ครม.รับทราบ 3 หน่วยงานหลัก สศช.-พาณิชย์-แบงก์ชาติ แนะจับตาผลกระทบจากปัญหา “เงินด่ง-ดูไบเวิลด์” อาจกระทบต่อความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจ และการเงินโลกอีกครั้ง แต่กระทบต่อตลาดผู้ส่งออก และด้านการท่องเที่ยวไทยโดยตรง
วันนี้ (2 ธ.ค.) นายพุฒิพงษ์ ปุณณกัณต์ ผู้ช่วยประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ รับทราบรายงานผลกระทบจากการลดค่าเงินด่งของประเทศเวียดนาม ที่สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช.และกระทรวงพาณิชย์ โดยสรุปว่า การลดค่าเงินด่ง และการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 8 คาดว่า จะมีผลกระทบทำให้เวียดนาม มีความได้เปรียบในการส่งออกสินค้าในตลาดโลก โดยเฉพาะข้าว เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า ยางพารา สิ่งทอ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าประมงและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบกับการส่งออกของไทยในสินค้าที่แข่งขันกันโดยตรง
นอกจากนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม จะส่งผลให้การส่งออกของไทยไปเวียดนามลดลง รวมทั้งคาดการณ์ว่านักท่องเที่ยว จากเวียดนามจะลดลงในปี 2553 ด้านธนาคารแห่งประเทศไทยมองว่า ค่าเงินดองมีโอกาสที่อ่อนตัวลงในอนาคต จึงจำเป็นที่จะต้องวางแนวทาง เพื่อเฝ้าระวังสำหรับนักธุรกิจไทยที่ลงทุนในเวียดนาม
คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เห็นว่าประเทศไทยควรกำหนดกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าว และติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจของเวียดนามอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามจากข้อมูลเชิงลึกของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสรุปว่า ค่าเงินด่งที่ลดลง อาจไม่ส่งผลต่อขีดความสามารถของเวียดนามมากนัก เนื่องจากต้นทุนการเงินของเวียดนามยังคงอยู่ในระดับสูง และลักษณะสินค้าส่งออกไทยกับเวียดนามมีคุณภาพและตลาดที่แตกต่างกัน
ส่วนผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินของบริษัท ดูไบเวิลด์ โดยมีการคาดว่า อาจมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจ และการเงินโลกอีกครั้ง โดยเฉพาะสถานการณ์การเงินในยุโรปที่มีความเชื่อมโยงกับบริษัท ดูไบเวิลด์ ยังอยู่ในฐานะที่อ่อนแอ ทั้งนี้ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจดูไบจะขึ้นอยู่กับท่าทีของรัฐอาบูดาบี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ว่าจะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือบริษัทดูไบเวิลด์มากน้อยเพียงใด
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ มองว่า เหตุการณ์ในเวียดนาม และดูไบที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นว่า ยังมีความเสี่ยงในเศรษฐกิจโลก ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินความเสี่ยงของเศรษฐกิจประเทศต่างๆ นอกจากดูไบ และเวียดนาม อาทิ เศรษฐกิจจีน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถเตรียมความพร้อมของประเทศ เพื่อรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ได้ และมอบหมายให้กระทรวงแรงงาน ติดตามสถานการณ์แรงงานไทยในดูไบ เพื่อให้ความช่วยเหลือแรงงานไทย
วันนี้ (2 ธ.ค.) นายพุฒิพงษ์ ปุณณกัณต์ ผู้ช่วยประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ รับทราบรายงานผลกระทบจากการลดค่าเงินด่งของประเทศเวียดนาม ที่สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช.และกระทรวงพาณิชย์ โดยสรุปว่า การลดค่าเงินด่ง และการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 8 คาดว่า จะมีผลกระทบทำให้เวียดนาม มีความได้เปรียบในการส่งออกสินค้าในตลาดโลก โดยเฉพาะข้าว เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า ยางพารา สิ่งทอ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าประมงและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบกับการส่งออกของไทยในสินค้าที่แข่งขันกันโดยตรง
นอกจากนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม จะส่งผลให้การส่งออกของไทยไปเวียดนามลดลง รวมทั้งคาดการณ์ว่านักท่องเที่ยว จากเวียดนามจะลดลงในปี 2553 ด้านธนาคารแห่งประเทศไทยมองว่า ค่าเงินดองมีโอกาสที่อ่อนตัวลงในอนาคต จึงจำเป็นที่จะต้องวางแนวทาง เพื่อเฝ้าระวังสำหรับนักธุรกิจไทยที่ลงทุนในเวียดนาม
คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เห็นว่าประเทศไทยควรกำหนดกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าว และติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจของเวียดนามอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามจากข้อมูลเชิงลึกของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสรุปว่า ค่าเงินด่งที่ลดลง อาจไม่ส่งผลต่อขีดความสามารถของเวียดนามมากนัก เนื่องจากต้นทุนการเงินของเวียดนามยังคงอยู่ในระดับสูง และลักษณะสินค้าส่งออกไทยกับเวียดนามมีคุณภาพและตลาดที่แตกต่างกัน
ส่วนผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินของบริษัท ดูไบเวิลด์ โดยมีการคาดว่า อาจมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจ และการเงินโลกอีกครั้ง โดยเฉพาะสถานการณ์การเงินในยุโรปที่มีความเชื่อมโยงกับบริษัท ดูไบเวิลด์ ยังอยู่ในฐานะที่อ่อนแอ ทั้งนี้ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจดูไบจะขึ้นอยู่กับท่าทีของรัฐอาบูดาบี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ว่าจะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือบริษัทดูไบเวิลด์มากน้อยเพียงใด
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ มองว่า เหตุการณ์ในเวียดนาม และดูไบที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นว่า ยังมีความเสี่ยงในเศรษฐกิจโลก ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินความเสี่ยงของเศรษฐกิจประเทศต่างๆ นอกจากดูไบ และเวียดนาม อาทิ เศรษฐกิจจีน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถเตรียมความพร้อมของประเทศ เพื่อรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ได้ และมอบหมายให้กระทรวงแรงงาน ติดตามสถานการณ์แรงงานไทยในดูไบ เพื่อให้ความช่วยเหลือแรงงานไทย