สัปดาห์ก่อนดิฉันได้กล่าวถึงประเด็นร้อนเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจของดูไบที่ทำให้ตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกสะเทือนไปแล้ว สัปดาห์นี้จึงขอกล่าวถึงประเทศเวียดนาม อันเป็นประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของไทย ที่ประกาศนโยบายการเงินภายในจนทำให้ประเทศไทยสะดุ้งเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยธนาคารกลางเวียดนามประกาศลดค่าเงินด่องลง 5% พร้อมกับประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1% จากเดิม 7% เป็น 8%
ก่อนที่จะพูดถึงผลกระทบของนโยบายดังกล่าว เรามาดูที่มาของการลดค่าเงินด่องพร้อมๆ กับการขึ้นดอกเบี้ยของเวียดนามกันก่อนค่ะ
ช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เราคงคุ้นเคยกับข่าวความเติบโตที่ร้อนแรงของเศรษฐกิจเวียดนาม แต่ภายใต้ภาพการเจริญเติบโตที่สวยงามนั้น ก็มีสิ่งน่ากลัวที่แฝงเร้นอยู่ นั่นคือ ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและปัญหาเงินเฟ้อในระดับสูง ปัญหาทั้งสองข้อนี้ได้เกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาวนาน และไม่มีทีท่าว่าจะแก้ไขได้ง่ายๆ ซึ่งตามหลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์แล้ว ปัญหาทั้งสองข้อข้างต้น จะทำให้ค่าเงินด่องมีแนวโน้มอ่อนค่าลง อย่างไรก็ตามค่าเงินด่องของเวียดนามถูกผูกติดกับค่าเงินดอลลาร์ ทำให้กลไกตลาดไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ค่าเงินด่องจึงไม่ได้อ่อนค่าลงตามที่ควรจะเป็น จนกระทั่งทำให้เกิดการคาดการณ์ว่า ค่าเงินด่องแข็งค่าเกินไปเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ จนเป็นที่มาของการละทิ้งเงินด่อง แล้วหันไปเก็งกำไรในทองคำและสินทรัพย์สกุลเงินต่างประเทศแทนอ่านดูแล้วท่านผู้อ่านรู้สึกคุ้นๆ ไหมคะ ใช่แล้วค่ะมันก็คือปัญหาเดียวกันกับวิกฤตเศรษฐกิจไทยเมื่อปี 2540 นั่นเอง ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเหตุผลที่รัฐบาลเวียดนามนำมาใช้ในการประกาศลดค่าเงินด่องพร้อม ๆ กับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ เพื่อช่วยกระตุ้นการส่งออกและลดการนำเข้า โดยมีความหวังว่าวิธีการนี้จะช่วยลดการขาดดุลการค้า และใช้การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนี้มีการคาดการณ์ว่าการลดค่าเงินด่องในครั้งนี้อาจไม่ใช่ครั้งสุดท้าย แต่อาจเกิดขึ้นอีกในระยะเวลาอันใกล้
หลังการประกาศลดค่าเงินด่อง สิ่งที่ตามมาก็คือสินค้านำเข้าของเวียดนามจะมีราคาสูงขึ้น ขณะเดียวกันสินค้าส่งออกของเวียดนามก็มีราคาลดลงในสายตาของผู้บริโภคต่างชาติเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าส่งออกที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับสินค้าส่งออกของไทย อาทิ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งสินค้าส่งออกเหล่านี้จะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคากับเวียดนาม โดยเฉพาะการส่งออกข้าว ซึ่งปัจจุบันราคาข้าวไทยสูงกว่าข้าวเวียดนามอยู่แล้ว เมื่อเวียดนามลดค่าเงินด่องลงไปอีก ก็ยิ่งทำให้ข้าวเวียดนามราคาถูกกว่าข้าวไทยมากยิ่งขึ้น จึงมีแนวโน้มที่ไทยจะสูญเสียตลาดส่งออกข้าวให้แก่เวียดนามมากขึ้นไปอีก นี่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ไทยไม่ควรมองข้ามวิธีการแก้ไขปัญหาภายในของเวียดนาม
คำถามคือ ไทยควรจะทำอย่างไร ควรลดค่าเงินบาทสู้กับเวียดนามหรือไม่
ดิฉันคงไม่ตอบแบบฟันธง เพราะยังมีอีกหลายประเด็นที่ควรพิจารณา โดยเฉพาะสินค้าส่งออกทางการเกษตร ระยะสั้นอาจจะไม่มีผลกระทบรุนแรงนัก เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรสิ้นปีนี้ต่อเนื่องถึงต้นปีหน้ามีแนวโน้มราคาสูงขึ้น ทำให้ช่วยลดผลกระทบดังกล่าวได้ แต่ในระยะยาวแล้ว ย่อมได้รับผลกระทบดังกล่าวแน่นอนแล้วประเทศไทยควรทำอย่างไร... มีหลายท่านเริ่มพูดถึงการลดค่าเงินบาทเพื่อสู้กับเวียดนาม สิ่งหนึ่งที่ดิฉันอยากให้ตระหนักถึงคือ สิ่งที่ไทยจะต้องแลก นั่นคือการนำเข้าน้ำมันในราคาที่แพงขึ้นเช่นกัน ซึ่งนั่นจะคุ้มกันหรือไม่!!!
ก่อนที่จะพูดถึงผลกระทบของนโยบายดังกล่าว เรามาดูที่มาของการลดค่าเงินด่องพร้อมๆ กับการขึ้นดอกเบี้ยของเวียดนามกันก่อนค่ะ
ช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เราคงคุ้นเคยกับข่าวความเติบโตที่ร้อนแรงของเศรษฐกิจเวียดนาม แต่ภายใต้ภาพการเจริญเติบโตที่สวยงามนั้น ก็มีสิ่งน่ากลัวที่แฝงเร้นอยู่ นั่นคือ ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและปัญหาเงินเฟ้อในระดับสูง ปัญหาทั้งสองข้อนี้ได้เกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาวนาน และไม่มีทีท่าว่าจะแก้ไขได้ง่ายๆ ซึ่งตามหลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์แล้ว ปัญหาทั้งสองข้อข้างต้น จะทำให้ค่าเงินด่องมีแนวโน้มอ่อนค่าลง อย่างไรก็ตามค่าเงินด่องของเวียดนามถูกผูกติดกับค่าเงินดอลลาร์ ทำให้กลไกตลาดไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ค่าเงินด่องจึงไม่ได้อ่อนค่าลงตามที่ควรจะเป็น จนกระทั่งทำให้เกิดการคาดการณ์ว่า ค่าเงินด่องแข็งค่าเกินไปเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ จนเป็นที่มาของการละทิ้งเงินด่อง แล้วหันไปเก็งกำไรในทองคำและสินทรัพย์สกุลเงินต่างประเทศแทนอ่านดูแล้วท่านผู้อ่านรู้สึกคุ้นๆ ไหมคะ ใช่แล้วค่ะมันก็คือปัญหาเดียวกันกับวิกฤตเศรษฐกิจไทยเมื่อปี 2540 นั่นเอง ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเหตุผลที่รัฐบาลเวียดนามนำมาใช้ในการประกาศลดค่าเงินด่องพร้อม ๆ กับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ เพื่อช่วยกระตุ้นการส่งออกและลดการนำเข้า โดยมีความหวังว่าวิธีการนี้จะช่วยลดการขาดดุลการค้า และใช้การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนี้มีการคาดการณ์ว่าการลดค่าเงินด่องในครั้งนี้อาจไม่ใช่ครั้งสุดท้าย แต่อาจเกิดขึ้นอีกในระยะเวลาอันใกล้
หลังการประกาศลดค่าเงินด่อง สิ่งที่ตามมาก็คือสินค้านำเข้าของเวียดนามจะมีราคาสูงขึ้น ขณะเดียวกันสินค้าส่งออกของเวียดนามก็มีราคาลดลงในสายตาของผู้บริโภคต่างชาติเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าส่งออกที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับสินค้าส่งออกของไทย อาทิ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งสินค้าส่งออกเหล่านี้จะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคากับเวียดนาม โดยเฉพาะการส่งออกข้าว ซึ่งปัจจุบันราคาข้าวไทยสูงกว่าข้าวเวียดนามอยู่แล้ว เมื่อเวียดนามลดค่าเงินด่องลงไปอีก ก็ยิ่งทำให้ข้าวเวียดนามราคาถูกกว่าข้าวไทยมากยิ่งขึ้น จึงมีแนวโน้มที่ไทยจะสูญเสียตลาดส่งออกข้าวให้แก่เวียดนามมากขึ้นไปอีก นี่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ไทยไม่ควรมองข้ามวิธีการแก้ไขปัญหาภายในของเวียดนาม
คำถามคือ ไทยควรจะทำอย่างไร ควรลดค่าเงินบาทสู้กับเวียดนามหรือไม่
ดิฉันคงไม่ตอบแบบฟันธง เพราะยังมีอีกหลายประเด็นที่ควรพิจารณา โดยเฉพาะสินค้าส่งออกทางการเกษตร ระยะสั้นอาจจะไม่มีผลกระทบรุนแรงนัก เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรสิ้นปีนี้ต่อเนื่องถึงต้นปีหน้ามีแนวโน้มราคาสูงขึ้น ทำให้ช่วยลดผลกระทบดังกล่าวได้ แต่ในระยะยาวแล้ว ย่อมได้รับผลกระทบดังกล่าวแน่นอนแล้วประเทศไทยควรทำอย่างไร... มีหลายท่านเริ่มพูดถึงการลดค่าเงินบาทเพื่อสู้กับเวียดนาม สิ่งหนึ่งที่ดิฉันอยากให้ตระหนักถึงคือ สิ่งที่ไทยจะต้องแลก นั่นคือการนำเข้าน้ำมันในราคาที่แพงขึ้นเช่นกัน ซึ่งนั่นจะคุ้มกันหรือไม่!!!