ASTVผู้จัดการรายวัน-กนง.เผยครม.อนุมัติเป้าหมายนโยบายการเงินประจำปี53 กำหนดอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาส 0.5-3.0%ต่อปี ระบุหากเงินเฟ้อหลุดนอกกรอบ กนง.ต้องชี้แจงให้สาธารณะชนรับทราบ พร้อมทั้งเปิดช่องในกรณีจำเป็นแก้ไขเป้าหมายนโยบายการเงินใหม่ได้ ซึ่งรมว.คลังและกนง.ตกลงร่วมกันก่อนเสนอครม.อนุมัติ
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)แจ้งว่า นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธปท. ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ได้ออกประกาศว่าคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 53 โดยกำหนดอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสระหว่าง 0.5-3.5%ต่อปี เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพด้านราคา และขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการประกาศลงราชกิจจานุเบกษาต่อไป
ทั้งนี้ หากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเคลื่อนไหวออกนอกช่วง 0.5-3.5%ต่อปี ตามที่ได้ตกลงกันไว้ ให้กนง.ชี้แจงสาเหตุ แนวทางแก้ไข และระยะเวลาที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะกลับเข้าสู่ช่วงที่กำหนดไว้โดยเร็ว รวมทั้งให้รายงานความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาเป็นระยะตามสมควร
ส่วนกรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงินนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและกนง.อาจตกลงร่วมกัน เพื่อแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงินได้ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
อนึ่ง เป้าหมายนโยบายการเงินของปีถัดไปจะมีการตกลงร่วมกันระหว่างกนง.กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในเดือนธ.ค.ของทุกปี ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดในพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485ในมาตรา 28/8 และแก้ไขเพิ่มเติมในพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551
โดยก่อนหน้านี้ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ในปี 53 อัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่าปีก่อนหน้า โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 1-2 เป็นผลจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของรัฐ 5 ข้อ ซึ่งต่ออายุไปอีก 1 ไตรมาส ทำให้หลังจากนั้นอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น แต่ไม่น่าตื่นตระหนก เพราะหากพิจารณาตามข้อมูลเป็นผลจากราคาน้ำมันและฐานปีก่อนที่ต่ำ ขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อต้องดูที่ราคาสินค้าแพงขึ้นจริงๆ และการคาดการณ์ทั่วไปว่าอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งขณะนี้ทั้ง 2 ปัจจัยนี้ยังไม่ได้สูงขึ้น
ส่วนประเด็นการปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นก็ไม่ได้มีผลต่ออัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น เพราะอัตราค่าจ้างไม่ได้มีการปรับมาระยะหนึ่งแล้วและเป็นเรื่องที่มีการตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเรียบร้อยแล้ว รวมถึงในขณะนี้อัตราว่างงานอยู่ในระดับต่ำ จึงเชื่อว่าภาคธุรกิจจะปรับตัวได้
ด้านนางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านบริหาร ธปท.และในฐานะคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวว่า แม้กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ระดับ 0.2% ในเดือนธ.ค. และเฉลี่ยทั้งปีเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัว 0.3% หลุดจากกรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน คือ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 0.5-3.0% มองว่าเกิดจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพภาครัฐ ซึ่งเป็นแค่มาตรการชั่วคราว แต่หากตัดมาตรการนี้ออกไปอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่แท้จริงยังอยู่ในกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินอยู่
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 53 จะเพิ่มแรงกดดันหรือไม่จะต้องจับตา 3 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ 1.การฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยว่าจะกดดันดีมานส์ในระบบเพิ่มขึ้นหรือไม่ 2.ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น และ3.ผลของมาตรการภาครัฐ ซึ่งหากมีการต่ออายุไปอีกหลังจากเม.ย.นี้ไปแล้วอาจมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นได้
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)แจ้งว่า นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธปท. ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ได้ออกประกาศว่าคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 53 โดยกำหนดอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสระหว่าง 0.5-3.5%ต่อปี เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพด้านราคา และขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการประกาศลงราชกิจจานุเบกษาต่อไป
ทั้งนี้ หากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเคลื่อนไหวออกนอกช่วง 0.5-3.5%ต่อปี ตามที่ได้ตกลงกันไว้ ให้กนง.ชี้แจงสาเหตุ แนวทางแก้ไข และระยะเวลาที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะกลับเข้าสู่ช่วงที่กำหนดไว้โดยเร็ว รวมทั้งให้รายงานความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาเป็นระยะตามสมควร
ส่วนกรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงินนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและกนง.อาจตกลงร่วมกัน เพื่อแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงินได้ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
อนึ่ง เป้าหมายนโยบายการเงินของปีถัดไปจะมีการตกลงร่วมกันระหว่างกนง.กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในเดือนธ.ค.ของทุกปี ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดในพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485ในมาตรา 28/8 และแก้ไขเพิ่มเติมในพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551
โดยก่อนหน้านี้ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ในปี 53 อัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่าปีก่อนหน้า โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 1-2 เป็นผลจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของรัฐ 5 ข้อ ซึ่งต่ออายุไปอีก 1 ไตรมาส ทำให้หลังจากนั้นอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น แต่ไม่น่าตื่นตระหนก เพราะหากพิจารณาตามข้อมูลเป็นผลจากราคาน้ำมันและฐานปีก่อนที่ต่ำ ขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อต้องดูที่ราคาสินค้าแพงขึ้นจริงๆ และการคาดการณ์ทั่วไปว่าอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งขณะนี้ทั้ง 2 ปัจจัยนี้ยังไม่ได้สูงขึ้น
ส่วนประเด็นการปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นก็ไม่ได้มีผลต่ออัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น เพราะอัตราค่าจ้างไม่ได้มีการปรับมาระยะหนึ่งแล้วและเป็นเรื่องที่มีการตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเรียบร้อยแล้ว รวมถึงในขณะนี้อัตราว่างงานอยู่ในระดับต่ำ จึงเชื่อว่าภาคธุรกิจจะปรับตัวได้
ด้านนางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านบริหาร ธปท.และในฐานะคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวว่า แม้กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ระดับ 0.2% ในเดือนธ.ค. และเฉลี่ยทั้งปีเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัว 0.3% หลุดจากกรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน คือ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 0.5-3.0% มองว่าเกิดจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพภาครัฐ ซึ่งเป็นแค่มาตรการชั่วคราว แต่หากตัดมาตรการนี้ออกไปอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่แท้จริงยังอยู่ในกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินอยู่
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 53 จะเพิ่มแรงกดดันหรือไม่จะต้องจับตา 3 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ 1.การฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยว่าจะกดดันดีมานส์ในระบบเพิ่มขึ้นหรือไม่ 2.ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น และ3.ผลของมาตรการภาครัฐ ซึ่งหากมีการต่ออายุไปอีกหลังจากเม.ย.นี้ไปแล้วอาจมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นได้