นายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน) หรือ SLC ชี้แจงถึงกรณีการเข้าซื้อหัวหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ มูลค่า 200 ล้านบาทว่าในปัจจุบัน SLC ยังไม่ได้บรรลุข้อตกลงหรือข้อสรุปใดๆ ในการดำเนินการดังกล่าวทั้งสิ้น
ส่วนกรณีที่มีการรายงานว่า รายได้ของบริษัทจะเติบโตจากธุรกิจซอฟต์แวร์เป็นหลัก ซึ่งคาดว่ารายได้ในส่วนนี้เติบโต 20% จากปีนี้ที่คาดว่าจะมีรายได้จากซอตฟ์แวร์ 70 ล้านบาทนั้น ตัวเลข 70 ล้านบาทที่ปรากฎในข่าวนั้น หมายความถึง มูลค่าของสัญญา ที่ได้มีการลงนามไปแล้วในปีนี้ซึ่งบางส่วน ก็จะสามารถรับรู้เป็นรายได้ในปี 2552 มิได้หมายความถึงรายได้ทั้งหมด ที่จะเกิดขึ้นในปี 2552 แต่อย่างใด
ขณะที่ นางสาวทรรศนีย์ วงศ์ปิยะพันธุ์ รองกรรมการอำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน SLCแจ้งรายละเอียดในครงการเสนอขายใบแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์ )ในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ของบริษัท ( SLC-T1) ที่มีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น ว่า ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นจะพิจารณาถึง ผลกระทบ โดยแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 ผู้ถือหุ้นเดิมเป็นผู้ใช้สิทธิแปลงสภาพใบแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทครั้งที่ 1 ทั้งจำนวนทบต่อ กรณีที่ 2 บุคคลอื่นที่มิใช่เป็นผู้ถือหุ้นเดิมเป็นผู้ใช้สิทธิแปลงสภาพวอร์แรนต์ จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทครั้งที่ 1 ผู้ถือหุ้นทั้งจำนวน
โดย1. ผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (Control Dilution) กรณีที่ 1 เท่ากับศูนย์ ในกรณีที่ 2 ไม่เกิน 83.33 % 2. ผลกระทบต่อส่วนแบ่งกำไร (EPS Dilution) กรณีที่ 1 เท่ากับศูนย์ ในกรณีที่ 2 ไม่เกิน 83.33% และ 3. ผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (Price Dilution) ในกรณีที่ 1 และ 2 ลดลงประมาณ 17.59 % จากราคาตลาดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นบริษัทฯ ในตลาดหลักทรัพย์รวม 15 วันทำการก่อนวันที่คณะกรรมการ บริษัทฯ มีมติในวันที่ 18 ธันวาคม 2552 เท่ากับ 5.0703 บาทต่อหุ้น
ดังการจัดสรรหุ้นในครั้งนี้ มีผลกระทบต่อราคาหุ้น ทำให้ราคาหุ้นลดลงประมาณ 17.59 % คำนวณตามสูตรดังนี้ Price Dilution ซึ่งคำนวณได้ราคาก่อนเสนอซื้อ เท่ากับ 5.0703 บาทต่อหุ้น ส่วนราคาตลาดหลังเสนอขายเท่ากับ 4.1784 บาทต่อหุ้น ส่งผลให้ราคาเสนอขายเท่ากับ 0.00 บาทต่อหุ้น
ด้าน นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า การที่ตลาดหลักทรัพย์ฯให้โซลูชั่น คอนเนอร์ชี้เจงข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากบริษัทยังมีแผนการดำเนินงานไม่ชัดเจน ในการดำเนินธุรกิจ และการใช้เงินระดมทุน จากที่บริษัทมีการเพิ่มทุนจำนวนมาก ซึ่งสูงถึง5.5 เท่าของทุนชำระแล้วก่อนเพิ่มทุน เพราะ การใช้เงินลงทุนไปแล้วจะต้องใช้ระยะเวลากว่าที่จะมีการคืนทุน โดยหากบริษัทไม่มีการชี้แจงเหตุผลที่ชัดเจนต่อตลาดหลักทรัพย์ก่อนที่จะมีการจัดประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่ง ผู้ถือหุ้นก็ไม่ควรที่จะลงมติอนุมัติการเพิ่มทุนของSLC
นอกจากนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯมีการติดตามความเคลื่อนไหวราคาหุ้นSLC เช่นกันว่าถ้าหากมีความเคลื่อนไหวผิดปกติตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการประสานกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทันทีให้มีการดำเนินการตรวจสอบต่อไป โดยนักลงงทุนต้องติดตามข้อมูลของบริษัทSLC อย่างใกล้ชิด
"หาก SLC ยังไม่สามารถชี้แจงเกี่ยวกับการเพิ่มทุนได้ครบถ้วน ภายในการประชุมผู้ถือหุ้น วันที่ 29 ม.ค. 53 นี้ ผู้ถือหุ้นเองไม่ควรจะลงมติให้ผ่านวาระการเพิ่มทุน" นางภัทรียา กล่าว
ส่วนกรณีที่มีการรายงานว่า รายได้ของบริษัทจะเติบโตจากธุรกิจซอฟต์แวร์เป็นหลัก ซึ่งคาดว่ารายได้ในส่วนนี้เติบโต 20% จากปีนี้ที่คาดว่าจะมีรายได้จากซอตฟ์แวร์ 70 ล้านบาทนั้น ตัวเลข 70 ล้านบาทที่ปรากฎในข่าวนั้น หมายความถึง มูลค่าของสัญญา ที่ได้มีการลงนามไปแล้วในปีนี้ซึ่งบางส่วน ก็จะสามารถรับรู้เป็นรายได้ในปี 2552 มิได้หมายความถึงรายได้ทั้งหมด ที่จะเกิดขึ้นในปี 2552 แต่อย่างใด
ขณะที่ นางสาวทรรศนีย์ วงศ์ปิยะพันธุ์ รองกรรมการอำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน SLCแจ้งรายละเอียดในครงการเสนอขายใบแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์ )ในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ของบริษัท ( SLC-T1) ที่มีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น ว่า ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นจะพิจารณาถึง ผลกระทบ โดยแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 ผู้ถือหุ้นเดิมเป็นผู้ใช้สิทธิแปลงสภาพใบแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทครั้งที่ 1 ทั้งจำนวนทบต่อ กรณีที่ 2 บุคคลอื่นที่มิใช่เป็นผู้ถือหุ้นเดิมเป็นผู้ใช้สิทธิแปลงสภาพวอร์แรนต์ จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทครั้งที่ 1 ผู้ถือหุ้นทั้งจำนวน
โดย1. ผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (Control Dilution) กรณีที่ 1 เท่ากับศูนย์ ในกรณีที่ 2 ไม่เกิน 83.33 % 2. ผลกระทบต่อส่วนแบ่งกำไร (EPS Dilution) กรณีที่ 1 เท่ากับศูนย์ ในกรณีที่ 2 ไม่เกิน 83.33% และ 3. ผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (Price Dilution) ในกรณีที่ 1 และ 2 ลดลงประมาณ 17.59 % จากราคาตลาดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นบริษัทฯ ในตลาดหลักทรัพย์รวม 15 วันทำการก่อนวันที่คณะกรรมการ บริษัทฯ มีมติในวันที่ 18 ธันวาคม 2552 เท่ากับ 5.0703 บาทต่อหุ้น
ดังการจัดสรรหุ้นในครั้งนี้ มีผลกระทบต่อราคาหุ้น ทำให้ราคาหุ้นลดลงประมาณ 17.59 % คำนวณตามสูตรดังนี้ Price Dilution ซึ่งคำนวณได้ราคาก่อนเสนอซื้อ เท่ากับ 5.0703 บาทต่อหุ้น ส่วนราคาตลาดหลังเสนอขายเท่ากับ 4.1784 บาทต่อหุ้น ส่งผลให้ราคาเสนอขายเท่ากับ 0.00 บาทต่อหุ้น
ด้าน นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า การที่ตลาดหลักทรัพย์ฯให้โซลูชั่น คอนเนอร์ชี้เจงข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากบริษัทยังมีแผนการดำเนินงานไม่ชัดเจน ในการดำเนินธุรกิจ และการใช้เงินระดมทุน จากที่บริษัทมีการเพิ่มทุนจำนวนมาก ซึ่งสูงถึง5.5 เท่าของทุนชำระแล้วก่อนเพิ่มทุน เพราะ การใช้เงินลงทุนไปแล้วจะต้องใช้ระยะเวลากว่าที่จะมีการคืนทุน โดยหากบริษัทไม่มีการชี้แจงเหตุผลที่ชัดเจนต่อตลาดหลักทรัพย์ก่อนที่จะมีการจัดประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่ง ผู้ถือหุ้นก็ไม่ควรที่จะลงมติอนุมัติการเพิ่มทุนของSLC
นอกจากนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯมีการติดตามความเคลื่อนไหวราคาหุ้นSLC เช่นกันว่าถ้าหากมีความเคลื่อนไหวผิดปกติตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการประสานกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทันทีให้มีการดำเนินการตรวจสอบต่อไป โดยนักลงงทุนต้องติดตามข้อมูลของบริษัทSLC อย่างใกล้ชิด
"หาก SLC ยังไม่สามารถชี้แจงเกี่ยวกับการเพิ่มทุนได้ครบถ้วน ภายในการประชุมผู้ถือหุ้น วันที่ 29 ม.ค. 53 นี้ ผู้ถือหุ้นเองไม่ควรจะลงมติให้ผ่านวาระการเพิ่มทุน" นางภัทรียา กล่าว