสังคมหลายอย่างตามมา อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 42.0 เห็นด้วย เพราะ ถึงไม่มีหวยออนไลน์คนก็เล่นหวยกันอยู่แล้ว / จะได้ไม่ต้องมีหวยใต้ดิน/ รัฐบาลมีรายได้มากขึ้น/เป็นการเสี่ยงโชคและทางเลือกของคนจน / คิดว่าหวยออนไลน์จะสามารถแก้ปัญหาหวยใต้ดินได้ /ช่วยแก้ปัญหาการขายหวยเกินราคา และประชาชนจะได้เล่นหวยที่ถูกกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.3 คิดว่า การทำงานหนักทำให้มีโอกาสได้เงินมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 3.7 มองว่า การเล่นหวยมีโอกาสได้เงินมากกว่า
เมื่อถามถึงท่าทีของรัฐบาลต่อกรณีหวยออนไลน์ พบว่า แนวโน้มของประชาชนที่มองว่า รัฐบาลควรต่อสู้คดีความกับบริษัทเอกชนเพื่อไม่ให้มีหวยออนไลน์เกิดขึ้นในสังคมไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 41.7 ในเดือนมิถุนายน มาอยู่ที่ร้อยละ 52.9 ในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้ ในขณะที่ร้อยละ 35.4 เห็นว่ารัฐบาลควรยอมให้มีหวยออนไลน์ และร้อยละ 11.7 ไม่มีความเห็น ที่น่าสังเกตคือ กลุ่มคนที่ไม่แสดงความคิดเห็นในการสำรวจครั้งก่อนหันมาสนับสนุนรัฐบาลในการต่อสู้คดีความกับบริษัทเอกชนเพื่อไม่ให้มีหวยออนไลน์เกิดขึ้นในสังคมไทย
วานนี้(6 ม.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 11.30 น. ที่ห้องประชุม 14 ตุลา อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ถ.ราชดำเนินกลาง องค์กรเครือข่ายทำงานด้านเด็ก เยาวชน สตรีและครอบครัว 44 องค์กร จัดการประชุมระดมความคิดเห็นเรื่อง “นโยบายนายกรัฐมนตรี กับ กรณีหวยออนไลน์” โดยนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือ ครูหยุย ประธานคณะทำงานด้านเด็ก และเลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก กล่าวว่า ตามที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มีการประกาศอย่างชัดเจนต่อสาธารณะในการยับยั้งไม่ให้มีการเล่นหวยออนไลน์ในสังคมไทย โดยจะพิจารณายกเลิกสัญญาที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลทำไว้กับบริษัทล็อกซเล่ย์ จีเทค เทคโนโลยี จำกัดนั้น ต้องขอบคุณท่านนายกฯ และคณะรัฐมนตรี ที่ยืนหยัดและแสดงเจตนาที่จะล้มเลิกการจำหน่ายหวยออนไลน์ ซึ่งถือเป็นผู้นำคนแรกของไทยที่ยืนหยัดในเรื่องนี้เพื่อดำเนินตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการมุ่งเน้น ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการส่งเสริมให้ชุมชนลด ละ เลิก อบายมุข
ทั้งนี้ หากหวยออนไลน์เกิดขึ้นจะมีผลกระทบในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. จะทำให้ไทยเป็นประเทศที่มีอบายมุขมากเกินไป ตั้งแต่สถานบริการ ผับ เทค ร้านเกม ที่การจัดโซนนิ่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ รวมถึงปัญหาเครื่องดื่มแอลลกอฮอล์ สื่อลามกอนาจาร และการพนันในรูปแบบต่างๆ และหากหวยออนไลน์เกิดขึ้นก็จะถือเป็นการเพิ่มอบายมุขอีกช่องทางหนึ่ง เป็นเหมือนการซ้ำเติมสัมคมให้ยิ่งตกต่ำลงไปอีก 2.จะทำให้เด็ก เยาวชน หันมาเล่นมากขึ้น เพราะในปัจจุบันมีเด็กซื้อลอตเตอรรี่แล้ว 5% เมื่อมีการเปิดขายหวยบนดินทำให้เด็กเล่นเพิ่มขึ้น 15% และคาดการณ์ว่าหากมีหวยออนไลน์เกิดขึ้นจะทำให้เยาวชนเล่นเพิ่มขึ้นถึง 30-40% 3.จะเกิดผลกระทบต่อทัศนคติหลักของสังคมไทย ซึ่งขัดต่อคำสอนทางศาสนาที่ไม่ให้ส่งเสริมเรื่องของอบายมุข และ 4.จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อคนในครอบครัว
นายวัลลภ กล่าวต่อว่า สำหรับข้อเสนอที่อยากฝากถึงรัฐบาลคือ 1.การที่คิดว่าเมื่อหวยออนไลน์จะช่วยให้ลอตเตอรรี่มีราคาถูกลงนั้นไม่เป็นความจริง เพราะการที่ลอตเตอรรี่ราคาแพงมาจากโครงสร้างการกระจายโควต้าจำหน่ายที่ไม่ทั่วถึง มีพ่อค้าคนกลาง กว่าจะถึงผู้ค้ารายย่อยก็ทำให้ราคาสูงขึ้น จึงอยากฝากให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลพิจารณาการจัดโควต้าเพื่อลดพ่อค้าคนกลาง อาจใช้การส่งทางไปรษณีย์เพื่อถึงมือผู้ค้ารายย่อยโดยตรง 2.ต้องใช้หลักกฎหมายในการจัดการกับผู้ค้าหวยใต้ดิน โดยใช้ พ.ร.บ.การฟอกเงิน พ.ศ.2552 ที่ระบุความผิดเรื่องการพนัน จะต้องถูกยึดทรัพย์ หากรัฐบาลใช้พ.ร.บ.นี้อย่างจริงจังเจ้ามือหวยก็จะเกิดความกลัว 3.ให้มีการรณรงค์ สร้างค่านิยม ลด ละ เลิก อบายมุขให้เกิดขึ้น และรัฐบาลต้องตั้งคณะรัฐมนตรีด้านสังคมขึ้นเพื่อเข้าไปดูแล กำหนดทิศทางการดำเนินการ
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หวยออนไลน์จะทำให้เกิดนักพนันหน้าใหม่ขึ้น โดยเฉพาะเด็กในช่วงประถมศึกษาตอนปลาย และชั้นมัธยมศึกษา ทั้งนี้ปัจจุบันเด็กและเยาวชนมีพื้นที่เสี่ยง และพื้นที่ดี อยู่ที่ 3:1 และการเพิ่มเครื่องจำหน่ายหวยออนไลน์กว่า 12,000 เครื่อง ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่ไม่ดีมากขึ้นถึง 4 เท่า ซึ่งเด็กจะไม่สามารถหาพื้นที่ดีได้เลยจากสังคมไทย
“เด็กที่สนใจการพนันจะไม่มีสมาธิสำหรับการเรียนรู้ ไม่สนใจสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจตามวัย ซึ่งเด็กจะถูกผู้ใหญ่ยัดเยียดสิ่งที่ไม่เหมาะสมให้อยู่ตลอด นอกจากนี้หวยยังไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน จากคำพูดที่ว่าคนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้นนั้น เป็นวาทะกรรมที่ยัดเยียดให้คนจนเล่นหวยตลอดชีวิต ซึ่งครอบงำคนจนมานานมาก สิ่งที่ควรเป็นคือคนจนต้องหันกลับมาสู่แนวทางพอเพียง ซึ่งจะเป็นบทสรุปที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต” รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว
ด้าน นพ.สุริยเดว ทรีปาตี อนุกรรมการดูแลสุขภาพวัยรุ่นราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผลกระทบจากหวยออนไลน์ที่จะเกิดกับเด็ก และเยาวชน คือ 1.ทัศนคติของเด็กที่เปลี่ยนไป หันมาเสี่ยงโชคหวังรวยทางลัดมากขึ้น 2.ก่อให้เกิดกระบวนการทำลายสมอง ทั้งเหล้า บุหรี่ เกม การพนัน จะทำให้มีสารเคมีบางประเภทที่ทำลายหน่วยความจำ สมองส่วนของความคิดสร้างสรรค์มีปัญหา 3.ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วโลกเห็นตรงกันว่าแม้ครอบครัวจะเลี้ยงลูกดีอย่างไร แต่เมื่อลูกเจอกลุ่มเพื่อนก็จะเปลี่ยนไป หากเจอกลุ่มเพื่อที่ไม่ดี เล่นหวย มุ่งแต่เรื่องอบายมุขก็จะนำไปสู่หายนะได้
“เนื่องจากใกล้วันเด็กแห่งชาติในทุกๆ ปี เด็กจะได้คำขวัญจากนายกรัฐมนตรี แต่สำหรับปีนี้นอกจากคำขวัญแล้ว ยังได้เห็นความเอาจริงเอาจังของนายกฯ ในการแก้ปัญหาเรื่องอบายมุข ซึ่งถือเป็นของขวัญล้ำค่าแก่เด็กเป็นอย่างมาก” นพ.สุริยเดว กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นในช่วงบ่ายองค์กรเครือข่ายทำงานด้านเด็ก เยาวชน สตรีและครอบครัว จะเดินทางไปยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลต่อไป
ด้าน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวถึงการยกเลิกหวยออนไลน์ว่า ไม่ต้องการให้เด็กหมกมุ่นในอบายมุข ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด หากยังไม่มีมาตรการดูแลที่เข้มงวด อาจจะเกิดผลกระทบถึงเยาวชนแน่นอน โดยเยาวชนจะเข้ามาสู่วงจรหวยออนไลน์มากขึ้น
นายณัฐพงศ์ สมพันธุ์ ประธานสภานักเรียนไทย ปี 2552 แสดงความเห็นว่า รัฐบาลสามารถยกเลิกหวยออนไลน์ได้จะเป็นเรื่องดี หากมีหวยออนไลน์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะมีพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือสมาชิกในครอบครัวมัวเมาไปเล่นมากขึ้น เมื่อเด็กเห็นตัวอย่างเด็กจะเล่นหวยเช่นกัน เพราะมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา
**เอแบคโพลล์ชี้คนไทยหนุน “มาร์ค”
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่าง เปรียบเทียบแนวโน้มความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อกรณีหวยออนไลน์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ปทุมธานี เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี ชลบุรี หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น ระนอง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,063 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 5 มกราคม 2553
ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่รับทราบข่าวเกี่ยวกับหวยออนไลน์มากขึ้นจากร้อยละ 79.7 ในเดือนมิถุนายน 2552 มาอยู่ที่ร้อยละ 82.6 ในการสำรวจครั้งล่าสุด
ที่น่าพิจารณาคือ ตัวอย่างประชาชนที่คิดว่าหวยออนไลน์จะเป็นการมอมเมาคนไทยมากขึ้น เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก ร้อยละ 52.4 ในเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา มาอยู่ที่ร้อยละ 53.6 ในการสำรวจครั้งนี้ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนที่คิดว่าจะทำให้เด็กและเยาวชนที่เป็นผู้หญิงหันมาเล่นหวยออนไลน์มากขึ้นด้วยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59.4 ในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว มาอยู่ที่ร้อยละ 62.6 ในการสำรวจครั้งล่าสุด
ส่วนสาเหตุที่ทำให้คนไทยเล่นหวยมากขึ้น ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.8 ในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 77.2 ในการวิจัยครั้งนี้มองว่า เจ้าหน้าที่รัฐไม่กวดขันจริงจัง ในขณะที่ร้อยละ 73.2 มองว่าเป็นความง่ายในการเล่น ร้อยละ 72.6 มองว่าคนไทยชอบเสี่ยง ร้อยละ 67.4 มองว่า รูปแบบการเล่นที่ทันสมัย และร้อยละ 57.9 มองว่าเป็นอิทธิพลมาจากการโฆษณา ตามลำดับ
ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.8 คิดว่าถ้าเล่นแล้วจะทำให้ติด และอยากเล่นต่อไปเรื่อยๆ ในขณะที่ร้อยละ 29.2 ไม่คิดเช่นนั้น นอกจากนี้ ปัญหาที่ประชาชนเป็นห่วงกังวลว่าจะเกิดขึ้นตามมา หากเด็กและเยาวชนมีการเล่นหวยมากยิ่งขึ้น พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.1 กังวลปัญหาแหล่งพนัน อบายมุขมากขึ้น รองลงมาคือร้อยละ 72.7 กังวลเป็นห่วงปัญหาโจรกรรมทรัพย์สิน ร้อยละ 69.0 กังวลปัญหาครอบครัว ร้อยละ 62.1 กังวลปัญหายาเสพติดจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.2 กังวลปัญหาการขายบริการทางเพศ ร้อยละ 54.0 เป็นห่วงปัญหาเด็กหนีเรียนจะมากขึ้น ร้อยละ 53.7 กังวลปัญหาความรุนแรง ทะเลาะวิวาท อย่างไรก็ตาม มีเพียงร้อยละ 10.4 เท่านั้นที่ไม่คิดว่าจะเกิดปัญหาอะไร
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.0 ไม่เห็นด้วยกับการมีหวยออนไลน์เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยให้เหตุผลว่า สังคมไทยเป็นสังคมแห่งพระพุทธศาสนาควรช่วยกันลดอบายมุขมากกว่าส่งเสริม /หวยออนไลน์จะเป็นการมอมเมาประชาชน/ ทำให้คนเล่นการพนันมากขึ้น /ยังไม่มีกฎเกณฑ์และเจ้าหน้าที่ที่เข้มงวดเพียงพอ/ จะทำให้เกิดปัญหาสังคมหลายอย่างตามมา อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 42.0 เห็นด้วย เพราะ ถึงไม่มีหวยออนไลน์คนก็เล่นหวยกันอยู่แล้ว / จะได้ไม่ต้องมีหวยใต้ดิน/ รัฐบาลมีรายได้มากขึ้น/เป็นการเสี่ยงโชคและทางเลือกของคนจน / คิดว่าหวยออนไลน์จะสามารถแก้ปัญหาหวยใต้ดินได้ /ช่วยแก้ปัญหาการขายหวยเกินราคา และประชาชนจะได้เล่นหวยที่ถูกกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.3 คิดว่า การทำงานหนักทำให้มีโอกาสได้เงินมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 3.7 มองว่า การเล่นหวยมีโอกาสได้เงินมากกว่า
เมื่อถามถึงท่าทีของรัฐบาลต่อกรณีหวยออนไลน์ พบว่า แนวโน้มของประชาชนที่มองว่า รัฐบาลควรต่อสู้คดีความกับบริษัทเอกชนเพื่อไม่ให้มีหวยออนไลน์เกิดขึ้นในสังคมไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 41.7 ในเดือนมิถุนายน มาอยู่ที่ร้อยละ 52.9 ในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้ ในขณะที่ร้อยละ 35.4 เห็นว่ารัฐบาลควรยอมให้มีหวยออนไลน์ และร้อยละ 11.7 ไม่มีความเห็น ที่น่าสังเกตคือ กลุ่มคนที่ไม่แสดงความคิดเห็นในการสำรวจครั้งก่อนหันมาสนับสนุนรัฐบาลในการต่อสู้คดีความกับบริษัทเอกชนเพื่อไม่ให้มีหวยออนไลน์เกิดขึ้นในสังคมไทย