ASTVผู้จัดการรายวัน-หมูเย้ยพาณิชย์ จ่อขึ้นราคารับปีใหม่ เป็นโลละ 120 บาท อ้างราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งไม่หยุด ทั้งๆ ที่ “พรทิวา” เพิ่งประกาศลดภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองเหลือ 2%
แหล่งข่าวจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า แนวโน้มที่ราคาเนื้อหมูขายปลีกจะขยับขึ้นเป็น 115-120 บาท/กก. ในช่วงต้นปีหน้า จากปัจจุบันราคาเนื้อหมูขายปลีกปรับขึ้นมาแล้วที่ 110-115 บาท/กก. เนื่องจากต้นทุนการเลี้ยงหมูปรับตัวสูงขึ้น จากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกากถั่วเหลืองขยับขึ้นจาก 16 บาท/กก.ในเดือนพ.ย. เป็น 17 บาท/กก. ในเดือนธ.ค. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จาก 7 บาท/กก. เป็น 8 บาท/กก. มันสำปะหลังจาก 5 บาท/กก. เป็น 5.50-5.60 บาท/กก. ปลายข้าวจาก 9 บาท/กก. เป็น 12 บาท/กก. หรือเฉลี่ยปรับขึ้นแล้ว 10-20%
ทั้งนี้ ผลจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นเป็น 56-58 บาท/กก. จากเดือนพ.ย. 54-55 บาท/กก. และมีแนวโน้มที่หลังเทศกาลปีใหม่ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 60-62 บาท/กก. ประกอบกับ มีความต้องการบริโภคเนื้อหมูเพิ่มขึ้น จากช่วงเทศกาลวันหยุดยาว ส่งผลให้ราคาเนื้อหมูปรับตัวสูงขึ้น
“ราคาเนื้อหมูที่สูงขึ้นมาจาก 2 สาเหตุ คือ ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์แพงขึ้น และวันหยุดยาวทำให้มีความต้องการบริโภคมากขึ้น ซึ่งหากราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มขึ้นไปถึง 60-62 บาท/กก. ราคาขายปลีกจะขึ้นไป 115-120 บาท/กก.”แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม การปรับราคาเนื้อหมูที่สูงขึ้นนี้ เป็นไปตามกลไกตลาด และเชื่อว่ากรมการค้าภายในจะยังไม่เข้ามาดูแลราคา เพราะกำไรที่ผู้ประกอบการได้รับไม่ถึง 20% ของต้นทุนทั้งหมด ส่วนกรณีที่กระทรวงพาณิชย์มีการปรับลดภาษีกากถั่วเหลืองจาก 4% เหลือ 2% ที่จะส่งผลให้ต้นทุนอาหารสัตว์ลดลงนั้น ขณะนี้ยังไม่มีผลบังคับใช้ และหากบังคับใช้จริงต้นทุนอาหารสัตว์ปรับลดลงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าเทียบกับราคาวัตถุดิบหลายชนิดที่ปรับราคาสูงขึ้น ทำให้ไม่มีผลต่อต้นทุนการเลี้ยงหมูมากนัก
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ก่อนหน้านี้ นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายอาหาร โดยอนุมัติแผนการนำเข้ากากถั่วเหลืองปี 2553 ตามที่คณะอนุกรรมการนโยบายอาหารเสนอมาให้ลดภาษีกากถั่วเหลืองจาก 4% เหลือ 2% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค. 2553 ซึ่งจะทำให้ต้นทุนอาหารสัตว์ปรับลดลงถุงละ (50 กก.) 0.25-1.62 บาท
โดยต้นทุนการเลี้ยงหมูปรับลดลงมากสุด 15.37% จากต้นทุนการเลี้ยงในปี 2551 ไก่เนื้อ ปรับลดลง 3.67% ไก่ไข่ ลดลง 2.88% และส่งผลให้ราคาขายปลีกเนื้อสัตว์ปลายทางปรับลดลงภายใน 1-2 เดือนนับจากนี้ และได้สั่งให้กรมการค้าภายในไปควบคุมราคาเนื้อสัตว์ที่ได้รับผลดีจากการปรับลดภาษีกากถั่วเหลืองให้ปรับราคาลงตามสัดส่วนด้วย
แหล่งข่าวจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า แนวโน้มที่ราคาเนื้อหมูขายปลีกจะขยับขึ้นเป็น 115-120 บาท/กก. ในช่วงต้นปีหน้า จากปัจจุบันราคาเนื้อหมูขายปลีกปรับขึ้นมาแล้วที่ 110-115 บาท/กก. เนื่องจากต้นทุนการเลี้ยงหมูปรับตัวสูงขึ้น จากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกากถั่วเหลืองขยับขึ้นจาก 16 บาท/กก.ในเดือนพ.ย. เป็น 17 บาท/กก. ในเดือนธ.ค. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จาก 7 บาท/กก. เป็น 8 บาท/กก. มันสำปะหลังจาก 5 บาท/กก. เป็น 5.50-5.60 บาท/กก. ปลายข้าวจาก 9 บาท/กก. เป็น 12 บาท/กก. หรือเฉลี่ยปรับขึ้นแล้ว 10-20%
ทั้งนี้ ผลจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นเป็น 56-58 บาท/กก. จากเดือนพ.ย. 54-55 บาท/กก. และมีแนวโน้มที่หลังเทศกาลปีใหม่ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 60-62 บาท/กก. ประกอบกับ มีความต้องการบริโภคเนื้อหมูเพิ่มขึ้น จากช่วงเทศกาลวันหยุดยาว ส่งผลให้ราคาเนื้อหมูปรับตัวสูงขึ้น
“ราคาเนื้อหมูที่สูงขึ้นมาจาก 2 สาเหตุ คือ ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์แพงขึ้น และวันหยุดยาวทำให้มีความต้องการบริโภคมากขึ้น ซึ่งหากราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มขึ้นไปถึง 60-62 บาท/กก. ราคาขายปลีกจะขึ้นไป 115-120 บาท/กก.”แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม การปรับราคาเนื้อหมูที่สูงขึ้นนี้ เป็นไปตามกลไกตลาด และเชื่อว่ากรมการค้าภายในจะยังไม่เข้ามาดูแลราคา เพราะกำไรที่ผู้ประกอบการได้รับไม่ถึง 20% ของต้นทุนทั้งหมด ส่วนกรณีที่กระทรวงพาณิชย์มีการปรับลดภาษีกากถั่วเหลืองจาก 4% เหลือ 2% ที่จะส่งผลให้ต้นทุนอาหารสัตว์ลดลงนั้น ขณะนี้ยังไม่มีผลบังคับใช้ และหากบังคับใช้จริงต้นทุนอาหารสัตว์ปรับลดลงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าเทียบกับราคาวัตถุดิบหลายชนิดที่ปรับราคาสูงขึ้น ทำให้ไม่มีผลต่อต้นทุนการเลี้ยงหมูมากนัก
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ก่อนหน้านี้ นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายอาหาร โดยอนุมัติแผนการนำเข้ากากถั่วเหลืองปี 2553 ตามที่คณะอนุกรรมการนโยบายอาหารเสนอมาให้ลดภาษีกากถั่วเหลืองจาก 4% เหลือ 2% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค. 2553 ซึ่งจะทำให้ต้นทุนอาหารสัตว์ปรับลดลงถุงละ (50 กก.) 0.25-1.62 บาท
โดยต้นทุนการเลี้ยงหมูปรับลดลงมากสุด 15.37% จากต้นทุนการเลี้ยงในปี 2551 ไก่เนื้อ ปรับลดลง 3.67% ไก่ไข่ ลดลง 2.88% และส่งผลให้ราคาขายปลีกเนื้อสัตว์ปลายทางปรับลดลงภายใน 1-2 เดือนนับจากนี้ และได้สั่งให้กรมการค้าภายในไปควบคุมราคาเนื้อสัตว์ที่ได้รับผลดีจากการปรับลดภาษีกากถั่วเหลืองให้ปรับราคาลงตามสัดส่วนด้วย