ASTVผู้จัดการรายวัน - สคร.ถก "ตลท.-ก.ล.ต." ดันบริษัทลูกรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนใน "ตลาดเอ็มเอไอ" ปีหน้า ให้บริษัทสมุนไพรไทยที่องค์การเภสัชถือหุ้นทำเป็นโครงการนำร่อง หลังพบกิจการดีมีศักยภาพและมีความต้องการเงินทุนขยายโรงงาน 1 พันล้านบาท เล็งดึง "อีแกต อินเตอร์" บริษัทลูก กฟผ.เข้าตามหลังโรงไฟฟ้าในพม่า-ลาวเปิดเดินเครื่องปั่นไฟ
นายกุลิศ สมบัติศิริ รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า สคร.จะหารือร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อตั้งคณะกรรมการร่วมกันในการพิจารณาคัดเลือกบริษัทลูก หรือบริษัทที่รัฐวิสาหกิจถือหุ้นที่มีศักยภาพ เพื่อสนับสนุนให้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอมากขึ้นในปีหน้า เป็นการเพิ่มตลาดสินค้าให้นักลงทุนมีทางเลือกมากขึ้นและเพิ่มมูลค่าในตลาด โดยคาดว่าจะหาข้อสรุปได้ภายในเดือน มี.ค.-เม.ย. 53
จากการตรวจสอบความพร้อมของรัฐวิสาหกิจทุกแห่งในเบื้องต้นพบว่าทางองค์การเภสัชกรรม เป็นรัฐวิสาหกิจที่ให้ความสนใจจะนำบริษัทที่องค์การถือหุ้นในสัดส่วน 49% คือ บริษัทสมุนไพรไทยเข้าจดทะเบียนในตลาดเอ็มเอไอเป็นแห่งแรก เนื่องจากบริษัทดังกล่าวต้องการเงินทุนเพื่อสร้างโรงงานใหม่ ซึ่งจะย้ายอยู่ที่ จ.ชลบุรี เนื่องจากมีความเหมาะสมทางด้านสถานที่และสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โดยตั้งเป้าระดมทุนในวงเงินประมาณ 800-1,000 ล้านบาท
ที่ผ่านมา การดำเนินธุรกิจของบริษัทสมุนไพรไทยมีแนวโน้มค่อนข้างดี มีผลประกอบการดีมีกำไร เนื่องจากมีการผลิตสินค้าส่งขายทั้งในและต่างประเทศ ตามกระแสรักสุขภาพที่กำลังเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก อีกทั้งยังสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การเพิ่มมูลค่าให้สินค้าที่เป็นภูมิปัญญาไทยด้วยจึงมองว่าเป็นบริษัทที่น่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุน โดยจะนัดหารือในรายละเอียดกับทางผู้บริหารของบริษัทสมุนไพรไทยต่อไปคาดสรุปได้ภายในเดือนนี้
“เท่าที่ดูข้อมูลเบื้องต้น มองว่ายังมีบริษัทลูก หรือบริษัทที่รัฐวิสาหกิจถือหุ้นแสดงความสนใจ หรือมีความพร้อมเข้าตลาดไม่มากนัก โดยกรณีของบริษัทสมุนไพรไทยนั้นน่าจะมีความเป็นไปได้ที่สุดและน่าจะเป็นโครงการนำร่องที่ สคร.ร่วมกับทางตลาดหลักทรัพย์ในการผลักดันให้มีบริษัทใหม่ๆ เข้าจดทะเบียนมากขึ้น โดยยืนยันว่าการนำบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดดังกล่าวไม่ใช่การแปรรูป ซึ่งจะมีผลดีกับทางรัฐวิสาหกิจเองที่ไม่ต้องใช้เงินองค์กรในการขยายการลงทุน ทำให้ประหยัดงบประมาณไปได้บางส่วน” นายกุลิศกล่าว
นอกจากนี้ ยังเตรียมหารือกับทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ บมจ.ปตท. ซึ่งถือเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในส่วนของ กฟผ.ที่มีแนวคิดจะนำบริษัท อีแกต อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งร่วมทุนกับรัฐบาลสหภาพพม่าและรัฐบาลลาวสร้างโรงผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ แต่ยังไม่มีรายได้เข้ามา ซึ่งหากมีกระแสเงินสดหมุนเวียนเมื่อไหร่ ก็จะนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้
“เท่าที่ตรวจสอบในเบื้องต้นมี กฟผ.ที่ให้ความสนใจนำ อีแกต อินเตอร์ฯ ที่ลงทุนผลิตไฟฟ้าในประเทศลาวและพม่า เข้าจดทะเบียน แต่เท่าที่พิจารณาเบื้องต้นเห็นว่าบริษัทดังกล่าวยังไม่มีรายได้เข้ามา เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นก่อสร้างของการลงทุนจึงยัง ไม่มีกิจกรรมที่สร้างรายได้พอที่จะเป็นฐานในการเข้าจดทะเบียน แต่ทางสคร.จะหารือกับทางอีแกตอีกทั้ง รวมทั้งกรณีของ ปตท.ด้วย” นายกุลิศกล่าว.
นายกุลิศ สมบัติศิริ รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า สคร.จะหารือร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อตั้งคณะกรรมการร่วมกันในการพิจารณาคัดเลือกบริษัทลูก หรือบริษัทที่รัฐวิสาหกิจถือหุ้นที่มีศักยภาพ เพื่อสนับสนุนให้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอมากขึ้นในปีหน้า เป็นการเพิ่มตลาดสินค้าให้นักลงทุนมีทางเลือกมากขึ้นและเพิ่มมูลค่าในตลาด โดยคาดว่าจะหาข้อสรุปได้ภายในเดือน มี.ค.-เม.ย. 53
จากการตรวจสอบความพร้อมของรัฐวิสาหกิจทุกแห่งในเบื้องต้นพบว่าทางองค์การเภสัชกรรม เป็นรัฐวิสาหกิจที่ให้ความสนใจจะนำบริษัทที่องค์การถือหุ้นในสัดส่วน 49% คือ บริษัทสมุนไพรไทยเข้าจดทะเบียนในตลาดเอ็มเอไอเป็นแห่งแรก เนื่องจากบริษัทดังกล่าวต้องการเงินทุนเพื่อสร้างโรงงานใหม่ ซึ่งจะย้ายอยู่ที่ จ.ชลบุรี เนื่องจากมีความเหมาะสมทางด้านสถานที่และสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โดยตั้งเป้าระดมทุนในวงเงินประมาณ 800-1,000 ล้านบาท
ที่ผ่านมา การดำเนินธุรกิจของบริษัทสมุนไพรไทยมีแนวโน้มค่อนข้างดี มีผลประกอบการดีมีกำไร เนื่องจากมีการผลิตสินค้าส่งขายทั้งในและต่างประเทศ ตามกระแสรักสุขภาพที่กำลังเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก อีกทั้งยังสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การเพิ่มมูลค่าให้สินค้าที่เป็นภูมิปัญญาไทยด้วยจึงมองว่าเป็นบริษัทที่น่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุน โดยจะนัดหารือในรายละเอียดกับทางผู้บริหารของบริษัทสมุนไพรไทยต่อไปคาดสรุปได้ภายในเดือนนี้
“เท่าที่ดูข้อมูลเบื้องต้น มองว่ายังมีบริษัทลูก หรือบริษัทที่รัฐวิสาหกิจถือหุ้นแสดงความสนใจ หรือมีความพร้อมเข้าตลาดไม่มากนัก โดยกรณีของบริษัทสมุนไพรไทยนั้นน่าจะมีความเป็นไปได้ที่สุดและน่าจะเป็นโครงการนำร่องที่ สคร.ร่วมกับทางตลาดหลักทรัพย์ในการผลักดันให้มีบริษัทใหม่ๆ เข้าจดทะเบียนมากขึ้น โดยยืนยันว่าการนำบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดดังกล่าวไม่ใช่การแปรรูป ซึ่งจะมีผลดีกับทางรัฐวิสาหกิจเองที่ไม่ต้องใช้เงินองค์กรในการขยายการลงทุน ทำให้ประหยัดงบประมาณไปได้บางส่วน” นายกุลิศกล่าว
นอกจากนี้ ยังเตรียมหารือกับทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ บมจ.ปตท. ซึ่งถือเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีบริษัทลูกที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในส่วนของ กฟผ.ที่มีแนวคิดจะนำบริษัท อีแกต อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งร่วมทุนกับรัฐบาลสหภาพพม่าและรัฐบาลลาวสร้างโรงผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ แต่ยังไม่มีรายได้เข้ามา ซึ่งหากมีกระแสเงินสดหมุนเวียนเมื่อไหร่ ก็จะนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้
“เท่าที่ตรวจสอบในเบื้องต้นมี กฟผ.ที่ให้ความสนใจนำ อีแกต อินเตอร์ฯ ที่ลงทุนผลิตไฟฟ้าในประเทศลาวและพม่า เข้าจดทะเบียน แต่เท่าที่พิจารณาเบื้องต้นเห็นว่าบริษัทดังกล่าวยังไม่มีรายได้เข้ามา เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นก่อสร้างของการลงทุนจึงยัง ไม่มีกิจกรรมที่สร้างรายได้พอที่จะเป็นฐานในการเข้าจดทะเบียน แต่ทางสคร.จะหารือกับทางอีแกตอีกทั้ง รวมทั้งกรณีของ ปตท.ด้วย” นายกุลิศกล่าว.