เอเจนซี - ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) เบน เบอร์นันกี ออกมาพูดเมื่อวันจันทร์(7)ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอเมริกันยังคงอยู่ในสภาพที่เปราะบาง และอัตราการว่างงานก็น่าจะยังสูงไปอีกระยะหนึ่ง ปรากฏว่าคำกล่าวของเขาส่งผลทำให้ตลาดการเงินหยุดการกะเก็งที่ว่า กำลังจะมีการขยับขึ้นดอกเบี้ยกันแล้ว
นับตั้งแต่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯประกาศตัวเลขการว่างงานประจำเดือนพฤศจิกายนในวันศุกร์(4) ซึ่งปรากฏว่าจำนวนคนสูญเสียตำแหน่งงานได้ลดลงเหลือ 11,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานก็ถอยลงมาอยู่ในระดับ 10.0% ซึ่งล้วนแต่ดีกว่าที่พวกนักวิเคราะห์คาดการณ์กันไว้ ทำให้พวกนักลงทุนคาดเก็งกันว่าเฟดอาจจะเร่งขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย “เฟด ฟันดส์ เรต” ในเวลาที่รวดเร็วกว่าที่เคยคิดกันเอาไว้เดิม
ทว่าเบอร์นันกีกล่าวยืนยันในระหว่างไปแสดงปาฐกถาต่อสโมสรเศรษฐกิจแห่งวอชิงตัน (Economic Club of Washington) ในวันจันทร์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯยังคงยึดมั่นกับคำสัญญาที่ว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเอาไว้ให้อยู่ในระดับต่ำมากๆ เช่นนี้ ไปอีกระยะหนึ่ง
“เรายังจะต้องเดินกันต่อไปอีกระยะหนึ่ง ก่อนที่เราจะสามารถมั่นใจได้ว่าการฟื้นตัวจะอยู่ในสภาพประคับประคองตัวเองได้แล้ว” เขากล่าว “นอกจากนั้นสิ่งที่เป็นประเด็นปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือ การฟื้นตัวจะสามารถสร้างตำแหน่งงานเป็นจำนวนมากถึงระดับที่จำป็นแก่การทำให้อัตราการว่างงานลดต่ำลงมาอย่างชัดเจนได้หรือไม่”
จากรายงานเมื่อวันศุกร์ เท่ากับว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯในเดือนพฤศจิกายน อยู่ในสภาพที่สดใสที่สุดนับตั้งแต่ที่เศรษฐกิจถลำจมลงสู่ภาวะถดถอยเมื่อ 2 ปีที่แล้วทีเดียว ทำให้นักลงทุนวางเดิมพันคาดเก็งว่าเฟดจะต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยภายในกลางปีหน้า แล้วกระแสกะเก็งเช่นนี้ก็พลอยทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้นไปด้วย
อย่างไรก็ดี คำพูดของเบอร์นันกีในวันจันทร์บ่งชี้ให้เห็นว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด(เอฟโอเอ็มซี) ที่มีกำหนดประชุมครั้งต่อไปในสัปดาห์หน้า จะยังรอเวลาอีกพักหนึ่งเพื่อให้การฟื้นตัวเข้มแข็งเสียก่อน การแสดงความคิดเห็นของเขาเช่นนี้จึงทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงมา
ประธานเฟดยังบอกด้วยว่า ภาวะสินเชื่อที่ยังคงตึงตัว และตลาดงานที่ยังอ่อนแอ คือสิ่งที่ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญซึ่งขัดขวางการฟื้นตัว แต่เขากล่าวด้วยว่า เอฟโอเอ็มซีจะต้องนำเอาสัญญาณทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงหลังๆ นี้มาพิจารณาด้วยแน่นอน ระหว่างการหารือในวันอังคารและวันพุธหน้า (15-16)
ขณะที่กล่าวย้ำเรื่องการฟื้นตัวยังคงมีความอ่อนแอมาก เบอร์นันกีก็ต้องตอบโต้กับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ว่า นโยบายปล่อยดอกเบี้ยต่ำและอัดฉีดสภาพคล่องจำนวนมหาศาลเข้าสู่ระบบ กำลังจะเป็นปัจจัยทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างควบคุมไม่ได้ในระยะต่อไป “การปฏิบัติการต่างๆ ของเฟดเพื่อต่อสู้กับวิกฤตคราวนี้ จะนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อสูงในระยะต่อไปหรือไม่” เขาตั้งปุจฉาและวิสัชานาเองว่า “คำตอบคือไม่ ธนาคารกลางยังคงมุ่งมั่นที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และยังมีความสามารถที่จะทำเช่นนั้น”
นับตั้งแต่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯประกาศตัวเลขการว่างงานประจำเดือนพฤศจิกายนในวันศุกร์(4) ซึ่งปรากฏว่าจำนวนคนสูญเสียตำแหน่งงานได้ลดลงเหลือ 11,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานก็ถอยลงมาอยู่ในระดับ 10.0% ซึ่งล้วนแต่ดีกว่าที่พวกนักวิเคราะห์คาดการณ์กันไว้ ทำให้พวกนักลงทุนคาดเก็งกันว่าเฟดอาจจะเร่งขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย “เฟด ฟันดส์ เรต” ในเวลาที่รวดเร็วกว่าที่เคยคิดกันเอาไว้เดิม
ทว่าเบอร์นันกีกล่าวยืนยันในระหว่างไปแสดงปาฐกถาต่อสโมสรเศรษฐกิจแห่งวอชิงตัน (Economic Club of Washington) ในวันจันทร์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯยังคงยึดมั่นกับคำสัญญาที่ว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเอาไว้ให้อยู่ในระดับต่ำมากๆ เช่นนี้ ไปอีกระยะหนึ่ง
“เรายังจะต้องเดินกันต่อไปอีกระยะหนึ่ง ก่อนที่เราจะสามารถมั่นใจได้ว่าการฟื้นตัวจะอยู่ในสภาพประคับประคองตัวเองได้แล้ว” เขากล่าว “นอกจากนั้นสิ่งที่เป็นประเด็นปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือ การฟื้นตัวจะสามารถสร้างตำแหน่งงานเป็นจำนวนมากถึงระดับที่จำป็นแก่การทำให้อัตราการว่างงานลดต่ำลงมาอย่างชัดเจนได้หรือไม่”
จากรายงานเมื่อวันศุกร์ เท่ากับว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯในเดือนพฤศจิกายน อยู่ในสภาพที่สดใสที่สุดนับตั้งแต่ที่เศรษฐกิจถลำจมลงสู่ภาวะถดถอยเมื่อ 2 ปีที่แล้วทีเดียว ทำให้นักลงทุนวางเดิมพันคาดเก็งว่าเฟดจะต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยภายในกลางปีหน้า แล้วกระแสกะเก็งเช่นนี้ก็พลอยทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้นไปด้วย
อย่างไรก็ดี คำพูดของเบอร์นันกีในวันจันทร์บ่งชี้ให้เห็นว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด(เอฟโอเอ็มซี) ที่มีกำหนดประชุมครั้งต่อไปในสัปดาห์หน้า จะยังรอเวลาอีกพักหนึ่งเพื่อให้การฟื้นตัวเข้มแข็งเสียก่อน การแสดงความคิดเห็นของเขาเช่นนี้จึงทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงมา
ประธานเฟดยังบอกด้วยว่า ภาวะสินเชื่อที่ยังคงตึงตัว และตลาดงานที่ยังอ่อนแอ คือสิ่งที่ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญซึ่งขัดขวางการฟื้นตัว แต่เขากล่าวด้วยว่า เอฟโอเอ็มซีจะต้องนำเอาสัญญาณทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงหลังๆ นี้มาพิจารณาด้วยแน่นอน ระหว่างการหารือในวันอังคารและวันพุธหน้า (15-16)
ขณะที่กล่าวย้ำเรื่องการฟื้นตัวยังคงมีความอ่อนแอมาก เบอร์นันกีก็ต้องตอบโต้กับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ว่า นโยบายปล่อยดอกเบี้ยต่ำและอัดฉีดสภาพคล่องจำนวนมหาศาลเข้าสู่ระบบ กำลังจะเป็นปัจจัยทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างควบคุมไม่ได้ในระยะต่อไป “การปฏิบัติการต่างๆ ของเฟดเพื่อต่อสู้กับวิกฤตคราวนี้ จะนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อสูงในระยะต่อไปหรือไม่” เขาตั้งปุจฉาและวิสัชานาเองว่า “คำตอบคือไม่ ธนาคารกลางยังคงมุ่งมั่นที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และยังมีความสามารถที่จะทำเช่นนั้น”