ASTVผู้จัดการรายวัน-ส่งออกฟื้นตัว พ.ย.กลับมาบวกสูงถึง 17.2% เป็นครั้งแรกในรอบปี หลังจากติดลบมายาวนาน เผยสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม ต่างส่งออกได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ตลาดหลัก ตลาดใหม่ ฟื้นตัวชัดเจน “พรทิวา” มั่นใจทั้งปีส่งออกติดลบแค่ 15% เท่านั้น ส่วนปีหน้าบวกแน่นอน 14%
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยเดือนพ.ย.2552 มีมูลค่า 13,840 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 17.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกรอบ 12 เดือน นับตั้งแต่เดือนต.ค.2551 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 12,782 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 2.2% ทำให้เกินดุลการค้า 1,058 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนยอดส่งออกรวม 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) มูลค่า 137,954 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 17.0% การนำเข้ารวมมูลค่า 119,376 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 28.9% และเกินดุลการค้ารวม 18,578 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ การส่งออกเดือนพ.ย. ที่เพิ่มขึ้น เป็นการส่งออกเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยหมวดสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตร เพิ่ม 28.6% ทั้งข้าว มันสำปะหลัง กุ้งแช่แข็งและแปรรูป น้ำตาล ขณะที่ยางพารา ผักผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ก็เป็นบวกเดือนแรกในรอบปี หมวดสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่ม 13.2% โดยกลุ่มสินค้าที่ขยายตัวต่อเนื่อง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องสำอาง สิ่งพิมพ์ ผลิตภัณฑ์เภสัช เครื่องมือแพทย์ และผลิตภัณฑ์ยาง กลุ่มสินค้าที่กลับเป็นบวกเดือนแรก ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ อุปกรณ์ส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เลนส์ ส่วนสินค้าที่ติดลบ ได้แก่ เครื่องเดินทาง เครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ตกแต่ง และของเล่น
สำหรับการนำเข้าเป็นยอดติดลบต่ำสุดในรอบปี โดยกลุ่มเชื้อเพลิงเพิ่ม 0.7% สินค้าทุนลดลง 4.1% วัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป ลดลง 9.0% อุปโภคบริโภคเพิ่ม 18.8% ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งเพิ่ม 29.9% หลังจากภาคการผลิตมีการสั่งนำเข้าสินค้าทุนเพื่อใช้ขยายกำลังการผลิตมากขึ้น ตามทิศทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ รวมถึงผู้บริโภคได้จับจ่ายใช้สอยมากขึ้นรับเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ รวมถึงยานยนต์มีการนำเข้าเพื่อจำหน่ายในงานมอเตอร์โชว์
ส่วนตลาดส่งออก ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งตลาดหลัก และตลาดใหม่ โดยตลาดหลักเพิ่ม 5.9% ได้แก่ สหรัฐฯ เพิ่ม 4.6% สหภาพยุโรป 3.2% อาเซียน 16.4% แต่ญี่ปุ่นยังลบ 2.9% ตลาดรองและใหม่เพิ่ม 29.9% โดยที่ปรับเพิ่มชัดเจน ได้แก่ ฮ่องกง 44.2% ไต้หวัน 14.1% ออสเตรเลีย 58.4% แคนาดา 47.7% อินโดจีน 38.8% แอฟริกา 23% อินเดีย 27.1% และจีน 77.1%
นางพรทิวากล่าวว่า มูลค่าการส่งออกในเดือนพ.ย.ที่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับเดือนก.ย.และต.ค.ที่ผ่านมา ลดลงนั้น เป็นเพราะปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนที่ปีก่อนอยู่ที่ 34 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แต่ปีนี้แข็งค่าเหลือ 33 บาท ประกอบกับสต็อกวัตถุดิบผลิตสินค้าเหลือน้อย ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตรองรับการส่งออกได้มาก ส่วนการลดค่าเงินดอง ของเวียดนามส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตรไทยบ้าง โดยคู่ค้าชะลอสั่งซื้อเพื่อรอดูราคาสินค้าของเวียดนาม หากถูกกว่าไทยก็อาจเปลี่ยนไปซื้อ แต่ถ้าราคาไม่แตกต่างกันก็น่าจะซื้อของไทยเหมือนเดิม
“ยอดส่งออก พ.ย. สะท้อนว่าการส่งออกอยู่ช่วงขาขึ้น และคาดว่าจะบวกเพิ่มขึ้นได้อีก โดยหากเดือน ธ.ค.ส่งออกได้ประมาณ 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวมการส่งออกไตรมาส 4 จะบวก 7% ทำให้ยอดส่งออกทั้งปี 2552 ทำได้ตามเป้าหมาย คือ ติดลบ 15% ขณะที่การส่งออกปีหน้ามั่นใจว่าบวก 14% มีมูลค่าส่งออกที่ 1.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือเฉลี่ยเดือนละ 13,000-15,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่จะต้องระวังปัจจัยเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน มาบตาพุด และปัจจัยการเมืองที่อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นทางการค้า”นางพรทิวากล่าว
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยเดือนพ.ย.2552 มีมูลค่า 13,840 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 17.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกรอบ 12 เดือน นับตั้งแต่เดือนต.ค.2551 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 12,782 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 2.2% ทำให้เกินดุลการค้า 1,058 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนยอดส่งออกรวม 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) มูลค่า 137,954 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 17.0% การนำเข้ารวมมูลค่า 119,376 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 28.9% และเกินดุลการค้ารวม 18,578 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ การส่งออกเดือนพ.ย. ที่เพิ่มขึ้น เป็นการส่งออกเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยหมวดสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตร เพิ่ม 28.6% ทั้งข้าว มันสำปะหลัง กุ้งแช่แข็งและแปรรูป น้ำตาล ขณะที่ยางพารา ผักผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ก็เป็นบวกเดือนแรกในรอบปี หมวดสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่ม 13.2% โดยกลุ่มสินค้าที่ขยายตัวต่อเนื่อง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องสำอาง สิ่งพิมพ์ ผลิตภัณฑ์เภสัช เครื่องมือแพทย์ และผลิตภัณฑ์ยาง กลุ่มสินค้าที่กลับเป็นบวกเดือนแรก ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ อุปกรณ์ส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เลนส์ ส่วนสินค้าที่ติดลบ ได้แก่ เครื่องเดินทาง เครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ตกแต่ง และของเล่น
สำหรับการนำเข้าเป็นยอดติดลบต่ำสุดในรอบปี โดยกลุ่มเชื้อเพลิงเพิ่ม 0.7% สินค้าทุนลดลง 4.1% วัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป ลดลง 9.0% อุปโภคบริโภคเพิ่ม 18.8% ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งเพิ่ม 29.9% หลังจากภาคการผลิตมีการสั่งนำเข้าสินค้าทุนเพื่อใช้ขยายกำลังการผลิตมากขึ้น ตามทิศทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ รวมถึงผู้บริโภคได้จับจ่ายใช้สอยมากขึ้นรับเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ รวมถึงยานยนต์มีการนำเข้าเพื่อจำหน่ายในงานมอเตอร์โชว์
ส่วนตลาดส่งออก ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งตลาดหลัก และตลาดใหม่ โดยตลาดหลักเพิ่ม 5.9% ได้แก่ สหรัฐฯ เพิ่ม 4.6% สหภาพยุโรป 3.2% อาเซียน 16.4% แต่ญี่ปุ่นยังลบ 2.9% ตลาดรองและใหม่เพิ่ม 29.9% โดยที่ปรับเพิ่มชัดเจน ได้แก่ ฮ่องกง 44.2% ไต้หวัน 14.1% ออสเตรเลีย 58.4% แคนาดา 47.7% อินโดจีน 38.8% แอฟริกา 23% อินเดีย 27.1% และจีน 77.1%
นางพรทิวากล่าวว่า มูลค่าการส่งออกในเดือนพ.ย.ที่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับเดือนก.ย.และต.ค.ที่ผ่านมา ลดลงนั้น เป็นเพราะปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนที่ปีก่อนอยู่ที่ 34 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แต่ปีนี้แข็งค่าเหลือ 33 บาท ประกอบกับสต็อกวัตถุดิบผลิตสินค้าเหลือน้อย ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตรองรับการส่งออกได้มาก ส่วนการลดค่าเงินดอง ของเวียดนามส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตรไทยบ้าง โดยคู่ค้าชะลอสั่งซื้อเพื่อรอดูราคาสินค้าของเวียดนาม หากถูกกว่าไทยก็อาจเปลี่ยนไปซื้อ แต่ถ้าราคาไม่แตกต่างกันก็น่าจะซื้อของไทยเหมือนเดิม
“ยอดส่งออก พ.ย. สะท้อนว่าการส่งออกอยู่ช่วงขาขึ้น และคาดว่าจะบวกเพิ่มขึ้นได้อีก โดยหากเดือน ธ.ค.ส่งออกได้ประมาณ 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวมการส่งออกไตรมาส 4 จะบวก 7% ทำให้ยอดส่งออกทั้งปี 2552 ทำได้ตามเป้าหมาย คือ ติดลบ 15% ขณะที่การส่งออกปีหน้ามั่นใจว่าบวก 14% มีมูลค่าส่งออกที่ 1.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือเฉลี่ยเดือนละ 13,000-15,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่จะต้องระวังปัจจัยเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน มาบตาพุด และปัจจัยการเมืองที่อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นทางการค้า”นางพรทิวากล่าว