กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เผยจีน เวียดนามฯแย่งแชร์ตลาด ฉุดยอดสงออกปี 52 วูบ 20% สภาอุตสาหกรรมจับมือ สศอ. ทุ่ม 4.5 ล้านบาท/ปี หนุนโครงการ “สานคลัสเตอร์..เพิ่มศักยภาพเฟอร์นิเจอร์ไทยให้ยั่งยืน” หวังยกระดับSMEไทยแข่งขันในตลาดโลก
นายวงกต ตั้งสืบกุล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดเฟอร์นิเจอร์ส่งออกมีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่เน้นการผลิตตามคำสั่งซื้อ หรือ OEM ซึ่งถือเป็นตลาดเริ่มต้นของผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์รายใหม่ และผู้ประกอบการระดับ SME ที่สำคัญมีการแข่งขันด้านราคาสูงมาก
สำหรับตลาดรวมเฟอร์นิเจอร์เพื่อการส่งออกของไทยในปี 52 หดตัวลดลงจากปี 51ประมาณ 20% โดยในปีที่ผ่านมาตลาดรวมมีมูลค่า 1,244.3ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเปรียบเทียบตัวเลข ณ เดือน ม.ค.- ต.ค.51มีมูลค่าการขายรวม 1,067ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ เดือนม.ค.-ต.ค.52 มียอดขายรวม 813.2ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ทั้งนี้ แม้ว่าผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไทยในต่างประเทศจะเป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับด้านคุณภาพและมีข้อไดเปรียบด้านวัตถุดิบในประเทศจำนวนมากซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ไม่ยางพาราที่ยังมีอยู่จำนวนมาก และได้เปรียบด้านช่างฝีมือแรงงานประณีต ช่วยให้สามารถเพิ่มมูลค่าเฟอร์นิเจอร์ได้เป็นอย่างดี แต่เนื่องเฟอร์นิเจอร์ OEM เป็นตลาดที่ต้องแข่งขันด้านจำนวนการผลิตและราคาทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบคู่แข่งสำคัญ อย่างเช่น จีน เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเชีย ค่าแรงงาน เทคโนโลยีในการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเฟอร์นิเจอร์ไทย ทำให้ประเทศเหล่านี้แย่งส่วนแบ่งตลาดของไทยไป
“ข้อด้อยของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไทย คือ ต้นทุนรวมที่สูงกว่าคู่แข่ง เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรง ค่าเสียโอกาศ รวมถึงต้นทุนราคาน้ำมัน และขีดความสามารถการผลิต ยังด้อยกว่าคู่แข่ง นอกจากนี้ ผู้ผลิตไทยยังขาดความสามารถและความชำนาญ ด้านการออกแบบ ส่งผลให้การพัฒนาผู้ประกอบการให้เป็นผู้ผลิตสินค้าที่ขายดีไซน์จนกลายเป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับในอนาคตเป็นไปได้ยาก” นายวงกตกล่าว
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ในประเทศ ทั้งผู้ประกอบการรายใหม่และ SME สามารถพัฒนาคุณภาพการผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ให้แข่งขันในตลาดโลกได้ จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ต้องศึกษาพัฒนา และร่วมแบ่งปันแนวคิด รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิต และเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าการบริหารจัดการและทำการตลาดร่วมกัน
โดยล่าสุด สภาอุตสาหกรรมไทยได้ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ โดยมีสำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ให้การสนับสนุนจัดตั้งโครงการพัฒนาการรวมกลุ่มเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้และเครื่องเรือนในเขต กทม.และปริมณฑล เพื่อพัฒนาและสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้กลุ่มอุตสาหรรมสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยใช้ชื่อโครงการว่า “สานคลัสเตอร์..เพิ่มศักยภาพเฟอร์นิเจอร์ไทยให้ยั่งยืน”
ทั้งนี้ การรวมกลุ่มเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์นั้นจะช่วยให้เกิดการนำไปสู่การช่วยลดต้นทุนการผลิต การแบ่งออเดอณ์ คำสั่งซื้อตามความต้องความถนัด ชำนาญ และร่วมกับเข้าถึงแหล่งการจัดซื้อ จัดหาวัตถุดิบ ที่มีราคาถูกและได้คุณภาพ นอกจากนี้จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และวิธีการนำไปสู่มาตรฐานการผลิตที่ดีขึ้น และการสร้างนวัตกรรมสินค้าใหม่ๆ ยกระดับผู้ผลิตไทยให้แข่งขันในตลาดโลกได้
นายวงกต กล่าวว่า สำหรับโครงการ “สานคลัสเตอร์..เพิ่มศักยภาพเฟอร์นิเจอร์ไทยให้ยั่งยืน” จะจัดงานเปิดตัวในวันที่ 21 ธ.ค. เวลา18.30-16.30น. ณ ห้องเจ้าพระยาบูอลรูม โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค โดยในวันงานจะมีการจัดสัมมนา และเสวนาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งงานนี้ถือว่าเป็นการประเมินจำนวนผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวด้วย โดยในงานนี้กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ฯตั้งเป้าว่าจะมีผู้ประกอบการเฟอน์นิเจอร์ทั้งรายเล็ก-ใหญ่ และ SME เข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 500ราย
“งานนี้เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นการรวมตัวของกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อนำไปสู่การร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายของผู้ประกอบการในอนาคต เพื่อจะสามารถดำเนินการได้ตามแผนงานและยุทธศาสตร์และนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ โดยในการพัฒนาด้านต่างๆ นั้น สศอ.ได้ให้งบประมาณการการพัฒนาและดำเนินโครงการปีละ 4.5ล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี” นายวงกต กล่าว
นายวงกต ตั้งสืบกุล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดเฟอร์นิเจอร์ส่งออกมีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่เน้นการผลิตตามคำสั่งซื้อ หรือ OEM ซึ่งถือเป็นตลาดเริ่มต้นของผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์รายใหม่ และผู้ประกอบการระดับ SME ที่สำคัญมีการแข่งขันด้านราคาสูงมาก
สำหรับตลาดรวมเฟอร์นิเจอร์เพื่อการส่งออกของไทยในปี 52 หดตัวลดลงจากปี 51ประมาณ 20% โดยในปีที่ผ่านมาตลาดรวมมีมูลค่า 1,244.3ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเปรียบเทียบตัวเลข ณ เดือน ม.ค.- ต.ค.51มีมูลค่าการขายรวม 1,067ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ เดือนม.ค.-ต.ค.52 มียอดขายรวม 813.2ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ทั้งนี้ แม้ว่าผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไทยในต่างประเทศจะเป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับด้านคุณภาพและมีข้อไดเปรียบด้านวัตถุดิบในประเทศจำนวนมากซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ไม่ยางพาราที่ยังมีอยู่จำนวนมาก และได้เปรียบด้านช่างฝีมือแรงงานประณีต ช่วยให้สามารถเพิ่มมูลค่าเฟอร์นิเจอร์ได้เป็นอย่างดี แต่เนื่องเฟอร์นิเจอร์ OEM เป็นตลาดที่ต้องแข่งขันด้านจำนวนการผลิตและราคาทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบคู่แข่งสำคัญ อย่างเช่น จีน เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเชีย ค่าแรงงาน เทคโนโลยีในการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเฟอร์นิเจอร์ไทย ทำให้ประเทศเหล่านี้แย่งส่วนแบ่งตลาดของไทยไป
“ข้อด้อยของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไทย คือ ต้นทุนรวมที่สูงกว่าคู่แข่ง เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรง ค่าเสียโอกาศ รวมถึงต้นทุนราคาน้ำมัน และขีดความสามารถการผลิต ยังด้อยกว่าคู่แข่ง นอกจากนี้ ผู้ผลิตไทยยังขาดความสามารถและความชำนาญ ด้านการออกแบบ ส่งผลให้การพัฒนาผู้ประกอบการให้เป็นผู้ผลิตสินค้าที่ขายดีไซน์จนกลายเป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับในอนาคตเป็นไปได้ยาก” นายวงกตกล่าว
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ในประเทศ ทั้งผู้ประกอบการรายใหม่และ SME สามารถพัฒนาคุณภาพการผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ให้แข่งขันในตลาดโลกได้ จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ต้องศึกษาพัฒนา และร่วมแบ่งปันแนวคิด รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิต และเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าการบริหารจัดการและทำการตลาดร่วมกัน
โดยล่าสุด สภาอุตสาหกรรมไทยได้ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ โดยมีสำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ให้การสนับสนุนจัดตั้งโครงการพัฒนาการรวมกลุ่มเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้และเครื่องเรือนในเขต กทม.และปริมณฑล เพื่อพัฒนาและสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้กลุ่มอุตสาหรรมสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยใช้ชื่อโครงการว่า “สานคลัสเตอร์..เพิ่มศักยภาพเฟอร์นิเจอร์ไทยให้ยั่งยืน”
ทั้งนี้ การรวมกลุ่มเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์นั้นจะช่วยให้เกิดการนำไปสู่การช่วยลดต้นทุนการผลิต การแบ่งออเดอณ์ คำสั่งซื้อตามความต้องความถนัด ชำนาญ และร่วมกับเข้าถึงแหล่งการจัดซื้อ จัดหาวัตถุดิบ ที่มีราคาถูกและได้คุณภาพ นอกจากนี้จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และวิธีการนำไปสู่มาตรฐานการผลิตที่ดีขึ้น และการสร้างนวัตกรรมสินค้าใหม่ๆ ยกระดับผู้ผลิตไทยให้แข่งขันในตลาดโลกได้
นายวงกต กล่าวว่า สำหรับโครงการ “สานคลัสเตอร์..เพิ่มศักยภาพเฟอร์นิเจอร์ไทยให้ยั่งยืน” จะจัดงานเปิดตัวในวันที่ 21 ธ.ค. เวลา18.30-16.30น. ณ ห้องเจ้าพระยาบูอลรูม โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค โดยในวันงานจะมีการจัดสัมมนา และเสวนาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งงานนี้ถือว่าเป็นการประเมินจำนวนผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวด้วย โดยในงานนี้กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ฯตั้งเป้าว่าจะมีผู้ประกอบการเฟอน์นิเจอร์ทั้งรายเล็ก-ใหญ่ และ SME เข้าร่วมงานไม่ต่ำกว่า 500ราย
“งานนี้เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นการรวมตัวของกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อนำไปสู่การร่วมมือและพัฒนาเครือข่ายของผู้ประกอบการในอนาคต เพื่อจะสามารถดำเนินการได้ตามแผนงานและยุทธศาสตร์และนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ โดยในการพัฒนาด้านต่างๆ นั้น สศอ.ได้ให้งบประมาณการการพัฒนาและดำเนินโครงการปีละ 4.5ล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี” นายวงกต กล่าว