ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”เปิดแผนส่งออกปี 2553 หันจับตลาดใหม่ พึ่งพาตลาดหลักลดลง ตั้งเป้าดันสัดส่วนการส่งออกเพิ่มเป็น 55% พร้อมให้ความสำคัญกับการพัฒนาโลจิสติกส์ ผลักดันธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ เน้นการสร้างแบรนด์ ขายดีไซน์ สนับสนุนธุรกิจบริการ เตรียมลุย AEC หลังเปิดเสรีเต็มรูปแบบอีก 6 ปีข้างหน้า “พรทิวา”ร่วมประชุมทูตพาณิชย์ปลายก.ย.นี้ถกแผนและเป้าส่งออกปีหน้า คาดแนวโน้มดีขึ้น หลังเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า กรมฯ ได้จัดทำแผนกระตุ้นการส่งออกสำหรับปี 2553 เสร็จสิ้นแล้ว โดยจะลดสัดส่วนการพึ่งพาตลาดหลัก และหันไปให้ความสำคัญกับตลาดใหม่เพิ่มมากขึ้น มีเป้าหมายจะผลักดันให้การส่งออกไปตลาดใหม่เพิ่มสัดส่วนเป็น 55% ตลาดหลักจะอยู่ที่ 45% จากปีนี้ที่คาดว่าสัดส่วนตลาดใหม่กับตลาดหลักจะอยู่ที่ 50/50โดยตลาดใหม่ที่จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เช่น จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม)
“ประเทศที่เป็นตลาดใหม่ จะให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมผลักดันการส่งออกให้มากขึ้น เพราะเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ตลาดหลักก็จะให้ความสำคัญเช่นเดิม แต่จะพยายามลดสัดส่วนการพึ่งพาลงมา”นายราเชนทร์กล่าว
นายราเชนทร์กล่าวว่า สำหรับสินค้าที่จะผลักดันการส่งออก จะยังคงเน้นในกลุ่มสินค้าอาหารและสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นกลุ่มสินค้าที่ไทยมีจุดแข็งและใช้วัตถุดิบที่ผลิตได้ในประเทศเป็นส่วนใหญ่ โดยจะเป็นกลุ่มที่จะมีกิจกรรมผลักดันการส่งออก เพราะเป็นกลุ่มสินค้าที่มีความต้องการต่อเนื่องตามความจำเป็นจากการบริโภคในชีวิตประจำวัน
ขณะเดียวกัน จะมีแผนการพัฒนาโลจิสติกส์ที่ชัดเจน โดยจะส่งเสริมกิจกรรมด้านการพัฒนาเครือข่ายการขนส่งและโลจิสติกส์ในเชื่อมโยงระหว่างประเทศมากขึ้น จากปัจจุบันที่เริ่มเห็นรูปธรรมแล้ว ซึ่งเป้าหมายการพัฒนาเครือข่ายโลจิสติกส์เน้นกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง เช่น ลาว เขมร พม่าและจีน
นายราเชนทร์กล่าวว่า แผนการส่งออกในปีหน้า จะเพิ่มสัดส่วนโดยเน้นการสนับสนุนธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มงาน ได้แก่ 1.การพัฒนาตัวสินค้าที่จะเน้นการลงทุนพัฒนาด้านการออกแบบ การสร้างแบรนด์ การออกไปประกอบธุรกิจในต่างประเทศ โดยกำหนดเพิ่มจำนวนธุรกิจที่ไปลงทุนในต่างประเทศให้มากขึ้นจากปัจจุบันที่มีจำนวน 800 รายซึ่งแผนนี้จะสอดคล้องกับการเข้าถึงตลาดใหม่ เนื่องจากพิจารณาแล้วมีความเป็นไปได้ที่ธุรกิจของไทยจะเข้าไปเจาะตลาดได้และมีความยั่งยืน
2.การส่งเสริมธุรกิจบริการ จะเน้นการสนับสนุนธุรกิจบันเทิง สินค้าContent เช่น ภาพยนตร์ไทย แอนนิเมชั่น เพลงและอื่นๆ รวมทั้งจะผลักดันให้ธุรกิจบริการอื่นๆ เช่น สุขภาพ สปา ความงาม และการออกแบบทรงผม ให้เป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศ ซึ่งรูปแบบการดำเนินการยอมรับว่าต้องมีการสร้างเครือข่ายกับต่างประเทศเพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีความเชื่อมโยง และต่อเนื่องกัน
นอกจากนี้ กรมฯ จะให้ความสำคัญกับการผลักดันการค้าและการลงทุนในอาเซียน หลังจากที่อาเซียนจะเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในอีก 6 ปีข้างหน้า ที่จะเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน โดยกรมฯ ตั้งเป้าหมายการส่งออกไปกลุ่มอาเซียนจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเฉลี่ยปีละ 20% ให้เป็น 25% ในอีก 2-3 ปีข้างหน้าตามทิศทางตลาดที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องอยู่แล้ว
“เฉพาะตลาดอาเซียน จะเน้นการสร้างเครือข่ายการผลิตร่วมกันในรูปแบบคลัสเตอร์ เช่น อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ที่ไทยมีความเข้มแข็งเรื่องการออกแบบแฟชั่นที่โดดเด่นในกลุ่มอาเซียน มีมาตรฐานการผลิตที่ดี แต่อุตสาหกรรมต้นน้ำบางส่วนอาจอยู่ในประเทศอื่น หากเราใช้ AEC ให้เป็นประโยชน์จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงโดยตามแนวทางนี้จะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันนอกกลุ่มความร่วมมือได้ เป็นการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้าที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ในการแข่งขัน”นายราเชนทร์กล่าว
นายราเชนทร์กล่าวว่า ทั้งหมดนี้ ถือเป็นแผนงานเบื้องต้น ที่จะใช้ปฎิบัติจริงในปีหน้า โดยแผนจะสอดคล้องกับงบประมาณที่กรมฯ ได้รับ จากงบประมาณประจำปี 2553 ประมาณ 2,500 ล้านบาท และงบจากกองทุนส่งเสริมการส่งออกที่จะประชุมวันนี้ (7 ก.ย.) ที่มีอยู่ประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยจะมีการหารือกับหัวหน้าสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ เพื่อชี้แจงแผนงานประมาณปลายเดือนก.ย.นี้พร้อมกับมีการหารือถึงเป้าหมายการส่งออกสินค้าไทยในปี 2553 ซึ่งนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ จะร่วมให้นโยบายการทำงานด้วย
“ปีหน้าการส่งออกจะดีขึ้นกว่าปีนี้ เพราะสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีความชัดเจน หลายๆ ประเทศเริ่มฟื้นตัวแล้ว การจับจ่ายใช้สอยเริ่มดีขึ้น โดยเชื่อว่าจะขยายตัวดีกว่าปีนี้อย่างแน่นอน ส่วนในปีนี้ แม้ว่าการส่งออกจะยังขยายตัวติดลบ แต่ส่วนแบ่งตลาดของไทยเมื่อเทียบกับคู่แข่งไม่ได้ลดลงเลยยังสามารถชิงส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”นายราเชนทร์กล่าว
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า กรมฯ ได้จัดทำแผนกระตุ้นการส่งออกสำหรับปี 2553 เสร็จสิ้นแล้ว โดยจะลดสัดส่วนการพึ่งพาตลาดหลัก และหันไปให้ความสำคัญกับตลาดใหม่เพิ่มมากขึ้น มีเป้าหมายจะผลักดันให้การส่งออกไปตลาดใหม่เพิ่มสัดส่วนเป็น 55% ตลาดหลักจะอยู่ที่ 45% จากปีนี้ที่คาดว่าสัดส่วนตลาดใหม่กับตลาดหลักจะอยู่ที่ 50/50โดยตลาดใหม่ที่จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เช่น จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม)
“ประเทศที่เป็นตลาดใหม่ จะให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมผลักดันการส่งออกให้มากขึ้น เพราะเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ตลาดหลักก็จะให้ความสำคัญเช่นเดิม แต่จะพยายามลดสัดส่วนการพึ่งพาลงมา”นายราเชนทร์กล่าว
นายราเชนทร์กล่าวว่า สำหรับสินค้าที่จะผลักดันการส่งออก จะยังคงเน้นในกลุ่มสินค้าอาหารและสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นกลุ่มสินค้าที่ไทยมีจุดแข็งและใช้วัตถุดิบที่ผลิตได้ในประเทศเป็นส่วนใหญ่ โดยจะเป็นกลุ่มที่จะมีกิจกรรมผลักดันการส่งออก เพราะเป็นกลุ่มสินค้าที่มีความต้องการต่อเนื่องตามความจำเป็นจากการบริโภคในชีวิตประจำวัน
ขณะเดียวกัน จะมีแผนการพัฒนาโลจิสติกส์ที่ชัดเจน โดยจะส่งเสริมกิจกรรมด้านการพัฒนาเครือข่ายการขนส่งและโลจิสติกส์ในเชื่อมโยงระหว่างประเทศมากขึ้น จากปัจจุบันที่เริ่มเห็นรูปธรรมแล้ว ซึ่งเป้าหมายการพัฒนาเครือข่ายโลจิสติกส์เน้นกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง เช่น ลาว เขมร พม่าและจีน
นายราเชนทร์กล่าวว่า แผนการส่งออกในปีหน้า จะเพิ่มสัดส่วนโดยเน้นการสนับสนุนธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มงาน ได้แก่ 1.การพัฒนาตัวสินค้าที่จะเน้นการลงทุนพัฒนาด้านการออกแบบ การสร้างแบรนด์ การออกไปประกอบธุรกิจในต่างประเทศ โดยกำหนดเพิ่มจำนวนธุรกิจที่ไปลงทุนในต่างประเทศให้มากขึ้นจากปัจจุบันที่มีจำนวน 800 รายซึ่งแผนนี้จะสอดคล้องกับการเข้าถึงตลาดใหม่ เนื่องจากพิจารณาแล้วมีความเป็นไปได้ที่ธุรกิจของไทยจะเข้าไปเจาะตลาดได้และมีความยั่งยืน
2.การส่งเสริมธุรกิจบริการ จะเน้นการสนับสนุนธุรกิจบันเทิง สินค้าContent เช่น ภาพยนตร์ไทย แอนนิเมชั่น เพลงและอื่นๆ รวมทั้งจะผลักดันให้ธุรกิจบริการอื่นๆ เช่น สุขภาพ สปา ความงาม และการออกแบบทรงผม ให้เป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศ ซึ่งรูปแบบการดำเนินการยอมรับว่าต้องมีการสร้างเครือข่ายกับต่างประเทศเพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีความเชื่อมโยง และต่อเนื่องกัน
นอกจากนี้ กรมฯ จะให้ความสำคัญกับการผลักดันการค้าและการลงทุนในอาเซียน หลังจากที่อาเซียนจะเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในอีก 6 ปีข้างหน้า ที่จะเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน โดยกรมฯ ตั้งเป้าหมายการส่งออกไปกลุ่มอาเซียนจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเฉลี่ยปีละ 20% ให้เป็น 25% ในอีก 2-3 ปีข้างหน้าตามทิศทางตลาดที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องอยู่แล้ว
“เฉพาะตลาดอาเซียน จะเน้นการสร้างเครือข่ายการผลิตร่วมกันในรูปแบบคลัสเตอร์ เช่น อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ที่ไทยมีความเข้มแข็งเรื่องการออกแบบแฟชั่นที่โดดเด่นในกลุ่มอาเซียน มีมาตรฐานการผลิตที่ดี แต่อุตสาหกรรมต้นน้ำบางส่วนอาจอยู่ในประเทศอื่น หากเราใช้ AEC ให้เป็นประโยชน์จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงโดยตามแนวทางนี้จะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันนอกกลุ่มความร่วมมือได้ เป็นการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้าที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ในการแข่งขัน”นายราเชนทร์กล่าว
นายราเชนทร์กล่าวว่า ทั้งหมดนี้ ถือเป็นแผนงานเบื้องต้น ที่จะใช้ปฎิบัติจริงในปีหน้า โดยแผนจะสอดคล้องกับงบประมาณที่กรมฯ ได้รับ จากงบประมาณประจำปี 2553 ประมาณ 2,500 ล้านบาท และงบจากกองทุนส่งเสริมการส่งออกที่จะประชุมวันนี้ (7 ก.ย.) ที่มีอยู่ประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยจะมีการหารือกับหัวหน้าสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ เพื่อชี้แจงแผนงานประมาณปลายเดือนก.ย.นี้พร้อมกับมีการหารือถึงเป้าหมายการส่งออกสินค้าไทยในปี 2553 ซึ่งนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ จะร่วมให้นโยบายการทำงานด้วย
“ปีหน้าการส่งออกจะดีขึ้นกว่าปีนี้ เพราะสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีความชัดเจน หลายๆ ประเทศเริ่มฟื้นตัวแล้ว การจับจ่ายใช้สอยเริ่มดีขึ้น โดยเชื่อว่าจะขยายตัวดีกว่าปีนี้อย่างแน่นอน ส่วนในปีนี้ แม้ว่าการส่งออกจะยังขยายตัวติดลบ แต่ส่วนแบ่งตลาดของไทยเมื่อเทียบกับคู่แข่งไม่ได้ลดลงเลยยังสามารถชิงส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”นายราเชนทร์กล่าว