ASTVผู้จัดการรายวัน - กสท หวั่นสภาพคล่องมีปัญหาเตรียมหาเงินสำรองใช้ปีหน้า 10,000-20,000 ล้านบาท ระบุเป็นเพราะต้องตั้งรับผลกระทบจากไลเซนส์ใหม่กทช. ซึ่งทำให้สัปทาน 20,000 ล้านบาทหายไป พร้อมเตรียมจ่ายเงินค่าติดตั้งโครงข่าย CDMA ใน 51 จังหวัดเฟสแรก 5,616 ล้านบาท แถมต้องลงทุนธุรกิจใหม่ FTTX ที่ยังไม่สามารถสร้างรายได้กลับเข้าบริษัทได้ในปีหน้า (53)
นายกฤษดา กวีญาณ คณะกรรมการบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ กสท เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 25 พ.ย.52 ที่ผ่านมา ได้มีการทบทวนแผนธุรกิจเพื่อฟื้นฟูสถานะด้านการเงินของกสท ช่วงปี 53-57 โดยจะต้องพิจารณาหาวิธีเตรียมเงินสำรองไว้ในปี 53 จำนวน 10,000-20,000 ล้านบาท เนื่องจากที่ผ่านมา กสท ไม่เคยใช้สินเชื่อมาก่อน กสท จึงจะดำเนินวิธีการหาแหล่งเงินสำรองในหลายรูปแบบ เช่น การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ การออกพันธบัตร หรือ ออกตราสารหนี้ โดย กสท อาจจะต้องดำเนินการขออนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ช่วยค้ำประกัน เช่นเดียวกับโครงการ 3G ทั่วประเทศของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
กสท ระบุว่าสาเหตุหลักที่ทำให้ต้องหาเงินสำรองคือผลกระทบจากมาตรา 78 พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับ วิทยุกระจายเสีย โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ….... ให้มีการประมูลใบอนุญาต 3G ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ซึ่งทำให้ กสท มีความเสี่ยงเกิดปัญหาด้านสภาพคล่อง แม้ขณะนี้จะถูกเลื่อนออกไปแต่อนาคตก็ต้องมีการประมูลเกิดขึ้น
การออกใบอนุญาตใหม่นี้เองที่จะทำให้รายได้จากสัมปทานของ กสท ที่มีกว่า 20,000 ล้านบาทหายไป ประกอบกับ กสท ต้องนำกระแสเงินสดที่มีอยู่ในปัจจุบันราว 20,000 ล้านบาท ไปใช้ในการลงทุนในธุรกิจใหม่ในปี 53 โดยเฉพาะการสร้างโครงข่ายไฟเบอร์ใยแก้วนำแสงทั่วประเทศ (FTTX) ซึ่งจะยังไม่สามารถสร้างรายได้เข้า กสท ทันทีในปี 53 แต่จะไปสามารถรายได้เข้า กสท ในปี 54
นอกจากนี้ กสท ยังจะต้องจ่ายเงินค่าติดตั้งโครงข่าย CDMA ใน 51 จังหวัดเฟสแรกที่ กสท ค้างจ่าย ให้กับบริษัท หัวเหว่ย จำกัด 3 งวด งวดละ 1,872 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,616 ล้านบาท หากสามารถระงับข้อพิพาทระหว่างกันได้ โดยผลกระทบเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้กสท มีโอกาสขาดสภาพคล่อง แม้ว่า กสท จะสามารถสามารถควบรวม CDMA 25 จังหวัด เข้ากับ CDMA 51 จังหวัด ซึ่งจะทำให้ กสท มีรายได้ทันที 4,000 ล้านบาท ก็ยังไม่สามารถชดเชยได้ เมื่อเทียบกับรายได้และรายจ่ายที่คาดว่าจะสูญไป
นายกฤษดากล่าวต่อว่า คณะอนุกรรมการข้อพิพาทระหว่างกสท กับหัวเหว่ย ได้สรุปแนวทางการระงับข้อพิพาทเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในแนวทางดังกล่าว กสท จะไม่ยอมจ่ายดอกเบี้ย 700-800 ล้านบาท ที่หัวเหว่ยยืนฟ้องเรียกร้องจากกสท ซึ่งฝ่ายบริหารจะต้องนำไปเป็นแนวทางในการเจรจาเพื่อระงับข้อพิพาทกับหัวเหว่ย ส่วนกรณีการติดตั้ง EVDO ที่หัวเหว่ยอ้างว่าไม่มีการผลิตอุปกรณ์ในปัจจุบันแล้วนั้น เรื่องดังกล่าวกสท จะปล่อยให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ไม่สามารถยอมความได้
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาข้อเสนอที่หัวเหว่ยยื่นมายัง กสท เป็นข้อเสนอที่กสท สามารถรับได้เพียงครึ่งเดียว ดังนั้นกสท ก็จะดำเนินการส่งเรื่องกลับให้ หัวเหว่ย จัดทำข้อเสนอใหม่ส่งมาให้กสท พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังอนุมัติจ่ายเงินปันผลพิเศษประจำไตรมาส 3 /52 จำนวน 1,245 ล้านบาทให้แก่กระทรวงการคลัง ทั้งนี้ทุกปี กสท นั้นจ่ายเงินเข้ากระทรวงการคลังเฉลี่ยปีละ 20,000 ล้านบาท
นายกฤษดา กวีญาณ คณะกรรมการบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ กสท เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 25 พ.ย.52 ที่ผ่านมา ได้มีการทบทวนแผนธุรกิจเพื่อฟื้นฟูสถานะด้านการเงินของกสท ช่วงปี 53-57 โดยจะต้องพิจารณาหาวิธีเตรียมเงินสำรองไว้ในปี 53 จำนวน 10,000-20,000 ล้านบาท เนื่องจากที่ผ่านมา กสท ไม่เคยใช้สินเชื่อมาก่อน กสท จึงจะดำเนินวิธีการหาแหล่งเงินสำรองในหลายรูปแบบ เช่น การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ การออกพันธบัตร หรือ ออกตราสารหนี้ โดย กสท อาจจะต้องดำเนินการขออนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ช่วยค้ำประกัน เช่นเดียวกับโครงการ 3G ทั่วประเทศของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
กสท ระบุว่าสาเหตุหลักที่ทำให้ต้องหาเงินสำรองคือผลกระทบจากมาตรา 78 พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับ วิทยุกระจายเสีย โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ….... ให้มีการประมูลใบอนุญาต 3G ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ซึ่งทำให้ กสท มีความเสี่ยงเกิดปัญหาด้านสภาพคล่อง แม้ขณะนี้จะถูกเลื่อนออกไปแต่อนาคตก็ต้องมีการประมูลเกิดขึ้น
การออกใบอนุญาตใหม่นี้เองที่จะทำให้รายได้จากสัมปทานของ กสท ที่มีกว่า 20,000 ล้านบาทหายไป ประกอบกับ กสท ต้องนำกระแสเงินสดที่มีอยู่ในปัจจุบันราว 20,000 ล้านบาท ไปใช้ในการลงทุนในธุรกิจใหม่ในปี 53 โดยเฉพาะการสร้างโครงข่ายไฟเบอร์ใยแก้วนำแสงทั่วประเทศ (FTTX) ซึ่งจะยังไม่สามารถสร้างรายได้เข้า กสท ทันทีในปี 53 แต่จะไปสามารถรายได้เข้า กสท ในปี 54
นอกจากนี้ กสท ยังจะต้องจ่ายเงินค่าติดตั้งโครงข่าย CDMA ใน 51 จังหวัดเฟสแรกที่ กสท ค้างจ่าย ให้กับบริษัท หัวเหว่ย จำกัด 3 งวด งวดละ 1,872 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,616 ล้านบาท หากสามารถระงับข้อพิพาทระหว่างกันได้ โดยผลกระทบเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้กสท มีโอกาสขาดสภาพคล่อง แม้ว่า กสท จะสามารถสามารถควบรวม CDMA 25 จังหวัด เข้ากับ CDMA 51 จังหวัด ซึ่งจะทำให้ กสท มีรายได้ทันที 4,000 ล้านบาท ก็ยังไม่สามารถชดเชยได้ เมื่อเทียบกับรายได้และรายจ่ายที่คาดว่าจะสูญไป
นายกฤษดากล่าวต่อว่า คณะอนุกรรมการข้อพิพาทระหว่างกสท กับหัวเหว่ย ได้สรุปแนวทางการระงับข้อพิพาทเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในแนวทางดังกล่าว กสท จะไม่ยอมจ่ายดอกเบี้ย 700-800 ล้านบาท ที่หัวเหว่ยยืนฟ้องเรียกร้องจากกสท ซึ่งฝ่ายบริหารจะต้องนำไปเป็นแนวทางในการเจรจาเพื่อระงับข้อพิพาทกับหัวเหว่ย ส่วนกรณีการติดตั้ง EVDO ที่หัวเหว่ยอ้างว่าไม่มีการผลิตอุปกรณ์ในปัจจุบันแล้วนั้น เรื่องดังกล่าวกสท จะปล่อยให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ไม่สามารถยอมความได้
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาข้อเสนอที่หัวเหว่ยยื่นมายัง กสท เป็นข้อเสนอที่กสท สามารถรับได้เพียงครึ่งเดียว ดังนั้นกสท ก็จะดำเนินการส่งเรื่องกลับให้ หัวเหว่ย จัดทำข้อเสนอใหม่ส่งมาให้กสท พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังอนุมัติจ่ายเงินปันผลพิเศษประจำไตรมาส 3 /52 จำนวน 1,245 ล้านบาทให้แก่กระทรวงการคลัง ทั้งนี้ทุกปี กสท นั้นจ่ายเงินเข้ากระทรวงการคลังเฉลี่ยปีละ 20,000 ล้านบาท