ASTVผู้จัดการรายวัน-“พรทิวา”อ้อน “มาร์ค” ช่วยผลักดันกฎหมายค้าปลีกที่เข้าสู่การพิจารณาของครม.วันนี้ เหตุไม่สามารถอยู่ชี้แจงได้ ต้องบินไปประชุมรัฐมนตรี WTO มั่นใจเป็นร่างกฎหมายที่ดีที่สุด เพราะได้ทำประชาพิจารณ์เปิดให้คนเกี่ยวข้องทั้งประเทศร่วมยกร่าง จับตาครม.จะเลือกอุ้มนายทุนหรือช่วยโชห่วย หลังรัฐบาลท่าทีเปลี่ยน พิลึก! สมาคมผู้ค้าปลีกไทยเชียร์ร่างทีทีอาร์ออกนอกหน้า
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ร่างปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ. ... จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ (1 ธ.ค.) ซึ่งอยากฝากให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ช่วยดูแลและผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้ เพราะเป็นร่างกฎหมายที่กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล และมติครม.ที่ให้เร่งรัดการจัดทำกฎหมาย โดยมั่นใจว่าเป็นร่างกฎหมายที่ดีที่สุด หลังจากที่ได้ผ่านการจัดทำประชาพิจารณ์เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนทั่วประเทศได้เข้ามามีส่วนร่วมในการยกร่างกฎหมายฉบับนี้
“ว่าจะฝากให้ท่านอลงกรณ์ (พลบุตร รมช.พาณิชย์) ช่วยผลักดันให้ แต่เกรงว่าท่านจะบอกว่าไม่ได้ดูแลกรมนี้ (กรมการค้าภายใน ซึ่งรับผิดชอบการออกกฎหมาย) ก็เลยฝากกับท่านนายกฯ เลยดีกว่า ขอให้ท่านช่วยผลักดันให้ด้วย เพราะนโยบายรัฐบาลก็ชัด มติครม.ก็ชัด ว่าต้องมีกฎหมายฉบับนี้ ส่วนที่ไม่ได้อยู่ผลักดันด้วยตัวเอง เนื่องจากต้องไปประชุมรัฐมนตรี WTO ที่เจนีวา รู้สึกเสียดายเหมือนกัน แต่ก็หวังว่าท่านนายกฯ จะเห็นความสำคัญ”นางพรทิวากล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า คงต้องจับตาดูท่าทีของรัฐบาลว่าจะมีมติในเรื่องกฎหมายค้าปลีกอย่างไร เพราะเริ่มมีสัญญาณชี้ชัดว่ากำลังหาทางชะลอการออกกฎหมายฉบับนี้อย่างชัดเจน เริ่มจากอยู่ดีๆ ก็มีร่างกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง ยกร่างโดยนายเกีรยติ สิทธิอมร ประธานผู้แทนการค้าไทย (ทีทีอาร์) ทั้งๆ ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ขณะที่ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี ก็ออกมาระบุชัดเจนว่าให้นำร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับไปพิจารณารวมกัน แม้ว่ากฎหมายจะยังไม่เข้าสู่การพิจารณาของครม. ที่สำคัญทีทีอาร์เอง ก็ออกมาระบุว่ากฎหมายของตัวเองดีที่สุด ทั้งๆ ที่เนื้อหาสาระเป็นการก๊อปปี้ร่างเดิมที่กระทรวงพาณิชย์ทำไว้เมื่อ 4-5 ปีที่แล้วมาใช้
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการวางแผนหาทางชะลอการออกกฎหมายด้วยการยอมให้เข้าสู่การพิจารณาของครม.ในวันนี้ แต่จะผลักดันให้ครม. มีมติให้นำร่างกฎหมายฉบับพาณิชย์ กับร่างกฎหมายฉบับทีทีอาร์ ไปพิจารณารวมกันในคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) อีกครั้ง
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับเนื้อหาของกฎหมายค้าปลีกที่ได้มีการปรับปรุง ได้กำหนดการขออนุญาตตั้ง หรือขยายสาขาโดยแบ่งขนาดเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ร้านค้าขนาดใหญ่มาก พื้นที่ 3,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องมีระยะห่างจากเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 10 กม. เวลาเปิดปิด 12-16 ชั่วโมง ร้านค้าขนาดใหญ่ พื้นที่ 1,000-2,999 ตารางเมตร ต้องห่างเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 5 กม. เวลาเปิดปิด 12-16 ชั่วโมง ร้านค้าขนาดกลางพื้นที่ 300-999 ตารางเมตร ต้องห่างจากเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 3 กม. เวลาเปิดปิด 12-16 ชั่วโมง และร้านค้าขนาดเล็ก พื้นที่ 120-299 ตารางเมตร ต้องห่างจากเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 1 กม.ไม่กำหนดระยะเวลาเปิดปิด
ขณะเดียวกัน จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการกลางกำกับดูแลค้าปลีกค้าส่ง กำกับดูแลภาพรวมของนโยบาย และคณะกรรมการระดับจังหวัด กำกับดูแลเรื่องการขยายสาขาธุรกิจค้าปลีกค้าส่งให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ รวมถึงจะมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาค้าปลีกรายย่อย
นายธนภณ ตังคณานันท์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า ร่างกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ยังขาดความสมบูรณ์ชัดเจนในเรื่องของการกำหนดเกณฑ์ในการขออนุญาตจัดตั้งและขยายสาขาของค้าปลีกสมัยใหม่ ที่อาจจะสร้างปัญหาในเชิงปฏิบัติให้กับข้าราชการได้ แต่ร่างของทีทีอาร์ ได้กำหนดให้ออกเป็นกฎกระทรวง และการขออนุญาตให้คำนึงถึงการอยู่ร่วมกันของรายใหญ่และรายย่อย ซึ่งทีทีอาร์ได้ศึกษาปัญหาในหลายประเทศ และนำมาปรับใช้กับไทย และยังเห็นว่าคณะกรรมการที่ดูแลกฎหมาย ไม่ควรจะให้ฝ่ายการเมืองเข้ามามีส่วนร่วม
“เนื้อหากฎหมายของพาณิชย์มุ่งควบคุมและจำกัดการขยายสาขาของค้าปลีกรายใหญ่ ซึ่งการทำเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าโชห่วยจะมีรายได้ดีขึ้น เพราะในระบบค้าปลีก มีผู้เกี่ยวข้องมาก ไม่ใช่มีแค่รายใหญ่ รายเล็ก แต่ยังมีผู้ผลิต พ่อค้าคนกลาง และผู้บริโภค หากเข้าไปคุมอย่างเข้มงวด จะทำให้ธุรกิจค้าปลีกกระทบ เพราะพ่อค้าคนกลางจะกลับมาคุมตลาดอีกครั้ง ทำให้สินค้าขาดตลาด ผู้บริโภคจะเสียเปรียบในที่สุด”นายธนภณกล่าว
ขณะที่ นายชาติวิทย์ มงคลเสน นายกสมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย ยืนยันไม่เห็นด้วยกับพรบ.ค้าปลีกฯ ว่าผู้บริโภคจะต้องซื้อของแพง การต่อต้านห้างค้าปลีกสมัยใหม่ ประเด็นหลักไม่ใช่อยู่ที่การแข่งขันระหว่างร้านค้าใหญ่และผู้ค้ารายย่อย หากแต่อยู่ที่ความต้องการของกลุ่มผู้ผลิตและกลุ่มพ่อค้าคนกลางที่ต้องการผลกำไรสูงสุดของตนต่อไป โดยไม่ยอมมอบอำนาจการตัดสินใจให้ผู้บริโภคนั่นเอง
แหล่งข่าวจากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ กล่าวว่า พรบ.ค้าปลีกฯ ที่กระทรวงพาณิชย์กำลังผลักดันนั้น อยากให้ศึกษาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างถ่องแท้ก่อนออกกฎหมาย เพื่อไม่ให้จำกัดสิทธิผู้บริโภค และกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาของภาคธุรกิจค้าปลีก แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายว่าที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์บอกแต่ว่าค้าปลีกสมัยใหม่ขยายตัวรวดเร็ว กระทรวงได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการรายย่อยเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องออกกฎหมาย ซึ่งทางผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดใหญ่พยายามอธิบายให้รัฐเข้าใจมาโดยตลอดว่าปัจจุบันไทยมีประชากร 67 ล้านคน มูลค่า GDP ที่ 4.5 ล้าน ล้านบาทเหมือนเมื่อสิบห้าปีที่แล้ว ดังนั้น กฎหมายที่จะออกมาจะต้องเป็นผลดีสำหรับผู้บริโภค และเศรษฐกิจโดยรวม ไม่ใช่ออกกฎหมายมาเพียงเพื่อจำกัดสิทธิของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่เพียงอย่างเดียว
สำหรับธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท แต่ผลจากการที่ประเทศไทย ไม่มีกฎหมายออกมาควบคุมการแข่งขัน ส่งผลให้รายได้ส่วนใหญ่ตกอยู่กับผู้ประกอบการขนาดใหญ่เพียง 5-6 ราย และมีการขยายสาขาแข่งขันกับร้านค้าปลีกรายย่อย หรือโชห่วย จนต้องปิดกิจการจำนวนมาก โดยข้อมูลการขยายสาขาของห้างค้าปลีกสมัยใหม่จากกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าตั้งแต่ปี 2548 ถึงเดือนก.ค.2552 มีการขยายสาขาเกิดขึ้นมากมาย โดยมี เทสโก้ โลตัสเพิ่มสาขามากสุดจากปี 2548 มี 184 แห่ง เป็น 633 แห่ง บิ๊กซี 50 แห่ง เป็น 77 แห่ง คาร์ฟูร์ 23 แห่ง เป็น 34 แห่ง แม็คโคร 29 แห่ง เป็น 42 แห่ง ท็อป ซูเปอร์มาร์เก็ต 81 แห่ง เป็น 109 แห่ง และเซเว่น อีเลฟเว่น 3,311 แห่ง เป็น 4,943 แห่ง
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ร่างปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ. ... จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ (1 ธ.ค.) ซึ่งอยากฝากให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ช่วยดูแลและผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้ เพราะเป็นร่างกฎหมายที่กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล และมติครม.ที่ให้เร่งรัดการจัดทำกฎหมาย โดยมั่นใจว่าเป็นร่างกฎหมายที่ดีที่สุด หลังจากที่ได้ผ่านการจัดทำประชาพิจารณ์เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนทั่วประเทศได้เข้ามามีส่วนร่วมในการยกร่างกฎหมายฉบับนี้
“ว่าจะฝากให้ท่านอลงกรณ์ (พลบุตร รมช.พาณิชย์) ช่วยผลักดันให้ แต่เกรงว่าท่านจะบอกว่าไม่ได้ดูแลกรมนี้ (กรมการค้าภายใน ซึ่งรับผิดชอบการออกกฎหมาย) ก็เลยฝากกับท่านนายกฯ เลยดีกว่า ขอให้ท่านช่วยผลักดันให้ด้วย เพราะนโยบายรัฐบาลก็ชัด มติครม.ก็ชัด ว่าต้องมีกฎหมายฉบับนี้ ส่วนที่ไม่ได้อยู่ผลักดันด้วยตัวเอง เนื่องจากต้องไปประชุมรัฐมนตรี WTO ที่เจนีวา รู้สึกเสียดายเหมือนกัน แต่ก็หวังว่าท่านนายกฯ จะเห็นความสำคัญ”นางพรทิวากล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า คงต้องจับตาดูท่าทีของรัฐบาลว่าจะมีมติในเรื่องกฎหมายค้าปลีกอย่างไร เพราะเริ่มมีสัญญาณชี้ชัดว่ากำลังหาทางชะลอการออกกฎหมายฉบับนี้อย่างชัดเจน เริ่มจากอยู่ดีๆ ก็มีร่างกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง ยกร่างโดยนายเกีรยติ สิทธิอมร ประธานผู้แทนการค้าไทย (ทีทีอาร์) ทั้งๆ ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ขณะที่ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี ก็ออกมาระบุชัดเจนว่าให้นำร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับไปพิจารณารวมกัน แม้ว่ากฎหมายจะยังไม่เข้าสู่การพิจารณาของครม. ที่สำคัญทีทีอาร์เอง ก็ออกมาระบุว่ากฎหมายของตัวเองดีที่สุด ทั้งๆ ที่เนื้อหาสาระเป็นการก๊อปปี้ร่างเดิมที่กระทรวงพาณิชย์ทำไว้เมื่อ 4-5 ปีที่แล้วมาใช้
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการวางแผนหาทางชะลอการออกกฎหมายด้วยการยอมให้เข้าสู่การพิจารณาของครม.ในวันนี้ แต่จะผลักดันให้ครม. มีมติให้นำร่างกฎหมายฉบับพาณิชย์ กับร่างกฎหมายฉบับทีทีอาร์ ไปพิจารณารวมกันในคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) อีกครั้ง
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับเนื้อหาของกฎหมายค้าปลีกที่ได้มีการปรับปรุง ได้กำหนดการขออนุญาตตั้ง หรือขยายสาขาโดยแบ่งขนาดเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ร้านค้าขนาดใหญ่มาก พื้นที่ 3,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องมีระยะห่างจากเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 10 กม. เวลาเปิดปิด 12-16 ชั่วโมง ร้านค้าขนาดใหญ่ พื้นที่ 1,000-2,999 ตารางเมตร ต้องห่างเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 5 กม. เวลาเปิดปิด 12-16 ชั่วโมง ร้านค้าขนาดกลางพื้นที่ 300-999 ตารางเมตร ต้องห่างจากเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 3 กม. เวลาเปิดปิด 12-16 ชั่วโมง และร้านค้าขนาดเล็ก พื้นที่ 120-299 ตารางเมตร ต้องห่างจากเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 1 กม.ไม่กำหนดระยะเวลาเปิดปิด
ขณะเดียวกัน จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการกลางกำกับดูแลค้าปลีกค้าส่ง กำกับดูแลภาพรวมของนโยบาย และคณะกรรมการระดับจังหวัด กำกับดูแลเรื่องการขยายสาขาธุรกิจค้าปลีกค้าส่งให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ รวมถึงจะมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาค้าปลีกรายย่อย
นายธนภณ ตังคณานันท์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า ร่างกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ยังขาดความสมบูรณ์ชัดเจนในเรื่องของการกำหนดเกณฑ์ในการขออนุญาตจัดตั้งและขยายสาขาของค้าปลีกสมัยใหม่ ที่อาจจะสร้างปัญหาในเชิงปฏิบัติให้กับข้าราชการได้ แต่ร่างของทีทีอาร์ ได้กำหนดให้ออกเป็นกฎกระทรวง และการขออนุญาตให้คำนึงถึงการอยู่ร่วมกันของรายใหญ่และรายย่อย ซึ่งทีทีอาร์ได้ศึกษาปัญหาในหลายประเทศ และนำมาปรับใช้กับไทย และยังเห็นว่าคณะกรรมการที่ดูแลกฎหมาย ไม่ควรจะให้ฝ่ายการเมืองเข้ามามีส่วนร่วม
“เนื้อหากฎหมายของพาณิชย์มุ่งควบคุมและจำกัดการขยายสาขาของค้าปลีกรายใหญ่ ซึ่งการทำเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าโชห่วยจะมีรายได้ดีขึ้น เพราะในระบบค้าปลีก มีผู้เกี่ยวข้องมาก ไม่ใช่มีแค่รายใหญ่ รายเล็ก แต่ยังมีผู้ผลิต พ่อค้าคนกลาง และผู้บริโภค หากเข้าไปคุมอย่างเข้มงวด จะทำให้ธุรกิจค้าปลีกกระทบ เพราะพ่อค้าคนกลางจะกลับมาคุมตลาดอีกครั้ง ทำให้สินค้าขาดตลาด ผู้บริโภคจะเสียเปรียบในที่สุด”นายธนภณกล่าว
ขณะที่ นายชาติวิทย์ มงคลเสน นายกสมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย ยืนยันไม่เห็นด้วยกับพรบ.ค้าปลีกฯ ว่าผู้บริโภคจะต้องซื้อของแพง การต่อต้านห้างค้าปลีกสมัยใหม่ ประเด็นหลักไม่ใช่อยู่ที่การแข่งขันระหว่างร้านค้าใหญ่และผู้ค้ารายย่อย หากแต่อยู่ที่ความต้องการของกลุ่มผู้ผลิตและกลุ่มพ่อค้าคนกลางที่ต้องการผลกำไรสูงสุดของตนต่อไป โดยไม่ยอมมอบอำนาจการตัดสินใจให้ผู้บริโภคนั่นเอง
แหล่งข่าวจากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ กล่าวว่า พรบ.ค้าปลีกฯ ที่กระทรวงพาณิชย์กำลังผลักดันนั้น อยากให้ศึกษาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างถ่องแท้ก่อนออกกฎหมาย เพื่อไม่ให้จำกัดสิทธิผู้บริโภค และกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาของภาคธุรกิจค้าปลีก แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายว่าที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์บอกแต่ว่าค้าปลีกสมัยใหม่ขยายตัวรวดเร็ว กระทรวงได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการรายย่อยเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องออกกฎหมาย ซึ่งทางผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดใหญ่พยายามอธิบายให้รัฐเข้าใจมาโดยตลอดว่าปัจจุบันไทยมีประชากร 67 ล้านคน มูลค่า GDP ที่ 4.5 ล้าน ล้านบาทเหมือนเมื่อสิบห้าปีที่แล้ว ดังนั้น กฎหมายที่จะออกมาจะต้องเป็นผลดีสำหรับผู้บริโภค และเศรษฐกิจโดยรวม ไม่ใช่ออกกฎหมายมาเพียงเพื่อจำกัดสิทธิของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่เพียงอย่างเดียว
สำหรับธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท แต่ผลจากการที่ประเทศไทย ไม่มีกฎหมายออกมาควบคุมการแข่งขัน ส่งผลให้รายได้ส่วนใหญ่ตกอยู่กับผู้ประกอบการขนาดใหญ่เพียง 5-6 ราย และมีการขยายสาขาแข่งขันกับร้านค้าปลีกรายย่อย หรือโชห่วย จนต้องปิดกิจการจำนวนมาก โดยข้อมูลการขยายสาขาของห้างค้าปลีกสมัยใหม่จากกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าตั้งแต่ปี 2548 ถึงเดือนก.ค.2552 มีการขยายสาขาเกิดขึ้นมากมาย โดยมี เทสโก้ โลตัสเพิ่มสาขามากสุดจากปี 2548 มี 184 แห่ง เป็น 633 แห่ง บิ๊กซี 50 แห่ง เป็น 77 แห่ง คาร์ฟูร์ 23 แห่ง เป็น 34 แห่ง แม็คโคร 29 แห่ง เป็น 42 แห่ง ท็อป ซูเปอร์มาร์เก็ต 81 แห่ง เป็น 109 แห่ง และเซเว่น อีเลฟเว่น 3,311 แห่ง เป็น 4,943 แห่ง