ASTVผู้จัดการรายวัน - ผู้จัดการกองทุนชี้ มาบตาพุดกระทบระยะสั้น มั่นใจโครงการต่างๆต้องเดินต่อ ยันคงสัดส่วนการลงทุน หวังโอกาสดีราคาปรับลงต่ำกว่าพื้นฐาน ในระยะยาว ด้านมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สิน เผยผลสำรวจกรณีมาบตาพุด ประชาชนหนุนขยายการลงทุนเพิ่ม เชื่อสามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
นายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด กล่าวว่า เรื่องของมาบตาพุดเชื่อว่าส่งผลกระทบกับทุกกองทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว เพราะพอร์ตของกองทุนส่วนใหญ่มีการลงทุนในหุ้นอย่าง บริษัท ปตท จำกัด และกลุ่มปูนซีเมนต์ไทย ที่ได้รับผลกระทบกันอยู่แล้ว ซึ่งในส่วนของเราเอง ที่ผ่านมาก็ได้ลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ลงไปบ้าง แต่ไม่มากนัก เพราะมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้เองเชื่อว่าสุดท้ายแล้ว ต้องได้รับการแก้ไข เพราะเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการจ่างงานด้วย
ทั้งนี้ มองว่าสุดท้ายแล้ว โครงการลงทุนต่างๆ จะสามารถเดินต่อไปได้ เพราะเชื่อว่าบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องเองต้องมีทางออก หรือมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการลงทุนแต่ละโครงการไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
"เรามองว่าเรื่องนี้คงไม่ถึงขั้นหยุดโครงการไปเลย เพียงแต่ชะงักไปเท่านั้น เพราะเชื่อว่าสุดท้ายแล้วเขาคงมีทางออกในแง่ของปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนผลกระทบในแง่ของราคาหุ้นที่ปรับลดลง หากพื้นฐานของหุ้นยังน่าสนใจ ก็เชื่อว่านักลงทุนจะเข้าไปลงทุนเพิ่ม รวมถึงเราเองด้วย เพราะว่าระยะยาวแล้ว ตัวบริษัทยังสามารถเติบโตต่อไปได้"นายประภาสกล่าว
นายอดิเทพ วรรณพฤกษ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการลงทุน บลจ. อเบอร์ดีน กล่าวถึงผลกระทบจากการระงับโครงการ 65 โครงการในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงไว้เป็นการชั่วคราวว่า กรณีนี้ได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะ กลุ่มบริษัทในเครือ ปตท. และ บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย เนื่องจากโครงการของทั้งสองกลุ่มไม่ได้อยู่ใน 11 โครงการที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจกรรมต่อไปได้
ทั้งนี้ การลงทุนในกลุ่ม ปตท. ของอเบอร์ดีนมีเพียง บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม เท่านั้น ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมต้นน้ำ และมีโครงการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุดไม่มาก ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดจะมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อรายได้ของ บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ในส่วนของ บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย คำสั่งของศาลปกครองสูงสุดมีผลกระทบต่อการลงทุนในศูนย์ปิโตรเคมีแห่งใหม่ของบริษัท แต่โครงการเดิมของบริษัทที่มีอยู่ ซึ่งเป็นการผลิตปิโตรเคมีและวัสดุอื่นๆ เช่น ซิเมนต์ กระดาษ วัสดุก่อสร้าง ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด โดยมูลค่าของศูนย์การผลิตปิโตรเคมีครบวงจรแห่งใหม่นี้ ทั้งหมดอยู่ที่ 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และหลังเสร็จสิ้นการก่อสร้างแล้วจะทำให้กำลังการผลิตในการแยกก๊าซเพิ่มขึ้น 58% และผลผลิตปลายน้ำจะเพิ่มขึ้น 50% ซึ่งโครงการดังกล่าวใกล้จะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ และพร้อมจะทดลองเดินเครื่อง ก่อนการผลิตเต็มตัวจะเริ่มขึ้นในไตรมาสสองของปี 2553
ดังนั้น เมื่อโครงการใหม่จะต้องล่าช้าออกไป ก็จะไม่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากส่วนนี้ในปี 2553 ซึ่งปัจจัยนี้เป็นอุปสรรคระยะสั้นสำหรับ บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย ที่ทำให้ปัจจัยหนุนการเติบโตของรายได้ในปี 2553 ต้องสูญเสียไป
อย่างไรก็ตาม อเบอร์ดีนยังคงเชื่อมั่นว่าคณะผู้บริหารของบริษัทจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ และในที่สุดรัฐบาลก็จะออกมาตรการต่างๆตามขั้นตอนและกฎหมายที่จำเป็นต่อไป
*** เผยผลสำรวจ มาบตาพุดหนุนขยยายการลงทุน
นายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อวันที่ 7ธ.ค.ที่ผ่านมา มูลนิธิฯได้ สรุปผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อกรณีมาบตาพุด ในหัวข้อ " ประชาชนมาบตาพุดต้องการอุตสาหกรรมต่อไปและแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย" เสนอต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี(ครม.)ประธานสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ
จากผลสำรวจความเห็นจากประชาชนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,107 คน พบว่า ในเชิงนโยบายประชากรส่วนใหญ่ 65.3% เห็นควรให้มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่อไป ซึ่งจากการศึกษามีเพียงหนี่งในสามที่เห็นว่าควรหยุดขยายอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามหากนับรวมผู้ที่ยังไม่แน่ใจหรือไม่มีความเห็น 22.2% แล้ว จะพบว่า ประชาชนที่เห็นว่าควรหยุดขยายตัวมีอยู่ 26.6% หรือเพียงครึ่งหนึ่งของประชาชนที่เห็นควรให้อุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดควรจะขยายตัวต่อไป 51.1% หากพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่า ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่เกิน 10 ปี ถึง 55% เห็นควรให้อุตสาหกรรมขยายตัวต่อไป แต่ยังน้อยกว่าค่าเฉลี่ยรวมที่ 65.3% สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนส่วนน้อยที่ไม่อยากให้อุตสาหกรรมขยายตัว คงคำนึงถึงความเคยชินในการอยู่อาศัยและการยึดติดกับอสังหาริมทรัพย์ที่ครอบครอง
ขณะที่ผลกระทบด้านมลพิษในมาบตาพุด ยังไม่มีพื้นที่ปนเปื้อนสารพิษ (Contamination Area) จนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ เช่น กรณีพื้นที่ปนเปื้อนอันเนื่องมาจากสนามบินเก่า เหมืองแร่ หรืออื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาพื้นที่ปนเปื้อนสารพิษยังไม่ปรากฏให้เห็น ดังนั้นการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงยังมีความเป็นไปได้สูง ที่จะบำบัดให้พื้นที่ปลอดพ้นจากมลพิษ
**จัดเวนคืนที่ดินรองรับอุตฯที่ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลควรมีการจัดเตรียมแนวทางการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ที่มีความจำเป็นในการขยายตัวของอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนนั้น อาจมีความจำเป็นต้องซื้อหรือเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งที่ดิน อาคารและที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมบางส่วนจากประชาชน โดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ใกล้กับทิศทางการขยายตัวของอุตสาหกรรม เพื่อมาเป็นพื้นที่ขยายตัวของอุตสาหกรรม และอาจเป็นพื้นที่กันชนกับพื้นที่อยู่อาศัย อันจะเป็นการป้องกันการได้รับผลกระทบจากมลพิษของประชาชนด้วย
จากการวิเคราะห์ตัวเลขและมูลค่าที่อยู่อาศัยข้างต้น กล่าวได้ว่า มูลค่าที่อยู่อาศัยและที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด จึงควรเป็นเงินประมาณ 40,211 ล้านบาท ดังนั้น หากมีการซื้อหรือเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ใกล้เขตอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องมีการขยายตัวจริง คณะนักวิจัยคาดว่าคงเป็นเงินไม่เกิน 10% ของมูลค่ารวม หรือเป็นเงินประมาณ 4,000 ล้านบาทเท่านั้น หากรัฐบาลจำเป็นต้องมีการซื้อที่ดินหรือการเวนคืน จึงมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและเอื้อประโยชน์ต่อประชาชน
ทั้งนี้ มูลนิธิฯ ได้เสนอแนะการดำเนินงานสำหรับรัฐบาล ในการแก้ปัญหาดังกล่าว คือ 1. ควรดำเนินคดีกับการปล่อยมลพิษของโรงงานหลายแห่งในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎหมายและละเมิดต่อชุมชนโดยเคร่งครัด 2. ควรจัดทำประชามติเพื่อแสดงฉันทามติและเป็นการเคารพเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน 3. ซื้อหรือเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในบริเวณที่จำเป็นสำหรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม เพื่อผลประโยชน์แก่ทุกฝ่าย โดยคำนึงถึงการจ่ายค่าทดแทนให้เหมาะสม ซึ่งอาจจ่ายสูงกว่าราคาตลาด 4. และรัฐบาลควรพิจารณาเสนอรัฐสภาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ (มาตรา 67) ซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่รับฟังเสียงของชุมชนและประชาชนในพื้นที่ แต่ถือเอาความเห็นขององค์การและสถาบันบางแห่ง.
นายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด กล่าวว่า เรื่องของมาบตาพุดเชื่อว่าส่งผลกระทบกับทุกกองทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว เพราะพอร์ตของกองทุนส่วนใหญ่มีการลงทุนในหุ้นอย่าง บริษัท ปตท จำกัด และกลุ่มปูนซีเมนต์ไทย ที่ได้รับผลกระทบกันอยู่แล้ว ซึ่งในส่วนของเราเอง ที่ผ่านมาก็ได้ลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ลงไปบ้าง แต่ไม่มากนัก เพราะมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้เองเชื่อว่าสุดท้ายแล้ว ต้องได้รับการแก้ไข เพราะเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการจ่างงานด้วย
ทั้งนี้ มองว่าสุดท้ายแล้ว โครงการลงทุนต่างๆ จะสามารถเดินต่อไปได้ เพราะเชื่อว่าบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องเองต้องมีทางออก หรือมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการลงทุนแต่ละโครงการไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
"เรามองว่าเรื่องนี้คงไม่ถึงขั้นหยุดโครงการไปเลย เพียงแต่ชะงักไปเท่านั้น เพราะเชื่อว่าสุดท้ายแล้วเขาคงมีทางออกในแง่ของปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนผลกระทบในแง่ของราคาหุ้นที่ปรับลดลง หากพื้นฐานของหุ้นยังน่าสนใจ ก็เชื่อว่านักลงทุนจะเข้าไปลงทุนเพิ่ม รวมถึงเราเองด้วย เพราะว่าระยะยาวแล้ว ตัวบริษัทยังสามารถเติบโตต่อไปได้"นายประภาสกล่าว
นายอดิเทพ วรรณพฤกษ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการลงทุน บลจ. อเบอร์ดีน กล่าวถึงผลกระทบจากการระงับโครงการ 65 โครงการในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงไว้เป็นการชั่วคราวว่า กรณีนี้ได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะ กลุ่มบริษัทในเครือ ปตท. และ บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย เนื่องจากโครงการของทั้งสองกลุ่มไม่ได้อยู่ใน 11 โครงการที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจกรรมต่อไปได้
ทั้งนี้ การลงทุนในกลุ่ม ปตท. ของอเบอร์ดีนมีเพียง บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม เท่านั้น ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมต้นน้ำ และมีโครงการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุดไม่มาก ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดจะมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อรายได้ของ บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ในส่วนของ บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย คำสั่งของศาลปกครองสูงสุดมีผลกระทบต่อการลงทุนในศูนย์ปิโตรเคมีแห่งใหม่ของบริษัท แต่โครงการเดิมของบริษัทที่มีอยู่ ซึ่งเป็นการผลิตปิโตรเคมีและวัสดุอื่นๆ เช่น ซิเมนต์ กระดาษ วัสดุก่อสร้าง ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด โดยมูลค่าของศูนย์การผลิตปิโตรเคมีครบวงจรแห่งใหม่นี้ ทั้งหมดอยู่ที่ 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และหลังเสร็จสิ้นการก่อสร้างแล้วจะทำให้กำลังการผลิตในการแยกก๊าซเพิ่มขึ้น 58% และผลผลิตปลายน้ำจะเพิ่มขึ้น 50% ซึ่งโครงการดังกล่าวใกล้จะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ และพร้อมจะทดลองเดินเครื่อง ก่อนการผลิตเต็มตัวจะเริ่มขึ้นในไตรมาสสองของปี 2553
ดังนั้น เมื่อโครงการใหม่จะต้องล่าช้าออกไป ก็จะไม่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากส่วนนี้ในปี 2553 ซึ่งปัจจัยนี้เป็นอุปสรรคระยะสั้นสำหรับ บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย ที่ทำให้ปัจจัยหนุนการเติบโตของรายได้ในปี 2553 ต้องสูญเสียไป
อย่างไรก็ตาม อเบอร์ดีนยังคงเชื่อมั่นว่าคณะผู้บริหารของบริษัทจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ และในที่สุดรัฐบาลก็จะออกมาตรการต่างๆตามขั้นตอนและกฎหมายที่จำเป็นต่อไป
*** เผยผลสำรวจ มาบตาพุดหนุนขยยายการลงทุน
นายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อวันที่ 7ธ.ค.ที่ผ่านมา มูลนิธิฯได้ สรุปผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อกรณีมาบตาพุด ในหัวข้อ " ประชาชนมาบตาพุดต้องการอุตสาหกรรมต่อไปและแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย" เสนอต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี(ครม.)ประธานสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ
จากผลสำรวจความเห็นจากประชาชนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,107 คน พบว่า ในเชิงนโยบายประชากรส่วนใหญ่ 65.3% เห็นควรให้มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่อไป ซึ่งจากการศึกษามีเพียงหนี่งในสามที่เห็นว่าควรหยุดขยายอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามหากนับรวมผู้ที่ยังไม่แน่ใจหรือไม่มีความเห็น 22.2% แล้ว จะพบว่า ประชาชนที่เห็นว่าควรหยุดขยายตัวมีอยู่ 26.6% หรือเพียงครึ่งหนึ่งของประชาชนที่เห็นควรให้อุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดควรจะขยายตัวต่อไป 51.1% หากพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่า ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่เกิน 10 ปี ถึง 55% เห็นควรให้อุตสาหกรรมขยายตัวต่อไป แต่ยังน้อยกว่าค่าเฉลี่ยรวมที่ 65.3% สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนส่วนน้อยที่ไม่อยากให้อุตสาหกรรมขยายตัว คงคำนึงถึงความเคยชินในการอยู่อาศัยและการยึดติดกับอสังหาริมทรัพย์ที่ครอบครอง
ขณะที่ผลกระทบด้านมลพิษในมาบตาพุด ยังไม่มีพื้นที่ปนเปื้อนสารพิษ (Contamination Area) จนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ เช่น กรณีพื้นที่ปนเปื้อนอันเนื่องมาจากสนามบินเก่า เหมืองแร่ หรืออื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาพื้นที่ปนเปื้อนสารพิษยังไม่ปรากฏให้เห็น ดังนั้นการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงยังมีความเป็นไปได้สูง ที่จะบำบัดให้พื้นที่ปลอดพ้นจากมลพิษ
**จัดเวนคืนที่ดินรองรับอุตฯที่ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลควรมีการจัดเตรียมแนวทางการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ที่มีความจำเป็นในการขยายตัวของอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนนั้น อาจมีความจำเป็นต้องซื้อหรือเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งที่ดิน อาคารและที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมบางส่วนจากประชาชน โดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ใกล้กับทิศทางการขยายตัวของอุตสาหกรรม เพื่อมาเป็นพื้นที่ขยายตัวของอุตสาหกรรม และอาจเป็นพื้นที่กันชนกับพื้นที่อยู่อาศัย อันจะเป็นการป้องกันการได้รับผลกระทบจากมลพิษของประชาชนด้วย
จากการวิเคราะห์ตัวเลขและมูลค่าที่อยู่อาศัยข้างต้น กล่าวได้ว่า มูลค่าที่อยู่อาศัยและที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด จึงควรเป็นเงินประมาณ 40,211 ล้านบาท ดังนั้น หากมีการซื้อหรือเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ใกล้เขตอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องมีการขยายตัวจริง คณะนักวิจัยคาดว่าคงเป็นเงินไม่เกิน 10% ของมูลค่ารวม หรือเป็นเงินประมาณ 4,000 ล้านบาทเท่านั้น หากรัฐบาลจำเป็นต้องมีการซื้อที่ดินหรือการเวนคืน จึงมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและเอื้อประโยชน์ต่อประชาชน
ทั้งนี้ มูลนิธิฯ ได้เสนอแนะการดำเนินงานสำหรับรัฐบาล ในการแก้ปัญหาดังกล่าว คือ 1. ควรดำเนินคดีกับการปล่อยมลพิษของโรงงานหลายแห่งในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎหมายและละเมิดต่อชุมชนโดยเคร่งครัด 2. ควรจัดทำประชามติเพื่อแสดงฉันทามติและเป็นการเคารพเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน 3. ซื้อหรือเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในบริเวณที่จำเป็นสำหรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม เพื่อผลประโยชน์แก่ทุกฝ่าย โดยคำนึงถึงการจ่ายค่าทดแทนให้เหมาะสม ซึ่งอาจจ่ายสูงกว่าราคาตลาด 4. และรัฐบาลควรพิจารณาเสนอรัฐสภาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ (มาตรา 67) ซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่รับฟังเสียงของชุมชนและประชาชนในพื้นที่ แต่ถือเอาความเห็นขององค์การและสถาบันบางแห่ง.