เอเอฟพี – นักเดินทางทั่วโลกต้องเผชิญกับมาตรการรักษาความปลอดภัยในบริเวณสนามบินอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้นเมื่อวานนี้ (27) หลังจากเกิดเหตุมือบึ้มพยายามจุดชนวนระเบิดบนเครื่องบินของสายการบินนอร์ทเวสต์แอร์ไลนส์ ขณะกำลังใกล้ลงจอดที่เมืองดีทรอยต์,สหรัฐฯในวันคริสต์มาสที่ผ่านมา ทว่าทำงานล้มเหลว
ท่าอากาศยานอัมสเตอร์ดัม-ชีโพล กำลังเร่งสืบสวนกรณีที่ อุมาร์ ฟารูก อับดุลมุตอลลับ หนุ่มไนจีเรียวัย 23 ปี ที่มีรายงานว่าเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับกลุ่มอัลกออิดะห์ด้วย สามารถลักลอบนำวัตถุระเบิดขึ้นเครื่องบินจากสนามบินสำคัญของเนเธอร์แลนด์แห่งนี้ จากนั้นก็พยายามจุดชนวนระเบิดดังกล่าวในขณะที่เครื่องบินเดินทางใกล้ถึงปลายทางที่เมืองดีทรอยต์ของสหรัฐฯ แต่ถูกผู้โดยสารคนหนึ่งเข้าขัดขวางไว้ได้ทันท่วงที
หลังเกิดเหตุ ทางการสหรัฐฯ ได้ขอให้สายการบินทั่วโลกเพิ่มความเข้มงวดในเรื่องมาตรการรักษาความปลอดภัยในทันที ขณะที่ทางการผู้รับผิดชอบสนามบินต่างๆ แถลงว่า ได้สั่งให้ตรวจค้นผู้โดยสารและสัมภาระอย่างละเอียด รวมทั้งจำกัดการนำสัมภาระติดตัวด้วย ซึ่งส่งผลให้ต้องใช้เวลาตรวจเช็ค-อินนานกว่าเดิม
นอกจากนั้น สหรัฐฯ ได้ขอร้องอย่างเป็นทางการไปยังเนเธอร์แลนด์ให้ใช้มาตรการพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการค้นตัวผู้โดยสารและตรวจค้นกระเป๋าถืออย่างละเอียดในช่วงเช้าวันเสาร์(26)
ขณะที่ภายในสหรัฐฯเอง กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ ก็ได้เพิ่มความเคร่งครัดในการตรวจตรารักษาความปลอดภัยเที่ยวบินทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศทั้งหมด โดยเพิ่มมาตรการคัดกรองผู้โดยสารเป็นพิเศษหลายมาตรการด้วยกัน
“มาตรการเหล่านี้เตรียมไว้เพื่อการนำออกมาใช้แบบไม่ให้คาดเดาได้ล่วงหน้า ผู้โดยสารในจุดต่างๆ จึงถูกตรวจไม่เหมือนกัน” กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิแถลง
ทางด้านสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ ได้ประกาศใช้กฎใหม่ที่คุมเข้มยิ่งขึ้นในทันที สำหรับเที่ยวบินที่เดินทางไปยังสหรัฐฯ ทั้งนี้ “ก่อนที่เครื่องบินจะลงจอดที่สนามบินในสหรัฐฯ 1 ชั่วโมง ผู้โดยสารทุกคนจะต้องนั่งประจำที่ และไม่ควรถือกระเป๋าใดๆ ไว้ใกล้ตัว และไม่ควรห่มผ้าห่มคลุมตัวไว้ อีกทั้งจะมีการปิดระบบสื่อบันเทิงบนเครื่องทั้งหมด”
ส่วนในกรุงลอนดอน โฆษกของบริติชแอร์เวยส์กล่าวว่า จะมีการใช้กฎระเบียบใหม่ๆ เช่นกัน “ซึ่งจะรวมทั้งการตรวจคัดกรองพิเศษสำหรับผู้โดยสารทุกคนที่จะเดินทางไปยังสหรัฐฯ โดยผู้โดยสารกลุ่มนี้จะได้รับอนุญาตให้นำกระเป๋าถือติดมือขึ้นเครื่องเพียงใบเดียว”
ที่กรุงปารีส ผู้โดยสารรายหนึ่งที่ท่าอากาศยานชาร์ลส์เดอโกลเล่าว่า “ผู้โดยสารจะถูกตรวจค้นกระเป๋าถือทั้งหมด ยกเว้นกระเป๋าของสุภาพสตรี ส่วนข้าวของที่จำเป็นต้องนำออกมาใช้ขณะอยู่บนเครื่องบินก็จะต้องใส่ลงในถุงพลาสติกพิเศษ และจะมีการตรวจค้นผู้โดยสารรวมทั้งกระเป๋าถือซ้ำอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะขึ้นเครื่องบิน”
สนามบินในกรุงโรมและกรุงสต็อกโฮล์ม ก็มีการประกาศใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยกับเครื่องบินที่จะเดินทางไปสหรัฐฯ อย่างเข้มงวดเช่นกัน
สายการบินคาเธย์แปซิฟิกของฮ่องกง สั่งห้ามผู้โดยสารที่จะเดินทางไปยังสหรัฐฯ ใช้โทรศัพท์บนเครื่องในระหว่างการเดินทาง
ส่วนที่นิวซีแลนด์ ผู้โดยสารที่จะเดินทางไปยังสหรัฐฯ จะถูกแยกกลุ่มจากผู้โดยสารในเส้นทางอื่นๆ เพื่อตรวจค้นตัวและกระเป๋าอย่างเข้มงวดพิเศษ
ที่ญี่ปุ่น ทางการผู้รับผิดชอบแจ้งให้ผู้โดยสารเผื่อเวลามากขึ้นที่สนามบิน เนื่องจากมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดอาจทำให้เสียเวลาเพิ่มขึ้น
เช่นเดียวกัน ที่แคนาดามีการประกาศใช้ “มาตรการเร่งด่วน” และเตือนว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดจะทำให้เกิดความล่าช้า
อย่างไรก็ตาม สำหรับที่อัฟกานิสถาน ทางการผู้รับผิดชอบที่นั่นกล่าวว่า จะไม่เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยที่สนามบินนานาชาติกรุงคาบูลอีก เพราะมาตรการที่ใช้อยู่นั้นเข้มข้นอยู่แล้ว
อนึ่ง คณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป(อียู) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงบรัสเซลส์ แถลงว่า กำลังดำเนินการสอบสวนว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยในสนามบินของอัมสเตอร์ดัมเหมาะสมดีเพียงพอหรือไม่
ฌากส์ แบร์โรต์ รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวอีกว่า “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นอีกครั้งหนึ่งว่าเราจำเป็นต้องระมัดระวังอย่างเต็มที่อยู่ตลอดเวลา ในระหว่างที่ต่อสู้อยู่กับการก่อการร้าย”
ท่าอากาศยานอัมสเตอร์ดัม-ชีโพล กำลังเร่งสืบสวนกรณีที่ อุมาร์ ฟารูก อับดุลมุตอลลับ หนุ่มไนจีเรียวัย 23 ปี ที่มีรายงานว่าเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับกลุ่มอัลกออิดะห์ด้วย สามารถลักลอบนำวัตถุระเบิดขึ้นเครื่องบินจากสนามบินสำคัญของเนเธอร์แลนด์แห่งนี้ จากนั้นก็พยายามจุดชนวนระเบิดดังกล่าวในขณะที่เครื่องบินเดินทางใกล้ถึงปลายทางที่เมืองดีทรอยต์ของสหรัฐฯ แต่ถูกผู้โดยสารคนหนึ่งเข้าขัดขวางไว้ได้ทันท่วงที
หลังเกิดเหตุ ทางการสหรัฐฯ ได้ขอให้สายการบินทั่วโลกเพิ่มความเข้มงวดในเรื่องมาตรการรักษาความปลอดภัยในทันที ขณะที่ทางการผู้รับผิดชอบสนามบินต่างๆ แถลงว่า ได้สั่งให้ตรวจค้นผู้โดยสารและสัมภาระอย่างละเอียด รวมทั้งจำกัดการนำสัมภาระติดตัวด้วย ซึ่งส่งผลให้ต้องใช้เวลาตรวจเช็ค-อินนานกว่าเดิม
นอกจากนั้น สหรัฐฯ ได้ขอร้องอย่างเป็นทางการไปยังเนเธอร์แลนด์ให้ใช้มาตรการพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการค้นตัวผู้โดยสารและตรวจค้นกระเป๋าถืออย่างละเอียดในช่วงเช้าวันเสาร์(26)
ขณะที่ภายในสหรัฐฯเอง กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ ก็ได้เพิ่มความเคร่งครัดในการตรวจตรารักษาความปลอดภัยเที่ยวบินทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศทั้งหมด โดยเพิ่มมาตรการคัดกรองผู้โดยสารเป็นพิเศษหลายมาตรการด้วยกัน
“มาตรการเหล่านี้เตรียมไว้เพื่อการนำออกมาใช้แบบไม่ให้คาดเดาได้ล่วงหน้า ผู้โดยสารในจุดต่างๆ จึงถูกตรวจไม่เหมือนกัน” กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิแถลง
ทางด้านสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ ได้ประกาศใช้กฎใหม่ที่คุมเข้มยิ่งขึ้นในทันที สำหรับเที่ยวบินที่เดินทางไปยังสหรัฐฯ ทั้งนี้ “ก่อนที่เครื่องบินจะลงจอดที่สนามบินในสหรัฐฯ 1 ชั่วโมง ผู้โดยสารทุกคนจะต้องนั่งประจำที่ และไม่ควรถือกระเป๋าใดๆ ไว้ใกล้ตัว และไม่ควรห่มผ้าห่มคลุมตัวไว้ อีกทั้งจะมีการปิดระบบสื่อบันเทิงบนเครื่องทั้งหมด”
ส่วนในกรุงลอนดอน โฆษกของบริติชแอร์เวยส์กล่าวว่า จะมีการใช้กฎระเบียบใหม่ๆ เช่นกัน “ซึ่งจะรวมทั้งการตรวจคัดกรองพิเศษสำหรับผู้โดยสารทุกคนที่จะเดินทางไปยังสหรัฐฯ โดยผู้โดยสารกลุ่มนี้จะได้รับอนุญาตให้นำกระเป๋าถือติดมือขึ้นเครื่องเพียงใบเดียว”
ที่กรุงปารีส ผู้โดยสารรายหนึ่งที่ท่าอากาศยานชาร์ลส์เดอโกลเล่าว่า “ผู้โดยสารจะถูกตรวจค้นกระเป๋าถือทั้งหมด ยกเว้นกระเป๋าของสุภาพสตรี ส่วนข้าวของที่จำเป็นต้องนำออกมาใช้ขณะอยู่บนเครื่องบินก็จะต้องใส่ลงในถุงพลาสติกพิเศษ และจะมีการตรวจค้นผู้โดยสารรวมทั้งกระเป๋าถือซ้ำอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะขึ้นเครื่องบิน”
สนามบินในกรุงโรมและกรุงสต็อกโฮล์ม ก็มีการประกาศใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยกับเครื่องบินที่จะเดินทางไปสหรัฐฯ อย่างเข้มงวดเช่นกัน
สายการบินคาเธย์แปซิฟิกของฮ่องกง สั่งห้ามผู้โดยสารที่จะเดินทางไปยังสหรัฐฯ ใช้โทรศัพท์บนเครื่องในระหว่างการเดินทาง
ส่วนที่นิวซีแลนด์ ผู้โดยสารที่จะเดินทางไปยังสหรัฐฯ จะถูกแยกกลุ่มจากผู้โดยสารในเส้นทางอื่นๆ เพื่อตรวจค้นตัวและกระเป๋าอย่างเข้มงวดพิเศษ
ที่ญี่ปุ่น ทางการผู้รับผิดชอบแจ้งให้ผู้โดยสารเผื่อเวลามากขึ้นที่สนามบิน เนื่องจากมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดอาจทำให้เสียเวลาเพิ่มขึ้น
เช่นเดียวกัน ที่แคนาดามีการประกาศใช้ “มาตรการเร่งด่วน” และเตือนว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดจะทำให้เกิดความล่าช้า
อย่างไรก็ตาม สำหรับที่อัฟกานิสถาน ทางการผู้รับผิดชอบที่นั่นกล่าวว่า จะไม่เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยที่สนามบินนานาชาติกรุงคาบูลอีก เพราะมาตรการที่ใช้อยู่นั้นเข้มข้นอยู่แล้ว
อนึ่ง คณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป(อียู) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงบรัสเซลส์ แถลงว่า กำลังดำเนินการสอบสวนว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยในสนามบินของอัมสเตอร์ดัมเหมาะสมดีเพียงพอหรือไม่
ฌากส์ แบร์โรต์ รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวอีกว่า “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นอีกครั้งหนึ่งว่าเราจำเป็นต้องระมัดระวังอย่างเต็มที่อยู่ตลอดเวลา ในระหว่างที่ต่อสู้อยู่กับการก่อการร้าย”