ข่าวที่ทางการไทยบุกเข้าจับกุมเครื่องบินลำเลียงทางทหารแบบ “อิลยูซิน-76” สัญชาติจอร์เจีย-คาซัคสถาน ที่บินมาจากกรุงเปียงยางของเกาหลีเหนือและแวะเติมเชื้อเพลิงที่สนามบินดอนเมืองเมื่อวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา คงจะเป็นเพียงข่าวธรรมดาๆข่าวหนึ่งเท่านั้น ถ้าหากบนเครื่องบินลำดังกล่าวไม่ได้มีลังบรรจุอาวุธสงครามจำนวนมหาศาลถึง 145 ลังที่มีน้ำหนักรวมกว่า35 - 40 ตันและมีมูลค่ากว่า 600 ล้านบาทอยู่ด้วย
ข่าวดังกล่าวสร้างความฮือฮาและตกตะลึงให้กับทั่วโลกไปพร้อมๆกันเพราะนอกจากเจ้าหน้าที่จะสามารถตรวจยึดอาวุธนานาชนิดทั้งเครื่องยิงจรวดอาร์พีจี , เครื่องยิงจรวดแบบประทับบ่า, ท่อส่งจรวดแบบพื้นสู่อากาศ ฯลฯ แล้ว เหตุการณ์ครั้งนี้ยังถือเป็นครั้งแรกๆที่ขบวนการค้าอาวุธที่มีความเกี่ยวข้องโยงใยกับเกาหลีเหนือถูก“เปิดโปงแบบจะจะ”ต่อสายตาชาวโลก แต่ถึงกระนั้นประเด็นเรื่องการ “จงใจหารายได้” ด้วยการขายอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชนิด และการเผยแพร่เทคโนโลยีการพัฒนาอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง(Weapons of Mass Destruction : WMD)ของรัฐบาลเกาหลีเหนือกลับไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด
พอร์เตอร์ จอห์นสตัน กอสส์ อดีตผู้อำนวยการคนที่ 19ของสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (ซีไอเอ) ซึ่งอยู่ในตำแหน่งระหว่างปี 2004-2006 สมัยรัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู.บุชเคยระบุว่า สหรัฐฯ มีหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า รัฐบาลเปียงยางเริ่มหารายได้เข้าประเทศด้วยการส่งออกอาวุธมาตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 แล้ว โดยลูกค้ารายแรกๆ ที่ได้ชื่อว่าเป็น “ตลาดอาวุธยุคบุกเบิก” ของเกาหลีเหนือ ได้แก่ อิหร่าน และซีเรีย หลังจากนั้นกิตติศัพท์เรื่องประสิทธิภาพของอาวุธ“เมด อิน เปียงยาง”ได้เริ่มแพร่สะพัดออกไปจนทำให้มีลูกค้าหน้าใหม่ๆ รอต่อคิวสั่งซื้ออาวุธเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น อียิปต์ ปากีสถาน ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน อังโกลา พม่า เอธิโอเปีย อิรัก อินโดนีเซีย รวันดา ซูดาน อูกันดา เวียดนาม ซิมบับเว และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
นอกจากนั้น คำให้การของ คยอง-วอน-ฮา อดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงเกาหลีเหนือเจ้าของฉายา “บิดาแห่งโครงการนิวเคลียร์โสมแดง” ซึ่งแปรพักตร์และหนีออกจากกรุงเปียงยางตั้งแต่ตุลาคมปี 2002 ยังระบุว่านับตั้งแต่คิมจองอิล ผู้นำสูงสุดคนปัจจุบันขึ้นครองอำนาจหลังการอสัญกรรมของคิมอิลซุง ผู้เป็นบิดาเมื่อปี 1994 เกาหลีเหนือก็เริ่มมีนโยบายที่จะสร้างรายได้จากการเผยแพร่เทคโนโลยีด้านอาวุธนิวเคลียร์สู่โลกภายนอกด้วย นอกจากการขายยุทโธปกรณ์ตามปกติทั่วไป ขณะที่ลูกค้าที่ต้องการอาวุธจากเกาหลีเหนือในยุคของคิมจองอิลก็เพิ่มจำนวนขึ้นมากกว่าในยุคบิดาของเขาถึงเท่าตัวโดยส่วนใหญ่จะเป็นรัฐบาลและกลุ่มติดอาวุธในแอฟริกาและตะวันออกกลาง รวมทั้ง ประเทศในลาตินอเมริกาซึ่งจะติดต่อซื้ออาวุธในหลายรูปแบบทั้งการติดต่อโดยตรงกับเปียงยาง หรือการติดต่อผ่านนายหน้า
ขณะที่ ลียองซู อดีตนายทหารระดับสูงประจำกองพันทหารปืนใหญ่เปียงยาง ซึ่งลี้ภัยมาเกาหลีใต้ตั้งแต่กลางปี 2005 เผยว่ารัฐบาลเกาหลีเหนือมีความสัมพันธ์กับบรรดาพ่อค้าอาวุธทั้งหลายเป็นอย่างดี โดยที่ “นายหน้าค้าความตาย” สารพัดสัญชาติมักได้รับ “สิทธิพิเศษ” ในการเดินทางเข้าออกเกาหลีเหนือได้อย่างอิสระในฐานะ “แขกของท่านผู้นำ”
อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังนายหน้าค้าอาวุธหลายรายที่เคยเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมในการนำอาวุธจากเกาหลีเหนือออกสู่ตลาดมืดทั่วโลกต่างถูกไล่ล่า จับกุม หรือไม่ก็เสียชีวิตลง เช่น เดล ซี. สต็อฟเฟล นายหน้าค้าอาวุธชาวอเมริกันซึ่งเคยเป็นผู้หาตลาดแถบยุโรปตะวันออกให้รัฐบาลเปียงยางถูกสังหารเมื่อปี 2004, จิลานี ฮูมายุน นายหน้าชาวอเมริกันเชื้อสายปากีสถานถูกจับที่นิวยอร์กเมื่อปี 2007, และวิกเตอร์ อนาโตลเยวิช บูท พ่อค้าอาวุธชาวรัสเซีย เชื้อสายทาจิกิสถานถูกจับกลางกรุงเทพฯ เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว การขาดหายไปของเหล่านายหน้าพวกนี้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกาหลีเหนือไม่น้อย
นอกจากนั้น การที่ “อดีตลูกค้าผู้ซื่อสัตย์” หลายราย เช่น รัฐบาลลิเบียที่ประกาศยกเลิกโครงการอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธพิสัยไกลอย่างสิ้นเชิงเมื่อปี 2004 และการล่มสลายของรัฐบาลซัดดัม ฮุสเซนในอิรักก็ทำให้รายได้ที่รัฐบาลเปียงยางเคยกอบโกยได้อย่างเป็นกอบเป็นกำมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 66,370 ล้านบาท นับตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมามีอันต้อง “หายวับไปกับตา” และยังทำให้สถานะของเกาหลีเหนือในการเป็น “ ผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่อันดับที่ 11”ให้กับประเทศกำลังพัฒนาต้องสั่นคลอนเช่นกัน
จึงมิใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดหากทางการเกาหลีเหนือจะดิ้นรนทุกวิถีทาง เพื่อหารายได้มาชดเชยเงินก้อนโตที่ตนต้องสูญเสียไป โดยวิธีที่เกาหลีเหนือเลือกใช้ขณะนี้ คือ การหาลูกค้าในตลาดใหม่ๆ เช่น การขายเทคโนโลยีขีปนาวุธให้ไนจีเรีย รวมทั้ง การหันไปจ้าง “นักค้าอาวุธโนเนม” จากประเทศแถบเอเชียกลาง และอดีตรัฐบริวารสหภาพโซเวียตให้ทำหน้าที่ลำเลียงอาวุธออกจากเปียงยาง โดยใช้เส้นทางผ่านประเทศซึ่งมี “ความอ่อนด้อยด้านการข่าว” เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ มัลดีฟส์ และปากีสถาน แทนการติดต่อกับพวกนายหน้าชื่อดังอย่างในอดีต เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากตำรวจสากล หน่วยข่าวกรองของประเทศต่างๆ และองค์กรระหว่างประเทศ
ดังนั้น เหตุการณ์จับเครื่องบินขนอาวุธที่ดอนเมือง พร้อมนักค้าอาวุธรายย่อยหลายสัญชาติ จากอดีตประเทศบริวารของโซเวียตครั้งนี้ก็เป็นเครื่องยืนยันถึง “การดิ้นรนเฮือกสุดท้าย” ของเกาหลีเหนือ ในการหารายได้เข้าประเทศ ท่ามกลางการตรวจสอบอย่างเข้มงวดจากประชาคมระหว่างประเทศ ได้เป็นอย่างดี
ข่าวดังกล่าวสร้างความฮือฮาและตกตะลึงให้กับทั่วโลกไปพร้อมๆกันเพราะนอกจากเจ้าหน้าที่จะสามารถตรวจยึดอาวุธนานาชนิดทั้งเครื่องยิงจรวดอาร์พีจี , เครื่องยิงจรวดแบบประทับบ่า, ท่อส่งจรวดแบบพื้นสู่อากาศ ฯลฯ แล้ว เหตุการณ์ครั้งนี้ยังถือเป็นครั้งแรกๆที่ขบวนการค้าอาวุธที่มีความเกี่ยวข้องโยงใยกับเกาหลีเหนือถูก“เปิดโปงแบบจะจะ”ต่อสายตาชาวโลก แต่ถึงกระนั้นประเด็นเรื่องการ “จงใจหารายได้” ด้วยการขายอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชนิด และการเผยแพร่เทคโนโลยีการพัฒนาอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง(Weapons of Mass Destruction : WMD)ของรัฐบาลเกาหลีเหนือกลับไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด
พอร์เตอร์ จอห์นสตัน กอสส์ อดีตผู้อำนวยการคนที่ 19ของสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (ซีไอเอ) ซึ่งอยู่ในตำแหน่งระหว่างปี 2004-2006 สมัยรัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู.บุชเคยระบุว่า สหรัฐฯ มีหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า รัฐบาลเปียงยางเริ่มหารายได้เข้าประเทศด้วยการส่งออกอาวุธมาตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 แล้ว โดยลูกค้ารายแรกๆ ที่ได้ชื่อว่าเป็น “ตลาดอาวุธยุคบุกเบิก” ของเกาหลีเหนือ ได้แก่ อิหร่าน และซีเรีย หลังจากนั้นกิตติศัพท์เรื่องประสิทธิภาพของอาวุธ“เมด อิน เปียงยาง”ได้เริ่มแพร่สะพัดออกไปจนทำให้มีลูกค้าหน้าใหม่ๆ รอต่อคิวสั่งซื้ออาวุธเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น อียิปต์ ปากีสถาน ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน อังโกลา พม่า เอธิโอเปีย อิรัก อินโดนีเซีย รวันดา ซูดาน อูกันดา เวียดนาม ซิมบับเว และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
นอกจากนั้น คำให้การของ คยอง-วอน-ฮา อดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงเกาหลีเหนือเจ้าของฉายา “บิดาแห่งโครงการนิวเคลียร์โสมแดง” ซึ่งแปรพักตร์และหนีออกจากกรุงเปียงยางตั้งแต่ตุลาคมปี 2002 ยังระบุว่านับตั้งแต่คิมจองอิล ผู้นำสูงสุดคนปัจจุบันขึ้นครองอำนาจหลังการอสัญกรรมของคิมอิลซุง ผู้เป็นบิดาเมื่อปี 1994 เกาหลีเหนือก็เริ่มมีนโยบายที่จะสร้างรายได้จากการเผยแพร่เทคโนโลยีด้านอาวุธนิวเคลียร์สู่โลกภายนอกด้วย นอกจากการขายยุทโธปกรณ์ตามปกติทั่วไป ขณะที่ลูกค้าที่ต้องการอาวุธจากเกาหลีเหนือในยุคของคิมจองอิลก็เพิ่มจำนวนขึ้นมากกว่าในยุคบิดาของเขาถึงเท่าตัวโดยส่วนใหญ่จะเป็นรัฐบาลและกลุ่มติดอาวุธในแอฟริกาและตะวันออกกลาง รวมทั้ง ประเทศในลาตินอเมริกาซึ่งจะติดต่อซื้ออาวุธในหลายรูปแบบทั้งการติดต่อโดยตรงกับเปียงยาง หรือการติดต่อผ่านนายหน้า
ขณะที่ ลียองซู อดีตนายทหารระดับสูงประจำกองพันทหารปืนใหญ่เปียงยาง ซึ่งลี้ภัยมาเกาหลีใต้ตั้งแต่กลางปี 2005 เผยว่ารัฐบาลเกาหลีเหนือมีความสัมพันธ์กับบรรดาพ่อค้าอาวุธทั้งหลายเป็นอย่างดี โดยที่ “นายหน้าค้าความตาย” สารพัดสัญชาติมักได้รับ “สิทธิพิเศษ” ในการเดินทางเข้าออกเกาหลีเหนือได้อย่างอิสระในฐานะ “แขกของท่านผู้นำ”
อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังนายหน้าค้าอาวุธหลายรายที่เคยเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมในการนำอาวุธจากเกาหลีเหนือออกสู่ตลาดมืดทั่วโลกต่างถูกไล่ล่า จับกุม หรือไม่ก็เสียชีวิตลง เช่น เดล ซี. สต็อฟเฟล นายหน้าค้าอาวุธชาวอเมริกันซึ่งเคยเป็นผู้หาตลาดแถบยุโรปตะวันออกให้รัฐบาลเปียงยางถูกสังหารเมื่อปี 2004, จิลานี ฮูมายุน นายหน้าชาวอเมริกันเชื้อสายปากีสถานถูกจับที่นิวยอร์กเมื่อปี 2007, และวิกเตอร์ อนาโตลเยวิช บูท พ่อค้าอาวุธชาวรัสเซีย เชื้อสายทาจิกิสถานถูกจับกลางกรุงเทพฯ เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว การขาดหายไปของเหล่านายหน้าพวกนี้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกาหลีเหนือไม่น้อย
นอกจากนั้น การที่ “อดีตลูกค้าผู้ซื่อสัตย์” หลายราย เช่น รัฐบาลลิเบียที่ประกาศยกเลิกโครงการอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธพิสัยไกลอย่างสิ้นเชิงเมื่อปี 2004 และการล่มสลายของรัฐบาลซัดดัม ฮุสเซนในอิรักก็ทำให้รายได้ที่รัฐบาลเปียงยางเคยกอบโกยได้อย่างเป็นกอบเป็นกำมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 66,370 ล้านบาท นับตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมามีอันต้อง “หายวับไปกับตา” และยังทำให้สถานะของเกาหลีเหนือในการเป็น “ ผู้ส่งออกอาวุธรายใหญ่อันดับที่ 11”ให้กับประเทศกำลังพัฒนาต้องสั่นคลอนเช่นกัน
จึงมิใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดหากทางการเกาหลีเหนือจะดิ้นรนทุกวิถีทาง เพื่อหารายได้มาชดเชยเงินก้อนโตที่ตนต้องสูญเสียไป โดยวิธีที่เกาหลีเหนือเลือกใช้ขณะนี้ คือ การหาลูกค้าในตลาดใหม่ๆ เช่น การขายเทคโนโลยีขีปนาวุธให้ไนจีเรีย รวมทั้ง การหันไปจ้าง “นักค้าอาวุธโนเนม” จากประเทศแถบเอเชียกลาง และอดีตรัฐบริวารสหภาพโซเวียตให้ทำหน้าที่ลำเลียงอาวุธออกจากเปียงยาง โดยใช้เส้นทางผ่านประเทศซึ่งมี “ความอ่อนด้อยด้านการข่าว” เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ มัลดีฟส์ และปากีสถาน แทนการติดต่อกับพวกนายหน้าชื่อดังอย่างในอดีต เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากตำรวจสากล หน่วยข่าวกรองของประเทศต่างๆ และองค์กรระหว่างประเทศ
ดังนั้น เหตุการณ์จับเครื่องบินขนอาวุธที่ดอนเมือง พร้อมนักค้าอาวุธรายย่อยหลายสัญชาติ จากอดีตประเทศบริวารของโซเวียตครั้งนี้ก็เป็นเครื่องยืนยันถึง “การดิ้นรนเฮือกสุดท้าย” ของเกาหลีเหนือ ในการหารายได้เข้าประเทศ ท่ามกลางการตรวจสอบอย่างเข้มงวดจากประชาคมระหว่างประเทศ ได้เป็นอย่างดี