ASTVผู้จัดการรายวัน-ประธานกลุ่มกองทุนสำรองฯ ชี้กอช. เกิดยาก เหตุการจัดเก็บข้อมูลลำบาก ภาครัฐควรบังคับลูกจ้างในะระบบที่ไม่มีสวัสดิการก่อนขยายไปอาชีพอิสระ พร้อมแนะสมาชิกเกษียณอายุ รอความชัดเจนทางภาษีก่อนตัดสินใจคงเงินในกองทุนต่อ ระบุการแข่งขันค่าฟีในการบริหารกองทุนยังสูง นักลงทุนควรดูที่คุณภาพการบริหารงานมากกว่าราคา
นางสาวอารยา ธีระโกเมน กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ทิสโก้ จำกัด ในฐานะประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน เปิดเผยว่า การคงเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภายหลังเกษียณขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนในส่วนของสิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีที่เกษียณอายุไปแล้ว โดยนักลงทุนยังกังวลว่าหลังจากนี้เงินลงทุนหรือดอกผลที่ได้จากการลงทุนจะได้รับการยกเว้นภาษีหรือไม่ ซึ่งตราบใดที่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ แนะนำว่าอยากให้รอความชัดเจนก่อนที่จะคงเงินลงทุนเอาไว้เกินกว่ากำหนดที่ได้สิทธิทางภาษีดังกล่าว
ส่วนความคืบหน้าของการก่อตั้งกองทุนการออมชราภาพ(กอช.) ที่ทางกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองฯ ได้ร่วมจัดทำกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากเดิม ภาครัฐต้องการให้เริ่มจากทุกสาขาอาชีพ หรือเริ่มจากระดับรากหญ้า ซึ่งคนเหล่านี้ยังไม่เข้าสู่ฐานภาษีจึงเป็นการยากต่อการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ แต่เข้าใจว่าความต้องการของภาครัฐ เพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างรายได้และสร้างสวัสดิการไว้ในยามเกษียณ
"มันไม่ได้เริ่มจากคนที่อยู่ในระบบฐานภาษีที่มีนายจ้าง และปัจจุบันจากข้อมูลของประกันสังคมมีประมาณ 9 ล้านคนที่อยุ่ในระบบ แต่จริงๆตัวเลขของคนเหล่านี้มีอยู่ประมาณ 12-13 ล้านคน ซึ่งยังมีอีกเกือบ 7 ล้านคนที่ยังไม่มีระบบสวัสดิการ โดยมันน่าจะเริ่มเป็นภาคบังคับกับคนพวกนี้ก่อนที่จะปรับมาเริ่มกับอาชีพ พ่อค้า แม่ค้า หรืออาชีพอิสระอื่นๆ อย่างมอเตอร์ไซด์รับจ้าง"นาสาวอารยากล่าว
นางสาวอารยา กล่าวอีกว่า ภาพร่วมการแข่งขันของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหากมีการตั้งกองทุนประเภทนี้จริงเชื่อว่า น่าจะมีเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเม็ดเงินที่เข้ามาในระบบจะมีจำนวนมากขึ้น อย่างไรก็ตามน่าจะเปิดการแข่งขันให้เป็นไปตามกลไกตลาดมากที่สุด ซึ่งหากมีความต้องการเพิ่มขึ้นจริงต้องถามว่าซัพพลายหรือตัวเลือกในการลงทุนขณะนี้มีพอหรือไม่
"มันเป็นผลดีแน่ถ้าจะมีเงินเข้ามาในตลาดทุนมากขึ้น แต่ภาครัฐต้องมองด้วยว่าซับพลายมันมีพอหรือไม่ อย่างที่เราเห็นตลาดทุนบ้านเรามันเล็กนิดเดียวถ้ามีเงินเข้ามาเพิ่มมันจะพอหรือเปล่าอันนี้เป็นเรื่องที่ต้องเปิดมากขึ้น"นางสาวอารยากล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการแค่งขันด้านค่าธรรมเนียม(ค่าฟี) ในปัจจุบันถือว่ายังอยู่ในระดับสูง ซึ่งหากนักลงทุนยังมองเรื่องนี้เป็นหลักบางครั้งก็จะได้การบริหารงานที่ไม่มีคุณภาพ โดยการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะต้องดูในเรื่องคุณภาพของการบริหารงานเป็นหลัก และหากดูผลงานของบริษัทในปีที่ผานมาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้อย่างดี และต้องใช่เวลาในการพิจารณาด้วย
"เรื่องการแข่งขันค่าฟีเราจะคุยกันในระดับผู้ประกอบการ ซึ่งแต่ละที่ละแห่งก็มีวิธีไม่เหมือนกัน บางทีก็คิดต่ำมากหรือให้ออฟชั่นเพิ่ม ซึ่งนักลงทุนต้องพิจารณาให้ดีว่ามันต้องดูที่คุณภาพเป็นหลัก"นางสาวอารยากล่าว
นางสาวอารยา ธีระโกเมน กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ทิสโก้ จำกัด ในฐานะประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน เปิดเผยว่า การคงเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภายหลังเกษียณขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนในส่วนของสิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีที่เกษียณอายุไปแล้ว โดยนักลงทุนยังกังวลว่าหลังจากนี้เงินลงทุนหรือดอกผลที่ได้จากการลงทุนจะได้รับการยกเว้นภาษีหรือไม่ ซึ่งตราบใดที่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ แนะนำว่าอยากให้รอความชัดเจนก่อนที่จะคงเงินลงทุนเอาไว้เกินกว่ากำหนดที่ได้สิทธิทางภาษีดังกล่าว
ส่วนความคืบหน้าของการก่อตั้งกองทุนการออมชราภาพ(กอช.) ที่ทางกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองฯ ได้ร่วมจัดทำกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากเดิม ภาครัฐต้องการให้เริ่มจากทุกสาขาอาชีพ หรือเริ่มจากระดับรากหญ้า ซึ่งคนเหล่านี้ยังไม่เข้าสู่ฐานภาษีจึงเป็นการยากต่อการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ แต่เข้าใจว่าความต้องการของภาครัฐ เพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างรายได้และสร้างสวัสดิการไว้ในยามเกษียณ
"มันไม่ได้เริ่มจากคนที่อยู่ในระบบฐานภาษีที่มีนายจ้าง และปัจจุบันจากข้อมูลของประกันสังคมมีประมาณ 9 ล้านคนที่อยุ่ในระบบ แต่จริงๆตัวเลขของคนเหล่านี้มีอยู่ประมาณ 12-13 ล้านคน ซึ่งยังมีอีกเกือบ 7 ล้านคนที่ยังไม่มีระบบสวัสดิการ โดยมันน่าจะเริ่มเป็นภาคบังคับกับคนพวกนี้ก่อนที่จะปรับมาเริ่มกับอาชีพ พ่อค้า แม่ค้า หรืออาชีพอิสระอื่นๆ อย่างมอเตอร์ไซด์รับจ้าง"นาสาวอารยากล่าว
นางสาวอารยา กล่าวอีกว่า ภาพร่วมการแข่งขันของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหากมีการตั้งกองทุนประเภทนี้จริงเชื่อว่า น่าจะมีเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเม็ดเงินที่เข้ามาในระบบจะมีจำนวนมากขึ้น อย่างไรก็ตามน่าจะเปิดการแข่งขันให้เป็นไปตามกลไกตลาดมากที่สุด ซึ่งหากมีความต้องการเพิ่มขึ้นจริงต้องถามว่าซัพพลายหรือตัวเลือกในการลงทุนขณะนี้มีพอหรือไม่
"มันเป็นผลดีแน่ถ้าจะมีเงินเข้ามาในตลาดทุนมากขึ้น แต่ภาครัฐต้องมองด้วยว่าซับพลายมันมีพอหรือไม่ อย่างที่เราเห็นตลาดทุนบ้านเรามันเล็กนิดเดียวถ้ามีเงินเข้ามาเพิ่มมันจะพอหรือเปล่าอันนี้เป็นเรื่องที่ต้องเปิดมากขึ้น"นางสาวอารยากล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการแค่งขันด้านค่าธรรมเนียม(ค่าฟี) ในปัจจุบันถือว่ายังอยู่ในระดับสูง ซึ่งหากนักลงทุนยังมองเรื่องนี้เป็นหลักบางครั้งก็จะได้การบริหารงานที่ไม่มีคุณภาพ โดยการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะต้องดูในเรื่องคุณภาพของการบริหารงานเป็นหลัก และหากดูผลงานของบริษัทในปีที่ผานมาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้อย่างดี และต้องใช่เวลาในการพิจารณาด้วย
"เรื่องการแข่งขันค่าฟีเราจะคุยกันในระดับผู้ประกอบการ ซึ่งแต่ละที่ละแห่งก็มีวิธีไม่เหมือนกัน บางทีก็คิดต่ำมากหรือให้ออฟชั่นเพิ่ม ซึ่งนักลงทุนต้องพิจารณาให้ดีว่ามันต้องดูที่คุณภาพเป็นหลัก"นางสาวอารยากล่าว