โชห่วยกินแห้ว! ครม.ไม่พิจารณากฎหมายค้าปลีก “อภิสิทธิ์”สั่งให้รวมร่างพาณิชย์กับร่างของผู้แทนการค้าไทยเข้าด้วยกันก่อนเสนอครม.ใหม่ ส่งผลให้การออกกฎหมายต้องล่าช้าออกไปอีก ขณะที่ห้างค้างปลีกยอมรับการออกพรบ.ค้าปลีกฯแต่ขอให้รัฐพิจารณาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจหวั่นไปกระทบสิทธิการบริโภคของประชาชน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วานนี้ (ครม.) ยังไม่ได้มีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ. … เพราะรัฐบาลต้องการให้นำร่างกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ และร่างกฎหมายที่ประธานผู้แทนการค้าไทยได้จัดทำขึ้น นำมารวมเป็นฉบับเดียวกัน ก่อนนำเสนอให้ครม.พิจารณาอีกครั้ง เพราะได้ให้นโยบายไปแล้วว่า กฎหมายนี้ต้องมีความชัดเจน ไม่ใช่ร่างกฎหมายขึ้นเพื่อให้อำนาจกรรมการไปทั้งหมด และมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ผลจากการที่ครม. ไม่ได้มีการพิจารณากฎหมายค้าปลีกในครั้งนี้ และนายกฯ ได้สั่งการให้นำร่างกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ไปรวมกับร่างกฎหมายของผู้แทนการค้าไทย ทำให้การออกกฎหมายค้าปลีกต้องล่าช้าออกไปอีก เพราะกว่าจะนำร่างทั้ง 2 ฉบับมารวมกันได้ คงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร และทำให้การดูแลผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อย (โชห่วย) ต้องล่าช้าออกไปอีก
ก่อนหน้านี้ ครม.ได้มีมติให้กระทรวงพาณิชย์ไปยกร่างกฎหมายค้าปลีกให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน และให้ส่งร่างกฎหมายให้ครม.พิจารณาภายในกลางเดือนพ.ย.นี้ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการตามมติครม.อย่างเคร่งครัด และสามารถยกร่างกฎหมายได้แล้วเสร็จตามที่ครม.กำหนดไว้
สำหรับสาระของร่างกฎหมายค้าปลีก ที่ทำเสร็จแล้ว และได้เสนอบรรจุเป็นวาระให้ครม.พิจารณานั้น มีสาระสำคัญๆ ดังนี้ คือ การกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องการขออนุญาตตั้งหรือขยายสาขา โดยแบ่งขนาดเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ร้านค้าขนาดใหญ่มาก พื้นที่ 3,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องมีระยะห่างจากเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 10 กม. เวลาเปิดปิด 12-16 ชั่วโมง ร้านค้าขนาดใหญ่ พื้นที่ 1,000-2,999 ตารางเมตร ต้องห่างเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 5 กม. เวลาเปิดปิด 12-16 ชั่วโมง ร้านค้าขนาดกลางพื้นที่ 300-999 ตารางเมตร ต้องห่างจากเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 3 กม. เวลาเปิดปิด 12-16 ชั่วโมง และร้านค้าขนาดเล็ก พื้นที่ 120-299 ตารางเมตร ต้องห่างจากเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 1 กม.ไม่กำหนดระยะเวลาเปิดปิด
อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาระยะเวลาเปิดปิด ได้ให้สิทธิคณะกรรมการระดับจังหวัดของแต่ละพื้นที่ พิจารณาเปิดปิดได้ตามความเหมาะสมอีกครั้ง ส่วนตลาดสดและร้านค้าสหกรณ์ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องขออนุญาตการจัดตั้งหรือขยายสาขาภายใต้กฎหมายฉบับนี้
ขณะเดียวกัน ได้เสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุดเพื่อทำหน้าที่ดูแลกฎหมายค้าปลีก ได้แก่ คณะกรรมการกลางกำกับดูแลค้าปลีกค้าส่งกำกับดูแลภาพรวมของนโยบาย และคณะกรรมการระดับจังหวัด กำกับดูแลเรื่องการขยายสาขาธุรกิจค้าปลีกค้าส่งให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ รวมถึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาค้าปลีกรายย่อยของไทยด้วย
สำหรับธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท แต่ผลจากการที่ประเทศไทย ไม่มีกฎหมายออกมาควบคุมการแข่งขัน ส่งผลให้รายได้ส่วนใหญ่ตกอยู่กับผู้ประกอบการขนาดใหญ่เพียง 5-6 ราย และมีการขยายสาขาแข่งขันกับร้านค้าปลีกรายย่อย หรือโชห่วย จนต้องปิดกิจการจำนวนมาก โดยข้อมูลการขยายสาขาของห้างค้าปลีกสมัยใหม่จากกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าตั้งแต่ปี 2548 ถึงเดือนก.ค.2552 มีการขยายสาขาเกิดขึ้นมากมาย โดยมี เทสโก้ โลตัสเพิ่มสาขามากสุดจากปี 2548 มี 184 แห่ง เป็น 633 แห่ง บิ๊กซี 50 แห่ง เป็น 77 แห่ง คาร์ฟูร์ 23 แห่ง เป็น 34 แห่ง แม็คโคร 29 แห่ง เป็น 42 แห่ง ท็อป ซูเปอร์มาร์เก็ต 81 แห่ง เป็น 109 แห่ง และเซเว่น อีเลฟเว่น 3,311 แห่ง เป็น 4,943 แห่ง
นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า สาเหตุที่ครม. ยังไม่พิจารณาร่างปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ขอให้กระทรวงฯ ถอนเรื่องดังกล่าวออกไปก่อน เพราะต้องการให้การเสนอร่างกฎหมายถูกบรรจุในวาระปกติ เนื่องจากเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องครม.ต้องพิจารณา โดยคาดว่าในสัปดาห์หน้าจะมีการเสนอร่างกฎหมายกลับเข้าไปใหม่เป็นวาระปกติ เพื่อให้ครม.พิจารณา
“การเสนอกครั้งนี้เป็นวาระจร เพราะเพิ่งส่งเรื่องไปเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทำให้บรรจุในวาระปกติไม่ทัน ส่วนร่างกฎหมายค้าปลีกที่ผู้แทนการค้าไทยจัดทำขึ้นมาอีกฉบับ ยังไม่เห็นร่างดังกล่าว แต่ครม.จะต้องให้ความเห็นชอบเพียงร่างเดียว เพื่อเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา และถึงส่งกลับครม.เพื่อเข้าสภาฯ” นางสาวชุติมา กล่าว
เอกชนเตือนรัฐดูผลกระทบเศรษฐกิจ
ดร. ดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส เทสโก้ โลตัส กล่าวถึงกรณีที่ ร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ฯไม่ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันนี้ ว่า ทางบริษัท ไม่เคยขัดข้องหากภาครัฐเห็นสมควรให้มีกฎหมายเข้ามาดูแลควบคุมธุรกิจ เพียงแต่ว่า อยากให้มีการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างถ่องแท้ก่อนออกกฎหมาย เพื่อไม่ให้จำกัดสิทธิผู้บริโภคและกระทบต่อ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาของภาคธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ว่าที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์บอกแต่ว่าค้าปลีกสมัยใหม่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว กระทรวงฯ ได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการรายย่อยเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องออกกฏหมาย ซึ่งเราพยายามอธิบายให้ภาครัฐเข้าใจมาโดยตลอดว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรถึง 67 ล้านคน มูลค่าผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (GDP) ถึง 9 ล้าน ล้านบาท ไม่ใช่ประชากร 59 ล้านคน และมูลค่า GDP ที่ 4.5 ล้าน ล้านบาทเหมื่อนเมื่อสิบห้าปีที่แล้ว ดังนั้น กฏหมายที่จะออกมาจะต้องเป็นผลดีสำหรับผู้บริโภค และเศรษฐกิจโดยรวม ไม่ใช่ออกกฏหมายมาเพียงเพื่อจำกัดสิทธิของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่เพียงอย่างเดียว
“จากข้อมูลล่าสุด ในปัจจุบันภาคธุรกิจค้าปลีกค้าส่งมีมูลค่ากว่า 1.7 ล้าน ล้านบาท หรือประมาณ 20% ของGDP มีธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เป็น SME เกี่ยวข้องกว่า 7 แสนราย การจ้างงานนอกภาคเกษตรกว่า 3.7 ล้านคน และภาคการเกษตรอีกกว่า 16 ล้านคน เพราะปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกค้าส่งเป็นกลุ่มผู้รับซื้อสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุดในประเทศ ดังนั้นหากออกกฏหมายโดยไม่มีการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง เป็นกฎหมายที่ไปจำกัดสิทธิของธุรกิจกลุ่มหนึ่ง และผู้บริโภค อาจจะไปกระทบต่อวงจรธุรกิจ การพัฒนาทางเศรฐกิจ และมูลค่าผลผลิตมวลรวมประชาชาติก็ได้” ดร.ดามพ์ กล่าว
ซีพี.ออลล์ยันมาตรการต้องชัดเจน
นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกทุนไทย ให้ความเห็นว่า ต้องการที่จะให้ภาครัฐออกมาตรการต่างๆออกมาที่มีกรอบชัดเจนว่าควรจะต้องทำอะไรอย่างไรบ้าง อีกทั้งภาครัฐน่าจะมีการจัดตั้งหน่วยงานที่ขึ้นมาดูแลธุรกิจโชว์ห่วยโดยเฉพาะ เพื่อให้มีการพัฒนาและส่งเสริมธุกริจให้อยู่รอดได้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วานนี้ (ครม.) ยังไม่ได้มีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ. … เพราะรัฐบาลต้องการให้นำร่างกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ และร่างกฎหมายที่ประธานผู้แทนการค้าไทยได้จัดทำขึ้น นำมารวมเป็นฉบับเดียวกัน ก่อนนำเสนอให้ครม.พิจารณาอีกครั้ง เพราะได้ให้นโยบายไปแล้วว่า กฎหมายนี้ต้องมีความชัดเจน ไม่ใช่ร่างกฎหมายขึ้นเพื่อให้อำนาจกรรมการไปทั้งหมด และมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ผลจากการที่ครม. ไม่ได้มีการพิจารณากฎหมายค้าปลีกในครั้งนี้ และนายกฯ ได้สั่งการให้นำร่างกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ไปรวมกับร่างกฎหมายของผู้แทนการค้าไทย ทำให้การออกกฎหมายค้าปลีกต้องล่าช้าออกไปอีก เพราะกว่าจะนำร่างทั้ง 2 ฉบับมารวมกันได้ คงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร และทำให้การดูแลผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อย (โชห่วย) ต้องล่าช้าออกไปอีก
ก่อนหน้านี้ ครม.ได้มีมติให้กระทรวงพาณิชย์ไปยกร่างกฎหมายค้าปลีกให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน และให้ส่งร่างกฎหมายให้ครม.พิจารณาภายในกลางเดือนพ.ย.นี้ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการตามมติครม.อย่างเคร่งครัด และสามารถยกร่างกฎหมายได้แล้วเสร็จตามที่ครม.กำหนดไว้
สำหรับสาระของร่างกฎหมายค้าปลีก ที่ทำเสร็จแล้ว และได้เสนอบรรจุเป็นวาระให้ครม.พิจารณานั้น มีสาระสำคัญๆ ดังนี้ คือ การกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องการขออนุญาตตั้งหรือขยายสาขา โดยแบ่งขนาดเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ร้านค้าขนาดใหญ่มาก พื้นที่ 3,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องมีระยะห่างจากเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 10 กม. เวลาเปิดปิด 12-16 ชั่วโมง ร้านค้าขนาดใหญ่ พื้นที่ 1,000-2,999 ตารางเมตร ต้องห่างเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 5 กม. เวลาเปิดปิด 12-16 ชั่วโมง ร้านค้าขนาดกลางพื้นที่ 300-999 ตารางเมตร ต้องห่างจากเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 3 กม. เวลาเปิดปิด 12-16 ชั่วโมง และร้านค้าขนาดเล็ก พื้นที่ 120-299 ตารางเมตร ต้องห่างจากเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 1 กม.ไม่กำหนดระยะเวลาเปิดปิด
อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาระยะเวลาเปิดปิด ได้ให้สิทธิคณะกรรมการระดับจังหวัดของแต่ละพื้นที่ พิจารณาเปิดปิดได้ตามความเหมาะสมอีกครั้ง ส่วนตลาดสดและร้านค้าสหกรณ์ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องขออนุญาตการจัดตั้งหรือขยายสาขาภายใต้กฎหมายฉบับนี้
ขณะเดียวกัน ได้เสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุดเพื่อทำหน้าที่ดูแลกฎหมายค้าปลีก ได้แก่ คณะกรรมการกลางกำกับดูแลค้าปลีกค้าส่งกำกับดูแลภาพรวมของนโยบาย และคณะกรรมการระดับจังหวัด กำกับดูแลเรื่องการขยายสาขาธุรกิจค้าปลีกค้าส่งให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ รวมถึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาค้าปลีกรายย่อยของไทยด้วย
สำหรับธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท แต่ผลจากการที่ประเทศไทย ไม่มีกฎหมายออกมาควบคุมการแข่งขัน ส่งผลให้รายได้ส่วนใหญ่ตกอยู่กับผู้ประกอบการขนาดใหญ่เพียง 5-6 ราย และมีการขยายสาขาแข่งขันกับร้านค้าปลีกรายย่อย หรือโชห่วย จนต้องปิดกิจการจำนวนมาก โดยข้อมูลการขยายสาขาของห้างค้าปลีกสมัยใหม่จากกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าตั้งแต่ปี 2548 ถึงเดือนก.ค.2552 มีการขยายสาขาเกิดขึ้นมากมาย โดยมี เทสโก้ โลตัสเพิ่มสาขามากสุดจากปี 2548 มี 184 แห่ง เป็น 633 แห่ง บิ๊กซี 50 แห่ง เป็น 77 แห่ง คาร์ฟูร์ 23 แห่ง เป็น 34 แห่ง แม็คโคร 29 แห่ง เป็น 42 แห่ง ท็อป ซูเปอร์มาร์เก็ต 81 แห่ง เป็น 109 แห่ง และเซเว่น อีเลฟเว่น 3,311 แห่ง เป็น 4,943 แห่ง
นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า สาเหตุที่ครม. ยังไม่พิจารณาร่างปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ขอให้กระทรวงฯ ถอนเรื่องดังกล่าวออกไปก่อน เพราะต้องการให้การเสนอร่างกฎหมายถูกบรรจุในวาระปกติ เนื่องจากเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องครม.ต้องพิจารณา โดยคาดว่าในสัปดาห์หน้าจะมีการเสนอร่างกฎหมายกลับเข้าไปใหม่เป็นวาระปกติ เพื่อให้ครม.พิจารณา
“การเสนอกครั้งนี้เป็นวาระจร เพราะเพิ่งส่งเรื่องไปเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทำให้บรรจุในวาระปกติไม่ทัน ส่วนร่างกฎหมายค้าปลีกที่ผู้แทนการค้าไทยจัดทำขึ้นมาอีกฉบับ ยังไม่เห็นร่างดังกล่าว แต่ครม.จะต้องให้ความเห็นชอบเพียงร่างเดียว เพื่อเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา และถึงส่งกลับครม.เพื่อเข้าสภาฯ” นางสาวชุติมา กล่าว
เอกชนเตือนรัฐดูผลกระทบเศรษฐกิจ
ดร. ดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส เทสโก้ โลตัส กล่าวถึงกรณีที่ ร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ฯไม่ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันนี้ ว่า ทางบริษัท ไม่เคยขัดข้องหากภาครัฐเห็นสมควรให้มีกฎหมายเข้ามาดูแลควบคุมธุรกิจ เพียงแต่ว่า อยากให้มีการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างถ่องแท้ก่อนออกกฎหมาย เพื่อไม่ให้จำกัดสิทธิผู้บริโภคและกระทบต่อ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาของภาคธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ว่าที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์บอกแต่ว่าค้าปลีกสมัยใหม่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว กระทรวงฯ ได้รับการร้องเรียนจากผู้ประกอบการรายย่อยเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องออกกฏหมาย ซึ่งเราพยายามอธิบายให้ภาครัฐเข้าใจมาโดยตลอดว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรถึง 67 ล้านคน มูลค่าผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (GDP) ถึง 9 ล้าน ล้านบาท ไม่ใช่ประชากร 59 ล้านคน และมูลค่า GDP ที่ 4.5 ล้าน ล้านบาทเหมื่อนเมื่อสิบห้าปีที่แล้ว ดังนั้น กฏหมายที่จะออกมาจะต้องเป็นผลดีสำหรับผู้บริโภค และเศรษฐกิจโดยรวม ไม่ใช่ออกกฏหมายมาเพียงเพื่อจำกัดสิทธิของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่เพียงอย่างเดียว
“จากข้อมูลล่าสุด ในปัจจุบันภาคธุรกิจค้าปลีกค้าส่งมีมูลค่ากว่า 1.7 ล้าน ล้านบาท หรือประมาณ 20% ของGDP มีธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เป็น SME เกี่ยวข้องกว่า 7 แสนราย การจ้างงานนอกภาคเกษตรกว่า 3.7 ล้านคน และภาคการเกษตรอีกกว่า 16 ล้านคน เพราะปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกค้าส่งเป็นกลุ่มผู้รับซื้อสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุดในประเทศ ดังนั้นหากออกกฏหมายโดยไม่มีการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง เป็นกฎหมายที่ไปจำกัดสิทธิของธุรกิจกลุ่มหนึ่ง และผู้บริโภค อาจจะไปกระทบต่อวงจรธุรกิจ การพัฒนาทางเศรฐกิจ และมูลค่าผลผลิตมวลรวมประชาชาติก็ได้” ดร.ดามพ์ กล่าว
ซีพี.ออลล์ยันมาตรการต้องชัดเจน
นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกทุนไทย ให้ความเห็นว่า ต้องการที่จะให้ภาครัฐออกมาตรการต่างๆออกมาที่มีกรอบชัดเจนว่าควรจะต้องทำอะไรอย่างไรบ้าง อีกทั้งภาครัฐน่าจะมีการจัดตั้งหน่วยงานที่ขึ้นมาดูแลธุรกิจโชว์ห่วยโดยเฉพาะ เพื่อให้มีการพัฒนาและส่งเสริมธุกริจให้อยู่รอดได้