ASTVผู้จัดการรายวัน – สกว.เผยผลวิจัย เทรนนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุมาแรง แนะเอกชน และ ภาครัฐ เตรียมพร้อมศึกษาวิธีผูกใจนักท่องเที่ยวรับมือกับการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่จะช่วงชิงเค้กก้อนใหญ่ในตลาดนี้ ระบุ อีก 10 ปีข้างหน้า จำนวนนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุพุ่งแตะ 700 ล้านคน
นายเทิดชาย ช่วยบำรุง ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวไทย เปิดเผยว่า สถาบันฯได้มีการคาดการณ์ ตัวเลขนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุจากทั่วโลกเดินทางท่องเที่ยวในปี 2563 หรืออีกราว 10 ปี ข้างหน้า จะมีจำนวนราว 700 ล้านคน โดยหากมองย้อยกลับไปดูเมื่อ 3-5 ปีที่ผ่านมานักท่องเที่ยวที่เป็นผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี ซึ่งผู้ประกอบการควรที่จะรีบศึกษาวิธีที่จะผูกมัด หรือเชิญชวนนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุให้เดินทางเข้ามาเที่ยวประเทศไทยเพิ่มขึ้น
“ผลสำรวจล่าสุดในปี 2551 พบว่า มีการเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลกราว 922 ล้านคน โดยยุโรปเป็นพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยวมากสุดประมาณ 53% รองมา คือ เอเชีย-แปซิฟิก 20% แต่มีแนวโน้มการเติบโตในโซนเอเชียแปซิฟิกมากขึ้น “ นายเทิดชาย กล่าว
ทางด้านนางสาวราณี อิสิชัยกุล นักวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวผู้สูงอายุจากทวีปยุโรปสู่ประเทศไทย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) กล่าวว่า จากการจัดเก็บสถิติพบว่า ในปี 2550 มีนักท่องเที่ยวที่เป็นผู้สูงอายุเดินทางเข้ามาประเทศไทย 2,259,161 คนคิดเป็น 15.6% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด ที่เดินทางเข้ามาในปีดังกล่าว 14,464,228 คน ซึ่งตัวเลขดังกล่าว ยังมีการเติบโตต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นเพราะจำนวนประชากรผู้สูงอายุมีเพิ่มขึ้นทุกปี
โดยสถิติดังกล่าว ยังระบุว่า นอกจากประเทศไทยแล้ว เดสติเนชั่นที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบมาก ได้แก่ เวียดนาม 39.53% ,มาเลเซีย และสิงคโปร์ 37% ฟิลิปินส์ กัมพูชา และลาว ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่าไทยมีความจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมกับการแข่งขันเพื่อช่วงชิงตลาดนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุกลุ่มนี่ให้ได้มากที่สุด
สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ ที่เดินทางมาจากยุโรป พบว่า มาจากประเทศอังกฤษมากที่สุด รองมาคือ เยอรมนี สวีเดน และ ฝรั่งเศส ตามลำดับ ในส่วนของประเทศไทย กลุ่มผู้สูงอายุที่เดินทางเข้ามาเที่ยวเป็นครั้งแรกมีสัดส่วนถึง 41.40% รองลงมา คือ มากกว่า 4 ครั้ง สัดส่วนอยู่ที่ 31.86% และมาระหว่าง 2-3 ครั้ง ประมาณ 26.74% ซึ่งแต่ละครั้งที่มาจะพำนักอยู่ในประเทศไทยนาน 15
วันขึ้นไป มีสัดส่วน 58.37% และพักระหว่าง 12-14 วัน ประมาณ 15.12% โดยแหล่งท่องเที่ยวที่คนกลุ่มนี้ชื่นชอบคือ กรุงเทพฯ สัดส่วน 59.77% เชียงใหม่ 40.93% และภูเก็ต 34.88%
สาเหตุที่เลือกประเทศไทย คือ มองว่าคนไทยมีความเป็นมิตร มีสัดส่วนสูงสุดถึง 72.79% นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเข้าพักโรงแรม 5 ดาว ชั้น หนึ่ง ถึง 47.67% ส่วนโรแงรมราคาประหยัด หรือ ระดับ 3 ดาว มีเพียง 24.19% ซึ่งการตัดสินใจเลือกเดินทางเข้ามาพักผ่อนที่ประเทศไทย เพราะ ได้ข้อมูลจากเพื่อสนิท ญาติ และคนรู้จัก สัดส่วน 46.74%
รองลงมาเป็นบริษัทนำเที่ยวหรือตัวแทนท่องเที่ยว 35.81% และ หาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 29.53% อย่างไรก็ตามความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ อันดับ หนึ่งคือเรื่องความปลอดภัย รองมาเป็นเรื่องของที่พัก สิ่งอำนวยความสะดวก และ แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่จะกระทบต่อนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ คือ ภาษาที่จะใช้สื่อสาร การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ที่บางประเทศอาจไม่ครอบคลุมถึงประเทศไทย ความพร้อมเรื่องระบบสาธารณูประโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก พฤติกรรมการเอาเปรียบหลอกลวงนักท่องเที่ยวของรถรับจ้าง รวมถึงปัญหาป้ายบอกทางที่เป็นภาษาต่างประเทศยังมีอยู่น้อยในประเทศไทย
นายเทิดชาย ช่วยบำรุง ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวไทย เปิดเผยว่า สถาบันฯได้มีการคาดการณ์ ตัวเลขนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุจากทั่วโลกเดินทางท่องเที่ยวในปี 2563 หรืออีกราว 10 ปี ข้างหน้า จะมีจำนวนราว 700 ล้านคน โดยหากมองย้อยกลับไปดูเมื่อ 3-5 ปีที่ผ่านมานักท่องเที่ยวที่เป็นผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี ซึ่งผู้ประกอบการควรที่จะรีบศึกษาวิธีที่จะผูกมัด หรือเชิญชวนนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุให้เดินทางเข้ามาเที่ยวประเทศไทยเพิ่มขึ้น
“ผลสำรวจล่าสุดในปี 2551 พบว่า มีการเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลกราว 922 ล้านคน โดยยุโรปเป็นพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยวมากสุดประมาณ 53% รองมา คือ เอเชีย-แปซิฟิก 20% แต่มีแนวโน้มการเติบโตในโซนเอเชียแปซิฟิกมากขึ้น “ นายเทิดชาย กล่าว
ทางด้านนางสาวราณี อิสิชัยกุล นักวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวผู้สูงอายุจากทวีปยุโรปสู่ประเทศไทย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) กล่าวว่า จากการจัดเก็บสถิติพบว่า ในปี 2550 มีนักท่องเที่ยวที่เป็นผู้สูงอายุเดินทางเข้ามาประเทศไทย 2,259,161 คนคิดเป็น 15.6% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด ที่เดินทางเข้ามาในปีดังกล่าว 14,464,228 คน ซึ่งตัวเลขดังกล่าว ยังมีการเติบโตต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นเพราะจำนวนประชากรผู้สูงอายุมีเพิ่มขึ้นทุกปี
โดยสถิติดังกล่าว ยังระบุว่า นอกจากประเทศไทยแล้ว เดสติเนชั่นที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบมาก ได้แก่ เวียดนาม 39.53% ,มาเลเซีย และสิงคโปร์ 37% ฟิลิปินส์ กัมพูชา และลาว ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่าไทยมีความจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมกับการแข่งขันเพื่อช่วงชิงตลาดนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุกลุ่มนี่ให้ได้มากที่สุด
สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ ที่เดินทางมาจากยุโรป พบว่า มาจากประเทศอังกฤษมากที่สุด รองมาคือ เยอรมนี สวีเดน และ ฝรั่งเศส ตามลำดับ ในส่วนของประเทศไทย กลุ่มผู้สูงอายุที่เดินทางเข้ามาเที่ยวเป็นครั้งแรกมีสัดส่วนถึง 41.40% รองลงมา คือ มากกว่า 4 ครั้ง สัดส่วนอยู่ที่ 31.86% และมาระหว่าง 2-3 ครั้ง ประมาณ 26.74% ซึ่งแต่ละครั้งที่มาจะพำนักอยู่ในประเทศไทยนาน 15
วันขึ้นไป มีสัดส่วน 58.37% และพักระหว่าง 12-14 วัน ประมาณ 15.12% โดยแหล่งท่องเที่ยวที่คนกลุ่มนี้ชื่นชอบคือ กรุงเทพฯ สัดส่วน 59.77% เชียงใหม่ 40.93% และภูเก็ต 34.88%
สาเหตุที่เลือกประเทศไทย คือ มองว่าคนไทยมีความเป็นมิตร มีสัดส่วนสูงสุดถึง 72.79% นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเข้าพักโรงแรม 5 ดาว ชั้น หนึ่ง ถึง 47.67% ส่วนโรแงรมราคาประหยัด หรือ ระดับ 3 ดาว มีเพียง 24.19% ซึ่งการตัดสินใจเลือกเดินทางเข้ามาพักผ่อนที่ประเทศไทย เพราะ ได้ข้อมูลจากเพื่อสนิท ญาติ และคนรู้จัก สัดส่วน 46.74%
รองลงมาเป็นบริษัทนำเที่ยวหรือตัวแทนท่องเที่ยว 35.81% และ หาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 29.53% อย่างไรก็ตามความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ อันดับ หนึ่งคือเรื่องความปลอดภัย รองมาเป็นเรื่องของที่พัก สิ่งอำนวยความสะดวก และ แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่จะกระทบต่อนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ คือ ภาษาที่จะใช้สื่อสาร การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ที่บางประเทศอาจไม่ครอบคลุมถึงประเทศไทย ความพร้อมเรื่องระบบสาธารณูประโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก พฤติกรรมการเอาเปรียบหลอกลวงนักท่องเที่ยวของรถรับจ้าง รวมถึงปัญหาป้ายบอกทางที่เป็นภาษาต่างประเทศยังมีอยู่น้อยในประเทศไทย