เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (9 ธ.ค.) ที่ห้อง 220 อาคารรัฐสภา 2 มีการประชุมคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ที่มี นายประชา ประสพดี ส.ส. สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย เป็นประธาน เพื่อพิจารณาประเด็นการยุบพรรคไทยรักไทย ที่พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี สมาชิกพรรคเพื่อไทย นำพยานปากสำคัญในคดียุบพรรคไทยรักไทย ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า แกนนำพรรคประชาธิปัตย์จ้างวานให้การเท็จ เพื่อยุบพรรคไทยรักไทย โดยมีบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วม ประกอบด้วย นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ( กกต.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล เลขานุการมูลินิธิพรรคไทยรักไทย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ตัวแทนจากกระทรวงยุติธรรม รองหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา รวมไปถึงนายสุขสันต์ ชัยเทศ ผู้อำนวยการเลือกตั้ง และรองหัวหน้าพรรคพัฒนาชาติไทย และนายชวการ โตสวัสดิ์ พยานปากเอก ในคดียุบพรรคไทยรักไทย
ทั้งนี้ นายสุขสันต์ กล่าวต่อที่ประชุม กมธ.ว่า เมื่อเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์บอยคอตการเลือกตั้งในเดือนเมษายนปี 49 นั้น เห็นว่าในพื้นที่ภาคใต้ประชาชนจะไม่เลือกพรรคไทยรักไทย อย่างแน่นอน จึงถือเป็นโอกาสของพรรคพัฒนาชาติไทย ในการส่งตัวผู้สมัคร ส.ส. เพราะแนวโน้มการได้รับเลือกมีสูง แต่พรรคของตนติดปัญหาที่ไม่มีสมาชิกพรรค จึงดำเนินประสานกับเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อปรับเปลี่ยนฐานข้อมูลสมาชิก เหมือนที่เคยดำเนินการมาในปี 48
ทั้งนี้ระหว่างการดำเนินการทางเอกสาร นายไทกร พลสุวรรณ ได้มาหาตน โดยแนะนำว่าถ้าอยากได้เงินสนับสนุนให้ไปพบกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
นายสุขสันต์ กล่าวว่าจากนั้นวันที่ 15 มี.ค. ก็ได้ไปพบนายสุเทพ ที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งพบว่านายสุเทพ นั่งอยู่กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค นายถาวร เสนเนียม นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ นายเจือ ราชสีห์ ซึ่งตนได้เดินผ่านหน้าห้องไปยังชั้น 2 สักครู่นายสุเทพ กับนายถาวรเดินมาถามรายละเอียดตนว่า จะส่งผู้สมัครอย่างไร ซึ่งตนได้บอกไปว่า เตรียมที่จะส่ง 30 กว่าคนในพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด พร้อมกับเล่าตามความเป็นจริงว่า มีการแก้ไขฐานข้อมูลผู้สมัคร ซึ่งนายสุเทพ ถามตนว่า ได้รับทราบข่าวหรือไม่ว่ามีการจ้างผู้สมัครลงสมัครรับเลือกตั้งใน จ.ตรัง ซึ่งนายสุเทพได้ชักชวนให้ตนมาร่วมกันทำงาน โดยมีเงื่อนไขที่ตกลงกันวันนั้นคือ ถ้าไม่ร่วมมือจะแจ้งความจับนายชวการ ในเรื่องการปลอมทะเบียนสมาชิก แต่ถ้าร่วมมือ จะช่วยดูแลคดี และมีค่าใช้จ่ายสนับสนุนให้ 15 ล้านบาท รวมทั้งการส่งลง ส.ส.ที่ จ.นครพนม
นอกจากนี้ หากพรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง ก็จะให้ตำแหน่งทางการเมือง ทำให้ตนต้องตัดสินใจร่วมมือในครั้งนี้ เพราะความปลอดภัยของชีวิต
นายสุขสันต์ กล่าวว่า นอกจากนี้ นายถาวร ยังกล่าวเพิ่มเติมว่าหากสามารถทำให้เรื่องดังกล่าวให้เชื่อมโยงกับกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยได้ จะนำไปสู่การยุบพรรคไทยรักไทยในที่สุด จนนำไปสู่ภาพเหตุการณ์ที่มีการพบกับ พล.อ. ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่กระทรวงกลาโหม
นายสุขสันต์ กล่าวว่า ทั้งนี้หลังจากที่พบกันในวันดังกล่าวแล้ว นายสุเทพ ได้นัดให้ตน นายไทกร และนายชวการ ไปพบที่บ้านของนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เพื่อเตรียมตัวก่อนแถลงข่าวที่พรรคประชาธิปัตย์ให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย เป็นผู้จ้างวานให้ตนลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อหนีเกณฑ์ 20 เปอร์เซ็นต์ โดยก่อนการแถลงข่าว นายสุเทพ บอกให้ไปรับเงินที่คอนโดมิเนียมของนายสุเทพ บริเวณ ถ.จรัญสนิทวงศ์ โดยมีผู้นำมามอบให้ตน คนละ 1 ล้านบาท จากนั้นตนก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจพาไปอยู่ที่ จ.สุราษฎร์ธานี
สำหรับการให้การกับกกต.นั้น พวกตนให้การเพิ่มเติมเพียง 1 ครั้ง หลังจากแถลงข่าวที่พรรคประชาธิปัตย์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรภาค 8 เท่านั้น ไม่มีการให้การกับ กกต.ส่วนกลางแต่อย่างใด โดยการให้การนั้น ได้ยึดตามคำให้การเดิมตามที่ให้การไว้กับพรรคประชาธิปัตย์
นายสุขสันต์ กล่าวว่า ตนมีหลักฐานทางบัญชีธนาคารที่แสดงจำนวนเงินไหลเวียนบัญชีจำนวน 5.8 ล้านบาท แต่ขณะนี้เงินในส่วนนี้นำไปใช้ในการเลือกตั้ง 23 ธ.ค.50 หมดแล้ว และยังมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามการแม้ว่าตนจะแพ้การเลือกตั้ง แต่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของนายวิรัช ร่มเย็น ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การปกครองท้องถิ่น สภาผู้แทนราษฎร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายประชาได้สอบถามนายสุทธิพล ในฐานะเลขาธิการ กกต. ถึงกระบวนการไต่สวนของกกต. ต่อคดีดังกล่าว โดยนายสุทธิพล ชี้แจงว่า การตัดสินในคดียุบพรรคไทยรักไทย เป็นการตัดสินของกกต. อย่างไรก็ตาม ในส่วนของหลักการทั่วไปในเรื่องการสืบสวนสอบสวน ไม่จำเป็นว่าต้องมาสืบสวนที่ กกต.กลางแต่เพียงอย่างเดียว โดยกกต.จะทำหน้าที่ตามกฎหมาย และระเบียบที่วางไว้ ไม่ทำอะไรชุ่ย ๆ
ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าวมีการดำเนินการร่างกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพนักงานของกกต. ที่เป็นเจ้าหน้าที่ในกลุ่มปฎิบัติงานคอมพิวเตอร์ที่รับสารภาพว่า มีการข้อมูลให้กับพรรคพัฒนาชาติไทย
อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่นายสุทธิพล ชี้แจงในส่วนนี้อยู่นั้น นายประชา ได้แย้งนายสุทธิพล อยู่หลายครั้งว่าให้ตอบคำถามในส่วนที่ตัวเองได้ถามเท่านั้น โดยไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติมถึงประเด็นอื่นๆ จนทำให้นายสุทธิพล ชี้แจงกับนายประชาว่า การที่ตนมาร่วมประชุมกับกมธ.ครั้งนี้เป็นเพราะให้เกียรติ กมธ. ซึ่งหากประธานกมธ. สอบถามอะไรตนๆ ก็ชี้แจงตามหลักการ ยึดหลักตามความเป็นจริง ซึ่งจะต้องอธิบายเชื่อมโยงกับประเด็นอื่นที่มีการเกี่ยวข้องกันด้วย นอกจากนี้นายวิรัช กัลยาศิริ กมธ.ซีกประชาธิปัตย์ ได้กล่าวสนับสนุนนายสุทธิพลว่า ประธาน กมธ.ไม่ควรที่จะเบรกคำชี้แจงของผู้มาชี้แจง
จากนั้นนายวิรัช ได้ถามจี้ถึงรายละเอียดการให้การของนายสุขสันต์ ก่อนหน้านี้ในหลายประเด็น โดยส่วนใหญ่แล้วนายสุขสันต์ ยังยืนยันว่าการให้การของตนเป็นไปตามคำให้การที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ร่างให้อ่านโดยเอกสารที่ตนลงนามหลายส่วน ไม่ได้อ่านทวนแต่อย่างใด
ด้านนายจาตุรนต์ กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นอดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย นั้น เท่าที่มีการประสานกับอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยคนอื่นได้มีการพิจารณาใน 3 ส่วน คือ 1.ในส่วนที่เกี่ยวกับพล.อ.ธรรมรักษ์ 2. เรื่องเกี่ยวกับพรรคไทยรักไทย ผ่านทางองค์กรอิสระในการพิจารณาตรวจสอบข้อมูลหลักฐานข้อเท็จจริงที่เพิ่มเติมขึ้นมา เพราะลำพังพวกตนไม่สามารถทำให้หลักฐานนี้มีความน่าเชื่อถือได้และ 3. ถ้า พล.อ.ธรรมรักษ์ พบว่ามีหลักฐานชัดเจนว่า คณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ มีการจ้างวาน ข่มขู่ บังคับให้มีการให้การเท็จเพื่อปรักปรำให้ร้ายต่อพรรคไทยรักไทย น่าจะมีการดำเนินคดีหรือดำเนินการทางกฎหมายต่อกรรมการบริหารของพรรคประชาธิปัตย์ หรือบุคคลสำคัญของพรรคที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการลงโทษพรรคประชาธิปัตย์
"หลังจากการรัฐประหาร ตุลาการรัฐธรรมนูญที่ได้รับแต่งตั้งขึ้น ไม่ใช่ศาล จึงไม่ควรมีอำนาจในการพิจารณา แต่เรื่องนี้ระบบกฎหมายประเทศไทยให้อำนาจไว้ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ขัดต่อหลักนิติธรรม เรื่องนี้มีผลต่อคดีหรือไม่ ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมต่อพรรคไทยรักไทยหรือไม่ ที่จริงเราไม่ควรถูกตัดสิทธิตั้งแต่ต้น ถามว่าควรจะได้รับสิทธิคืนหรือไม่ และจะทำได้อย่างไร การที่พวกผมถูกเพิกถอนสิทธิ์ เท่ากับเป็นเรื่องประจานว่าประเทศนี้ไร้ความยุติธรรม" นายจตุรนต์กล่าว
ทั้งนี้ นายสุขสันต์ กล่าวต่อที่ประชุม กมธ.ว่า เมื่อเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์บอยคอตการเลือกตั้งในเดือนเมษายนปี 49 นั้น เห็นว่าในพื้นที่ภาคใต้ประชาชนจะไม่เลือกพรรคไทยรักไทย อย่างแน่นอน จึงถือเป็นโอกาสของพรรคพัฒนาชาติไทย ในการส่งตัวผู้สมัคร ส.ส. เพราะแนวโน้มการได้รับเลือกมีสูง แต่พรรคของตนติดปัญหาที่ไม่มีสมาชิกพรรค จึงดำเนินประสานกับเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อปรับเปลี่ยนฐานข้อมูลสมาชิก เหมือนที่เคยดำเนินการมาในปี 48
ทั้งนี้ระหว่างการดำเนินการทางเอกสาร นายไทกร พลสุวรรณ ได้มาหาตน โดยแนะนำว่าถ้าอยากได้เงินสนับสนุนให้ไปพบกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
นายสุขสันต์ กล่าวว่าจากนั้นวันที่ 15 มี.ค. ก็ได้ไปพบนายสุเทพ ที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งพบว่านายสุเทพ นั่งอยู่กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค นายถาวร เสนเนียม นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ นายเจือ ราชสีห์ ซึ่งตนได้เดินผ่านหน้าห้องไปยังชั้น 2 สักครู่นายสุเทพ กับนายถาวรเดินมาถามรายละเอียดตนว่า จะส่งผู้สมัครอย่างไร ซึ่งตนได้บอกไปว่า เตรียมที่จะส่ง 30 กว่าคนในพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด พร้อมกับเล่าตามความเป็นจริงว่า มีการแก้ไขฐานข้อมูลผู้สมัคร ซึ่งนายสุเทพ ถามตนว่า ได้รับทราบข่าวหรือไม่ว่ามีการจ้างผู้สมัครลงสมัครรับเลือกตั้งใน จ.ตรัง ซึ่งนายสุเทพได้ชักชวนให้ตนมาร่วมกันทำงาน โดยมีเงื่อนไขที่ตกลงกันวันนั้นคือ ถ้าไม่ร่วมมือจะแจ้งความจับนายชวการ ในเรื่องการปลอมทะเบียนสมาชิก แต่ถ้าร่วมมือ จะช่วยดูแลคดี และมีค่าใช้จ่ายสนับสนุนให้ 15 ล้านบาท รวมทั้งการส่งลง ส.ส.ที่ จ.นครพนม
นอกจากนี้ หากพรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง ก็จะให้ตำแหน่งทางการเมือง ทำให้ตนต้องตัดสินใจร่วมมือในครั้งนี้ เพราะความปลอดภัยของชีวิต
นายสุขสันต์ กล่าวว่า นอกจากนี้ นายถาวร ยังกล่าวเพิ่มเติมว่าหากสามารถทำให้เรื่องดังกล่าวให้เชื่อมโยงกับกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยได้ จะนำไปสู่การยุบพรรคไทยรักไทยในที่สุด จนนำไปสู่ภาพเหตุการณ์ที่มีการพบกับ พล.อ. ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่กระทรวงกลาโหม
นายสุขสันต์ กล่าวว่า ทั้งนี้หลังจากที่พบกันในวันดังกล่าวแล้ว นายสุเทพ ได้นัดให้ตน นายไทกร และนายชวการ ไปพบที่บ้านของนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เพื่อเตรียมตัวก่อนแถลงข่าวที่พรรคประชาธิปัตย์ให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย เป็นผู้จ้างวานให้ตนลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อหนีเกณฑ์ 20 เปอร์เซ็นต์ โดยก่อนการแถลงข่าว นายสุเทพ บอกให้ไปรับเงินที่คอนโดมิเนียมของนายสุเทพ บริเวณ ถ.จรัญสนิทวงศ์ โดยมีผู้นำมามอบให้ตน คนละ 1 ล้านบาท จากนั้นตนก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจพาไปอยู่ที่ จ.สุราษฎร์ธานี
สำหรับการให้การกับกกต.นั้น พวกตนให้การเพิ่มเติมเพียง 1 ครั้ง หลังจากแถลงข่าวที่พรรคประชาธิปัตย์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรภาค 8 เท่านั้น ไม่มีการให้การกับ กกต.ส่วนกลางแต่อย่างใด โดยการให้การนั้น ได้ยึดตามคำให้การเดิมตามที่ให้การไว้กับพรรคประชาธิปัตย์
นายสุขสันต์ กล่าวว่า ตนมีหลักฐานทางบัญชีธนาคารที่แสดงจำนวนเงินไหลเวียนบัญชีจำนวน 5.8 ล้านบาท แต่ขณะนี้เงินในส่วนนี้นำไปใช้ในการเลือกตั้ง 23 ธ.ค.50 หมดแล้ว และยังมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามการแม้ว่าตนจะแพ้การเลือกตั้ง แต่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของนายวิรัช ร่มเย็น ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การปกครองท้องถิ่น สภาผู้แทนราษฎร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายประชาได้สอบถามนายสุทธิพล ในฐานะเลขาธิการ กกต. ถึงกระบวนการไต่สวนของกกต. ต่อคดีดังกล่าว โดยนายสุทธิพล ชี้แจงว่า การตัดสินในคดียุบพรรคไทยรักไทย เป็นการตัดสินของกกต. อย่างไรก็ตาม ในส่วนของหลักการทั่วไปในเรื่องการสืบสวนสอบสวน ไม่จำเป็นว่าต้องมาสืบสวนที่ กกต.กลางแต่เพียงอย่างเดียว โดยกกต.จะทำหน้าที่ตามกฎหมาย และระเบียบที่วางไว้ ไม่ทำอะไรชุ่ย ๆ
ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าวมีการดำเนินการร่างกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพนักงานของกกต. ที่เป็นเจ้าหน้าที่ในกลุ่มปฎิบัติงานคอมพิวเตอร์ที่รับสารภาพว่า มีการข้อมูลให้กับพรรคพัฒนาชาติไทย
อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่นายสุทธิพล ชี้แจงในส่วนนี้อยู่นั้น นายประชา ได้แย้งนายสุทธิพล อยู่หลายครั้งว่าให้ตอบคำถามในส่วนที่ตัวเองได้ถามเท่านั้น โดยไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติมถึงประเด็นอื่นๆ จนทำให้นายสุทธิพล ชี้แจงกับนายประชาว่า การที่ตนมาร่วมประชุมกับกมธ.ครั้งนี้เป็นเพราะให้เกียรติ กมธ. ซึ่งหากประธานกมธ. สอบถามอะไรตนๆ ก็ชี้แจงตามหลักการ ยึดหลักตามความเป็นจริง ซึ่งจะต้องอธิบายเชื่อมโยงกับประเด็นอื่นที่มีการเกี่ยวข้องกันด้วย นอกจากนี้นายวิรัช กัลยาศิริ กมธ.ซีกประชาธิปัตย์ ได้กล่าวสนับสนุนนายสุทธิพลว่า ประธาน กมธ.ไม่ควรที่จะเบรกคำชี้แจงของผู้มาชี้แจง
จากนั้นนายวิรัช ได้ถามจี้ถึงรายละเอียดการให้การของนายสุขสันต์ ก่อนหน้านี้ในหลายประเด็น โดยส่วนใหญ่แล้วนายสุขสันต์ ยังยืนยันว่าการให้การของตนเป็นไปตามคำให้การที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ร่างให้อ่านโดยเอกสารที่ตนลงนามหลายส่วน ไม่ได้อ่านทวนแต่อย่างใด
ด้านนายจาตุรนต์ กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นอดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย นั้น เท่าที่มีการประสานกับอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยคนอื่นได้มีการพิจารณาใน 3 ส่วน คือ 1.ในส่วนที่เกี่ยวกับพล.อ.ธรรมรักษ์ 2. เรื่องเกี่ยวกับพรรคไทยรักไทย ผ่านทางองค์กรอิสระในการพิจารณาตรวจสอบข้อมูลหลักฐานข้อเท็จจริงที่เพิ่มเติมขึ้นมา เพราะลำพังพวกตนไม่สามารถทำให้หลักฐานนี้มีความน่าเชื่อถือได้และ 3. ถ้า พล.อ.ธรรมรักษ์ พบว่ามีหลักฐานชัดเจนว่า คณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ มีการจ้างวาน ข่มขู่ บังคับให้มีการให้การเท็จเพื่อปรักปรำให้ร้ายต่อพรรคไทยรักไทย น่าจะมีการดำเนินคดีหรือดำเนินการทางกฎหมายต่อกรรมการบริหารของพรรคประชาธิปัตย์ หรือบุคคลสำคัญของพรรคที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการลงโทษพรรคประชาธิปัตย์
"หลังจากการรัฐประหาร ตุลาการรัฐธรรมนูญที่ได้รับแต่งตั้งขึ้น ไม่ใช่ศาล จึงไม่ควรมีอำนาจในการพิจารณา แต่เรื่องนี้ระบบกฎหมายประเทศไทยให้อำนาจไว้ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ขัดต่อหลักนิติธรรม เรื่องนี้มีผลต่อคดีหรือไม่ ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมต่อพรรคไทยรักไทยหรือไม่ ที่จริงเราไม่ควรถูกตัดสิทธิตั้งแต่ต้น ถามว่าควรจะได้รับสิทธิคืนหรือไม่ และจะทำได้อย่างไร การที่พวกผมถูกเพิกถอนสิทธิ์ เท่ากับเป็นเรื่องประจานว่าประเทศนี้ไร้ความยุติธรรม" นายจตุรนต์กล่าว