ศูนย์ข่าวศรีราชา - ท่าเรือฯระดมทุนได้กว่า 2 ล้านบาทให้การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากสารพิษนรกครอบครัวละ 5,000 บาท ส่วนผู้เสียชีวิตรายละ 10,000 บาท "รมช.คมนาคม" ลงพื้นที่ ยืนยันจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายขึ้นอีก "เครือข่าย ปชช.ภาคตะวันออก" จี้รัฐต้องตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ในแหลมฉบังทั้งหมดหวั่นเกิดเหตุซ้ำซาก
**ท่าเรือจ่ายค่าดมสารพิษ5พัน/ครอบครัว
เช้าวานนี้ (27 พ.ย.) นายบุญเลิศ น้อมศิลป์ นายกเทศมนตรีตำบลแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ได้เรียกประชุมหน่วยงานในพื้นที่เพื่อเร่งให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุสารเคมีรั่วไหลจากท่าเทียบเรือ B3 ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งมีผู้ได้รับความเดือดร้อนทั้งสิ้น 246 ครัวเรือน โดยรับบาดเจ็บจากการสูดดมสารพิษและต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลต่างๆ จำนวน 73 ราย สามารถกลับบ้านแล้ว 68 รายและนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลอีก 7 ราย ซึ่งอยู่ในขั้นปลอดภัยแล้ว
สำหรับการให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย การท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเทียบเรือ B3 โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ศรีราชา กองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า และบริษัทเอกชน ซึ่งรวมแล้วผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจะได้รับการช่วยเหลือกือบ 2 ล้านบาท โดยการท่าเรือแหลมฉบัง ให้การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บครอบครัวละ 5,000 บาท ส่วนผู้เสียชีวิตนั้นรายละ 10,000 บาท
นายบุญเลิศ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ได้ประสานจะมีการจัดตั้งคลินิกด้านสิ่งแวดล้อมที่แหลมฉบังเพื่อให้คำปรึกษากับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้
**รมช.คมนาคมยันจะไม่ให้เกิดเหตุร้ายอีก
วันเดียวกัน นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รมช.คมนาคม พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ที่เกิดเหตุสารพิษรั่วไหลบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเทียบเรือ B3 พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
นายเกื้อกูล กล่าวว่า การลงดูพื้นที่สารเคมีรั่วไหลครั้งนี้เพื่อมาบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งขณะนี้หลายงานในพื้นที่ ประกอบด้วย การท่าเรือแหลมฉบัง เทศบาลตำบลแหลมฉบัง ได้ให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นไปบ้างแล้ว โดยขณะนี้ผู้ที่ได้รับผลกระทบได้รับการดูแลไปแล้วกว่า 200 ครัวเรือน ครอบครัวละ 5,000 บาท
ทั้งนี้ ยอมรับว่า ขณะนี้ประชาชนยังมีความวิตกกังวลต่อปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ ระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และขณะนี้ก็ยังคงมีผู้ได้รับผลกระทบนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอีก 2 คน
"จากรายงานผลของกรมควบคุมมลพิษ พบว่าสารเคมีที่กระจายอยู่ในชั้นบรรนยากาศ เริ่มเจือจางและหากได้มีน้ำไปช่วยก็จะเจือจางและหายไปในที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม หากประชาชนที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่สบาย ก็อาจได้รับผลมากกว่าคนปกติ เท่านั้น" รมช.คมนาคม กล่าว
นายสุเมธา วิเชียรเพชร ผอ.ส่วนปฏิบัติการฉุกเฉินและฟื้นฟูของกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า สารดังกล่าว คือ สารโซเดียมเปอร์ซัลเฟต ลักษณะเป็นผง เป็นส่วนผสมของสารฟอกย้อมสีผม นำเข้าจากเยอรมนี เต็มตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ของบริษัท yamahatsu (Thailland)
สำหรับสาเหตุการรั่วไหล เกิดจากถุงที่บรรจุแตกและผงตกลงไปบนพื้นและพื้นตู้คอนเทนเนอร์เป็นไม้ ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติ คือถ้าออกมานอกถุงถ้าทำปฏิกิริยากับความชื้น สูงมากจะกลายเป็นกรด พอโดนไม้ที่มีความชื้นสูง จึงเกิดการลุกไหม้ ทำให้ถุงพลาสติกติดเชื้อเพลิงต่อ และลุกลามไปเรื่อยการดับทำได้ยากเพราะโดนน้ำไม่ได้ และเมื่อเปิดตู้มามีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า
แหล่งข่าวจากท่าเทียบเรือ B3 เผยถึงเหตุการณ์สารเคมีรั่วไหลที่ท่าเทียบเรือ B3 ว่า สาเหตุของเรื่องนี้จะต้องดูที่องค์ประกอบในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือ 1.สายเดินเรือในการรับส่งสินค้า 2.เจ้าของสินค้านำเข้าหรือครอบครองสินค้า (สารอันตราย) 3.การท่าเรือแหลมฉบัง หรือ บริษัทฯที่ได้รับสัมปทานจากท่าเทียบเรือ
“ในความเป็นจริงสินค้าดังกล่าวมาถึงท่าเทียบเรือในวันที่ 25 พ.ย.และดำเนินการยกตู้คอนเทนเนอร์ลงจากเรือในเวลา 09.06 นาที จากนั้นได้ทำการขนย้ายในเวลา 09.16 น.ซึ่งเป็นการขนย้ายธรรมดา และหมดภาระหน้าที่ในการดำเนินการของบริษัท โดยหลังจากนั้นก็เกิดเหตุการณ์ขึ้น ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับท่าเรือ B3 แล้ว แต่ล่าสุดถูกดำเนินคดีในเรื่องความประมาท ทำให้ประชาชนได้รับาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งถือว่าไม่ถูกและเป็นธรรมเท่าที่ควร” แหล่งข่าวกล่าว
**รมว.สธ.ยันสารเคมีในอากาศ-น่ำลดลงแล้ว
ด้านนายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจาก นพ.มรุต จิรเศรษฐศิริ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ชลบุรี ถึงสถานการณ์สารเคมีรั่วไหลที่ท่าเรือแหลมฉบังว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยของ จ.ชลบุรี ได้สำรวจสภาพอากาศ และน้ำในบริเวณใกล้เคียงแล้ว พบว่าปริมาณสารเคมีในอากาศและน้ำลดลง และไม่พบอันตราย จึงแจ้งให้ประชาชนบางส่วนที่อพยพอยู่ในศาลาประชาคมเคลื่อนย้ายกลับไปพักอาศัยที่บ้านได้แล้ว และยังจัดส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการสุขภาพ หากยังพบมีผู้ป่วยได้รับสาร
**"จงรัก"ทำขึงขังดำเนินคดีผู้ที่เกี่ยวข้อง
ขณะที่ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวในระหว่างลงพื้นที่ตรวจสอบหาข้อเท้จจริงเพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องกรณีเหตุสารเคมีรั่วไหลว่า ขณะนี้พนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนเบื้องต้นว่า เป็นการประมาทเลินเล่อ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนหลายราย โดยมีโทษจำคุก 10 ปีและปรับเพียง 2,000-3,000 บาท
"ในการสืบสวนสอบสวน หากถึงหน่วยงานใดก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ในส่วนนี้ประกอบด้วยบริษัท ESCO และท่าเทียบเรือแหลมฉบัง"
"*เครือข่าย ปชช.จี้ตรวจตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมด
ทางด้านนายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก แถลงต่อสื่อมวลชนกรณีสารเคมีโซเดียม เปอร์ซัลเฟต หรือสารฟอกขาว เกิดรั่วไหลจากตู้คอนเทนเนอร์ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ทำให้ประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงเกิดอาการหายใจไม่ออกถูกนำส่งโรงพยาบาลจำนวนหลายราย และมีผู้เสียชีวิต 1 รายโดยเหตุเกิดเมื่อวันที่ 25 พ.ย.ว่า เมื่อวันที่ 26 พ.ย.ตนได้ลง พื้นที่ร่วมกับเลขานุการฯ และปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า ในที่เกิดเหตุมีความผิดพลาดหลายจุด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯต้องเข้าตรวจสอบย้อนหลังเพื่อรายงานผลวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ว่าการท่าเรือแหลมฉบัง ได้ทำตามรายงานตามเงื่อนไขในการขออนุญาต การเก็บสินค้าวัตถุอันตรายหรือไม่ โดยกรมควบคุมมลพิจะต้องมีการส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ โดยเฉพาะตู้คอนเทนเนอร์ที่มาล็อตเดียวกับตู้คอนเทนเนอร์ที่มีปัญหา เนื่องจากยังไม่มีการตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ที่เหลือแต่อย่างใด จึงมีความกังวลว่าตู้คอนเทนเนอร์ที่มาพร้อมกันอาจจะเกิดเหตุซ้ำซ้อนขึ้นมาได้อีก
ทั้งนี้ ยังมีความวิตกเรื่องน้ำ เพราะขณะเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ต้องใช้น้ำกรดเคมีในการควบคุมการฟุ้งกระจายสารเคมี ทำให้มีน้ำไหลลงทะเลจำนวนมาก จึงควรมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนตามมาภายหลังด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังพบว่าบริษัทจากประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้นำตู้คอนเนอร์ที่เกิดเหตุเข้ามา และในวันจันทร์ที่ 30 พ.ย.นี้ตนจะนำผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสารเคมีฟอกขาวเดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ให้มีการตรวจสอบร่วมกับกลุ่มเอ็นจีโอและหน่วยงานภาครัฐอย่างละเอียดด้วย
"ทางการท่าเรือจะต้องมีการตรวจสอบท่าเรือทั่วประเทศ เช่น ท่าเรือมาบตาพุดและท่าเทียบเรือไออาร์พีซี ที่มีการขนถ่ายสารเคมีอันตราย และมีการเก็บคลังสินค้าสารเคมีอันตราย จนต้องมีคณะกรรมการจากหลายฝ่ายเข้ามาดูแล ซึ่งเห็นว่าเรื่องนี้ต้องมีการปฏิรูปท่าเทียบเรือใหม่ทั้งหมดทั่วประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำซาก"
นายสุทธิ กล่าวอีกว่า หากการตรวจสอบยังพบว่าท่าเทียบเรือแห่งใดมีความเสี่ยง ต้องเร่งพัฒนาปรับปรุงและฟื้นฟูให้ถูกต้อง และรัฐบาลต้องตั้งคณะทำงานเข้ามาเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกรณีสารเคมีรั่วไหล พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลจัดทำหลักประกันความเสี่ยง ให้กับประชาชนที่อยู่บริเวณรอบจุดที่มีความเสี่ยง รวมถึงตั้งศูนย์ประสานงานในพื้นที่เสี่ยงภัย
ทั้งนี้ เพราะที่ผ่านมาในอดีตพื้นที่แหลมฉบังเกิดเหตุไฟไหม้คลังน้ำมันไทยออยล์ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ จึงควรมีการตรวจสอบระบบการทำงานของการท่าเรือทั่วประเทศ ซึ่งมีการเข้าใจกันว่า ในท่าเทียบเรือแต่ละแห่ง มีการดำเนินการธุรกิจที่ผิดกฎหมายแอบแฝงอยู่ เนื่องจากมีการห้ามประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องไม่ให้เข้าไปภายใน
นายสุทธิ กล่าวต่อว่า สิ่งที่คณะกรรมการ 4 ฝ่าย ที่จะต้องทำให้โรงงานที่มีความเสี่ยงสูงต้องปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 นั้น เพราะไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เหมือนท่าเรือแหลมฉบัง เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เห็นว่าการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 นั้นมีความสำคัญจริง เป็นเหตุผลที่คณะกรรมการ 4 ฝ่าย ต้องผลักดันกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 จะเป็นมาตรการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม สารโซเดียมเปอร์ซัลเฟต หรือสารฟอกขาวที่รั่วไหลยังไม่สามารถตอบได้ว่าใช่สารโซเดียมเปอร์ซัลเฟตชนิดเดียวหรือไม่ หรืออาจจะมีสารเคมีชนิดอื่นด้วย ขณะนี้กำลังรอกรมควบคุมมลพิษเข้าไปตรวจสอบความชัดเจน รวมทั้งเข้าตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์อื่นๆ ทั้งหมด
ส่วนนางสุนีย์ พู่เพ็ชร อายุ 53 ปี ผู้เสียชีวิตนั้น ทราบว่าไม่มีโรคประจำตัวและมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง โดยระหว่างเกิดเหตุมีการอพยพประชาชนออกนอกพื้นที่ในช่วงกลางคืน ซึ่งผู้เสียชีวิตก็ได้อพยพออกนอกพื้นที่ไปด้วย แต่พอรุ่งเช้าก็กลับมาที่บ้านเพราะได้รับคำยืนยันจากท่าเรือว่าสถานการณ์ปลอดภัยแล้ว แต่ในขณะที่นายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข ลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุการณ์นั้น ผู้เสียชีวิตก็เกิดอาการชักเป็นลมและหมดสติไปต่อหน้ารัฐมนตรีก่อนจะไปเสียชีวิตในที่สุด
**ท่าเรือจ่ายค่าดมสารพิษ5พัน/ครอบครัว
เช้าวานนี้ (27 พ.ย.) นายบุญเลิศ น้อมศิลป์ นายกเทศมนตรีตำบลแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ได้เรียกประชุมหน่วยงานในพื้นที่เพื่อเร่งให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุสารเคมีรั่วไหลจากท่าเทียบเรือ B3 ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งมีผู้ได้รับความเดือดร้อนทั้งสิ้น 246 ครัวเรือน โดยรับบาดเจ็บจากการสูดดมสารพิษและต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลต่างๆ จำนวน 73 ราย สามารถกลับบ้านแล้ว 68 รายและนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลอีก 7 ราย ซึ่งอยู่ในขั้นปลอดภัยแล้ว
สำหรับการให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย การท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเทียบเรือ B3 โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ศรีราชา กองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า และบริษัทเอกชน ซึ่งรวมแล้วผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจะได้รับการช่วยเหลือกือบ 2 ล้านบาท โดยการท่าเรือแหลมฉบัง ให้การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บครอบครัวละ 5,000 บาท ส่วนผู้เสียชีวิตนั้นรายละ 10,000 บาท
นายบุญเลิศ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ได้ประสานจะมีการจัดตั้งคลินิกด้านสิ่งแวดล้อมที่แหลมฉบังเพื่อให้คำปรึกษากับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้
**รมช.คมนาคมยันจะไม่ให้เกิดเหตุร้ายอีก
วันเดียวกัน นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รมช.คมนาคม พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ที่เกิดเหตุสารพิษรั่วไหลบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเทียบเรือ B3 พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
นายเกื้อกูล กล่าวว่า การลงดูพื้นที่สารเคมีรั่วไหลครั้งนี้เพื่อมาบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งขณะนี้หลายงานในพื้นที่ ประกอบด้วย การท่าเรือแหลมฉบัง เทศบาลตำบลแหลมฉบัง ได้ให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นไปบ้างแล้ว โดยขณะนี้ผู้ที่ได้รับผลกระทบได้รับการดูแลไปแล้วกว่า 200 ครัวเรือน ครอบครัวละ 5,000 บาท
ทั้งนี้ ยอมรับว่า ขณะนี้ประชาชนยังมีความวิตกกังวลต่อปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ ระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และขณะนี้ก็ยังคงมีผู้ได้รับผลกระทบนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอีก 2 คน
"จากรายงานผลของกรมควบคุมมลพิษ พบว่าสารเคมีที่กระจายอยู่ในชั้นบรรนยากาศ เริ่มเจือจางและหากได้มีน้ำไปช่วยก็จะเจือจางและหายไปในที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม หากประชาชนที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่สบาย ก็อาจได้รับผลมากกว่าคนปกติ เท่านั้น" รมช.คมนาคม กล่าว
นายสุเมธา วิเชียรเพชร ผอ.ส่วนปฏิบัติการฉุกเฉินและฟื้นฟูของกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า สารดังกล่าว คือ สารโซเดียมเปอร์ซัลเฟต ลักษณะเป็นผง เป็นส่วนผสมของสารฟอกย้อมสีผม นำเข้าจากเยอรมนี เต็มตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ของบริษัท yamahatsu (Thailland)
สำหรับสาเหตุการรั่วไหล เกิดจากถุงที่บรรจุแตกและผงตกลงไปบนพื้นและพื้นตู้คอนเทนเนอร์เป็นไม้ ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติ คือถ้าออกมานอกถุงถ้าทำปฏิกิริยากับความชื้น สูงมากจะกลายเป็นกรด พอโดนไม้ที่มีความชื้นสูง จึงเกิดการลุกไหม้ ทำให้ถุงพลาสติกติดเชื้อเพลิงต่อ และลุกลามไปเรื่อยการดับทำได้ยากเพราะโดนน้ำไม่ได้ และเมื่อเปิดตู้มามีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า
แหล่งข่าวจากท่าเทียบเรือ B3 เผยถึงเหตุการณ์สารเคมีรั่วไหลที่ท่าเทียบเรือ B3 ว่า สาเหตุของเรื่องนี้จะต้องดูที่องค์ประกอบในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือ 1.สายเดินเรือในการรับส่งสินค้า 2.เจ้าของสินค้านำเข้าหรือครอบครองสินค้า (สารอันตราย) 3.การท่าเรือแหลมฉบัง หรือ บริษัทฯที่ได้รับสัมปทานจากท่าเทียบเรือ
“ในความเป็นจริงสินค้าดังกล่าวมาถึงท่าเทียบเรือในวันที่ 25 พ.ย.และดำเนินการยกตู้คอนเทนเนอร์ลงจากเรือในเวลา 09.06 นาที จากนั้นได้ทำการขนย้ายในเวลา 09.16 น.ซึ่งเป็นการขนย้ายธรรมดา และหมดภาระหน้าที่ในการดำเนินการของบริษัท โดยหลังจากนั้นก็เกิดเหตุการณ์ขึ้น ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับท่าเรือ B3 แล้ว แต่ล่าสุดถูกดำเนินคดีในเรื่องความประมาท ทำให้ประชาชนได้รับาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งถือว่าไม่ถูกและเป็นธรรมเท่าที่ควร” แหล่งข่าวกล่าว
**รมว.สธ.ยันสารเคมีในอากาศ-น่ำลดลงแล้ว
ด้านนายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจาก นพ.มรุต จิรเศรษฐศิริ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ชลบุรี ถึงสถานการณ์สารเคมีรั่วไหลที่ท่าเรือแหลมฉบังว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยของ จ.ชลบุรี ได้สำรวจสภาพอากาศ และน้ำในบริเวณใกล้เคียงแล้ว พบว่าปริมาณสารเคมีในอากาศและน้ำลดลง และไม่พบอันตราย จึงแจ้งให้ประชาชนบางส่วนที่อพยพอยู่ในศาลาประชาคมเคลื่อนย้ายกลับไปพักอาศัยที่บ้านได้แล้ว และยังจัดส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการสุขภาพ หากยังพบมีผู้ป่วยได้รับสาร
**"จงรัก"ทำขึงขังดำเนินคดีผู้ที่เกี่ยวข้อง
ขณะที่ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวในระหว่างลงพื้นที่ตรวจสอบหาข้อเท้จจริงเพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องกรณีเหตุสารเคมีรั่วไหลว่า ขณะนี้พนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนเบื้องต้นว่า เป็นการประมาทเลินเล่อ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนหลายราย โดยมีโทษจำคุก 10 ปีและปรับเพียง 2,000-3,000 บาท
"ในการสืบสวนสอบสวน หากถึงหน่วยงานใดก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ในส่วนนี้ประกอบด้วยบริษัท ESCO และท่าเทียบเรือแหลมฉบัง"
"*เครือข่าย ปชช.จี้ตรวจตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมด
ทางด้านนายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก แถลงต่อสื่อมวลชนกรณีสารเคมีโซเดียม เปอร์ซัลเฟต หรือสารฟอกขาว เกิดรั่วไหลจากตู้คอนเทนเนอร์ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ทำให้ประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงเกิดอาการหายใจไม่ออกถูกนำส่งโรงพยาบาลจำนวนหลายราย และมีผู้เสียชีวิต 1 รายโดยเหตุเกิดเมื่อวันที่ 25 พ.ย.ว่า เมื่อวันที่ 26 พ.ย.ตนได้ลง พื้นที่ร่วมกับเลขานุการฯ และปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า ในที่เกิดเหตุมีความผิดพลาดหลายจุด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯต้องเข้าตรวจสอบย้อนหลังเพื่อรายงานผลวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ว่าการท่าเรือแหลมฉบัง ได้ทำตามรายงานตามเงื่อนไขในการขออนุญาต การเก็บสินค้าวัตถุอันตรายหรือไม่ โดยกรมควบคุมมลพิจะต้องมีการส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ โดยเฉพาะตู้คอนเทนเนอร์ที่มาล็อตเดียวกับตู้คอนเทนเนอร์ที่มีปัญหา เนื่องจากยังไม่มีการตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์ที่เหลือแต่อย่างใด จึงมีความกังวลว่าตู้คอนเทนเนอร์ที่มาพร้อมกันอาจจะเกิดเหตุซ้ำซ้อนขึ้นมาได้อีก
ทั้งนี้ ยังมีความวิตกเรื่องน้ำ เพราะขณะเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ต้องใช้น้ำกรดเคมีในการควบคุมการฟุ้งกระจายสารเคมี ทำให้มีน้ำไหลลงทะเลจำนวนมาก จึงควรมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนตามมาภายหลังด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังพบว่าบริษัทจากประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้นำตู้คอนเนอร์ที่เกิดเหตุเข้ามา และในวันจันทร์ที่ 30 พ.ย.นี้ตนจะนำผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสารเคมีฟอกขาวเดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ให้มีการตรวจสอบร่วมกับกลุ่มเอ็นจีโอและหน่วยงานภาครัฐอย่างละเอียดด้วย
"ทางการท่าเรือจะต้องมีการตรวจสอบท่าเรือทั่วประเทศ เช่น ท่าเรือมาบตาพุดและท่าเทียบเรือไออาร์พีซี ที่มีการขนถ่ายสารเคมีอันตราย และมีการเก็บคลังสินค้าสารเคมีอันตราย จนต้องมีคณะกรรมการจากหลายฝ่ายเข้ามาดูแล ซึ่งเห็นว่าเรื่องนี้ต้องมีการปฏิรูปท่าเทียบเรือใหม่ทั้งหมดทั่วประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำซาก"
นายสุทธิ กล่าวอีกว่า หากการตรวจสอบยังพบว่าท่าเทียบเรือแห่งใดมีความเสี่ยง ต้องเร่งพัฒนาปรับปรุงและฟื้นฟูให้ถูกต้อง และรัฐบาลต้องตั้งคณะทำงานเข้ามาเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกรณีสารเคมีรั่วไหล พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลจัดทำหลักประกันความเสี่ยง ให้กับประชาชนที่อยู่บริเวณรอบจุดที่มีความเสี่ยง รวมถึงตั้งศูนย์ประสานงานในพื้นที่เสี่ยงภัย
ทั้งนี้ เพราะที่ผ่านมาในอดีตพื้นที่แหลมฉบังเกิดเหตุไฟไหม้คลังน้ำมันไทยออยล์ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ จึงควรมีการตรวจสอบระบบการทำงานของการท่าเรือทั่วประเทศ ซึ่งมีการเข้าใจกันว่า ในท่าเทียบเรือแต่ละแห่ง มีการดำเนินการธุรกิจที่ผิดกฎหมายแอบแฝงอยู่ เนื่องจากมีการห้ามประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องไม่ให้เข้าไปภายใน
นายสุทธิ กล่าวต่อว่า สิ่งที่คณะกรรมการ 4 ฝ่าย ที่จะต้องทำให้โรงงานที่มีความเสี่ยงสูงต้องปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 นั้น เพราะไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เหมือนท่าเรือแหลมฉบัง เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เห็นว่าการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 นั้นมีความสำคัญจริง เป็นเหตุผลที่คณะกรรมการ 4 ฝ่าย ต้องผลักดันกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 จะเป็นมาตรการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม สารโซเดียมเปอร์ซัลเฟต หรือสารฟอกขาวที่รั่วไหลยังไม่สามารถตอบได้ว่าใช่สารโซเดียมเปอร์ซัลเฟตชนิดเดียวหรือไม่ หรืออาจจะมีสารเคมีชนิดอื่นด้วย ขณะนี้กำลังรอกรมควบคุมมลพิษเข้าไปตรวจสอบความชัดเจน รวมทั้งเข้าตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์อื่นๆ ทั้งหมด
ส่วนนางสุนีย์ พู่เพ็ชร อายุ 53 ปี ผู้เสียชีวิตนั้น ทราบว่าไม่มีโรคประจำตัวและมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง โดยระหว่างเกิดเหตุมีการอพยพประชาชนออกนอกพื้นที่ในช่วงกลางคืน ซึ่งผู้เสียชีวิตก็ได้อพยพออกนอกพื้นที่ไปด้วย แต่พอรุ่งเช้าก็กลับมาที่บ้านเพราะได้รับคำยืนยันจากท่าเรือว่าสถานการณ์ปลอดภัยแล้ว แต่ในขณะที่นายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข ลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุการณ์นั้น ผู้เสียชีวิตก็เกิดอาการชักเป็นลมและหมดสติไปต่อหน้ารัฐมนตรีก่อนจะไปเสียชีวิตในที่สุด