ASTV ผู้จัดการรายวัน - เฟอร์นิเจอร์ไทยเคยเป็นตลาดสำคัญที่บริษัทเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ดังๆ และเป็นตลาดใหญ่ของผู้ค้าเฟอร์นิเจอร์ (เทรดเดอร์)ทั่วโลก เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตจากประเทศไทย ได้รับการยอมรับ และถือว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพเหมาะสมกับราคาจ้างผลิต ทำให้ผู้ค้าเฟอร์นิเจอร์ในตลาดต่างประเทศ มีคำสั่งซื้อ (ออเดอร์)ผลิตเฟอร์นิเจอร์ตามคำสั่งผลิต (OEM) จากเทรดเดอร์รายใหญ่และบริษัทเฟอร์แบรนด์ดังจำนวนมากหลังไหลเข้ามาจ้างผู้ประกอบการไทยผลิตเฟอรืนิเจอร์ให้ จนส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็น1 ในผู้นำของตลาดเฟอร์นิเจอร์OEM ในภูมิภาคเอเชีย
อย่างไรก็ตาม ในช่วง5-10ปีที่ผ่านมาการปรับตัวของตลาดเฟอร์นิเจอร์โลกและผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ในภูมิภาคเอเชีย ร่วมถึงการแข่งขันในตลาดที่มีการปรับตัวต่อเนื่องและอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อมีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต และต้นทุนการขนส่ง ทำให้กลุ่มเทรดเดอร์ และบริษัทเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ใหญ่ๆ มีการปรับตัวหาแหล่งผลิต หรือตั้งฐานการผลิตในประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่มีต้นทุนต่ำทดแทน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมากลุ่มผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์เพื่อการส่งออก และรับจ้างผลิตเฟอร์นิเจอร์ตามคำสั่งซื้อ ในประเทศจีน เวียดนาม มาเลเวีย และอินโดนีเซีย มีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลของแต่ละประเทศ ทำให้กลุ่มประเทศดังกล่าวมีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์อย่างรวดเร็ว จนก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข็งสำคัญของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ในประเทศไทย ในช่วง3-5 ปีที่ผ่านมา
สำหรับประเทศถือว่าเป็นประเทศที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมในทุกๆด้าน เนื่องจากได้รับการสนับสนุนเม็ดเงิน และการเปิดตลาดการค้าของรัฐบาลไปทั่วโลก ซึ่งในด้านอุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์นั้น จีนนับว่าเป็นประเทศที่มีพัฒนาการด้านการผลิตและการแข่งขันอย่างก้าวกระโดด โดยการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำการผลิตและส่งออกเฟอร์นิเจอร์เบอร์ 1ของภูมิภาคเอเชีย และเบอร์1ของโลก ขณะเดียวกันประเทศที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่น่าจับตาอีกรายในภูมิภาคเอเชียคือ ประเทศเวียดนาม และมาเลเซีย
โดยปัจจุบันทั้ง2ประเทศก้าวเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งตลาดเฟอร์นิเจอร์OEM จากประเทศไทยไปจำนวนมาก ทำให้ในปีที่ผ่านมา เวียดนาม และมาเลเซีย มียอดการส่งออกเฟอร์นิเจอร์สูงกว่าประเทศไทย หรือกล่าวได้ว่าก้าวขึ้นมาเป็นผู้ในตลาดเฟอร์นิเจอร์ MEO ในอันดับต้นๆ ของภูมิภาคแซงหน้าประเทศไทย แม้ทั้ง2ประเทศจะเป็นประเทศผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ช้ากว่าประเทศไทย
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศต่างๆ เหล่านี้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ OEM ที่ได้รับการยอมรับจากเทรดเดอร์และบริษัทเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ใหญ่ๆ ทั่วโลกจนสามารถแชร์ส่วนแบ่งตลาดเฟอร์นิเจอร์ส่งออกจากประเทศไทยไปจำนวนมาก คือการได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และการมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เช่น ต้นทุนแรงงาน ต้นทุนการขนส่งที่ต่ำกว่า และมีการนำระบบเทคโนโลยีใหม่ในอุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์เข้ามาใช้อย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถใช้กลยุทธ์ด้านราคาในการแข่งขันชิงส่วนแบ่งในตลาดส่งออกได้
ในขณะที่ประเทศไทยผู้ประกอบการขาดการสนับสนุนจากภาครัฐบาล ทั้งในด้านการส่งเสริมการแสดงสินค้า เทคโนโลยีการผลิต เชื่อนเครื่องจักรอุตสาหกรรม การเปิดตลาดหรือหาตลาดรองรับสินค้าของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ และขาดการส่งเสริมด้านบุคลากรนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ แม้ที่ผ่านมาผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ในประเทศ ต่างเห็นตรงกันว่าแนวทางการเอาตัวรอดจากการแข่งขันด้านราคาของผู้ประกอบการไทยในตลาดส่งออก คือ การเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการพัฒนาด้านดีไซน์ การสร้างแบรนด์สินเค้า และการเปิดตลาดใหม่ๆ
“ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่งออกของไทย เน้นเจาะตลาด OEM เป็นหลัก เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์รายเล็ก รายย่อย และผู้ประกอบการรายใหม่ รวมถึงผู้ประกอบการ SME แต่ที่ผ่านมาการปรับตัว และการส่งเสริมจากภาครัฐที่ไม่ได้ให้ความสำคัญมากเท่าที่ควร ส่งผลให้ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์มีศักยภาพในการแข่งขันด้อยกว่าคู่แข่งจากประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลทำให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำและเทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัยที่ดีกว่า” นายวงกต ตั้งสืบกุล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกล่าว
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาด้วยข้อด้อยด้านต้นทุน ค่าแรง และเทคโนโลยี ส่งผลให้ตลาดเฟอร์นิเจอร์ส่งออกของไทยถูกแชร์ตลาดไปจำนวนมาก โดยตลาดรวมเฟอร์นิเจอร์เพื่อการส่งออกของไทยในปี52 นี้ มีอัตราการหดตัวลดลงจากปี51ประมาณ 20% โดยในปีที่ผ่านมาตลาดรวมมีมูลค่า 1,244.3ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเปรียบเทียบตัวเลข ณ เดือน ม.ค.- ต.ค.51มีมูลค่าการขายรวม 1,067ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ เดือนม.ค.-ต.ค.25 มียอดขายรวม 813.2ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับสาเหตุที่ตัวเลขการส่งออกของเฟอร์นิเจอร์ดลงเนื่องจากถูกคู่แข่งจากประเทศจีน เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซียแชร์ตลาดเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ แม้ว่าผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไทยในตลาดต่างประเทศจะเป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับด้านคุณภาพและมีข้อไดเปรียบด้านวัตถุดิบในประเทศจำนวนมากซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด เช่นไม่ยางพารา ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก และได้เปรียบด้านแรงงนฝีมือประณีต ซึ่งช่วยให้สามารถเพิ่มมูลค่าเฟอร์นิเจอร์ได้อย่างดี แต่เนื่องเฟอร์นิเจอร์ OEM เป็นตลาดที่ต้องแข่งขันด้านจำนวนการผลิต และราคาทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบคู่แข่งสำคัญอย่างเช่น จีน เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเชีย ค่าแรงงาน เทคโนโลยีในการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเฟอร์นิเจอร์ไทย
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ในประเทศ ทั้งผู้ประกอบการรายเล็ก รายย่อย และ SME สามารถพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ให้แข่งขันในตลาดโลกได้ จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ต้องมีการรวม ศึกษาพัฒนา และแชร์แนวคิดรวมถึงการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิต และเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าการบริหารจัดการ และตลาดร่วมกัน
โดยล่าสุด สภาอุตสาหกรรมไทยได้ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ โดยมีสำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ให้การสนับสนุนจัดตั้งโครงการพัฒนาการรวมกลุ่มเชื่อมโยเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอรืไม้และเครื่องเรือนในเขต กทม.และปริมณฑล เพื่อพัฒนาและสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้กลุ่มอุตสาหรรมสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยใช้ชื่อโครงการว่า “สานคลัสเตอร์..เพิ่มศักยภาพเฟอร์นิเจอร์ไทยให้ยั่งยืน”
ทั้งนี้ การรวมกลุ่มเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจอุตฯเฟอรืนิเจอร์นั้นจะช่วยให้เกิดการนำไปสู่การช่วยลดต้นทุนการผลิต การแบ่งออเดอณ์ คำสั่งซื้อตามความต้องความถนัด ชำนาญ และร่วมกับเข้าถึงแหล่งการจัดซื้อ จัดหาวัตถุดิบ ที่มีราคาถูกและได้คุณภาพ นอกจากนี้จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และวิธีการนำไปสู่มาตรฐานการผลิตที่ดีขึ้น และการสร้างนวัตกรรมสินค้าใหม่ๆ ยกระดับผู้ผลิตไทยให้แข่งขันในตลาดโลกได้
สำหรับโครงการ “สานคลัสเตอร์..เพิ่มศักยภาพเฟอร์นิเจอร์ไทยให้ยั่งยืน” จะจัดงานเปิดตัวในวันที่ 21 ธ.ค. โดยงานดังกล่าวจะมีการจัดสัมมนา และเสวนาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งงานนี้ถือว่าเป็นการประเมินจำนวนผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวให้มากที่สุดทั้งผู้ประกอบการเฟอน์นิเจอร์รายเล็ก-ใหญ่ และ SME
“งานนี้เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของการรวมตัวของกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อนำไปสู่การร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายของผู้ประกอบการในอนาคต เพื่อจะสามารถดำเนนิกรได้ตามแผนงานและยุทธศาสตร์ที่วางไว้ ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ โดยในการพัฒนาด้านต่างๆ นั้น สศอ.ได้ให้งบประมาณการการพัฒนาและดำเนินโครงการปีละ 4.5ล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี อย่างไรก็ตามแม้ว่า รัฐบาลจะอุดหนุนงบประมาณในการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ แต่สิ่งจำเป็นของการพัฒนาศักยภาพและตลาด ครั้งนี้คือจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการในประเทศเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาศักยภาพร่วมกันของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ”
สำหรับแนวทางที่จะจะสามารถยกระดับผู้ประกอบการ และสร้างความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในประเทศนั้น จำเป็นที่ผู้ประกอบการทุกระดับต้องร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่นการผลิตชิ้นส่วน และอะไหร่เฟอร์นิเจอร์ สร้างให้ประเทศไทยเป็นตลาดและศูนย์รวมการผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ รองรับการเติบโตของตลาด OEM
อย่างไรก็ตาม ในช่วง5-10ปีที่ผ่านมาการปรับตัวของตลาดเฟอร์นิเจอร์โลกและผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ในภูมิภาคเอเชีย ร่วมถึงการแข่งขันในตลาดที่มีการปรับตัวต่อเนื่องและอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อมีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต และต้นทุนการขนส่ง ทำให้กลุ่มเทรดเดอร์ และบริษัทเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ใหญ่ๆ มีการปรับตัวหาแหล่งผลิต หรือตั้งฐานการผลิตในประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่มีต้นทุนต่ำทดแทน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมากลุ่มผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์เพื่อการส่งออก และรับจ้างผลิตเฟอร์นิเจอร์ตามคำสั่งซื้อ ในประเทศจีน เวียดนาม มาเลเวีย และอินโดนีเซีย มีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลของแต่ละประเทศ ทำให้กลุ่มประเทศดังกล่าวมีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์อย่างรวดเร็ว จนก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข็งสำคัญของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ในประเทศไทย ในช่วง3-5 ปีที่ผ่านมา
สำหรับประเทศถือว่าเป็นประเทศที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมในทุกๆด้าน เนื่องจากได้รับการสนับสนุนเม็ดเงิน และการเปิดตลาดการค้าของรัฐบาลไปทั่วโลก ซึ่งในด้านอุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์นั้น จีนนับว่าเป็นประเทศที่มีพัฒนาการด้านการผลิตและการแข่งขันอย่างก้าวกระโดด โดยการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำการผลิตและส่งออกเฟอร์นิเจอร์เบอร์ 1ของภูมิภาคเอเชีย และเบอร์1ของโลก ขณะเดียวกันประเทศที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่น่าจับตาอีกรายในภูมิภาคเอเชียคือ ประเทศเวียดนาม และมาเลเซีย
โดยปัจจุบันทั้ง2ประเทศก้าวเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งตลาดเฟอร์นิเจอร์OEM จากประเทศไทยไปจำนวนมาก ทำให้ในปีที่ผ่านมา เวียดนาม และมาเลเซีย มียอดการส่งออกเฟอร์นิเจอร์สูงกว่าประเทศไทย หรือกล่าวได้ว่าก้าวขึ้นมาเป็นผู้ในตลาดเฟอร์นิเจอร์ MEO ในอันดับต้นๆ ของภูมิภาคแซงหน้าประเทศไทย แม้ทั้ง2ประเทศจะเป็นประเทศผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ช้ากว่าประเทศไทย
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศต่างๆ เหล่านี้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ OEM ที่ได้รับการยอมรับจากเทรดเดอร์และบริษัทเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ใหญ่ๆ ทั่วโลกจนสามารถแชร์ส่วนแบ่งตลาดเฟอร์นิเจอร์ส่งออกจากประเทศไทยไปจำนวนมาก คือการได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และการมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เช่น ต้นทุนแรงงาน ต้นทุนการขนส่งที่ต่ำกว่า และมีการนำระบบเทคโนโลยีใหม่ในอุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์เข้ามาใช้อย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถใช้กลยุทธ์ด้านราคาในการแข่งขันชิงส่วนแบ่งในตลาดส่งออกได้
ในขณะที่ประเทศไทยผู้ประกอบการขาดการสนับสนุนจากภาครัฐบาล ทั้งในด้านการส่งเสริมการแสดงสินค้า เทคโนโลยีการผลิต เชื่อนเครื่องจักรอุตสาหกรรม การเปิดตลาดหรือหาตลาดรองรับสินค้าของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ และขาดการส่งเสริมด้านบุคลากรนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ แม้ที่ผ่านมาผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ในประเทศ ต่างเห็นตรงกันว่าแนวทางการเอาตัวรอดจากการแข่งขันด้านราคาของผู้ประกอบการไทยในตลาดส่งออก คือ การเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการพัฒนาด้านดีไซน์ การสร้างแบรนด์สินเค้า และการเปิดตลาดใหม่ๆ
“ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่งออกของไทย เน้นเจาะตลาด OEM เป็นหลัก เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์รายเล็ก รายย่อย และผู้ประกอบการรายใหม่ รวมถึงผู้ประกอบการ SME แต่ที่ผ่านมาการปรับตัว และการส่งเสริมจากภาครัฐที่ไม่ได้ให้ความสำคัญมากเท่าที่ควร ส่งผลให้ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์มีศักยภาพในการแข่งขันด้อยกว่าคู่แข่งจากประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลทำให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำและเทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัยที่ดีกว่า” นายวงกต ตั้งสืบกุล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกล่าว
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาด้วยข้อด้อยด้านต้นทุน ค่าแรง และเทคโนโลยี ส่งผลให้ตลาดเฟอร์นิเจอร์ส่งออกของไทยถูกแชร์ตลาดไปจำนวนมาก โดยตลาดรวมเฟอร์นิเจอร์เพื่อการส่งออกของไทยในปี52 นี้ มีอัตราการหดตัวลดลงจากปี51ประมาณ 20% โดยในปีที่ผ่านมาตลาดรวมมีมูลค่า 1,244.3ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเปรียบเทียบตัวเลข ณ เดือน ม.ค.- ต.ค.51มีมูลค่าการขายรวม 1,067ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ เดือนม.ค.-ต.ค.25 มียอดขายรวม 813.2ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับสาเหตุที่ตัวเลขการส่งออกของเฟอร์นิเจอร์ดลงเนื่องจากถูกคู่แข่งจากประเทศจีน เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซียแชร์ตลาดเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ แม้ว่าผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไทยในตลาดต่างประเทศจะเป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับด้านคุณภาพและมีข้อไดเปรียบด้านวัตถุดิบในประเทศจำนวนมากซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด เช่นไม่ยางพารา ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก และได้เปรียบด้านแรงงนฝีมือประณีต ซึ่งช่วยให้สามารถเพิ่มมูลค่าเฟอร์นิเจอร์ได้อย่างดี แต่เนื่องเฟอร์นิเจอร์ OEM เป็นตลาดที่ต้องแข่งขันด้านจำนวนการผลิต และราคาทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบคู่แข่งสำคัญอย่างเช่น จีน เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเชีย ค่าแรงงาน เทคโนโลยีในการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเฟอร์นิเจอร์ไทย
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ในประเทศ ทั้งผู้ประกอบการรายเล็ก รายย่อย และ SME สามารถพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ให้แข่งขันในตลาดโลกได้ จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ต้องมีการรวม ศึกษาพัฒนา และแชร์แนวคิดรวมถึงการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิต และเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าการบริหารจัดการ และตลาดร่วมกัน
โดยล่าสุด สภาอุตสาหกรรมไทยได้ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ โดยมีสำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ให้การสนับสนุนจัดตั้งโครงการพัฒนาการรวมกลุ่มเชื่อมโยเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอรืไม้และเครื่องเรือนในเขต กทม.และปริมณฑล เพื่อพัฒนาและสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้กลุ่มอุตสาหรรมสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยใช้ชื่อโครงการว่า “สานคลัสเตอร์..เพิ่มศักยภาพเฟอร์นิเจอร์ไทยให้ยั่งยืน”
ทั้งนี้ การรวมกลุ่มเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจอุตฯเฟอรืนิเจอร์นั้นจะช่วยให้เกิดการนำไปสู่การช่วยลดต้นทุนการผลิต การแบ่งออเดอณ์ คำสั่งซื้อตามความต้องความถนัด ชำนาญ และร่วมกับเข้าถึงแหล่งการจัดซื้อ จัดหาวัตถุดิบ ที่มีราคาถูกและได้คุณภาพ นอกจากนี้จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และวิธีการนำไปสู่มาตรฐานการผลิตที่ดีขึ้น และการสร้างนวัตกรรมสินค้าใหม่ๆ ยกระดับผู้ผลิตไทยให้แข่งขันในตลาดโลกได้
สำหรับโครงการ “สานคลัสเตอร์..เพิ่มศักยภาพเฟอร์นิเจอร์ไทยให้ยั่งยืน” จะจัดงานเปิดตัวในวันที่ 21 ธ.ค. โดยงานดังกล่าวจะมีการจัดสัมมนา และเสวนาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งงานนี้ถือว่าเป็นการประเมินจำนวนผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวให้มากที่สุดทั้งผู้ประกอบการเฟอน์นิเจอร์รายเล็ก-ใหญ่ และ SME
“งานนี้เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของการรวมตัวของกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อนำไปสู่การร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายของผู้ประกอบการในอนาคต เพื่อจะสามารถดำเนนิกรได้ตามแผนงานและยุทธศาสตร์ที่วางไว้ ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ โดยในการพัฒนาด้านต่างๆ นั้น สศอ.ได้ให้งบประมาณการการพัฒนาและดำเนินโครงการปีละ 4.5ล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี อย่างไรก็ตามแม้ว่า รัฐบาลจะอุดหนุนงบประมาณในการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ แต่สิ่งจำเป็นของการพัฒนาศักยภาพและตลาด ครั้งนี้คือจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการในประเทศเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาศักยภาพร่วมกันของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ”
สำหรับแนวทางที่จะจะสามารถยกระดับผู้ประกอบการ และสร้างความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในประเทศนั้น จำเป็นที่ผู้ประกอบการทุกระดับต้องร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่นการผลิตชิ้นส่วน และอะไหร่เฟอร์นิเจอร์ สร้างให้ประเทศไทยเป็นตลาดและศูนย์รวมการผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ รองรับการเติบโตของตลาด OEM