ASTVผู้จัดการรายวัน-ศาลสั่งโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ชดใช้เงิน 12 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 คดี น้องซาย พิการขณะเป็นทารกในครรภ์ ศาลระบุ แพทย์ไม่อธิบายและแจ้งให้ครอบครัวผู้เสียหายทราบ แต่ปล่อยให้ตั้งท้องลูกพิการ
วานนี้(25 ธ.ค.)ที่ศาลจังหวัดพระโขนง ศาลนัดอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำ พ.8964/2550 ที่ นางประภาพร แซ่จึง อายุ 36 ปี และ ด.ช.ซาย เค่อ ลี หรือน้องซาย อายุ 3 ปี บุตรชาย เป็นโจทก์ที่ 1 และ 2 ยื่นฟ้อง บริษัทโรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ จำกัด (มหาชน), นายแพทย์เดชะพงษ์ ภู่เจริญ แพทย์สูตินารีเวช และ แพทย์หญิงอรชาติ อุดมพาณิชย์ แพทย์รังสีวิทยา เป็นจำเลยที่ 1-3 เรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหายจำนวน 390,966,293 บาท กรณีเมื่อวันที่ 30 ก.ย.49 นางประภาพร ภรรยาของ นายวอลเตอร์ ลี อายุ 44 ปี สัญชาติมาเลเซีย พิธีกรรายการอาหาร “@ 5 dairy” ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ไปคลอดน้องซายที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ปรากฏว่าเด็กออกมามีความพิการแขนขวาและขาทั้งสองข้างขาด ทั้งที่ก่อนหน้านั้นแพทย์ทั้งสองคนในคดีนี้ ระบุผลอัลตราซาวนด์ว่าบุตรในครรภ์ของนางประภาพรสมบูรณ์และแข็งแรงดี
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่ามีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2-3 มีการกระทำการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ เห็นว่า มูลเห็นที่โจทก์นำคดีมาฟ้องนั้น มาจากการอัลตราซาวนด์ ที่จำเลยที่ 2-3 ไม่ได้ตรวจดูถึงความพิการของน้องซาย โจทก์ที่ 2 ขณะอยู่ในครรภ์ ทั้งที่จำเลยที่ 2-3 ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ทราบ เมื่อวันที่ 9 พ.ค.49 ขณะที่โจทก์ตั้งครรภ์ได้ 4-5 เดือน จำเลยที่ 2 ส่งตัวโจทก์ไปให้จำเลยที่ 3 ตรวจอัลตราซาวนด์ ใช้เวลาตรวจนาน 5-10 นาที จำเลยที่ 3 ระบุว่าบุตรในครรภ์สมบูรณ์ดีทุกประการ ก่อนส่งตัวโจทก์กลับไปพบกับจำเลยที่ 2 หลังจำเลยที่ 2 ดูภาพอัลตราซาวนด์แล้ว บอกแก่โจทก์ว่ายินดีด้วยที่ได้บุตรชายและเด็กสมบูรณ์ดี หลังจากนั้นไม่มีการตรวจซ้ำอีก แต่ไปพบแพทย์เพื่อตรวจการเต้นของหัวใจเท่านั้น จนกระทั่งบุตรคลอดออกมาแล้วมีความพิการ แขนขวา และขาทั้งสองข้างขาด ไม่มีเบ้าสะโพก ขณะที่จำเลยที่ 2 เบิกความว่า หลังการอัลตราซาวนด์ได้แนะนำให้โจทก์กลับมาทำอัลตราซาวนด์ เพื่อดูความเจริญเติบโตของทารกในครรภ์อีกครั้ง แต่โจทก์ไม่ทำ โดยรู้สึกเห็นใจต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 เบิกความว่าได้รับมอบหมายให้ตรวจอัลตราซาวนด์ในระดับที่ 1 พบว่ามีการเจริญเติบโตตามปกติ แต่รู้สึกเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่ง
ศาลเห็นว่าจากบันทึกเวชระเบียนของโจทก์ ตั้งแต่วันที่ 20 ก.พ.49 กระทั่งคลอดบุตร ไม่ปรากฏว่ามีการระบุให้โจทก์กลับมาอัลตราซาวนด์ซ้ำ รวมถึงไม่ระบุถึงความพิการของทารกในครรภ์ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่เคยอธิบายผลดี ผลเสีย ของบุตรในครรภ์ให้โจทก์ทราบ ดังนั้นโจทก์จึงไม่ทราบถึงความพิการของทารกในครรภ์ ทั้งที่จำเลยที่ 2-3 ควรตรวจถึงความพิการของทารกในครรภ์ เพื่อแจ้งให้โจทก์มีสิทธิที่จะตัดสินใจว่าจะรักษาอย่างไร หรือจะรักษาหรือไม่ ซึ่งแพทย์มีหน้าที่บอกอธิบายวิธีการรักษา โดยให้ผู้ป่วยรับทราบและยินยอม การกระทำของจำเลยที่ 2-3 จึงต้องรับผิดฐานประมาทเลินเล่อละเว้นหน้าที่ที่ต้องระวัง จำเลยที่ 2-3 ทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง อีกทั้งการยุติครรภ์ในกรณีที่ไม่ขัดศีลธรรมสามารถทำได้ตามมติของแพทยสภา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วย และคำแนะนำของแพทย์ และจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2-3 ด้วย ในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์โดยตรง
มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามต้องรับผิดเพียงใด ศาลกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสามต้องร่วมกันชดใช้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง แบ่งเป็นค่าเสียหายทางจิตใจของโจทก์ที่ 1 จำนวน 1 ล้านบาท ค่าเสียหายจากการขาดรายได้ของโจทก์ที่ 1 จำนวน 1 ล้านบาท ค่าจ้างคนเลี้ยงดูน้องซาย จำนวน 3 ล้านบาท ค่าอุปกรณ์ที่ช่วยให้น้องซายสามารถพยุงตัวยืนได้ ที่ต้องเปลี่ยนไปตามวัย จำนวน 5 ล้านบาท ค่ารักษาผ่าตัดในอนาคตจำนวน 1 ล้านบาท ค่ารักษาทางจิตใจต่อน้องซาย โจทก์ที่ 2 จำนวน 1 ล้านบาท สำหรับค่าสินไหมทดแทนที่ศาลกำหนดนั้นไม่เต็มจำนวนตามที่โจทก์ฟ้อง เนื่องจากการกระทำการละเมิดของจำเลยทั้งสาม ไม่ได้มีเจตนาร้าย ไม่ได้ส่อไปในทางเป็นอาชญากรรม จึงให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้เงินรวมจำนวน 12 ล้านบาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 นับตั้งแต่วันฟ้อง
ด้าน นายวอลเตอร์ ลี กล่าวว่า ต้องไปปรึกษากับทนายความและครอบครัวอีกครั้งว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่ วันนี้ดีใจที่สิทธิของคนไข้ได้รับการเยียวยารักษา หลังเกิดเหตุการณ์นี้กับครอบครัว จึงได้พาน้องซายไปรักษาตัวที่ประเทศเยอรมนี หลังจากแพทย์ในประเทศต่างพูดตรงกันว่าต้องรอให้เด็กโตก่อนจึงจะรักษาได้ ทั้งที่ความจริงแล้วเมื่อเกิดปัญหาขึ้น สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ในทันที
วานนี้(25 ธ.ค.)ที่ศาลจังหวัดพระโขนง ศาลนัดอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำ พ.8964/2550 ที่ นางประภาพร แซ่จึง อายุ 36 ปี และ ด.ช.ซาย เค่อ ลี หรือน้องซาย อายุ 3 ปี บุตรชาย เป็นโจทก์ที่ 1 และ 2 ยื่นฟ้อง บริษัทโรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ จำกัด (มหาชน), นายแพทย์เดชะพงษ์ ภู่เจริญ แพทย์สูตินารีเวช และ แพทย์หญิงอรชาติ อุดมพาณิชย์ แพทย์รังสีวิทยา เป็นจำเลยที่ 1-3 เรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหายจำนวน 390,966,293 บาท กรณีเมื่อวันที่ 30 ก.ย.49 นางประภาพร ภรรยาของ นายวอลเตอร์ ลี อายุ 44 ปี สัญชาติมาเลเซีย พิธีกรรายการอาหาร “@ 5 dairy” ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ไปคลอดน้องซายที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ปรากฏว่าเด็กออกมามีความพิการแขนขวาและขาทั้งสองข้างขาด ทั้งที่ก่อนหน้านั้นแพทย์ทั้งสองคนในคดีนี้ ระบุผลอัลตราซาวนด์ว่าบุตรในครรภ์ของนางประภาพรสมบูรณ์และแข็งแรงดี
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่ามีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2-3 มีการกระทำการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ เห็นว่า มูลเห็นที่โจทก์นำคดีมาฟ้องนั้น มาจากการอัลตราซาวนด์ ที่จำเลยที่ 2-3 ไม่ได้ตรวจดูถึงความพิการของน้องซาย โจทก์ที่ 2 ขณะอยู่ในครรภ์ ทั้งที่จำเลยที่ 2-3 ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ทราบ เมื่อวันที่ 9 พ.ค.49 ขณะที่โจทก์ตั้งครรภ์ได้ 4-5 เดือน จำเลยที่ 2 ส่งตัวโจทก์ไปให้จำเลยที่ 3 ตรวจอัลตราซาวนด์ ใช้เวลาตรวจนาน 5-10 นาที จำเลยที่ 3 ระบุว่าบุตรในครรภ์สมบูรณ์ดีทุกประการ ก่อนส่งตัวโจทก์กลับไปพบกับจำเลยที่ 2 หลังจำเลยที่ 2 ดูภาพอัลตราซาวนด์แล้ว บอกแก่โจทก์ว่ายินดีด้วยที่ได้บุตรชายและเด็กสมบูรณ์ดี หลังจากนั้นไม่มีการตรวจซ้ำอีก แต่ไปพบแพทย์เพื่อตรวจการเต้นของหัวใจเท่านั้น จนกระทั่งบุตรคลอดออกมาแล้วมีความพิการ แขนขวา และขาทั้งสองข้างขาด ไม่มีเบ้าสะโพก ขณะที่จำเลยที่ 2 เบิกความว่า หลังการอัลตราซาวนด์ได้แนะนำให้โจทก์กลับมาทำอัลตราซาวนด์ เพื่อดูความเจริญเติบโตของทารกในครรภ์อีกครั้ง แต่โจทก์ไม่ทำ โดยรู้สึกเห็นใจต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 เบิกความว่าได้รับมอบหมายให้ตรวจอัลตราซาวนด์ในระดับที่ 1 พบว่ามีการเจริญเติบโตตามปกติ แต่รู้สึกเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่ง
ศาลเห็นว่าจากบันทึกเวชระเบียนของโจทก์ ตั้งแต่วันที่ 20 ก.พ.49 กระทั่งคลอดบุตร ไม่ปรากฏว่ามีการระบุให้โจทก์กลับมาอัลตราซาวนด์ซ้ำ รวมถึงไม่ระบุถึงความพิการของทารกในครรภ์ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่เคยอธิบายผลดี ผลเสีย ของบุตรในครรภ์ให้โจทก์ทราบ ดังนั้นโจทก์จึงไม่ทราบถึงความพิการของทารกในครรภ์ ทั้งที่จำเลยที่ 2-3 ควรตรวจถึงความพิการของทารกในครรภ์ เพื่อแจ้งให้โจทก์มีสิทธิที่จะตัดสินใจว่าจะรักษาอย่างไร หรือจะรักษาหรือไม่ ซึ่งแพทย์มีหน้าที่บอกอธิบายวิธีการรักษา โดยให้ผู้ป่วยรับทราบและยินยอม การกระทำของจำเลยที่ 2-3 จึงต้องรับผิดฐานประมาทเลินเล่อละเว้นหน้าที่ที่ต้องระวัง จำเลยที่ 2-3 ทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง อีกทั้งการยุติครรภ์ในกรณีที่ไม่ขัดศีลธรรมสามารถทำได้ตามมติของแพทยสภา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วย และคำแนะนำของแพทย์ และจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2-3 ด้วย ในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์โดยตรง
มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามต้องรับผิดเพียงใด ศาลกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสามต้องร่วมกันชดใช้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง แบ่งเป็นค่าเสียหายทางจิตใจของโจทก์ที่ 1 จำนวน 1 ล้านบาท ค่าเสียหายจากการขาดรายได้ของโจทก์ที่ 1 จำนวน 1 ล้านบาท ค่าจ้างคนเลี้ยงดูน้องซาย จำนวน 3 ล้านบาท ค่าอุปกรณ์ที่ช่วยให้น้องซายสามารถพยุงตัวยืนได้ ที่ต้องเปลี่ยนไปตามวัย จำนวน 5 ล้านบาท ค่ารักษาผ่าตัดในอนาคตจำนวน 1 ล้านบาท ค่ารักษาทางจิตใจต่อน้องซาย โจทก์ที่ 2 จำนวน 1 ล้านบาท สำหรับค่าสินไหมทดแทนที่ศาลกำหนดนั้นไม่เต็มจำนวนตามที่โจทก์ฟ้อง เนื่องจากการกระทำการละเมิดของจำเลยทั้งสาม ไม่ได้มีเจตนาร้าย ไม่ได้ส่อไปในทางเป็นอาชญากรรม จึงให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้เงินรวมจำนวน 12 ล้านบาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 นับตั้งแต่วันฟ้อง
ด้าน นายวอลเตอร์ ลี กล่าวว่า ต้องไปปรึกษากับทนายความและครอบครัวอีกครั้งว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่ วันนี้ดีใจที่สิทธิของคนไข้ได้รับการเยียวยารักษา หลังเกิดเหตุการณ์นี้กับครอบครัว จึงได้พาน้องซายไปรักษาตัวที่ประเทศเยอรมนี หลังจากแพทย์ในประเทศต่างพูดตรงกันว่าต้องรอให้เด็กโตก่อนจึงจะรักษาได้ ทั้งที่ความจริงแล้วเมื่อเกิดปัญหาขึ้น สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ในทันที