“พรทิวา”ดับเครื่องชน ไม่สนถูก “มาร์ค”ใช้ดีเลย์ แทกติก ชะลอการออกกฎหมายค้าปลีก ยืนยันชงครม.พิจารณาพรุ่งนี้ พูดชัดถึงเวลาจัดระเบียบ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ต้องอยู่ร่วมกันได้
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า วันที่ 24 พ.ย.นี้ กระทรวงพาณิชย์ยืนยันที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ. ... หลังจากที่ได้มีการจัดทำประชาพิจารณ์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นค้าปลีกรายใหญ่ ผู้ประกอบการค้าปลีกรายเล็ก (โชห่วย) นักวิชาการ องค์กรภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไข และได้ข้อสรุปออกมาแล้วว่าควรจะมีกฎหมายค้าปลีกเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ
“เรื่องทำกฎหมายค้าปลีกเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงพาณิชย์โดยตรง และยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้ประกาศไว้ ตอนนี้เราทำเสร็จแล้ว ก็พร้อมที่จะเสนอให้ครม.พิจารณา ส่วนจะเอาไม่เอาขึ้นอยู่กับนโยบาย และไม่วิตกว่ากฎหมายจะผ่านการพิจารณาหรือไม่ อยู่ที่ทิศทางของท่านนายกฯ จะพิจารณายังไง แต่ในส่วนของเรา เมื่อทำเสร็จแล้ว ก็ยืนยันที่จะนำเสนอ”นางพรทิวากล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า การเสนอร่างกฎหมายค้าปลีกดังกล่าว เป็นการปฏิบัติตามมติครม.ก่อนหน้านี้ ที่กำหนดให้กระทรวงพาณิชย์เสนอร่างกฎหมายค้าปลีกให้ครม.พิจารณาภายใน 45 วัน และครบกำหนดเมื่อวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา และเมื่อจะมีการเสนอให้ครม. พิจารณาในวันที่ 17 พ.ย. แต่บรรจุเป็นวาระพิจารณาไม่ทัน
อย่างไรก็ตาม หลังจากประชุมครม. เสร็จ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องกฎหมายค้าปลีก พร้อมกับระบุให้กระทรวงพาณิชย์นำร่างกฎหมายไปพิจารณารวมกับร่างกฎหมายค้าปลีกที่ผู้แทนการค้าไทยได้ยกร่างไว้
ทั้งนี้ เหตุผลกระทรวงพาณิชย์ยืนยันที่จะเสนอร่างกฎหมายค้าปลีกให้ครม. พิจารณาในวันที่ 24 พ.ย.นี้ต่อไป เพราะเป็นการปฏิบัติตามมติครม. และนโยบายของรัฐบาลเอง และไม่จำเป็นต้องนำกฎหมายกับไปรวมกับร่างของผู้แทนการค้าไทยที่นายกรัฐมนตรีระบุไว้ เพราะการเสนอร่างกฎหมายค้าปลีกเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงพาณิชย์ ส่วนจะมีร่างกฎหมายค้าปลีกที่ยกร่างโดยคนอื่นอีกหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ในการเสนอกฎหมาย ส.ส.เองก็เสนอได้ หรือรัฐบาลจะให้ใครยกร่างก็ได้ แต่ในที่สุดแล้ว การพิจารณาออกกฎหมาย ก็ต้องไปว่ากันในสภาผู้แทนราษฎร มีกี่ร่างก็ต้องมาดูกัน ที่สำคัญแม้ครม. จะอนุมัติร่างกฎหมาย กว่าจะเข้าสภาฯ ได้ก็ต้องกลางปีหน้า ซึ่งยังต้องใช้ระยะเวลาอีกนาน
กระทรวงพาณิชย์เริ่มมีข้อสงสัยว่า ทำไมท่าทีของรัฐบาลในเรื่องนี้ถึงเปลี่ยนไป ทั้งๆ ที่นโยบายก็กำหนดไว้ชัดเจน แต่พอยกร่างกฎหมายเสร็จ ก็เริ่มมีดีเลย์ แทกติกออกมา ทำให้ดูเหมือนว่ารัฐบาลจะชะลอไม่ให้มีการออกกฎหมายฉบับนี้ และสอดคล้องกับท่าทีของเอกชนบางรายที่ได้พยายามดำเนินการไม่ให้รัฐบาลออกกฎหมายฉบับนี้ออกมาได้
ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วง 1 เดือนครึ่งที่ผ่านมา ครม. ได้มีมติออกมาเองว่าให้กระทรวงพาณิชย์เร่งจัดทำร่างกฎหมายค้าปลีก แต่หลังจากนั้น ปรากฎว่า ได้มีผู้บริหารของห้างค้าปลีกชื่อดังจากประเทศอังกฤษได้เข้าพบกับผู้บริหารของรัฐบาล และถัดจากนั้นมาไม่กี่วัน เมื่อมีข่าวว่ากระทรวงพาณิชย์จะเสนอกฎหมายค้าปลีกเข้าครม. รัฐบาลก็ระบุให้กระทรวงพาณิชย์นำกฎหมายไปรวมกับร่างกฎหมายของผู้แทนการค้า ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายค้าปลีกแต่อย่างใด ทำให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมจึงต้องทำเช่นนี้ และเป็นการหาทางทำให้กฎหมายค้าปลีกต้องชะลอออกไปอีกหรือไม่
สำหรับเนื้อหาสาระของร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ. ... มีประเด็นสำคัญ ได้แก่ การกำหนดการขออนุญาตตั้ง หรือขยายสาขาโดยแบ่งขนาดเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ร้านค้าขนาดใหญ่มาก พื้นที่ 3,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องมีระยะห่างจากเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 10 กม. เวลาเปิดปิด 12-16 ชั่วโมง ร้านค้าขนาดใหญ่ พื้นที่ 1,000-2,999 ตารางเมตร ต้องห่างเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 5 กม. เวลาเปิดปิด 12-16 ชั่วโมง ร้านค้าขนาดกลางพื้นที่ 300-999 ตารางเมตร ต้องห่างจากเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 3 กม. เวลาเปิดปิด 12-16 ชั่วโมง และร้านค้าขนาดเล็ก พื้นที่ 120-299 ตารางเมตร ต้องห่างจากเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 1 กม.ไม่กำหนดระยะเวลาเปิดปิด
อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาระยะเวลาเปิดปิด ได้ให้สิทธิคณะกรรมการระดับจังหวัดของแต่ละพื้นที่ พิจารณาเปิดปิดได้ตามความเหมาะสมอีกครั้ง ส่วนตลาดสดและร้านค้าสหกรณ์ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องขออนุญาตการจัดตั้งหรือขยายสาขาจากกฎหมายฉบับนี้
นอกจากนี้ ยังเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุดเพื่อทำหน้าที่ดูแลกฎหมายค้าปลีก ได้แก่ คณะกรรมการกลางกำกับดูแลค้าปลีกค้าส่งกำกับดูแลภาพรวมของนโยบาย และคณะกรรมการระดับจังหวัด กำกับดูแลเรื่องการขยายสาขาธุรกิจค้าปลีกค้าส่งให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ รวมถึงจะมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาค้าปลีกรายย่อยด้วย
สำหรับธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท แต่ผลจากการที่ประเทศไทย ไม่มีกฎหมายออกมาควบคุมการแข่งขัน ส่งผลให้รายได้ส่วนใหญ่ตกอยู่กับผู้ประกอบการขนาดใหญ่เพียง 5-6 ราย และมีการขยายสาขาแข่งขันกับร้านค้าปลีกรายย่อย หรือโชห่วย จนต้องปิดกิจการจำนวนมาก โดยข้อมูลการขยายสาขาของห้างค้าปลีกสมัยใหม่จากกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าตั้งแต่ปี 2548 ถึงเดือนก.ค.2552 มีการขยายสาขาเกิดขึ้นมากมาย โดยมี เทสโก้ โลตัสเพิ่มสาขามากสุดจากปี 2548 มี 184 แห่ง เป็น 633 แห่ง บิ๊กซี 50 แห่ง เป็น 77 แห่ง คาร์ฟูร์ 23 แห่ง เป็น 34 แห่ง แม็คโคร 29 แห่ง เป็น 42 แห่ง ท็อป ซูเปอร์มาร์เก็ต 81 แห่ง เป็น 109 แห่ง และเซเว่น อีเลฟเว่น 3,311 แห่ง เป็น 4,943 แห่ง
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า วันที่ 24 พ.ย.นี้ กระทรวงพาณิชย์ยืนยันที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ. ... หลังจากที่ได้มีการจัดทำประชาพิจารณ์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นค้าปลีกรายใหญ่ ผู้ประกอบการค้าปลีกรายเล็ก (โชห่วย) นักวิชาการ องค์กรภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไข และได้ข้อสรุปออกมาแล้วว่าควรจะมีกฎหมายค้าปลีกเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ
“เรื่องทำกฎหมายค้าปลีกเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงพาณิชย์โดยตรง และยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้ประกาศไว้ ตอนนี้เราทำเสร็จแล้ว ก็พร้อมที่จะเสนอให้ครม.พิจารณา ส่วนจะเอาไม่เอาขึ้นอยู่กับนโยบาย และไม่วิตกว่ากฎหมายจะผ่านการพิจารณาหรือไม่ อยู่ที่ทิศทางของท่านนายกฯ จะพิจารณายังไง แต่ในส่วนของเรา เมื่อทำเสร็จแล้ว ก็ยืนยันที่จะนำเสนอ”นางพรทิวากล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า การเสนอร่างกฎหมายค้าปลีกดังกล่าว เป็นการปฏิบัติตามมติครม.ก่อนหน้านี้ ที่กำหนดให้กระทรวงพาณิชย์เสนอร่างกฎหมายค้าปลีกให้ครม.พิจารณาภายใน 45 วัน และครบกำหนดเมื่อวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา และเมื่อจะมีการเสนอให้ครม. พิจารณาในวันที่ 17 พ.ย. แต่บรรจุเป็นวาระพิจารณาไม่ทัน
อย่างไรก็ตาม หลังจากประชุมครม. เสร็จ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องกฎหมายค้าปลีก พร้อมกับระบุให้กระทรวงพาณิชย์นำร่างกฎหมายไปพิจารณารวมกับร่างกฎหมายค้าปลีกที่ผู้แทนการค้าไทยได้ยกร่างไว้
ทั้งนี้ เหตุผลกระทรวงพาณิชย์ยืนยันที่จะเสนอร่างกฎหมายค้าปลีกให้ครม. พิจารณาในวันที่ 24 พ.ย.นี้ต่อไป เพราะเป็นการปฏิบัติตามมติครม. และนโยบายของรัฐบาลเอง และไม่จำเป็นต้องนำกฎหมายกับไปรวมกับร่างของผู้แทนการค้าไทยที่นายกรัฐมนตรีระบุไว้ เพราะการเสนอร่างกฎหมายค้าปลีกเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงพาณิชย์ ส่วนจะมีร่างกฎหมายค้าปลีกที่ยกร่างโดยคนอื่นอีกหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ในการเสนอกฎหมาย ส.ส.เองก็เสนอได้ หรือรัฐบาลจะให้ใครยกร่างก็ได้ แต่ในที่สุดแล้ว การพิจารณาออกกฎหมาย ก็ต้องไปว่ากันในสภาผู้แทนราษฎร มีกี่ร่างก็ต้องมาดูกัน ที่สำคัญแม้ครม. จะอนุมัติร่างกฎหมาย กว่าจะเข้าสภาฯ ได้ก็ต้องกลางปีหน้า ซึ่งยังต้องใช้ระยะเวลาอีกนาน
กระทรวงพาณิชย์เริ่มมีข้อสงสัยว่า ทำไมท่าทีของรัฐบาลในเรื่องนี้ถึงเปลี่ยนไป ทั้งๆ ที่นโยบายก็กำหนดไว้ชัดเจน แต่พอยกร่างกฎหมายเสร็จ ก็เริ่มมีดีเลย์ แทกติกออกมา ทำให้ดูเหมือนว่ารัฐบาลจะชะลอไม่ให้มีการออกกฎหมายฉบับนี้ และสอดคล้องกับท่าทีของเอกชนบางรายที่ได้พยายามดำเนินการไม่ให้รัฐบาลออกกฎหมายฉบับนี้ออกมาได้
ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วง 1 เดือนครึ่งที่ผ่านมา ครม. ได้มีมติออกมาเองว่าให้กระทรวงพาณิชย์เร่งจัดทำร่างกฎหมายค้าปลีก แต่หลังจากนั้น ปรากฎว่า ได้มีผู้บริหารของห้างค้าปลีกชื่อดังจากประเทศอังกฤษได้เข้าพบกับผู้บริหารของรัฐบาล และถัดจากนั้นมาไม่กี่วัน เมื่อมีข่าวว่ากระทรวงพาณิชย์จะเสนอกฎหมายค้าปลีกเข้าครม. รัฐบาลก็ระบุให้กระทรวงพาณิชย์นำกฎหมายไปรวมกับร่างกฎหมายของผู้แทนการค้า ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายค้าปลีกแต่อย่างใด ทำให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมจึงต้องทำเช่นนี้ และเป็นการหาทางทำให้กฎหมายค้าปลีกต้องชะลอออกไปอีกหรือไม่
สำหรับเนื้อหาสาระของร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ. ... มีประเด็นสำคัญ ได้แก่ การกำหนดการขออนุญาตตั้ง หรือขยายสาขาโดยแบ่งขนาดเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ร้านค้าขนาดใหญ่มาก พื้นที่ 3,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องมีระยะห่างจากเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 10 กม. เวลาเปิดปิด 12-16 ชั่วโมง ร้านค้าขนาดใหญ่ พื้นที่ 1,000-2,999 ตารางเมตร ต้องห่างเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 5 กม. เวลาเปิดปิด 12-16 ชั่วโมง ร้านค้าขนาดกลางพื้นที่ 300-999 ตารางเมตร ต้องห่างจากเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 3 กม. เวลาเปิดปิด 12-16 ชั่วโมง และร้านค้าขนาดเล็ก พื้นที่ 120-299 ตารางเมตร ต้องห่างจากเขตเทศบาลไม่ต่ำกว่า 1 กม.ไม่กำหนดระยะเวลาเปิดปิด
อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาระยะเวลาเปิดปิด ได้ให้สิทธิคณะกรรมการระดับจังหวัดของแต่ละพื้นที่ พิจารณาเปิดปิดได้ตามความเหมาะสมอีกครั้ง ส่วนตลาดสดและร้านค้าสหกรณ์ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องขออนุญาตการจัดตั้งหรือขยายสาขาจากกฎหมายฉบับนี้
นอกจากนี้ ยังเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุดเพื่อทำหน้าที่ดูแลกฎหมายค้าปลีก ได้แก่ คณะกรรมการกลางกำกับดูแลค้าปลีกค้าส่งกำกับดูแลภาพรวมของนโยบาย และคณะกรรมการระดับจังหวัด กำกับดูแลเรื่องการขยายสาขาธุรกิจค้าปลีกค้าส่งให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ รวมถึงจะมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาค้าปลีกรายย่อยด้วย
สำหรับธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท แต่ผลจากการที่ประเทศไทย ไม่มีกฎหมายออกมาควบคุมการแข่งขัน ส่งผลให้รายได้ส่วนใหญ่ตกอยู่กับผู้ประกอบการขนาดใหญ่เพียง 5-6 ราย และมีการขยายสาขาแข่งขันกับร้านค้าปลีกรายย่อย หรือโชห่วย จนต้องปิดกิจการจำนวนมาก โดยข้อมูลการขยายสาขาของห้างค้าปลีกสมัยใหม่จากกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าตั้งแต่ปี 2548 ถึงเดือนก.ค.2552 มีการขยายสาขาเกิดขึ้นมากมาย โดยมี เทสโก้ โลตัสเพิ่มสาขามากสุดจากปี 2548 มี 184 แห่ง เป็น 633 แห่ง บิ๊กซี 50 แห่ง เป็น 77 แห่ง คาร์ฟูร์ 23 แห่ง เป็น 34 แห่ง แม็คโคร 29 แห่ง เป็น 42 แห่ง ท็อป ซูเปอร์มาร์เก็ต 81 แห่ง เป็น 109 แห่ง และเซเว่น อีเลฟเว่น 3,311 แห่ง เป็น 4,943 แห่ง