นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการปรับปรุงระบบราชการว่า เป็นการรวบรวมเพื่อเป็นการปรับปรุงระบบราชการต่อไป แต่ที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ให้หน่วยงาน ต่างๆ ทบทวนภารกิจตัวเอง และได้ให้ครม.พิจารณาแล้วที่สุดเห็นว่า มีความก้าวหน้าค่อนข้างยาก เพราะในอดีตเวลาให้หน่วยงานต่างๆ ทบทวนภารกิจของตัวเอง พบว่า มักจะภารกิจส่วนใหญ่ของตนเป็นภารกิจหลัก สุดท้ายจะทำอะไรได้น้อยมาก ซึ่งตนได้คุยกับทางก.พ.ร.แล้วเบื้องต้น จะเชิญให้มีการประชุมร่วมกันทั้งก.พ. และก.พ.ร.
ทั้งนี้ การหยิบยกภารกิจกรณีตัวอย่างการปรับภารกิจของบางหน่วยงาน ออกจากระบบราชการไปและมีมาตรการรองรับที่ดีสำหรับทุกฝ่าย และจะทำในลักษณะโครงการนำร่อง และคิดว่าหากทำโครงการสำเร็จจะสามารถขับเคลื่อน ตามเป้าหมายได้ดี คาดว่าประมาณ 2-3 สัปดาห์ในการให้ทางก.พ. และก.พ.ร.หารือ
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ตีกลับมาตรการทบทวนบทบาทภารกิจของส่วนราชการ ตามมาตรา 33 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลัหเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ตามที่ ก.พ.ร.เสนอ
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขอให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการ้าราชการพลเรือน (กพ.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) นัดเวลาประชุมอย่างเร่งด่วน เพื่อกำหนด เรื่องการดึงส่วนราชการออกนอกระบบตามที่ ก.พ.ร.เสนอ อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรียังเห็นว่า บทบาทของ ก.พ.ร. ในขณะนี้ก็สมควรที่จะต้องมาพิจารณาใหม่ว่ามีความซ้ำซ้อนกับการทำการของ กพ.หรือไม่
นายกรัฐมนตรีเห็นว่า ข้อเสนอที่ ก.พ.ร.เสนอมานั้นไม่ผิด แต่เห็นว่า บางเรื่องทำได้ยาก เพราะทราบว่าอายุเฉลี่ยของข้าราชการขณะนี้สูงถึง 40 ปี ซึ่งถือว่ามากและขอให้ก.พ.ร.เสนอเป็นโครงการนำร่องมาหนึ่งโครงการเพื่อเป็นตัวอย่างว่าหากออกจากระบบจะได้ประโยชน์อย่างไร”
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ครม. แจ้งว่า ในที่ประชุมนายกรัฐมนตรีเห็นว่า ก.พ.ร. ซึ่งตามกฎหมายเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินการปรับระบบราชการในระยะ 3 ปีตามกฎหมายและมีการอนุมัติให้ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แต่เมื่อ ก.พ.ร. อยู่มาถึง 7-8 ปี ก็ควรจะทบทวนบทบาทและภารกิจของ ก.พ.ร.เองด้วย ว่ามีความซ้ำซ้อนหรือไม่
ทั้งนี้ ก.พ.ร.เสนอปรับภารกิจให้คงเหลือเฉพาะบทบาทภารกิจหลักที่สำคัญ จำเป็นและมีความคุ้มค่าต่อการปฏิบัติงาน และจะจัดการกำลังคนประเภทต่างๆ โดยเฉพาะข้าราชการกับพนักงานราชการอย่างเหมาะสม ขณะที่จะสามารถลดงบประมาณได้กว่า 50,000 ล้านบาท
ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีได้ขอให้ทบทวนบทบาทภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่า การให้มีการระงับการขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่หรือปรับปรุงหน่วยงานเป็นกรณีทั่วไป อาจกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ ตามภารกิจของรัฐทำให้ประสิทธิภาพลดลงได้ เพราะลักษณะงานที่เปลียนแปลงไป อาจไม่สอดคล้องกับโครงสร้างเดิมหรือจำนวนบุคลากรที่มีไม่เพียงพอ
ขณะที่สำนักงบประมาณ เห็นว่า ประมาณค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ประหยัดได้ตามมาตรการ มีความแตกต่างกันมาก ดังนั้นจึงควรทบทวนให้ถูกต้อง ครบถ้วนเพื่อประกอบการตัดสินใจ ขณะที่เห็นว่า ควรจะทบทวนหลักการค่าตอบแทน ตามผลงานหรือ โบนัสข้าราชการเพื่อจะพิจารณาถึงความประหยัดรายจ่ายในแต่ละปี ขณะที่โครงการเออร์รี่ รีไทร์ควรมีมาตรการเพิ่มเติมที่จะประกันได้ว่าการคัดเลือก สามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคคลระยะยาว โดยรักษาสิทธิของระบบราชการไว้
การปรับลดพนักงานราชการบางส่วน การจัดตั้งองค์การชั่วคราวเพื่อการรองรับการโอนภารกิจต้องศึกษาอย่างรอบครอบ เพราะจะมีผลกระทบต่อขวัญกำลังใจ
ทั้งนี้ การหยิบยกภารกิจกรณีตัวอย่างการปรับภารกิจของบางหน่วยงาน ออกจากระบบราชการไปและมีมาตรการรองรับที่ดีสำหรับทุกฝ่าย และจะทำในลักษณะโครงการนำร่อง และคิดว่าหากทำโครงการสำเร็จจะสามารถขับเคลื่อน ตามเป้าหมายได้ดี คาดว่าประมาณ 2-3 สัปดาห์ในการให้ทางก.พ. และก.พ.ร.หารือ
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ตีกลับมาตรการทบทวนบทบาทภารกิจของส่วนราชการ ตามมาตรา 33 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลัหเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ตามที่ ก.พ.ร.เสนอ
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขอให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการ้าราชการพลเรือน (กพ.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) นัดเวลาประชุมอย่างเร่งด่วน เพื่อกำหนด เรื่องการดึงส่วนราชการออกนอกระบบตามที่ ก.พ.ร.เสนอ อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรียังเห็นว่า บทบาทของ ก.พ.ร. ในขณะนี้ก็สมควรที่จะต้องมาพิจารณาใหม่ว่ามีความซ้ำซ้อนกับการทำการของ กพ.หรือไม่
นายกรัฐมนตรีเห็นว่า ข้อเสนอที่ ก.พ.ร.เสนอมานั้นไม่ผิด แต่เห็นว่า บางเรื่องทำได้ยาก เพราะทราบว่าอายุเฉลี่ยของข้าราชการขณะนี้สูงถึง 40 ปี ซึ่งถือว่ามากและขอให้ก.พ.ร.เสนอเป็นโครงการนำร่องมาหนึ่งโครงการเพื่อเป็นตัวอย่างว่าหากออกจากระบบจะได้ประโยชน์อย่างไร”
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ครม. แจ้งว่า ในที่ประชุมนายกรัฐมนตรีเห็นว่า ก.พ.ร. ซึ่งตามกฎหมายเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินการปรับระบบราชการในระยะ 3 ปีตามกฎหมายและมีการอนุมัติให้ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แต่เมื่อ ก.พ.ร. อยู่มาถึง 7-8 ปี ก็ควรจะทบทวนบทบาทและภารกิจของ ก.พ.ร.เองด้วย ว่ามีความซ้ำซ้อนหรือไม่
ทั้งนี้ ก.พ.ร.เสนอปรับภารกิจให้คงเหลือเฉพาะบทบาทภารกิจหลักที่สำคัญ จำเป็นและมีความคุ้มค่าต่อการปฏิบัติงาน และจะจัดการกำลังคนประเภทต่างๆ โดยเฉพาะข้าราชการกับพนักงานราชการอย่างเหมาะสม ขณะที่จะสามารถลดงบประมาณได้กว่า 50,000 ล้านบาท
ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีได้ขอให้ทบทวนบทบาทภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่า การให้มีการระงับการขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่หรือปรับปรุงหน่วยงานเป็นกรณีทั่วไป อาจกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ ตามภารกิจของรัฐทำให้ประสิทธิภาพลดลงได้ เพราะลักษณะงานที่เปลียนแปลงไป อาจไม่สอดคล้องกับโครงสร้างเดิมหรือจำนวนบุคลากรที่มีไม่เพียงพอ
ขณะที่สำนักงบประมาณ เห็นว่า ประมาณค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ประหยัดได้ตามมาตรการ มีความแตกต่างกันมาก ดังนั้นจึงควรทบทวนให้ถูกต้อง ครบถ้วนเพื่อประกอบการตัดสินใจ ขณะที่เห็นว่า ควรจะทบทวนหลักการค่าตอบแทน ตามผลงานหรือ โบนัสข้าราชการเพื่อจะพิจารณาถึงความประหยัดรายจ่ายในแต่ละปี ขณะที่โครงการเออร์รี่ รีไทร์ควรมีมาตรการเพิ่มเติมที่จะประกันได้ว่าการคัดเลือก สามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคคลระยะยาว โดยรักษาสิทธิของระบบราชการไว้
การปรับลดพนักงานราชการบางส่วน การจัดตั้งองค์การชั่วคราวเพื่อการรองรับการโอนภารกิจต้องศึกษาอย่างรอบครอบ เพราะจะมีผลกระทบต่อขวัญกำลังใจ