ASTVผู้จัดการรายวัน - ธอส . สั่งจับตาลูกค้าสวัสดิการ ในมาบตาพุดที่ถูกระงับโครงการตามคำสั่งศาลปกครอง หวั่นมีปัญหาการชำระหนี้ พร้อมปลดล็อกลูกค้าพนักงานอุตสาหกรรมยานยนต์-ส่งออกชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคออกจากลูกค้าสวัสดิการกลุ่มเสี่ยง แต่ยังคงกลุ่มโรงแรมและท่องเที่ยวไว้ในกลุ่มเสี่ยงต่อ เหตุธุรกิจยังไม่ฟื้นตัว คาดตลาดสินเชื่อปี 53 แข่งดุออมสินประกาศลุยเต็มสูบ
วิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบมาถึงไทยโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคและธุรกิจท่องเที่ยว หลายบริษัทประสบปัญหาต้องปิดกิจการ ลดเงินเดือนพนักงาน ส่งผลให้ธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อต้องส่งจับตาเป็นพิเศษ โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้สั่งเจ้าหน้าที่จับตาลูกค้าสินเชื่อบ้านใน 11 ธุรกิจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ เพราะเกรงว่าจะไม่มีกำลังผ่อนส่งค่างวด รวมไปถึงลูกค้าใหม่ที่มาขอสินเชื่อใน 11 ธุรกิจกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวก็ต้องเข้มงวดเป็นพิเศษเช่นกัน สำหรับ 11 ธุรกิจเสี่ยงได้แก่ 1.อัญมณีและเครื่องประดับ, 2.เวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง, 3.สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า, 4.เครื่องมือและเครื่องจักร, 5.ยานพาหนะและอุปกรณ์, 6.วัสดุก่อสร้างและเครื่องตกแต่ง, 7.พัฒนาอสังหาริมทรัพย์, 8.โรงแรมและบริการท่องเที่ยว, 9.ขนส่งและโลจิสติกส์, 10.เครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์และ 11.ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจุบันสถานการเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นหลายธุรกิจฟื้นตัว แต่ยังมีบางธุรกิจที่ยังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงคือ กรณีศาลปกครองสั่งระงับ 76 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งมีเพียง 11 โครงการจากทั้งหมด 76 โครงการที่ให้ดำเนินกิจการต่อได้หรือ 61 โครงการต้องถูกแช่แข็ง ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันหนี้เสียที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ธอส.จึงขึ้นบัญชีบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเป็นกลุ่มบริษัทเสี่ยงต่อความสามารถในการชำระหนี้
โดยนายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า ธนาคารได้สั่งการให้เจ้าหนี้ที่ธนาคารจับตาการชำระหนี้ลูกค้าสวัสดิการที่เป็นพนักงานของบริษัทในโครงการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ถูกระงับตามคำสั่งศาลปกครองเป็นการพิเศษ เนื่องจากเห็นว่าการที่บริษัทถูกระงับการดำเนินการกิจการตามคำสั่งศาลอาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของพนักงานและความสามารถในการชำระหนี้ของพนักงานที่ใช้บริการสินเชื่อบ้านในโครงการสวัสดิการของธนาคารได้ แม้ว่านิคมดังกล่าวจะยังไม่มีพนักงานเข้าไปทำงาน แต่การถูกระงับโครงการอาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างรายได้ของบริษัทและสุดท้ายจะมาตกอยู่ที่พนักงาน
ด้านนางจามรี เศวตจินดา รองกรรมการผู้จัดการ ธอส. กล่าวว่า สำหรับหลักปฎิบัติต่อพนักงานของบริษัท 11 กลุ่มเสี่ยง คือ 1.กรณีลูกค้าต้องการกู้เพิ่มจะไม่พิจารณาให้กู้เพิ่ม เพราะอาจเสี่ยงต่อการชำระหนี้ไม่ได้ 2.กรณีลูกค้าใหม่จะไม่อนุมัติวงเงินกู้เต็ม 100% ลูกค้าจะต้องมีเงินดาวน์ของตนเองส่วนหนึ่ง และ 3.กรณีซื้อบ้านหลังที่ 2 หรือ 3 จะพิจารณาเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ส่วนหลักเกณฑ์อื่นๆยังคงปกติ
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาธนาคารได้มีการปลดล็อกกลุ่มธุรกิจลูกค้าสวัสดิการ ที่ถูกจัดกลุ่มอยู่ในความเสี่ยง ต้องจับตาการชำระหนี้เพราะเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจแล้ว 2 กลุ่มหลักจากกลุ่มธุรกิจที่ถูกจัดอยู่ใน 11 กลุ่มธุรกิจเสี่ยง คือกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ (กลุ่มยานพาหนะและอุปกรณ์) และกลุ่มส่งออกชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และอิเลคทรอนิคส์ เนื่องจากเห็นว่าแนวโน้มธุรกิจปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ภายหลังจากได้ปลดล็อกกลุ่มเสี่ยงสินเชื่อเคหะสวัสดิการ 2กลุ่มนี้ จะมีการชำระหนี้เงินกู้กับธนาคารตามเกณฑ์ปกติ จากเดิมที่ได้เข้าโปรแกรมปรับโครงสร้างกับธนาคาร โดยได้มีการยืดระยะเวลาการชำระหนี้ ลดดอกเบี้ยให้หรือการช่วยเหลือเป็นรายกรณีตามปัญหาที่เกิดขึ้นจริง
ส่วนกลุ่มธุรกิจที่ยังคงจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเพราะเห็นว่าภาพรวมธุรกิจยังไม่ฟื้นตัว อาทิ กลุ่มส่งออก ในกลุ่มอัญมณี โชห่วย และกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว การโรงแรมเป็นต้น ส่วนจะมีการปลดล็อกเมื่อไหร่นั้นจะประเมินอีกครั้งหลังจากเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ โดยจะยึดตามภาวะเศรษฐกิจเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในช่วงต้นปี 52ธนาคารได้มีการขึ้นบัญชีกลุ่มเสี่ยงกับลูกค้าสวัสดิการที่เป็นพนักงานธนาคารด้วย แต่หลังจากเห็นว่าธนาคารไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกจึงได้มีการปลดล็อกไปแล้ว
ทั้งนี้บริษัทในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดกว่าร้อยละ 80 ใช้บริการสินเชื่อเคหะสวัสดิการของธนาคาร โดยก่อนหน้านี้ทางธนาคารได้มีการจัดโครการปรับโครงสร้างให้กับลูกค้าสวัสดิการที่ได้รับผลกระทบกับภาวะเศรษฐกิจโดยมีการจัดกลุ่มลูกค้ากลุ่มเสียงออกเป็น 11 กลุ่มหลัก ซึ่งหลักการจัดความเสี่ยงลูกค้าในโครงการสินเชื่อเคหะสวัสดิการนั้น จะจัดตามสถานะของพนักงาน เช่น พนักงานที่ทำงานในโรงงานระดับล่างจะมีความเสี่ยงสูงมากกว่าพนักงานในกลุ่มระดับผู้บริหาร
**สินเชื่อบ้านแข่งดุออมสินลุยเต็มสูบ
นางจามรี กล่าวต่อว่า สำหรับการแข่งขันปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยปี 53 คาดว่าจะมีการแข่งขันที่รุนแรง เนื่องจากมีธนาคารกลายแห่งประกาศขยายสินเชื่อในกลุ่มนี้มากขึ้น รวมถึงการปล่อยสินเชื่อสวัสดิการ โดยเฉพาะธนาคารออมสินที่เป็นคู่แข่งโดยตรงกับ ธอส. ประกาศรุกปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งออมสินสามารถดำเนินการได้ดี เนื่องจากมีต้นทุนการเงินต่ำอยู่แล้ว ส่วนธนาคารพาณิชย์อื่นๆ นั้นไม่ใช่คู่แข่งโดยตรง เพราะมีลูกค้าคนละกลุ่ม โดยธอส.และออมสิน จะเน้นปล่อยสินเชื่อลูกค้าระดับกลาง-ล่าง ปล่อยสินเชื่อทั้งบ้านใหม่ บ้านมือสอง หรือต่อเติมบ้าน ลูกค้าส่วนใหญ่กู่ไม่เกิน 1-2 ล้านบาทหรือต่ำกว่า 1 ล้านบาท ส่วนธนาคารพาณิชย์จะเน้นทำตลาดกับลูกค้าบ้านใหม่ และปล่อยสินเชื่อตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป
“ธอส.กับธนาคารพาณชย์ไม่ใช่คู่แข่งกันโดยตรง เพราะคนที่มีศักยภาพกู้กับธนาคารณิชย์ได้ หรือกู้วงเงินสูงๆ ก็จะไม่กู้กับธอส. เพราะต้องยอมรับว่าธอส.ให้วงเงินน้อยกว่า ดอกเบี้ยสูงกว่า แต่ถ้าเป็นกลุ่มกลาง-ล่าง ธนาคารพาณิชย์ก็จะไม่ปล่อยสินเชื่อให้ เราจึงเป็นที่พึ่งสำหรับลูกค้ากลุ่มนี้ ส่วนการขายพอร์ตสินเชื่อให้แก่ บรรษัทตลาดรองสินเชื่อ (บตท.) ก็ไม่ได้ทำให้เราจะปล่อยสินเชื่อได้ต่ำเพราะปีละ 1 หมื่นล้านบาทถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับพอร์ตที่ธอส.ต้องปล่อยไปทั้งปี” นางจามรี กล่าว
วิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบมาถึงไทยโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคและธุรกิจท่องเที่ยว หลายบริษัทประสบปัญหาต้องปิดกิจการ ลดเงินเดือนพนักงาน ส่งผลให้ธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อต้องส่งจับตาเป็นพิเศษ โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้สั่งเจ้าหน้าที่จับตาลูกค้าสินเชื่อบ้านใน 11 ธุรกิจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ เพราะเกรงว่าจะไม่มีกำลังผ่อนส่งค่างวด รวมไปถึงลูกค้าใหม่ที่มาขอสินเชื่อใน 11 ธุรกิจกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวก็ต้องเข้มงวดเป็นพิเศษเช่นกัน สำหรับ 11 ธุรกิจเสี่ยงได้แก่ 1.อัญมณีและเครื่องประดับ, 2.เวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง, 3.สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า, 4.เครื่องมือและเครื่องจักร, 5.ยานพาหนะและอุปกรณ์, 6.วัสดุก่อสร้างและเครื่องตกแต่ง, 7.พัฒนาอสังหาริมทรัพย์, 8.โรงแรมและบริการท่องเที่ยว, 9.ขนส่งและโลจิสติกส์, 10.เครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์และ 11.ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจุบันสถานการเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นหลายธุรกิจฟื้นตัว แต่ยังมีบางธุรกิจที่ยังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงคือ กรณีศาลปกครองสั่งระงับ 76 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งมีเพียง 11 โครงการจากทั้งหมด 76 โครงการที่ให้ดำเนินกิจการต่อได้หรือ 61 โครงการต้องถูกแช่แข็ง ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันหนี้เสียที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ธอส.จึงขึ้นบัญชีบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเป็นกลุ่มบริษัทเสี่ยงต่อความสามารถในการชำระหนี้
โดยนายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า ธนาคารได้สั่งการให้เจ้าหนี้ที่ธนาคารจับตาการชำระหนี้ลูกค้าสวัสดิการที่เป็นพนักงานของบริษัทในโครงการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ถูกระงับตามคำสั่งศาลปกครองเป็นการพิเศษ เนื่องจากเห็นว่าการที่บริษัทถูกระงับการดำเนินการกิจการตามคำสั่งศาลอาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของพนักงานและความสามารถในการชำระหนี้ของพนักงานที่ใช้บริการสินเชื่อบ้านในโครงการสวัสดิการของธนาคารได้ แม้ว่านิคมดังกล่าวจะยังไม่มีพนักงานเข้าไปทำงาน แต่การถูกระงับโครงการอาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างรายได้ของบริษัทและสุดท้ายจะมาตกอยู่ที่พนักงาน
ด้านนางจามรี เศวตจินดา รองกรรมการผู้จัดการ ธอส. กล่าวว่า สำหรับหลักปฎิบัติต่อพนักงานของบริษัท 11 กลุ่มเสี่ยง คือ 1.กรณีลูกค้าต้องการกู้เพิ่มจะไม่พิจารณาให้กู้เพิ่ม เพราะอาจเสี่ยงต่อการชำระหนี้ไม่ได้ 2.กรณีลูกค้าใหม่จะไม่อนุมัติวงเงินกู้เต็ม 100% ลูกค้าจะต้องมีเงินดาวน์ของตนเองส่วนหนึ่ง และ 3.กรณีซื้อบ้านหลังที่ 2 หรือ 3 จะพิจารณาเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ส่วนหลักเกณฑ์อื่นๆยังคงปกติ
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาธนาคารได้มีการปลดล็อกกลุ่มธุรกิจลูกค้าสวัสดิการ ที่ถูกจัดกลุ่มอยู่ในความเสี่ยง ต้องจับตาการชำระหนี้เพราะเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจแล้ว 2 กลุ่มหลักจากกลุ่มธุรกิจที่ถูกจัดอยู่ใน 11 กลุ่มธุรกิจเสี่ยง คือกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ (กลุ่มยานพาหนะและอุปกรณ์) และกลุ่มส่งออกชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และอิเลคทรอนิคส์ เนื่องจากเห็นว่าแนวโน้มธุรกิจปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ภายหลังจากได้ปลดล็อกกลุ่มเสี่ยงสินเชื่อเคหะสวัสดิการ 2กลุ่มนี้ จะมีการชำระหนี้เงินกู้กับธนาคารตามเกณฑ์ปกติ จากเดิมที่ได้เข้าโปรแกรมปรับโครงสร้างกับธนาคาร โดยได้มีการยืดระยะเวลาการชำระหนี้ ลดดอกเบี้ยให้หรือการช่วยเหลือเป็นรายกรณีตามปัญหาที่เกิดขึ้นจริง
ส่วนกลุ่มธุรกิจที่ยังคงจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเพราะเห็นว่าภาพรวมธุรกิจยังไม่ฟื้นตัว อาทิ กลุ่มส่งออก ในกลุ่มอัญมณี โชห่วย และกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว การโรงแรมเป็นต้น ส่วนจะมีการปลดล็อกเมื่อไหร่นั้นจะประเมินอีกครั้งหลังจากเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ โดยจะยึดตามภาวะเศรษฐกิจเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในช่วงต้นปี 52ธนาคารได้มีการขึ้นบัญชีกลุ่มเสี่ยงกับลูกค้าสวัสดิการที่เป็นพนักงานธนาคารด้วย แต่หลังจากเห็นว่าธนาคารไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกจึงได้มีการปลดล็อกไปแล้ว
ทั้งนี้บริษัทในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดกว่าร้อยละ 80 ใช้บริการสินเชื่อเคหะสวัสดิการของธนาคาร โดยก่อนหน้านี้ทางธนาคารได้มีการจัดโครการปรับโครงสร้างให้กับลูกค้าสวัสดิการที่ได้รับผลกระทบกับภาวะเศรษฐกิจโดยมีการจัดกลุ่มลูกค้ากลุ่มเสียงออกเป็น 11 กลุ่มหลัก ซึ่งหลักการจัดความเสี่ยงลูกค้าในโครงการสินเชื่อเคหะสวัสดิการนั้น จะจัดตามสถานะของพนักงาน เช่น พนักงานที่ทำงานในโรงงานระดับล่างจะมีความเสี่ยงสูงมากกว่าพนักงานในกลุ่มระดับผู้บริหาร
**สินเชื่อบ้านแข่งดุออมสินลุยเต็มสูบ
นางจามรี กล่าวต่อว่า สำหรับการแข่งขันปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยปี 53 คาดว่าจะมีการแข่งขันที่รุนแรง เนื่องจากมีธนาคารกลายแห่งประกาศขยายสินเชื่อในกลุ่มนี้มากขึ้น รวมถึงการปล่อยสินเชื่อสวัสดิการ โดยเฉพาะธนาคารออมสินที่เป็นคู่แข่งโดยตรงกับ ธอส. ประกาศรุกปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งออมสินสามารถดำเนินการได้ดี เนื่องจากมีต้นทุนการเงินต่ำอยู่แล้ว ส่วนธนาคารพาณิชย์อื่นๆ นั้นไม่ใช่คู่แข่งโดยตรง เพราะมีลูกค้าคนละกลุ่ม โดยธอส.และออมสิน จะเน้นปล่อยสินเชื่อลูกค้าระดับกลาง-ล่าง ปล่อยสินเชื่อทั้งบ้านใหม่ บ้านมือสอง หรือต่อเติมบ้าน ลูกค้าส่วนใหญ่กู่ไม่เกิน 1-2 ล้านบาทหรือต่ำกว่า 1 ล้านบาท ส่วนธนาคารพาณิชย์จะเน้นทำตลาดกับลูกค้าบ้านใหม่ และปล่อยสินเชื่อตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป
“ธอส.กับธนาคารพาณชย์ไม่ใช่คู่แข่งกันโดยตรง เพราะคนที่มีศักยภาพกู้กับธนาคารณิชย์ได้ หรือกู้วงเงินสูงๆ ก็จะไม่กู้กับธอส. เพราะต้องยอมรับว่าธอส.ให้วงเงินน้อยกว่า ดอกเบี้ยสูงกว่า แต่ถ้าเป็นกลุ่มกลาง-ล่าง ธนาคารพาณิชย์ก็จะไม่ปล่อยสินเชื่อให้ เราจึงเป็นที่พึ่งสำหรับลูกค้ากลุ่มนี้ ส่วนการขายพอร์ตสินเชื่อให้แก่ บรรษัทตลาดรองสินเชื่อ (บตท.) ก็ไม่ได้ทำให้เราจะปล่อยสินเชื่อได้ต่ำเพราะปีละ 1 หมื่นล้านบาทถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับพอร์ตที่ธอส.ต้องปล่อยไปทั้งปี” นางจามรี กล่าว