ธปท.เผย ศก.เดือน พ.ย.ขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งการบริโภค-การลงทุน ชี้ การบริโภคฟื้นตัวที่ระดับ 4% ใกล้เคียงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
นายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนพฤศจิกายน 2552 ปรับตัวดีขึ้น หลังจากชะลอตัวลงจากเดือนก่อน เนื่องจากการบริโภคปรับตัวดีขึ้นมาก โดยเฉพาะการซื้อรถยนต์ และการซื้ออสังหาริมทรัพย์
ทั้งนี้ ดัชนีการอุปโภคและบริโภคภาคเอกชนขยายตัวที่ร้อยละ 4 ถือเป็นการขยายตัวในระดับสูงใกล้เคียงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก หลังจากที่เดือนตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา ชะลอตัว
สำหรับสาเหตุที่การบริโภคปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากรายได้ของลูกจ้าง และรายได้เกษตรกรเพิ่มสูงขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะ ข้าว มันสำปะหลัง และ ยางพารา ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสูงขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นสูงถึง 76.5 อัตราดอกเบี้ยต่ำกระตุ้นการบริโภค และการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อผู้บริโภค
ส่วนการลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ดัชนีการลงทุนอยู่ที่ 164.7 แต่ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำ เพราะนักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับปัญหาการเมืองที่ยังไม่นิ่ง ปัญหาการลงทุนในอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ยังไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันการลงทุนอยู่
อย่างไรก็ตาม การทุจริตในโครงการการลงทุนของกระทรวงสาธารณสุข ธปท. มองว่า ทำให้ต้องมีการจับตามองว่า การเบิกจ่ายการลงทุนในแผนปฏิบัติการไทยเข็มแข็ง ระยะที่ 2 จะเป็นไปตามเป้าหรือไม่ ขณะที่การเบิกจ่ายของภาครัฐในเดือนพฤศจิกายน 2552 มีการเบิกจ่ายมากขึ้น หลังจาก พ.ร.บ. งบประมาณผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้ว แต่การเบิกจ่ายบางส่วนยังค้างอยู่ที่ธนาคารพาณิชย์
ด้านภาคการส่งออกจะแผ่วลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงขยายตัวได้ร้อยละ 17.3 หากเทียบกับปีก่อน มีมูลค่า 13,726 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะส่งออกสินค้าเกษตรและน้ำตาลส่งออกได้สูงขึ้น ขณะที่ส่งออกกลุ่มยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าแผ่วลง ส่วนการนำเข้าปรับตัวดีขึ้นมีมูลค่า 12,620 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 หากเทียบกับเดือนตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา
ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤศจิกายน 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ ร้อยละ 0.1 ซึ่งยังต้องจับตาการซื้อรถยนต์และที่อยู่อาศัยที่เร่งตัวขึ้นว่าจะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนหรือไม่ หากเป็นการขยายตัวเฉพาะการบริโภคเพียงด้านเดียว ก็จะมีผลทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นได้
นายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนพฤศจิกายน 2552 ปรับตัวดีขึ้น หลังจากชะลอตัวลงจากเดือนก่อน เนื่องจากการบริโภคปรับตัวดีขึ้นมาก โดยเฉพาะการซื้อรถยนต์ และการซื้ออสังหาริมทรัพย์
ทั้งนี้ ดัชนีการอุปโภคและบริโภคภาคเอกชนขยายตัวที่ร้อยละ 4 ถือเป็นการขยายตัวในระดับสูงใกล้เคียงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก หลังจากที่เดือนตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา ชะลอตัว
สำหรับสาเหตุที่การบริโภคปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากรายได้ของลูกจ้าง และรายได้เกษตรกรเพิ่มสูงขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะ ข้าว มันสำปะหลัง และ ยางพารา ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสูงขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นสูงถึง 76.5 อัตราดอกเบี้ยต่ำกระตุ้นการบริโภค และการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อผู้บริโภค
ส่วนการลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ดัชนีการลงทุนอยู่ที่ 164.7 แต่ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำ เพราะนักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับปัญหาการเมืองที่ยังไม่นิ่ง ปัญหาการลงทุนในอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ยังไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันการลงทุนอยู่
อย่างไรก็ตาม การทุจริตในโครงการการลงทุนของกระทรวงสาธารณสุข ธปท. มองว่า ทำให้ต้องมีการจับตามองว่า การเบิกจ่ายการลงทุนในแผนปฏิบัติการไทยเข็มแข็ง ระยะที่ 2 จะเป็นไปตามเป้าหรือไม่ ขณะที่การเบิกจ่ายของภาครัฐในเดือนพฤศจิกายน 2552 มีการเบิกจ่ายมากขึ้น หลังจาก พ.ร.บ. งบประมาณผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้ว แต่การเบิกจ่ายบางส่วนยังค้างอยู่ที่ธนาคารพาณิชย์
ด้านภาคการส่งออกจะแผ่วลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงขยายตัวได้ร้อยละ 17.3 หากเทียบกับปีก่อน มีมูลค่า 13,726 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะส่งออกสินค้าเกษตรและน้ำตาลส่งออกได้สูงขึ้น ขณะที่ส่งออกกลุ่มยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าแผ่วลง ส่วนการนำเข้าปรับตัวดีขึ้นมีมูลค่า 12,620 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 หากเทียบกับเดือนตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา
ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤศจิกายน 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ ร้อยละ 0.1 ซึ่งยังต้องจับตาการซื้อรถยนต์และที่อยู่อาศัยที่เร่งตัวขึ้นว่าจะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนหรือไม่ หากเป็นการขยายตัวเฉพาะการบริโภคเพียงด้านเดียว ก็จะมีผลทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นได้