ASTVผู้จัดการรายวัน - ได้เวลาเลิกกดดอกเบี้ยต่ำ บิ๊กแบงก์ชาติส่งสัญญาณ คาด 2-3 เดือนข้างหน้า อัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวสูงขึ้นรวดเร็วและต่อเนื่อง นโยบายการเงินปีหน้าต้องดูแลเสถียรภาพด้านราคาเพื่อดูแลเงินเฟ้อ “ไตรรงค์ สุวรรณคีรี” ชี้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวแบบรูปเครื่องหมายถูกและฟื้นเต็มที่ในปี 55
ในงาน " แนวโน้มและทิศทางการลงทุนกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย" จัดโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) และสมาคมสโมสรนักลงทุน วานนี้ (17 ธ.ค.) นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.คาดว่าในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากปัจจัยหลักจากการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่อาจสร้างแรงกดดันเพิ่มขึ้น รวมถึงฐานราคาน้ำมันช่วงเดียวกันปีก่อนค่อนข้างต่ำ ดังนั้นแง่การดำเนินนโยบายการเงินจะดูแรงกดดันที่แท้จริง ทั้งแนวโน้มราคาสินค้าและให้ความสำคัญอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งเป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินในกรอบ 0.5-3.0%
ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะกลับทิศทางหรือไม่จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับคงที่ นายบัณฑิตกล่าวว่า เป็นเรื่องที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะเป็นผู้พิจารณา
"ปี 53 อัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้น จึงเป็นประเด็นสำคัญในแง่ทำนโยบาย ทำให้น้ำหนักในการทำงานของ กนง.จะมีการเปลี่ยนไปจากปีนี้ดูแลหรือประคับประคองเศรษฐกิจด้วยการทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำ แต่ในปีหน้าหากเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นอาจหันมาดูแลเสถียรภาพด้านราคา เพื่อดูแลเงินเฟ้อแทน” นายบัณฑิตกล่าวและว่า กรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ระดับ 0.00-0.25%นั้น รองผู้ว่าฯ กล่าวว่า ยังไม่มีผลให้มีเงินทุนไหลเข้ามาไทยเพิ่มขึ้น เพื่อหาผลตอบแทนสูงกว่า เงินทุนอยู่ในภาวะปกติ
และแม้เศรษฐกิจไทยติดลบในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา แต่เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ โดยเฉพาะภาคการผลิตที่คาดว่าจะเป็นบวกได้ชัดเจนในไตรมาส 4 ของปีนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญให้เศรษฐกิจไทยกลับมาเป็นบวกได้ และคาดว่าปีหน้าสามารถฟื้นตัวได้ตามแรงเติบโตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นรวมถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของคลังทั้งโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 และงบประมาณปกติ ซึ่งคาดว่าจะขาดดุลการคลัง 7%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)ปี 53 ถือว่ามีสัดส่วนที่สูง แต่เป็นการกระตุ้นให้การใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจไทยยังมีอยู่เพราะเศรษฐกิจโลกยังไม่เข้มแข็ง การใช้จ่ายภาครัฐจึงควรมีประสิทธิภาพและควรสร้างความเชื่อมั่น
ในงานเดียวกัน นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ประธานที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ และในฐานะนักวิชาการ กล่าวว่า ครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงไปมากจากที่พึ่งพาตลาดในประเทศกลับมาพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศค่อนข้างมาก โดยในปี 2500 ไทยส่งออกสินค้าไปทั่วโลก 17%ของรายได้ประชาชาติ แต่เมื่อปี 51 ตัวเลขเปลี่ยนเป็น 64% สะท้อนให้เห็นว่าตลาดต่างประเทศและเศรษฐกิจโลกมีผลต่อชะตากรรมเศรษฐกิจไทยอย่างมาก
แม้เศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวดีขึ้น แต่รายได้ประชาชาติของสหรัฐคงไม่กลับมาเหมือนปี 51 เพราะเกิดปัญหาการว่างงานอยู่ และอัตราเงินเฟ้อต่ำ ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายทั่วโลกอาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก และที่ผ่านมาในประเทศพัฒนาแล้วหันมาใช้นโยบายการเงินได้ผลดีกว่า แต่ก็ยังคงใช้นโยบายการคลังควบคู่ไปด้วยและเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวในรูปแบบเครื่องหมายถูก โดยจะฟื้นตัวในทุกๆ ปี แบบค่อยเป็นค่อยไปและจะฟื้นเต็มที่ได้ในปี 55.
ในงาน " แนวโน้มและทิศทางการลงทุนกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย" จัดโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) และสมาคมสโมสรนักลงทุน วานนี้ (17 ธ.ค.) นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.คาดว่าในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากปัจจัยหลักจากการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่อาจสร้างแรงกดดันเพิ่มขึ้น รวมถึงฐานราคาน้ำมันช่วงเดียวกันปีก่อนค่อนข้างต่ำ ดังนั้นแง่การดำเนินนโยบายการเงินจะดูแรงกดดันที่แท้จริง ทั้งแนวโน้มราคาสินค้าและให้ความสำคัญอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งเป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินในกรอบ 0.5-3.0%
ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะกลับทิศทางหรือไม่จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับคงที่ นายบัณฑิตกล่าวว่า เป็นเรื่องที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะเป็นผู้พิจารณา
"ปี 53 อัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้น จึงเป็นประเด็นสำคัญในแง่ทำนโยบาย ทำให้น้ำหนักในการทำงานของ กนง.จะมีการเปลี่ยนไปจากปีนี้ดูแลหรือประคับประคองเศรษฐกิจด้วยการทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำ แต่ในปีหน้าหากเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นอาจหันมาดูแลเสถียรภาพด้านราคา เพื่อดูแลเงินเฟ้อแทน” นายบัณฑิตกล่าวและว่า กรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ระดับ 0.00-0.25%นั้น รองผู้ว่าฯ กล่าวว่า ยังไม่มีผลให้มีเงินทุนไหลเข้ามาไทยเพิ่มขึ้น เพื่อหาผลตอบแทนสูงกว่า เงินทุนอยู่ในภาวะปกติ
และแม้เศรษฐกิจไทยติดลบในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา แต่เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ โดยเฉพาะภาคการผลิตที่คาดว่าจะเป็นบวกได้ชัดเจนในไตรมาส 4 ของปีนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญให้เศรษฐกิจไทยกลับมาเป็นบวกได้ และคาดว่าปีหน้าสามารถฟื้นตัวได้ตามแรงเติบโตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นรวมถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของคลังทั้งโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 และงบประมาณปกติ ซึ่งคาดว่าจะขาดดุลการคลัง 7%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)ปี 53 ถือว่ามีสัดส่วนที่สูง แต่เป็นการกระตุ้นให้การใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจไทยยังมีอยู่เพราะเศรษฐกิจโลกยังไม่เข้มแข็ง การใช้จ่ายภาครัฐจึงควรมีประสิทธิภาพและควรสร้างความเชื่อมั่น
ในงานเดียวกัน นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ประธานที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ และในฐานะนักวิชาการ กล่าวว่า ครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงไปมากจากที่พึ่งพาตลาดในประเทศกลับมาพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศค่อนข้างมาก โดยในปี 2500 ไทยส่งออกสินค้าไปทั่วโลก 17%ของรายได้ประชาชาติ แต่เมื่อปี 51 ตัวเลขเปลี่ยนเป็น 64% สะท้อนให้เห็นว่าตลาดต่างประเทศและเศรษฐกิจโลกมีผลต่อชะตากรรมเศรษฐกิจไทยอย่างมาก
แม้เศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวดีขึ้น แต่รายได้ประชาชาติของสหรัฐคงไม่กลับมาเหมือนปี 51 เพราะเกิดปัญหาการว่างงานอยู่ และอัตราเงินเฟ้อต่ำ ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายทั่วโลกอาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก และที่ผ่านมาในประเทศพัฒนาแล้วหันมาใช้นโยบายการเงินได้ผลดีกว่า แต่ก็ยังคงใช้นโยบายการคลังควบคู่ไปด้วยและเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวในรูปแบบเครื่องหมายถูก โดยจะฟื้นตัวในทุกๆ ปี แบบค่อยเป็นค่อยไปและจะฟื้นเต็มที่ได้ในปี 55.