มีข่าวว่า ส.ส.บุญยอด สุขถิ่นไทย ออกมาเผยสถิติการเข้าประชุม และลงมติของ ส.ส.ทั้งสภา ผลปรากฏว่ามีผู้ลงมติครบทุกครั้งไม่กี่คน และมีผู้ไม่ได้ลงมติเลยหลายคน
เรารู้แต่เพียงว่าใครลงมติ ใครไม่ลงมติ คือใครขยัน ใครขี้เกียจ แต่คุณบุญยอด คงลืมคิดไปว่าคนน่าจะอยากรู้มากกว่าว่า ใครลงมติอย่างไรในการพิจารณาร่างกฎหมายต่างๆ
ในประเทศอื่นเขาจะมีการเก็บสถิติของการลงมติของ ส.ส.ทุกคนไว้ เพื่อดูว่า ส.ส.คนไหนมีท่าทีต่อกฎหมายที่สำคัญๆ อย่างไร เช่น กฎหมายการขึ้นภาษี กฎหมายทำแท้ง เป็นต้น สถิติเหล่านี้จะพิมพ์เผยแพร่ต่อสาธารณชน
เรื่องการเสนอร่างกฎหมายก็เช่นกัน จะมีการรวบรวมว่า ส.ส.คนไหนเสนอร่างกฎหมายอะไร และมีการวิเคราะห์ทัศนะและจุดยืนทางการเมืองของ ส.ส.ผู้นั้น
ในสภาไทยเรามีดาวกระทู้ บางคนไม่เคยเสนอกฎหมายแต่ขยันตั้งกระทู้นับร้อย กระทู้บางครั้งก็กลายเป็นเครื่องมือของการโจมตีกัน จำได้ว่าในสมัยจอมพลถนอม ในสภาผู้แทนมี ส.ส.ที่ได้รับการสนับสนุนจากจอมพลประภาส ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นฝ่ายเสธ.ทวี (พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์) นัยว่าสองท่านนี้ไม่ถูกกัน เสธ.ทวีนั้นเคยถูกข้อหากบฏจะล้มจอมพลสฤษดิ์ มาครั้งหนึ่งแล้ว พ่อผมเป็นตำรวจที่ทำการสอบสวนเสธ.ทวีเอง และรายงานไปว่า เสธ.ทวีไม่ได้มีการคบคิดจะล้มจอมพลสฤษดิ์จริง จึงรอดตัวไป
ส.ส.ฝ่ายจอมพลประภาสได้ตั้งกระทู้ถามเสธ.ทวี ซึ่งเป็นรัฐมนตรีคมนาคมเรื่อง “ทั๊กโบต” คือ มีการนำเรือลากจูงเข้ามามีเรื่องการเลี่ยงภาษี หรือซื้อด้วยราคาสูงหรืออย่างไรก็จำไม่ได้แล้ว แต่เป็นเรื่องโด่งดังมากในยุคนั้น
ส.ส.บ้านเรามักมีชื่อเสียงเรื่องฝีปากบ้าง เรื่องอื่นๆ ที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับการทำหน้าที่โดยตรงบ้าง สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ มี ส.ส.ฉ่ำ จำรัสเนตร แกมีวิธีทำให้คนเชื่อว่า ผู้ก่อการคนสำคัญคือ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ สนับสนุนแก ที่จริงแกเอาเงินไปฝากไว้ที่อาจารย์ปรีดี พอกลับไปพัทลุงก็โทรเลขถึงอาจารย์ปรีดี ขอให้ส่งเงินมาให้ด่วน แล้วแกก็ไปอวดชาวบ้านว่าได้รับเงินจากอาจารย์ปรีดี
ผมรู้จัก ส.ส.ไพฑูรย์ วงศ์วานิช เป็นนักเรียนรัฐศาสตร์รุ่นน้อง เวลาเปิดสภาไพฑูรย์ขี่ควายเข้ามาสภา จึงได้รับสมญานามว่า “ส.ส.ขี่ควาย”
ส.ส.ที่ผมประทับใจมีหลายคน รุ่นใหญ่หน่อยก็คือ คุณใหญ่ สวิตชาติ ส.ส.นครสวรรค์ คุณใหญ่เป็น ส.ส.หลายสมัย เป็นที่นับถือของคนทั่วไป แม้แต่อาจารย์คึกฤทธิ์ด้วย เมื่อปี 2512 ผมไปศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของ ส.ส. เวลานั้นสภายังอยู่ที่พระที่นั่งอนันตฯ มีสโมสรอยู่ตึกเล็กๆ ข้างๆ พระที่นั่ง ส.ส.จะไปอยู่กันที่นั่น คุณใหญ่จะกินเบียร์ไปแทงบิลเลียดไป และยังเอื้อเฟื้อให้ผมกินเบียร์ด้วย ปกติผมไม่ดื่มแต่ก็ไม่อยากขัดศรัทธา คุณใหญ่ดีอกดีใจมากที่ผมดื่มเบียร์ที่ท่านให้
ฮีโร่ของผมคือ คุณอุทัย พิมพ์ใจชน เพราะคุณอุทัยฟ้องจอมพลถนอมกับพวก เนื่องในการทำปฏิวัติและถูกศาลจำคุก ผมและนักวิชาการอีกหลายคนได้ทำจดหมายชื่นชม และประท้วงรัฐบาลในเวลานั้น
ต่อมาเมื่อคุณอุทัยได้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ผมได้ความรู้จากคุณอุทัยมาก เวลานั้น ส.ส.ยังมีคุณวุฒิไม่สูงนัก ผิดกับเวลานี้ คุณอุทัยอธิบายว่า ความรู้ที่จำเป็นของ ส.ส.และที่ ส.ส.ต้องมีนั้นไม่ใช่ความรู้ที่มีปริญญา แต่เป็นความรู้ในความต้องการของประชาชน
คุณอุทัยได้สนับสนุนการพัฒนารัฐสภาที่ผมและนักวิชาการเสนอแนะ ผมได้ไปดูงานในต่างประเทศกับคุณอุทัย ได้เห็นความเอาใจใส่ในงานกิจการสภาของท่านผู้นี้มาก
เนื่องจาก ส.ส.เมืองไทยมีโอกาสทำงานอย่างต่อเนื่องน้อยมาก จึงไม่ค่อยมีบทบาทในการเสนอกฎหมาย ส่วนมากจึงทำหน้าที่คัดค้าน ท้วงติง และเปิดโปงการคอร์รัปชันหรือการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม แต่ในประเทศอื่น เช่น อังกฤษ มี ส.ส.ที่มีบทบาทเด่นในการเสนอกฎหมายหลายคน ผมเพิ่งได้รับหนังเรื่อง Amazing Grace จากดร.นฤมล สะอาดโฉม รองคณบดีคณะบริหารธุรกิจของนิด้า ดร.นฤมลชอบหนังเรื่องนี้มาก เป็นเรื่องการต่อสู้เพื่อยกเลิกกฎหมายค้าทาสของ ส.ส.อังกฤษชื่อ William Wilburford เพื่อนสนิทของอดีตนายกรัฐมนตรี William Pitt กว่าจะทำสำเร็จก็ต้องพบกับอุปสรรค และความพ่ายแพ้หลายครั้ง แต่ก็มิได้ท้อถอยจนประสบชัยชนะในที่สุด
ขณะนี้ ส.ส.ไทยมีโอกาสดี เพราะมีสถาบันพระปกเกล้าช่วยจัดหลักสูตรดีๆ อบรม ส.ส. แต่ผมอยากให้สถาบันพระปกเกล้าเป็นแหล่งที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ ส.ส. โดยเฉพาะการปฏิบัติงานของ ส.ส. แต่ละคนด้วย เช่น มีการทำวิจัยเกี่ยวกับบทบาทในการเสนอกฎหมายของ ส.ส. เป็นต้น เราจะได้รู้ว่า ส.ส.คนไหนทำหน้าที่อย่างไร ไม่ใช่รู้แต่เพียงว่าเขาเข้าประชุมสภาอย่างสม่ำเสมอหรือไม่เท่านั้น
เรารู้แต่เพียงว่าใครลงมติ ใครไม่ลงมติ คือใครขยัน ใครขี้เกียจ แต่คุณบุญยอด คงลืมคิดไปว่าคนน่าจะอยากรู้มากกว่าว่า ใครลงมติอย่างไรในการพิจารณาร่างกฎหมายต่างๆ
ในประเทศอื่นเขาจะมีการเก็บสถิติของการลงมติของ ส.ส.ทุกคนไว้ เพื่อดูว่า ส.ส.คนไหนมีท่าทีต่อกฎหมายที่สำคัญๆ อย่างไร เช่น กฎหมายการขึ้นภาษี กฎหมายทำแท้ง เป็นต้น สถิติเหล่านี้จะพิมพ์เผยแพร่ต่อสาธารณชน
เรื่องการเสนอร่างกฎหมายก็เช่นกัน จะมีการรวบรวมว่า ส.ส.คนไหนเสนอร่างกฎหมายอะไร และมีการวิเคราะห์ทัศนะและจุดยืนทางการเมืองของ ส.ส.ผู้นั้น
ในสภาไทยเรามีดาวกระทู้ บางคนไม่เคยเสนอกฎหมายแต่ขยันตั้งกระทู้นับร้อย กระทู้บางครั้งก็กลายเป็นเครื่องมือของการโจมตีกัน จำได้ว่าในสมัยจอมพลถนอม ในสภาผู้แทนมี ส.ส.ที่ได้รับการสนับสนุนจากจอมพลประภาส ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นฝ่ายเสธ.ทวี (พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์) นัยว่าสองท่านนี้ไม่ถูกกัน เสธ.ทวีนั้นเคยถูกข้อหากบฏจะล้มจอมพลสฤษดิ์ มาครั้งหนึ่งแล้ว พ่อผมเป็นตำรวจที่ทำการสอบสวนเสธ.ทวีเอง และรายงานไปว่า เสธ.ทวีไม่ได้มีการคบคิดจะล้มจอมพลสฤษดิ์จริง จึงรอดตัวไป
ส.ส.ฝ่ายจอมพลประภาสได้ตั้งกระทู้ถามเสธ.ทวี ซึ่งเป็นรัฐมนตรีคมนาคมเรื่อง “ทั๊กโบต” คือ มีการนำเรือลากจูงเข้ามามีเรื่องการเลี่ยงภาษี หรือซื้อด้วยราคาสูงหรืออย่างไรก็จำไม่ได้แล้ว แต่เป็นเรื่องโด่งดังมากในยุคนั้น
ส.ส.บ้านเรามักมีชื่อเสียงเรื่องฝีปากบ้าง เรื่องอื่นๆ ที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับการทำหน้าที่โดยตรงบ้าง สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ มี ส.ส.ฉ่ำ จำรัสเนตร แกมีวิธีทำให้คนเชื่อว่า ผู้ก่อการคนสำคัญคือ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ สนับสนุนแก ที่จริงแกเอาเงินไปฝากไว้ที่อาจารย์ปรีดี พอกลับไปพัทลุงก็โทรเลขถึงอาจารย์ปรีดี ขอให้ส่งเงินมาให้ด่วน แล้วแกก็ไปอวดชาวบ้านว่าได้รับเงินจากอาจารย์ปรีดี
ผมรู้จัก ส.ส.ไพฑูรย์ วงศ์วานิช เป็นนักเรียนรัฐศาสตร์รุ่นน้อง เวลาเปิดสภาไพฑูรย์ขี่ควายเข้ามาสภา จึงได้รับสมญานามว่า “ส.ส.ขี่ควาย”
ส.ส.ที่ผมประทับใจมีหลายคน รุ่นใหญ่หน่อยก็คือ คุณใหญ่ สวิตชาติ ส.ส.นครสวรรค์ คุณใหญ่เป็น ส.ส.หลายสมัย เป็นที่นับถือของคนทั่วไป แม้แต่อาจารย์คึกฤทธิ์ด้วย เมื่อปี 2512 ผมไปศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของ ส.ส. เวลานั้นสภายังอยู่ที่พระที่นั่งอนันตฯ มีสโมสรอยู่ตึกเล็กๆ ข้างๆ พระที่นั่ง ส.ส.จะไปอยู่กันที่นั่น คุณใหญ่จะกินเบียร์ไปแทงบิลเลียดไป และยังเอื้อเฟื้อให้ผมกินเบียร์ด้วย ปกติผมไม่ดื่มแต่ก็ไม่อยากขัดศรัทธา คุณใหญ่ดีอกดีใจมากที่ผมดื่มเบียร์ที่ท่านให้
ฮีโร่ของผมคือ คุณอุทัย พิมพ์ใจชน เพราะคุณอุทัยฟ้องจอมพลถนอมกับพวก เนื่องในการทำปฏิวัติและถูกศาลจำคุก ผมและนักวิชาการอีกหลายคนได้ทำจดหมายชื่นชม และประท้วงรัฐบาลในเวลานั้น
ต่อมาเมื่อคุณอุทัยได้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ผมได้ความรู้จากคุณอุทัยมาก เวลานั้น ส.ส.ยังมีคุณวุฒิไม่สูงนัก ผิดกับเวลานี้ คุณอุทัยอธิบายว่า ความรู้ที่จำเป็นของ ส.ส.และที่ ส.ส.ต้องมีนั้นไม่ใช่ความรู้ที่มีปริญญา แต่เป็นความรู้ในความต้องการของประชาชน
คุณอุทัยได้สนับสนุนการพัฒนารัฐสภาที่ผมและนักวิชาการเสนอแนะ ผมได้ไปดูงานในต่างประเทศกับคุณอุทัย ได้เห็นความเอาใจใส่ในงานกิจการสภาของท่านผู้นี้มาก
เนื่องจาก ส.ส.เมืองไทยมีโอกาสทำงานอย่างต่อเนื่องน้อยมาก จึงไม่ค่อยมีบทบาทในการเสนอกฎหมาย ส่วนมากจึงทำหน้าที่คัดค้าน ท้วงติง และเปิดโปงการคอร์รัปชันหรือการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม แต่ในประเทศอื่น เช่น อังกฤษ มี ส.ส.ที่มีบทบาทเด่นในการเสนอกฎหมายหลายคน ผมเพิ่งได้รับหนังเรื่อง Amazing Grace จากดร.นฤมล สะอาดโฉม รองคณบดีคณะบริหารธุรกิจของนิด้า ดร.นฤมลชอบหนังเรื่องนี้มาก เป็นเรื่องการต่อสู้เพื่อยกเลิกกฎหมายค้าทาสของ ส.ส.อังกฤษชื่อ William Wilburford เพื่อนสนิทของอดีตนายกรัฐมนตรี William Pitt กว่าจะทำสำเร็จก็ต้องพบกับอุปสรรค และความพ่ายแพ้หลายครั้ง แต่ก็มิได้ท้อถอยจนประสบชัยชนะในที่สุด
ขณะนี้ ส.ส.ไทยมีโอกาสดี เพราะมีสถาบันพระปกเกล้าช่วยจัดหลักสูตรดีๆ อบรม ส.ส. แต่ผมอยากให้สถาบันพระปกเกล้าเป็นแหล่งที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ ส.ส. โดยเฉพาะการปฏิบัติงานของ ส.ส. แต่ละคนด้วย เช่น มีการทำวิจัยเกี่ยวกับบทบาทในการเสนอกฎหมายของ ส.ส. เป็นต้น เราจะได้รู้ว่า ส.ส.คนไหนทำหน้าที่อย่างไร ไม่ใช่รู้แต่เพียงว่าเขาเข้าประชุมสภาอย่างสม่ำเสมอหรือไม่เท่านั้น