ASTVผู้จัดการรายวัน - แพรนด้า จิวเวลรี่ปูพรมบุกตลาดต่างประเทศ หลังแนวโน้มเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวในปีหน้า เน้นขายเครื่องประดับในแบรนด์ตนเองมากขึ้น ตั้งงบลงทุนไว้ 300 ล้านบาท วางเป้าปีหน้ายอดขายโต 10% รอจังหวะราคาทองนิ่งทำตลาดเครื่องประดับทองขายในจีน
นางประพีร์ สรไกรกิติกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปีหน้าบริษัทฯวางแผนรุกตลาดในต่างประเทศเพิ่มขึ้นหลังจากมองแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปีหน้าจะฟื้นตัวดีขึ้น โดยเฉพาะตลาดอินเดีย จีน ออสเตรเลีย รัสเซียและยุโรป ขณะที่ตะวันออกกลางจะไม่ขยายตลาดเพิ่มเติม ส่งผลให้ยอดขายในปีหน้าเติบโตขึ้น 10%จากปีนี้
ทั้งนี้บริษัทฯยังคงนโยบายที่จะทำตลาดแบรนดเนมของตนเองเพิ่มขึ้น โดยแบรนด์ Prima Gold มีแผนที่จะเริ่มทำการตลาดอย่างเต็มรูปแบบมากขึ้นในอินเดีย แบรนด์ Esse จะเพิ่มการขยายสาขาในเสินเจิ้น และเมืองหลักที่มีศักยภาพของจีน นอกจากนี้ในประเทศออสเตรเลียจะเน้นการจำหน่ายแบรนด์เครื่องประดับอัญมณี H.Gringoire ซึ่งมีจุดกำเนิดจากประเทศฝรั่งเศส โดยจะวางจำหน่ายในร้านค้าเครื่องประดับระดับกลาง-สูง ส่วนแบรนด์ Baldessarini จะรุกตลาดยุโรปอย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น โดยมีเป้าหมายที่ร้านค้าเครื่องประดับระดับสูง เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์บริษัทฯในการขยายฐานตลาดสินค้าแบรนด์ตนเอง โดยตั้งเป้าหมายยอดขายสินค้าแบรนด์ถึง 50%ในปี 2555 จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนอยู่ 28 %
สำหรับยอดขายในปีนี้ที่คาดว่าลดลง 10%จากปีก่อนที่มีรายได้รวม 4 พันล้านบาท เนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯและอีกหลายประเทศทั่วโลก ขณะที่ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ทำให้พฤติกรรมของตลาดเปลี่ยนแปลงไป โดยมีคำสั่งซื้อเครื่องประดับทองคำลดลงหันมาบริโภคเครื่องประดับเงินแทน แต่หากราคาทองปรับลดลงเชื่อว่ายอดขายปีหน้าจะโตแบบก้าวกระโดด
"ภาพรวมปีนี้กำไรสุทธิคงมากกว่าปีที่แล้วที่มีกำไรสุทธิ 180 ล้านบาท เนื่องจากกำไร 9เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 150 ล้านบาท ดังนั้นไตรมาส 4 ทำกำไร 30 ล้านบาทได้อยู่แล้ว ส่วนยอดขายปีนี้ลดลงจากปีก่อน 10 %เนื่องจากตลาดปรับพฤติกรรมจากเครื่องประดับทองเป็นเครื่องประดับเงินที่มีราคาถูกลง ขณะเดียวกันเครื่องประดับเงินสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ดีกว่าเครื่องประดับทอง มีการทำตลาดสินค้าแบรนด์ตนเองและควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดี ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้นจากเดิม 32%เป็น 38%ของยอดขาย "
ส่วนการลดค่าเงินด่องที่เวียดนามนั้น ส่งผลดีต่อบริษัทลูกในเวียดนาม ทำให้สามารถส่งออกเครื่องประดับไปต่างประเทศได้มากขึ้น ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบก็ถูกลงด้วย
ในปีหน้าบริษัทฯวางงบลงทุนไว้ 300 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการลงทุนที่อินเดีย 50 ล้านบาทใช้เป็นกระแสเงินสดหมุนเวียน อีก 50 ล้านบาทลงทุนในจีนโดยขยายสาขาเพิ่มที่ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ 20แห่ง ปรับปรุงเครื่องจักรอีก 50 ล้านบาท สร้างอาคารสำนักงานและศูนย์พัฒนาฯ 50 ล้านบาท และสำรองไว้ใช้ในการขยายตลาด
นางสุนันทา เตียสุวรรณ์ ประธานบริหารการเงิน บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แผนการทำตลาดเครื่องประดับทองในจีนนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา เบื้องต้นจะต้องหาพาร์ทเนอร์หรือร้านจิวเวลรี่ที่เหมาะสม เนื่องจากคนจีนนิยมซื้อทองจากร้านที่มีชื่อเสียง หากทำตลาดเองก็จะลำบาก อย่างไรก็ตาม การทำตลาดเครื่องประดับทองนั้นคงต้องรอให้สถานการณ์ราคาทองคำนิ่งก่อน โดยปีหน้ายังเน้นทำตลาดเครื่องประดับเงินในแบรนด์ Esse
นอกจากนี้ แม้ว่าเครื่องประดับทองนำเข้าจากต่างประเทศภาษีแทบไม่มีแล้ว แต่ถูกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)ในอัตราที่สูงถึง 16-17 % หากผลิตในประเทศจีนเองจะเสียภาษีVATเพียง 5-12 % เท่านั้น
ปัจจัยเสี่ยงของธุรกิจเครื่องประดับอัญมณีของแพรนด้าจะมาจากภาวะเศรษฐกิจโลก และอัตราแลกเปลี่ยน หากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ต้นทุนการผลิตจะสูงแข่งขันลำบาก ขณะที่ปัจจัยการเมืองในประเทศไม่กระทบมาก เพราะสินค้าเน้นส่งออกเป็นส่วนใหญ่
นางประพีร์ สรไกรกิติกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปีหน้าบริษัทฯวางแผนรุกตลาดในต่างประเทศเพิ่มขึ้นหลังจากมองแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปีหน้าจะฟื้นตัวดีขึ้น โดยเฉพาะตลาดอินเดีย จีน ออสเตรเลีย รัสเซียและยุโรป ขณะที่ตะวันออกกลางจะไม่ขยายตลาดเพิ่มเติม ส่งผลให้ยอดขายในปีหน้าเติบโตขึ้น 10%จากปีนี้
ทั้งนี้บริษัทฯยังคงนโยบายที่จะทำตลาดแบรนดเนมของตนเองเพิ่มขึ้น โดยแบรนด์ Prima Gold มีแผนที่จะเริ่มทำการตลาดอย่างเต็มรูปแบบมากขึ้นในอินเดีย แบรนด์ Esse จะเพิ่มการขยายสาขาในเสินเจิ้น และเมืองหลักที่มีศักยภาพของจีน นอกจากนี้ในประเทศออสเตรเลียจะเน้นการจำหน่ายแบรนด์เครื่องประดับอัญมณี H.Gringoire ซึ่งมีจุดกำเนิดจากประเทศฝรั่งเศส โดยจะวางจำหน่ายในร้านค้าเครื่องประดับระดับกลาง-สูง ส่วนแบรนด์ Baldessarini จะรุกตลาดยุโรปอย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น โดยมีเป้าหมายที่ร้านค้าเครื่องประดับระดับสูง เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์บริษัทฯในการขยายฐานตลาดสินค้าแบรนด์ตนเอง โดยตั้งเป้าหมายยอดขายสินค้าแบรนด์ถึง 50%ในปี 2555 จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนอยู่ 28 %
สำหรับยอดขายในปีนี้ที่คาดว่าลดลง 10%จากปีก่อนที่มีรายได้รวม 4 พันล้านบาท เนื่องจากวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯและอีกหลายประเทศทั่วโลก ขณะที่ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ทำให้พฤติกรรมของตลาดเปลี่ยนแปลงไป โดยมีคำสั่งซื้อเครื่องประดับทองคำลดลงหันมาบริโภคเครื่องประดับเงินแทน แต่หากราคาทองปรับลดลงเชื่อว่ายอดขายปีหน้าจะโตแบบก้าวกระโดด
"ภาพรวมปีนี้กำไรสุทธิคงมากกว่าปีที่แล้วที่มีกำไรสุทธิ 180 ล้านบาท เนื่องจากกำไร 9เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 150 ล้านบาท ดังนั้นไตรมาส 4 ทำกำไร 30 ล้านบาทได้อยู่แล้ว ส่วนยอดขายปีนี้ลดลงจากปีก่อน 10 %เนื่องจากตลาดปรับพฤติกรรมจากเครื่องประดับทองเป็นเครื่องประดับเงินที่มีราคาถูกลง ขณะเดียวกันเครื่องประดับเงินสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ดีกว่าเครื่องประดับทอง มีการทำตลาดสินค้าแบรนด์ตนเองและควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดี ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้นจากเดิม 32%เป็น 38%ของยอดขาย "
ส่วนการลดค่าเงินด่องที่เวียดนามนั้น ส่งผลดีต่อบริษัทลูกในเวียดนาม ทำให้สามารถส่งออกเครื่องประดับไปต่างประเทศได้มากขึ้น ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบก็ถูกลงด้วย
ในปีหน้าบริษัทฯวางงบลงทุนไว้ 300 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการลงทุนที่อินเดีย 50 ล้านบาทใช้เป็นกระแสเงินสดหมุนเวียน อีก 50 ล้านบาทลงทุนในจีนโดยขยายสาขาเพิ่มที่ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ 20แห่ง ปรับปรุงเครื่องจักรอีก 50 ล้านบาท สร้างอาคารสำนักงานและศูนย์พัฒนาฯ 50 ล้านบาท และสำรองไว้ใช้ในการขยายตลาด
นางสุนันทา เตียสุวรรณ์ ประธานบริหารการเงิน บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แผนการทำตลาดเครื่องประดับทองในจีนนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา เบื้องต้นจะต้องหาพาร์ทเนอร์หรือร้านจิวเวลรี่ที่เหมาะสม เนื่องจากคนจีนนิยมซื้อทองจากร้านที่มีชื่อเสียง หากทำตลาดเองก็จะลำบาก อย่างไรก็ตาม การทำตลาดเครื่องประดับทองนั้นคงต้องรอให้สถานการณ์ราคาทองคำนิ่งก่อน โดยปีหน้ายังเน้นทำตลาดเครื่องประดับเงินในแบรนด์ Esse
นอกจากนี้ แม้ว่าเครื่องประดับทองนำเข้าจากต่างประเทศภาษีแทบไม่มีแล้ว แต่ถูกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)ในอัตราที่สูงถึง 16-17 % หากผลิตในประเทศจีนเองจะเสียภาษีVATเพียง 5-12 % เท่านั้น
ปัจจัยเสี่ยงของธุรกิจเครื่องประดับอัญมณีของแพรนด้าจะมาจากภาวะเศรษฐกิจโลก และอัตราแลกเปลี่ยน หากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ต้นทุนการผลิตจะสูงแข่งขันลำบาก ขณะที่ปัจจัยการเมืองในประเทศไม่กระทบมาก เพราะสินค้าเน้นส่งออกเป็นส่วนใหญ่