ASTVผู้จัดการรายวัน-ภาคเอกชนแนะคณะทำงาน 4 ฝ่ายร่นเวลาทำHIA ให้เร็วสุด 3-4 เดือน มีเจ้าภาพชัดเจนแบบ One Stop Service หวังปลดล็อกระงับ65 กิจการเหตุยิ่งหยุดนานยิ่งกระทบศก.ภาพรวม จี้ชัดเจนประเภทกิจการรุนแรงหากคลุมเคลือฉุดเชื่อมั่นปี53ลงทุนตรงต่างประเทศหอบเงินนับแสนล.หนีไทย “อมตะ”เซ็ง 10 รายเจรจาซื้อที่แสนล้าน หยุดกึกหลังมาบตาพุดเป็นปัจจัยเสี่ยงเพิ่ม ขณะที่ปตท.ไม่ฟันธงอนาคตปิโตรเคมี “เพื่อไทย” แสร้งเห็นใจคณะกรรมการ 4 ฝ่ายต้องแบกรับปัญหาแทนรัฐบาล เกรงตกเป็นเครื่องมือซื้อเวลารัฐบาล
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่คณะทำงาน 4 ฝ่ายเพื่อแก้ปัญหามลพิษมาบตาพุดที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานระบุจะมีความชัดเจนเกี่ยวกับกรอบการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) และรายงานผลกระทบต่อสุขภาพ(HIA) เร็วๆ นี้ และคาดว่ากระบวนการจัดทำHIAจะใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือนเสร็จนั้น เห็นว่าหากร่นระยะเวลาให้กับ 65กิจการที่โดนระงับกิจการเป็นกรณีพิเศษให้เหลือน้อยสุด 3-4 เดือนได้ก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบต่ำสุด โดยให้มีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งมาเป็นจัดภาพในการดูแลเหมือนกับการบริการอื่นจากภาครัฐที่เป็นแบบครบวงจรหรือ One Stop Service
“ ผมเห็นว่าหากทุกฝ่ายมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติตามกฏหมายทุกอย่างก็น่าจะเร็วขึ้นเพราะยิ่งระงับกิจการนานเพียงใดผลกระทบก็จะมีต่อเศรษฐกิจไทยทั้งเงินลงทุน การจ้างงาน ยังไม่รวมถึงผลกระทบต่อสถาบันการเงิน และที่สำคัญการฟ้องร้องอาจมีตามมาซึ่งเชื่อว่าหากทำให้เร็วได้โอกาสการฟ้องร้องก็จะมีน้อยลงเพราะจริงๆ แล้วหากไม่จำเป็นเชื่อว่าเอกชนก็ไม่ต้องการจะทำ”นายสันติกล่าว
ทั้งนี้ หากความไม่ชัดเจนยิ่งล่าช้าจะมีผลต่อความเชื่อมั่นและจะกระทบต่อการลงทุนใหม่ที่จะเข้ามาในปี 2553 โดยเฉพาะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI ในประเภทอุตสาหกรรมหนักทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เหล็ก โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่แต่ละปีจะนำเข้าประเทศไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาทอาจหยุดชะงักและมองหาประเทศอื่นแทนซึ่งกิจการเหล่านี้มีเม็ดเงินลงทุนค่อนข้างสูง ดังนั้นรัฐบาลจะต้องวางความชัดเจนว่ากิจการประเภทใดแน่ที่เข้าข่ายเป็นกิจการรุนแรงเพื่อปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรค 2 ในรัฐธรรมนูญปี 2550
**จี้ชัดเจนประเภทกิจการรุนแรง
นายสันติ กล่าวว่า หากพิจารณากิจการที่ถูกระงับกิจการ 65 กิจการแล้วแทบจะไม่ได้เข้าข่ายเป็นกิจการ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนร้ายแรงแต่อย่างใดซึ่งควรจะต้องทำให้มีความชัดเจนในคำจำกัดความด้วยหากไม่เช่นนั้นความเชื่อมั่นจะไม่กลับมาแน่เพราะนั่นหมายถึงโอกาสที่กิจการที่เข้ามาลงทุนในไทยจะโดนระงับอีกก็จะมีสูงเพราะจะต้องมีการมาตีความอีกครั้ง และหากยึดหลักการของการจัดทำHIA จากกิจการที่มีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมรุนแรงเชื่อว่าหลายกิจการมีโอกาสจะยื่นอุทธรณ์ขอเพิกถอนจากการระงับกิจการได้อีก รวมไปถึงกิจการที่ผ่านEIA ก่อนรัฐธรรมนูญปี 2550 บังคับใช้
**อมตะเซ็งขายที่แสนล.ไม่คืบหวั่นหลุดมือ
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อมตะคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันนักลงทุนต่างประเทศกว่า 10 ราย วงเงินลงทุนรวม 1 แสนล้านบาท ยังไม่สามารถหาข้อสรุปการเจรจาซื้อที่ดินในพื้นที่นิคมฯอมตะได้ เนื่องจากบริษัททุนข้ามชาติกังวลถึง 3 ปัจจัยเสี่ยง ประกอบด้วย ปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ความขัดแย้งทางการเมืองของไทยที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น และความไม่ชัดเจนของ 65 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ระงับชั่วคราว
“ลูกค้ากว่า 10 ราย ซึ่งเป็นรายใหญ่ในกลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ เครื่องมือทางการเกษตร อาหาร ได้เจรจามาตั้งแต่ต้นปี 2552 แต่ก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ว่าจะเข้ามาลงทุนในไทยหรือไม่ ซึ่งหากปัญหาการเมืองและมาบตาพุดไม่มีทิศทางที่ชัดเจนโอกาสเม็ดเงินเหล่านี้จะย้ายไปอยู่ที่อื่นโดยเฉพาะเวียดนามก็มีสูง แต่หาก 3ปัจจัยเสี่ยงทุเลาลงอย่างรวดเร็วเชื่อว่าเกือบทั้งหมดเข้ามาลงทุนได้แน่นอน และทำให้อมตะขายที่ดินเพิ่มเกือบ 1,000 ไร่”นายวิบูลย์กล่าว
**ชี้หยุดกิจการส่อนำเข้าวัตถุดิบสูง
สำหรับปัญหาก็เกิดขึ้นในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดนั้นคงส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมไทยภาพรวมแน่นอน เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการผลิตวัตถุดิบต้นน้ำเพื่อนำมาผลิตสินค้าต่อไป ซึ่งหลังจาก 65 โครงการถูกระงับทำให้ผู้ผลิตสินค้าบางส่วนต้องนำเข้าวัตถุดิบในราคาที่สูง จนส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตภาพรวม
นายวิบูลย์ กล่าวว่า ในปีนี้ คาดว่าอมตะจะขายพื้นที่แก่นักลงทุนได้ 300 ไร่ ลดลงจากปีก่อนที่มียอดขายถึง 900 ไร่ ขณะที่ปี 2553 ยังไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้ว่าบรรยากาศการลงทุนในไทยจะเป็นอย่างไร ซึ่งจำเป็นต้องรอให้ผ่านไตรมาสแรกก่อน (ม.ค.-มี.ค.2553) จึงจะตั้งเป้าหมายได้
**ปตท.ไม่ฟันธงอนาคตปิโตรเคมี
นายบวร วงศ์สินอุดม รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสปฏิบัติการ บมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น กล่าวว่า การลงทุนใหม่ของไทยในภาพรวมขณะนี้คงยังไม่ต้องพูดถึงโดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเนื่องจากจะต้องรอความชัดเจนถึงมาตรการในการหาทางออกของการระงับกิจการ 65 โครงการให้ได้เสียก่อนแน่นอนว่าหากทุกอย่างยังออกมาในลักษณะคลุมเคลือไม่ชัดเจนถึงแนวทางในการปฏิบัติเชื่อว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคงจะมองหาที่อื่นแทนโดยเฉพาะ เวียดนาม
“วันนี้คงไม่ต้องมองว่าปิโตรเฟส 4 จะเกิดหรือไม่เพราะเอาที่มีอยู่วันนี้ให้เดินได้ก่อนแล้วค่อยคิดเพราะหากมาบตาพุดยังเป็นปัญหาอยู่ต้องถามว่าแล้วพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้หรือเซาท์เทิร์นซีบอร์ดจะเกิดได้หรือ เวลานี้ทุกอย่างมันอยู่ที่การบริหารจัดการรถในกทม.แต่ก่อนมีปัญหามลพิษเพิ่มขึ้นทำไมวันนี้มันยังอยู่ได้”นายบวรกล่าว
**ห่วง คกก.4 ฝ่ายตกเป็นเครื่องมือรัฐ
นายคณวัฒน์ วศินสังวร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย กล่าวกรณีการแก้ปัญหามาบตาพุดว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาจากรัฐบาลเลย นอกจากการนิคมฯกำลังจะแจ้งให้เอกชนทราบและปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครอง ทั้งๆ ที่เรื่องนี้เป็นปัญหาเร่งด่วนที่กระทบกับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ส่วนตัวรู้สึกเห็นใจที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายต้องมาแบกรับการแก้ไขปัญหาแทนรัฐบาลภายใต้สถานการณ์ที่ค่อนข้างวิกฤตมากแล้ว รวมทั้งได้รับแรงกดดันจากมวลชนในท้องถิ่น และกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของภาคเอกชนและ ชาวบ้านในพื้นที่เลย เป็นความผิดของรัฐบาลที่ไม่ดำเนินการอะไรเลยในช่วงเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา เพื่อให้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ขณะนี้ทุกฝ่ายกำลังจับตาดูว่าข้อสรุปของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายว่าจะเป็นที่พอใจของทุกฝ่ายหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมวลชนในท้องถิ่น โดยรัฐบาลอยู่ในฐานะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ไม่กล้าตัดสินใจ ลอยตัวอยู่เหนือปัญหาเหมือนกรณีความขัดแย้งในการรถไฟ หากที่สุดแล้วไม่สามารถหาข้อสรุป ที่เป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย การซื้อเวลาของรัฐบาลมีแต่จะสร้างความเสียหายมากขึ้นไปอีก โดยคณะกรรมการ 4 ฝ่ายจะกลายเป็นเหยื่อของรัฐบาลในการปัดความรับผิดชอบ
**ห่วงกระทบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา กล่าวว่า การจัดทำนโยบายการศึกษาการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะต้องทำเป็นนโยบายระดับชาติ ที่จะต้องเตรียมพร้อมในทุกด้าน ทั้งการศึกษาว่าเมืองไทยสมควรจะมีการก่อสร้างหรือไม่ การเตรียมพร้อมเรื่องบุคลากรและความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยความจำเป็น ที่จะต้องพิจารณาถึงคือความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นตามคาดการณ์หรือไม่ที่จะสูงประมาณร้อยละ 6-7 ต่อปี และอีก 15-20 ปีข้างหน้าความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่จะเพิ่มขึ้น 20,000 เมกะวัตต์จริงหรือไม่
เรื่องดังกล่าวกระทรวงพลังงานอยู่ในระหว่างการจัดทำแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าระยะยาว (พีดีพี) 20 ปี หากพิจารณาแล้วเห็นว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามคาดการณ์เดิม โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่วางแผนศึกษาจะสร้างโรงแรก 1,000 เมกะวัตต์ในปี 2563 และโรงที่ 2 อีก 1,000 เมกะวัตต์ในปี 2564 อาจจะยังไม่จำเป็นอาจเลื่อนไปอีก 5 ปีต่อไปก็เป็นเรื่องที่ทำได้
"เรื่องนิวเคลียร์เป็นเรื่องใหญ่ แม้ว่าปัญหาความปลอดภัยอาจจะเป็นที่ยอมรับได้ เพราะมีการดูแลระดับมาตรฐานสากล แต่ก็ต้องเตรียมคน เตรียมสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนให้พร้อม และกรณีปัญหามาบตาพุด ก็อาจจะเป็นตัวอย่างที่มองให้เห็นว่าการดูแลความปลอดภัยของไทยมีความเข้มงวดหรือไม่ และอาจจะส่งผลต่อการยอมรับต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์"พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าว
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งอนุกรรมการมาศึกษาเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยศึกษาทุกด้าน เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาล อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยจะพึ่งพาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติมากเกินไปเพื่อผลิตไฟฟ้าซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนร้อยละ 70 ก็น่าเป็นห่วงเรื่องความมั่นคง ดังนั้น จำเป็นต้องเร่งศึกษาเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ มารองรับร่วมกันไปด้วย
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่คณะทำงาน 4 ฝ่ายเพื่อแก้ปัญหามลพิษมาบตาพุดที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานระบุจะมีความชัดเจนเกี่ยวกับกรอบการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) และรายงานผลกระทบต่อสุขภาพ(HIA) เร็วๆ นี้ และคาดว่ากระบวนการจัดทำHIAจะใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือนเสร็จนั้น เห็นว่าหากร่นระยะเวลาให้กับ 65กิจการที่โดนระงับกิจการเป็นกรณีพิเศษให้เหลือน้อยสุด 3-4 เดือนได้ก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบต่ำสุด โดยให้มีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งมาเป็นจัดภาพในการดูแลเหมือนกับการบริการอื่นจากภาครัฐที่เป็นแบบครบวงจรหรือ One Stop Service
“ ผมเห็นว่าหากทุกฝ่ายมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติตามกฏหมายทุกอย่างก็น่าจะเร็วขึ้นเพราะยิ่งระงับกิจการนานเพียงใดผลกระทบก็จะมีต่อเศรษฐกิจไทยทั้งเงินลงทุน การจ้างงาน ยังไม่รวมถึงผลกระทบต่อสถาบันการเงิน และที่สำคัญการฟ้องร้องอาจมีตามมาซึ่งเชื่อว่าหากทำให้เร็วได้โอกาสการฟ้องร้องก็จะมีน้อยลงเพราะจริงๆ แล้วหากไม่จำเป็นเชื่อว่าเอกชนก็ไม่ต้องการจะทำ”นายสันติกล่าว
ทั้งนี้ หากความไม่ชัดเจนยิ่งล่าช้าจะมีผลต่อความเชื่อมั่นและจะกระทบต่อการลงทุนใหม่ที่จะเข้ามาในปี 2553 โดยเฉพาะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI ในประเภทอุตสาหกรรมหนักทั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เหล็ก โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่แต่ละปีจะนำเข้าประเทศไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาทอาจหยุดชะงักและมองหาประเทศอื่นแทนซึ่งกิจการเหล่านี้มีเม็ดเงินลงทุนค่อนข้างสูง ดังนั้นรัฐบาลจะต้องวางความชัดเจนว่ากิจการประเภทใดแน่ที่เข้าข่ายเป็นกิจการรุนแรงเพื่อปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรค 2 ในรัฐธรรมนูญปี 2550
**จี้ชัดเจนประเภทกิจการรุนแรง
นายสันติ กล่าวว่า หากพิจารณากิจการที่ถูกระงับกิจการ 65 กิจการแล้วแทบจะไม่ได้เข้าข่ายเป็นกิจการ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนร้ายแรงแต่อย่างใดซึ่งควรจะต้องทำให้มีความชัดเจนในคำจำกัดความด้วยหากไม่เช่นนั้นความเชื่อมั่นจะไม่กลับมาแน่เพราะนั่นหมายถึงโอกาสที่กิจการที่เข้ามาลงทุนในไทยจะโดนระงับอีกก็จะมีสูงเพราะจะต้องมีการมาตีความอีกครั้ง และหากยึดหลักการของการจัดทำHIA จากกิจการที่มีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมรุนแรงเชื่อว่าหลายกิจการมีโอกาสจะยื่นอุทธรณ์ขอเพิกถอนจากการระงับกิจการได้อีก รวมไปถึงกิจการที่ผ่านEIA ก่อนรัฐธรรมนูญปี 2550 บังคับใช้
**อมตะเซ็งขายที่แสนล.ไม่คืบหวั่นหลุดมือ
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อมตะคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันนักลงทุนต่างประเทศกว่า 10 ราย วงเงินลงทุนรวม 1 แสนล้านบาท ยังไม่สามารถหาข้อสรุปการเจรจาซื้อที่ดินในพื้นที่นิคมฯอมตะได้ เนื่องจากบริษัททุนข้ามชาติกังวลถึง 3 ปัจจัยเสี่ยง ประกอบด้วย ปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ความขัดแย้งทางการเมืองของไทยที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น และความไม่ชัดเจนของ 65 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ระงับชั่วคราว
“ลูกค้ากว่า 10 ราย ซึ่งเป็นรายใหญ่ในกลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ เครื่องมือทางการเกษตร อาหาร ได้เจรจามาตั้งแต่ต้นปี 2552 แต่ก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ว่าจะเข้ามาลงทุนในไทยหรือไม่ ซึ่งหากปัญหาการเมืองและมาบตาพุดไม่มีทิศทางที่ชัดเจนโอกาสเม็ดเงินเหล่านี้จะย้ายไปอยู่ที่อื่นโดยเฉพาะเวียดนามก็มีสูง แต่หาก 3ปัจจัยเสี่ยงทุเลาลงอย่างรวดเร็วเชื่อว่าเกือบทั้งหมดเข้ามาลงทุนได้แน่นอน และทำให้อมตะขายที่ดินเพิ่มเกือบ 1,000 ไร่”นายวิบูลย์กล่าว
**ชี้หยุดกิจการส่อนำเข้าวัตถุดิบสูง
สำหรับปัญหาก็เกิดขึ้นในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดนั้นคงส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมไทยภาพรวมแน่นอน เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการผลิตวัตถุดิบต้นน้ำเพื่อนำมาผลิตสินค้าต่อไป ซึ่งหลังจาก 65 โครงการถูกระงับทำให้ผู้ผลิตสินค้าบางส่วนต้องนำเข้าวัตถุดิบในราคาที่สูง จนส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตภาพรวม
นายวิบูลย์ กล่าวว่า ในปีนี้ คาดว่าอมตะจะขายพื้นที่แก่นักลงทุนได้ 300 ไร่ ลดลงจากปีก่อนที่มียอดขายถึง 900 ไร่ ขณะที่ปี 2553 ยังไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้ว่าบรรยากาศการลงทุนในไทยจะเป็นอย่างไร ซึ่งจำเป็นต้องรอให้ผ่านไตรมาสแรกก่อน (ม.ค.-มี.ค.2553) จึงจะตั้งเป้าหมายได้
**ปตท.ไม่ฟันธงอนาคตปิโตรเคมี
นายบวร วงศ์สินอุดม รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสปฏิบัติการ บมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น กล่าวว่า การลงทุนใหม่ของไทยในภาพรวมขณะนี้คงยังไม่ต้องพูดถึงโดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเนื่องจากจะต้องรอความชัดเจนถึงมาตรการในการหาทางออกของการระงับกิจการ 65 โครงการให้ได้เสียก่อนแน่นอนว่าหากทุกอย่างยังออกมาในลักษณะคลุมเคลือไม่ชัดเจนถึงแนวทางในการปฏิบัติเชื่อว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคงจะมองหาที่อื่นแทนโดยเฉพาะ เวียดนาม
“วันนี้คงไม่ต้องมองว่าปิโตรเฟส 4 จะเกิดหรือไม่เพราะเอาที่มีอยู่วันนี้ให้เดินได้ก่อนแล้วค่อยคิดเพราะหากมาบตาพุดยังเป็นปัญหาอยู่ต้องถามว่าแล้วพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้หรือเซาท์เทิร์นซีบอร์ดจะเกิดได้หรือ เวลานี้ทุกอย่างมันอยู่ที่การบริหารจัดการรถในกทม.แต่ก่อนมีปัญหามลพิษเพิ่มขึ้นทำไมวันนี้มันยังอยู่ได้”นายบวรกล่าว
**ห่วง คกก.4 ฝ่ายตกเป็นเครื่องมือรัฐ
นายคณวัฒน์ วศินสังวร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย กล่าวกรณีการแก้ปัญหามาบตาพุดว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาจากรัฐบาลเลย นอกจากการนิคมฯกำลังจะแจ้งให้เอกชนทราบและปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครอง ทั้งๆ ที่เรื่องนี้เป็นปัญหาเร่งด่วนที่กระทบกับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ส่วนตัวรู้สึกเห็นใจที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายต้องมาแบกรับการแก้ไขปัญหาแทนรัฐบาลภายใต้สถานการณ์ที่ค่อนข้างวิกฤตมากแล้ว รวมทั้งได้รับแรงกดดันจากมวลชนในท้องถิ่น และกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของภาคเอกชนและ ชาวบ้านในพื้นที่เลย เป็นความผิดของรัฐบาลที่ไม่ดำเนินการอะไรเลยในช่วงเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา เพื่อให้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ขณะนี้ทุกฝ่ายกำลังจับตาดูว่าข้อสรุปของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายว่าจะเป็นที่พอใจของทุกฝ่ายหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมวลชนในท้องถิ่น โดยรัฐบาลอยู่ในฐานะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ไม่กล้าตัดสินใจ ลอยตัวอยู่เหนือปัญหาเหมือนกรณีความขัดแย้งในการรถไฟ หากที่สุดแล้วไม่สามารถหาข้อสรุป ที่เป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย การซื้อเวลาของรัฐบาลมีแต่จะสร้างความเสียหายมากขึ้นไปอีก โดยคณะกรรมการ 4 ฝ่ายจะกลายเป็นเหยื่อของรัฐบาลในการปัดความรับผิดชอบ
**ห่วงกระทบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา กล่าวว่า การจัดทำนโยบายการศึกษาการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะต้องทำเป็นนโยบายระดับชาติ ที่จะต้องเตรียมพร้อมในทุกด้าน ทั้งการศึกษาว่าเมืองไทยสมควรจะมีการก่อสร้างหรือไม่ การเตรียมพร้อมเรื่องบุคลากรและความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยความจำเป็น ที่จะต้องพิจารณาถึงคือความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นตามคาดการณ์หรือไม่ที่จะสูงประมาณร้อยละ 6-7 ต่อปี และอีก 15-20 ปีข้างหน้าความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่จะเพิ่มขึ้น 20,000 เมกะวัตต์จริงหรือไม่
เรื่องดังกล่าวกระทรวงพลังงานอยู่ในระหว่างการจัดทำแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าระยะยาว (พีดีพี) 20 ปี หากพิจารณาแล้วเห็นว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามคาดการณ์เดิม โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่วางแผนศึกษาจะสร้างโรงแรก 1,000 เมกะวัตต์ในปี 2563 และโรงที่ 2 อีก 1,000 เมกะวัตต์ในปี 2564 อาจจะยังไม่จำเป็นอาจเลื่อนไปอีก 5 ปีต่อไปก็เป็นเรื่องที่ทำได้
"เรื่องนิวเคลียร์เป็นเรื่องใหญ่ แม้ว่าปัญหาความปลอดภัยอาจจะเป็นที่ยอมรับได้ เพราะมีการดูแลระดับมาตรฐานสากล แต่ก็ต้องเตรียมคน เตรียมสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนให้พร้อม และกรณีปัญหามาบตาพุด ก็อาจจะเป็นตัวอย่างที่มองให้เห็นว่าการดูแลความปลอดภัยของไทยมีความเข้มงวดหรือไม่ และอาจจะส่งผลต่อการยอมรับต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์"พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าว
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งอนุกรรมการมาศึกษาเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยศึกษาทุกด้าน เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาล อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยจะพึ่งพาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติมากเกินไปเพื่อผลิตไฟฟ้าซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนร้อยละ 70 ก็น่าเป็นห่วงเรื่องความมั่นคง ดังนั้น จำเป็นต้องเร่งศึกษาเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ มารองรับร่วมกันไปด้วย