“โซลูชั่น คอนเนอร์”ปรับเปลี่ยนธุรกิจ ลดความสำคัญการเป็นผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ เบนหัวเรือมุ่งสู่ธุรกิจนิวมีเดียเต็มรูปแบบ ลุยหาพันธมิตรทำทีวีดาวเทียมและเทกโอเวอร์หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ คาดกลางปีหน้าได้ข้อสรุป มั่นใจใน 2 ปีทุกอย่างลงตัว พร้อมเชื่อหลังปรับโครงสร้างธุรกิจดันปีหน้าพลิกมีกำไร บอร์ดไฟเขียวระดมทุน 1,000 ล้าน ด้วยการออกทีเอสอาร์ เพื่อเปิดช่องผู้ถือหุ้นหากไม่ใช้สิทธิเพิ่มทุน ก็สามารถนำมาขายในกระดานได้
นายเอกรักษ์ ราษฏร์บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน)หรือ SLC เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติให้มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 50 ล้านบาท เป็น 325 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญจำนวน 275 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์)หุ้นละ 1 บาท เพื่อเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิ(วอร์แรนต์)ที่จะซื้อหุ้นสามัญแก่ผู้ถือหุ้นเดิมในอัตรา 2 หุ้น เดิมต่อได้วอร์แรนต์ที่จะซื้อหุ้นสามัญ1 หน่วย โดยมีอายุในการแปลงสภาพ 5 ปี และ อีก 250 ล้านหุ้นเสนอขายวอร์แรนต์ในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (TSR)แก่ผู้ถือหุ้นเดิมมีอายุในการใช้สิทธิแปลงสภาพ 2 เดือน มีราคาใช้สิทธิอยู่ที่ 4 บาทต่อหุ้น โดยคาดว่าจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ทั้งTSR และวอร์แรนท์ได้ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า
สำหรับการที่บริษัทออกTSR เนื่องจาก ต้องการเปิดโอกาสให้กับผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทสามารถนำมาขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดหลักทรัพย์ฯหากไม่ต้องการที่จะใช้สิทธิเพิ่มทุน โดยส่วนตัวเชื่อว่ากลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมจะมีการใช้สิทธิจากที่ได้เข้ามาซื้อกิจการ แต่หากมีผู้ถือหุ้นเดิมไม่ใช้สิทธิทำให้เงินระดมทุนที่ได้ไม่ถึงตามเป้าหมายบริษัทก็จะต้องมีการลดในเรื่องการลงทุน แต่หากเสนอขายTSRได้ทั้งหมดบริษัทจะได้เงินจำนวน 1,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทจะใช้ในการรองรับการขยายธุรกิจได้ประมาณ 2 ปี ในลักษณะทยอยการลงทุน
ทั้งนี้การทำธุรกิจของบริษัทในอนาคตหลังจากที่กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่เข้ามานั้น จะเปลี่ยนมาทำธุรกิจผลิตและเสนอขายสารผ่านทางสื่อสมัยใหม่(นิวมีเดีย) เช่น ดิจิตอลมีเดีย มัลติมีเดีย มัลติชาแนล มัลติคอมมูนิเคชั่น ธุรกิจหลักในการพัฒนาซอฟท์แวร์ จากการที่บริษัทประเมินว่าสื่อนิวมีเดียในอนาคตจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นมาก โดยบริษัทมีแผนที่จะเข้าไปร่วมทำธุรกิจกับทีวีดาวเทียมกับพันธมิตรอีก 1-2 บริษัท ในการผลิตรายการข่าว 2 ช่อง ซึ่งจะใช้เงินลงทุนบริษัทละ 10 ล้านบาท และจะเข้าไปซื้อกิจการสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสื่อการเรียน โดยขณะนี้กำลังเจรจาอยู่จำนวน 3 แห่ง และคาดว่าจะสรุปในกลางปีหน้า
“กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ของบริษัทมีเป้าหมายในการเข้ามาเทกโอเวอร์ SLC เพื่อต้องการทำธุรกิจนิวมีเดียเพื่อใช้ธุรกิจเดิมในการเสริมธุรกิจใหม่ที่สามารถทำควบคู่กันไปได้ด้วยดี ดดยคาดว่าจะใช้เวลา 2 ปี ในการที่จะเปลี่ยนมาทำธุรกิจใหม่ได้เต็มที่ ซึ่งเป้าหมายของบริษัทต้องการเป็นเหมือนกับรอยเตอร์ที่สามารถทำสื่อออนไลน์ได้ทั่วโลก โดยเบื้องต้นจะเน้นในแถบเอเซียก่อน”นายเอกรักษ์ กล่าว
อย่างไรก็ตามปีหน้าบริษัทจะใช้เงินลงทุนจำนวน 400 ล้านบาท ใน 3 ธุรกิจ คือ ลงทุนในบริษัทย่อย 2 แห่ง คือ บริษัทเอสแอลซี อินเตอร์เนชั่นแอล ในการ และ บริษัท ปริง คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งทำธุรกิจนิวส์มีเดีย และ ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ โดยในปีนี้บริษัทยังคงมีขาดทุนอยู่ จากที่ 9 เดือนบริษัทมีผลขาดทุนจำนวน 13.8ล้านบาท แต่คาดว่าปีหน้าจะสามารถพลิกกลับมาเป็นกำไรได้จากที่บริษัทมีการปรับโครงสร้างธุรกิจ แต่เชื่อว่ารายได้จากการพัฒนาซอฟท์แวร์ปีหน้าน่าจะโตเพิ่มขึ้น 20% จากปีนี้ที่คาดว่าจะมีรายได้ 70 ล้านบาท ส่วนธุรกิจนิวมีเดียนั้นยังไม่สามารถประเมินได้
ก่อนหน้านี้ นายดิเรก วงศ์ชินศรี ผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายใหม่ของ SLCยืนยันว่าการเข้ามาถือหุ้นใน บมจ.โซลูชั่น คอนเนอร์(1998) นั้นส่วนตัวไม่มีจุดประสงค์ในการนำบริษัท สิทธิพร แอสโซซิเอส ซึ่งตนเป็นผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เข้าจดทะเบียนทางอ้อม (Back Door Listing) และการเข้ามาถือหุ้นครั้งนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจของ SLC เพราะการเข้าซื้อหุ้นครั้งนี้เพื่อต้องการต่อยอดธุรกิจระหว่าง 2 บริษัทมากกว่า โดย SLC มีจุดเด่นด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ ส่วนบริษัทสิทธิพร เป็นบริษัทผู้จำหน่ายอุปกรณ์วิทยาศาสตร์และทำด้านฮาร์ดแวร์
ทั้งนี้ นายดิเรก ซื้อหุ้นSLC เป็นจำนวนรวม32,651,500 หุ้น คิดเป็น 65.30% ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว ในราคาหุ้นละ 3.50 บาท จากผู้ถือหุ้นใหญ่เดิมของบริษัทคือ นายนิทัศน์ มณีศิลาสันต์ และนางวันทนีมณีศิลาสันต์
รายงานข่าวเพิ่มเติมว่า SLC ใกล้ได้ข้อสรุปซื้อหัวหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ และกองบรรณาธิการมาบริหาร โดยจะมีความชัดเจนต้นปี 2553 ตามนโยบายที่ต้องการทำหนังสือแนวใหม่ โดยมีธุรกิจสื่อโฆษณาและซอฟต์แวร์ รองรับการทำสื่อทีวีและสิ่งพิมพ์แนวใหม่
นายเอกรักษ์ ราษฏร์บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน)หรือ SLC เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติให้มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 50 ล้านบาท เป็น 325 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญจำนวน 275 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์)หุ้นละ 1 บาท เพื่อเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิ(วอร์แรนต์)ที่จะซื้อหุ้นสามัญแก่ผู้ถือหุ้นเดิมในอัตรา 2 หุ้น เดิมต่อได้วอร์แรนต์ที่จะซื้อหุ้นสามัญ1 หน่วย โดยมีอายุในการแปลงสภาพ 5 ปี และ อีก 250 ล้านหุ้นเสนอขายวอร์แรนต์ในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ (TSR)แก่ผู้ถือหุ้นเดิมมีอายุในการใช้สิทธิแปลงสภาพ 2 เดือน มีราคาใช้สิทธิอยู่ที่ 4 บาทต่อหุ้น โดยคาดว่าจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ทั้งTSR และวอร์แรนท์ได้ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า
สำหรับการที่บริษัทออกTSR เนื่องจาก ต้องการเปิดโอกาสให้กับผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทสามารถนำมาขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดหลักทรัพย์ฯหากไม่ต้องการที่จะใช้สิทธิเพิ่มทุน โดยส่วนตัวเชื่อว่ากลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมจะมีการใช้สิทธิจากที่ได้เข้ามาซื้อกิจการ แต่หากมีผู้ถือหุ้นเดิมไม่ใช้สิทธิทำให้เงินระดมทุนที่ได้ไม่ถึงตามเป้าหมายบริษัทก็จะต้องมีการลดในเรื่องการลงทุน แต่หากเสนอขายTSRได้ทั้งหมดบริษัทจะได้เงินจำนวน 1,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทจะใช้ในการรองรับการขยายธุรกิจได้ประมาณ 2 ปี ในลักษณะทยอยการลงทุน
ทั้งนี้การทำธุรกิจของบริษัทในอนาคตหลังจากที่กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่เข้ามานั้น จะเปลี่ยนมาทำธุรกิจผลิตและเสนอขายสารผ่านทางสื่อสมัยใหม่(นิวมีเดีย) เช่น ดิจิตอลมีเดีย มัลติมีเดีย มัลติชาแนล มัลติคอมมูนิเคชั่น ธุรกิจหลักในการพัฒนาซอฟท์แวร์ จากการที่บริษัทประเมินว่าสื่อนิวมีเดียในอนาคตจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นมาก โดยบริษัทมีแผนที่จะเข้าไปร่วมทำธุรกิจกับทีวีดาวเทียมกับพันธมิตรอีก 1-2 บริษัท ในการผลิตรายการข่าว 2 ช่อง ซึ่งจะใช้เงินลงทุนบริษัทละ 10 ล้านบาท และจะเข้าไปซื้อกิจการสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสื่อการเรียน โดยขณะนี้กำลังเจรจาอยู่จำนวน 3 แห่ง และคาดว่าจะสรุปในกลางปีหน้า
“กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ของบริษัทมีเป้าหมายในการเข้ามาเทกโอเวอร์ SLC เพื่อต้องการทำธุรกิจนิวมีเดียเพื่อใช้ธุรกิจเดิมในการเสริมธุรกิจใหม่ที่สามารถทำควบคู่กันไปได้ด้วยดี ดดยคาดว่าจะใช้เวลา 2 ปี ในการที่จะเปลี่ยนมาทำธุรกิจใหม่ได้เต็มที่ ซึ่งเป้าหมายของบริษัทต้องการเป็นเหมือนกับรอยเตอร์ที่สามารถทำสื่อออนไลน์ได้ทั่วโลก โดยเบื้องต้นจะเน้นในแถบเอเซียก่อน”นายเอกรักษ์ กล่าว
อย่างไรก็ตามปีหน้าบริษัทจะใช้เงินลงทุนจำนวน 400 ล้านบาท ใน 3 ธุรกิจ คือ ลงทุนในบริษัทย่อย 2 แห่ง คือ บริษัทเอสแอลซี อินเตอร์เนชั่นแอล ในการ และ บริษัท ปริง คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งทำธุรกิจนิวส์มีเดีย และ ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ โดยในปีนี้บริษัทยังคงมีขาดทุนอยู่ จากที่ 9 เดือนบริษัทมีผลขาดทุนจำนวน 13.8ล้านบาท แต่คาดว่าปีหน้าจะสามารถพลิกกลับมาเป็นกำไรได้จากที่บริษัทมีการปรับโครงสร้างธุรกิจ แต่เชื่อว่ารายได้จากการพัฒนาซอฟท์แวร์ปีหน้าน่าจะโตเพิ่มขึ้น 20% จากปีนี้ที่คาดว่าจะมีรายได้ 70 ล้านบาท ส่วนธุรกิจนิวมีเดียนั้นยังไม่สามารถประเมินได้
ก่อนหน้านี้ นายดิเรก วงศ์ชินศรี ผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายใหม่ของ SLCยืนยันว่าการเข้ามาถือหุ้นใน บมจ.โซลูชั่น คอนเนอร์(1998) นั้นส่วนตัวไม่มีจุดประสงค์ในการนำบริษัท สิทธิพร แอสโซซิเอส ซึ่งตนเป็นผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เข้าจดทะเบียนทางอ้อม (Back Door Listing) และการเข้ามาถือหุ้นครั้งนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจของ SLC เพราะการเข้าซื้อหุ้นครั้งนี้เพื่อต้องการต่อยอดธุรกิจระหว่าง 2 บริษัทมากกว่า โดย SLC มีจุดเด่นด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ ส่วนบริษัทสิทธิพร เป็นบริษัทผู้จำหน่ายอุปกรณ์วิทยาศาสตร์และทำด้านฮาร์ดแวร์
ทั้งนี้ นายดิเรก ซื้อหุ้นSLC เป็นจำนวนรวม32,651,500 หุ้น คิดเป็น 65.30% ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว ในราคาหุ้นละ 3.50 บาท จากผู้ถือหุ้นใหญ่เดิมของบริษัทคือ นายนิทัศน์ มณีศิลาสันต์ และนางวันทนีมณีศิลาสันต์
รายงานข่าวเพิ่มเติมว่า SLC ใกล้ได้ข้อสรุปซื้อหัวหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ และกองบรรณาธิการมาบริหาร โดยจะมีความชัดเจนต้นปี 2553 ตามนโยบายที่ต้องการทำหนังสือแนวใหม่ โดยมีธุรกิจสื่อโฆษณาและซอฟต์แวร์ รองรับการทำสื่อทีวีและสิ่งพิมพ์แนวใหม่