ASTVผู้จัดการรายวัน - “โซลูชั่น คอนเนอร์” แจ้งโครงการ TSR มีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น ด้านผู้บริหารปฏิเสธข่าวทุ่ม 200 ล้าน ฮุบ นสพ.ฐานเศรษฐกิจ เผยยังไม่มีข้อสรุป หรือบรรลุข้อตกลงใดๆ ทั้งสิ้น ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ ออกโรงเตือนผู้ถือหุ้นหากบริษัทยังชี้แจงเรื่องต่างๆไม่าชัดเจน ก็ไม่ควรอนุมัติเพิ่มทุนซึ่งสูงถึง 5.5 เท่า
นายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน) หรือ SLC ชี้แจงถึงกรณีการเข้าซื้อหัวหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ มูลค่า 200 ล้านบาทว่าในปัจจุบัน SLC ยังไม่ได้บรรลุข้อตกลงหรือข้อสรุปใดๆ ในการดำเนินการดังกล่าวทั้งสิ้น
ส่วนกรณีที่มีการรายงานว่า รายได้ของบริษัทจะเติบโตจากธุรกิจซอฟต์แวร์เป็นหลัก ซึ่งคาดว่ารายได้ในส่วนนี้เติบโต 20% จากปีนี้ที่คาดว่าจะมีรายได้จากซอตฟ์แวร์ 70 ล้านบาทนั้น ตัวเลข 70 ล้านบาทที่ปรากฎในข่าวนั้น หมายความถึง มูลค่าของสัญญา ที่ได้มีการลงนามไปแล้วในปีนี้ซึ่งบางส่วน ก็จะสามารถรับรู้เป็นรายได้ในปี 2552 มิได้หมายความถึงรายได้ทั้งหมด ที่จะเกิดขึ้นในปี 2552 แต่อย่างใด
ขณะที่ นางสาวทรรศนีย์ วงศ์ปิยะพันธุ์ รองกรรมการอำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน SLCแจ้งรายละเอียดในครงการเสนอขายใบแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์ )ในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ของบริษัท ( SLC-T1) ที่มีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น ว่า ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นจะพิจารณาถึง ผลกระทบ โดยแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 ผู้ถือหุ้นเดิมเป็นผู้ใช้สิทธิแปลงสภาพใบแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทครั้งที่ 1 ทั้งจำนวนทบต่อ กรณีที่ 2 บุคคลอื่นที่มิใช่เป็นผู้ถือหุ้นเดิมเป็นผู้ใช้สิทธิแปลงสภาพวอร์แรนต์ จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทครั้งที่ 1 ผู้ถือหุ้นทั้งจำนวน
โดย1. ผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (Control Dilution) กรณีที่ 1 เท่ากับศูนย์ ในกรณีที่ 2 ไม่เกิน 83.33 % 2. ผลกระทบต่อส่วนแบ่งกำไร (EPS Dilution) กรณีที่ 1 เท่ากับศูนย์ ในกรณีที่ 2 ไม่เกิน 83.33% และ 3. ผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (Price Dilution) ในกรณีที่ 1 และ 2 ลดลงประมาณ 17.59 % จากราคาตลาดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นบริษัทฯ ในตลาดหลักทรัพย์รวม 15 วันทำการก่อนวันที่คณะกรรมการ บริษัทฯ มีมติในวันที่ 18 ธันวาคม 2552 เท่ากับ 5.0703 บาทต่อหุ้น
ดังการจัดสรรหุ้นในครั้งนี้ มีผลกระทบต่อราคาหุ้น ทำให้ราคาหุ้นลดลงประมาณ 17.59 % คำนวณตามสูตรดังนี้ Price Dilution ซึ่งคำนวณได้ราคาก่อนเสนอซื้อ เท่ากับ 5.0703 บาทต่อหุ้น ส่วนราคาตลาดหลังเสนอขายเท่ากับ 4.1784 บาทต่อหุ้น ส่งผลให้ราคาเสนอขายเท่ากับ 0.00 บาทต่อหุ้น
ด้าน นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า การที่ตลาดหลักทรัพย์ฯให้โซลูชั่น คอนเนอร์ชี้เจงข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากบริษัทยังมีแผนการดำเนินงานไม่ชัดเจน ในการดำเนินธุรกิจ และการใช้เงินระดมทุน จากที่บริษัทมีการเพิ่มทุนจำนวนมาก ซึ่งสูงถึง5.5 เท่าของทุนชำระแล้วก่อนเพิ่มทุน เพราะ การใช้เงินลงทุนไปแล้วจะต้องใช้ระยะเวลากว่าที่จะมีการคืนทุน โดยหากบริษัทไม่มีการชี้แจงเหตุผลที่ชัดเจนต่อตลาดหลักทรัพย์ก่อนที่จะมีการจัดประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่ง ผู้ถือหุ้นก็ไม่ควรที่จะลงมติอนุมัติการเพิ่มทุนของSLC
นอกจากนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯมีการติดตามความเคลื่อนไหวราคาหุ้นSLC เช่นกันว่าถ้าหากมีความเคลื่อนไหวผิดปกติตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการประสานกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทันทีให้มีการดำเนินการตรวจสอบต่อไป โดยนักลงงทุนต้องติดตามข้อมูลของบริษัทSLC อย่างใกล้ชิด
"หาก SLC ยังไม่สามารถชี้แจงเกี่ยวกับการเพิ่มทุนได้ครบถ้วน ภายในการประชุมผู้ถือหุ้น วันที่ 29 ม.ค. 53 นี้ ผู้ถือหุ้นเองไม่ควรจะลงมติให้ผ่านวาระการเพิ่มทุน" นางภัทรียา กล่าว
นายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน) หรือ SLC ชี้แจงถึงกรณีการเข้าซื้อหัวหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ มูลค่า 200 ล้านบาทว่าในปัจจุบัน SLC ยังไม่ได้บรรลุข้อตกลงหรือข้อสรุปใดๆ ในการดำเนินการดังกล่าวทั้งสิ้น
ส่วนกรณีที่มีการรายงานว่า รายได้ของบริษัทจะเติบโตจากธุรกิจซอฟต์แวร์เป็นหลัก ซึ่งคาดว่ารายได้ในส่วนนี้เติบโต 20% จากปีนี้ที่คาดว่าจะมีรายได้จากซอตฟ์แวร์ 70 ล้านบาทนั้น ตัวเลข 70 ล้านบาทที่ปรากฎในข่าวนั้น หมายความถึง มูลค่าของสัญญา ที่ได้มีการลงนามไปแล้วในปีนี้ซึ่งบางส่วน ก็จะสามารถรับรู้เป็นรายได้ในปี 2552 มิได้หมายความถึงรายได้ทั้งหมด ที่จะเกิดขึ้นในปี 2552 แต่อย่างใด
ขณะที่ นางสาวทรรศนีย์ วงศ์ปิยะพันธุ์ รองกรรมการอำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน SLCแจ้งรายละเอียดในครงการเสนอขายใบแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์ )ในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ของบริษัท ( SLC-T1) ที่มีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น ว่า ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นจะพิจารณาถึง ผลกระทบ โดยแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 ผู้ถือหุ้นเดิมเป็นผู้ใช้สิทธิแปลงสภาพใบแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทครั้งที่ 1 ทั้งจำนวนทบต่อ กรณีที่ 2 บุคคลอื่นที่มิใช่เป็นผู้ถือหุ้นเดิมเป็นผู้ใช้สิทธิแปลงสภาพวอร์แรนต์ จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทครั้งที่ 1 ผู้ถือหุ้นทั้งจำนวน
โดย1. ผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม (Control Dilution) กรณีที่ 1 เท่ากับศูนย์ ในกรณีที่ 2 ไม่เกิน 83.33 % 2. ผลกระทบต่อส่วนแบ่งกำไร (EPS Dilution) กรณีที่ 1 เท่ากับศูนย์ ในกรณีที่ 2 ไม่เกิน 83.33% และ 3. ผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้น (Price Dilution) ในกรณีที่ 1 และ 2 ลดลงประมาณ 17.59 % จากราคาตลาดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นบริษัทฯ ในตลาดหลักทรัพย์รวม 15 วันทำการก่อนวันที่คณะกรรมการ บริษัทฯ มีมติในวันที่ 18 ธันวาคม 2552 เท่ากับ 5.0703 บาทต่อหุ้น
ดังการจัดสรรหุ้นในครั้งนี้ มีผลกระทบต่อราคาหุ้น ทำให้ราคาหุ้นลดลงประมาณ 17.59 % คำนวณตามสูตรดังนี้ Price Dilution ซึ่งคำนวณได้ราคาก่อนเสนอซื้อ เท่ากับ 5.0703 บาทต่อหุ้น ส่วนราคาตลาดหลังเสนอขายเท่ากับ 4.1784 บาทต่อหุ้น ส่งผลให้ราคาเสนอขายเท่ากับ 0.00 บาทต่อหุ้น
ด้าน นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า การที่ตลาดหลักทรัพย์ฯให้โซลูชั่น คอนเนอร์ชี้เจงข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากบริษัทยังมีแผนการดำเนินงานไม่ชัดเจน ในการดำเนินธุรกิจ และการใช้เงินระดมทุน จากที่บริษัทมีการเพิ่มทุนจำนวนมาก ซึ่งสูงถึง5.5 เท่าของทุนชำระแล้วก่อนเพิ่มทุน เพราะ การใช้เงินลงทุนไปแล้วจะต้องใช้ระยะเวลากว่าที่จะมีการคืนทุน โดยหากบริษัทไม่มีการชี้แจงเหตุผลที่ชัดเจนต่อตลาดหลักทรัพย์ก่อนที่จะมีการจัดประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่ง ผู้ถือหุ้นก็ไม่ควรที่จะลงมติอนุมัติการเพิ่มทุนของSLC
นอกจากนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯมีการติดตามความเคลื่อนไหวราคาหุ้นSLC เช่นกันว่าถ้าหากมีความเคลื่อนไหวผิดปกติตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการประสานกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทันทีให้มีการดำเนินการตรวจสอบต่อไป โดยนักลงงทุนต้องติดตามข้อมูลของบริษัทSLC อย่างใกล้ชิด
"หาก SLC ยังไม่สามารถชี้แจงเกี่ยวกับการเพิ่มทุนได้ครบถ้วน ภายในการประชุมผู้ถือหุ้น วันที่ 29 ม.ค. 53 นี้ ผู้ถือหุ้นเองไม่ควรจะลงมติให้ผ่านวาระการเพิ่มทุน" นางภัทรียา กล่าว