“มาร์ค” สั่งทบทวนข้าราชการออกนอกระบบ ชี้ ทำยาก เสนอนำร่อง ขรก.ออกนอกระบบ ยันตั้ง ก.พ.ร.มา 8 ปี ควรทบทวนโบนัสข้าราชการใหม่ ที่ประชุมเห็นชอบตามข้อเสนอกระทรวงยุติธรรม โยก “กัญญานุช” นั่งรองปลัด เด้ง “ดุษฎี” รองดีเอสไอเข้ากรุ เป็นผู้ตรวจฯ
วันนี้ (24 พ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการปรับปรุงระบบราชการ ว่า เป็นการรวบรวมเพื่อเป็นการปรับปรุงระบบราชการต่อไป แต่ที่ ก.พ.ร.ให้หน่วยงานต่างๆทบทวนภารกิจตัวเอง และได้ให้ ครม.พิจารณาแล้วที่สุดเห็นว่ามีความก้าวหน้าค่อนข้างยาก เพราะในอดีตเวลาให้หน่วยงานต่างๆ ทบทวนภารกิจของตัวเอง พบว่า มักจะมีภารกิจส่วนใหญ่ของตนเป็นภารกิจหลัก สุดท้ายจะทำอะไรได้น้อยมาก ซึ่งตนได้คุยกับทาง ก.พ.ร.แล้วเบื้องต้น จะเชิญให้มีการประชุมร่วมกันทั้ง ก.พ.และ ก.พ.ร.
ทั้งนี้ การหยิบยกภารกิจกรณีตัวอย่างการปรับภารกิจของบางหน่วยงานออกจากระบบราชการไป และมีมาตรการรองรับที่ดีสำหรับทุกฝ่าย และจะทำในลักษณะโครงการนำร่อง และคิดว่าหากทำโครงการสำเร็จ จะสามารถขับเคลื่อนตามเป้าหมายได้ดี คาดว่า ประมาณ 2-3 สัปดาห์ในการให้ทาง ก.พ.และ ก.พ.ร.หารือ
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.ตีกลับมาตรการทบทวนบทบาทภารกิจของส่วนราชการ ตามมาตรา 33 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลัหเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ตามที่ ก.พ.ร.เสนอ
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เห็นว่า ขอให้ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯ ที่กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการ้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) นัดเวลาประชุมอย่างเร่งด่วนเพื่อกำหนดเรื่องการดึงส่วนราชการออกนอกระบบตามที่ ก.พ.ร.เสนอ อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรียังเห็นว่า บทบาทของ ก.พ.ร.ในขณะนี้ก็สมควรที่จะต้องมาพิจารณาใหม่ว่ามีความซ้ำซ้อนกับการทำการของ ก.พ.หรือไม่
“นายกฯเห็นว่า ข้อเสนอที่ ก.พ.ร.เสนอมานั้น ไม่ผิด แต่เห็นว่าบางเรื่องทำได้ยาก เพราะทราบว่าอายุเฉลี่ยของข้าราชการขณะนี้สูงถึง 40 ปี ซึ่งถือว่ามากและขอให้ ก.พ.ร.เสนอเป็นโครงการนำร่องมาหนึ่งโครงการเพื่อเป็นตัวอย่างว่าหากออกจากระบบจะได้ประโยชน์อย่างไร”
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ครม.แจ้งว่า ในที่ประชุมนายกฯ เห็นว่า ก.พ.ร.ซึ่งตามกฎหมายเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินการปรับระบบราชการในระยะ 3 ปีตามกฎหมายและมีการอนุมัติให้ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แต่เมื่อ ก.พ.ร.อยู่มาถึง 7-8 ปี ก็ควรจะทบทวนบทบาทและภารกิจของ ก.พ.ร.เองด้วย ว่ามีความซ้ำซ้อนหรือไม่
ทั้งนี้ ก.พ.ร.เสนอปรับภารกิจให้คงเหลือเฉพาะบทบาทภารกิจหลักที่สำคัญ จำเป็นและมีความคุ้มค่าต่อการปฏิบัติงาน และจะจัดการกำลังคนประเภทต่างๆ โดยเฉพาะข้าราชการกับพนักงานราชการอย่างเหมาะสม ขณะที่จะสามารถลดงบประมาณได้กว่า 50,000 ล้านบาท
ที่ผ่านมา นายกฯได้ขอให้ทบทวนบทบาทภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่า การให้มีการระงับการขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่ หรือปรับปรุงหน่วยงานเป็นกรณีทั่วไป อาจกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของรัฐทำให้ประสิทธิภาพลดลงได้ เพราะลักษณะงานที่เปลี่ยนแปลงไปอาจไม่สอดคล้องกับโครงสร้างเดิมหรือจำนวนบุคลากรที่มีไม่เพียงพอ
ขณะที่สำนักงบประมาณ เห็นว่า ประมาณค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ประหยัดได้ตามมาตรการ มีความแตกต่างกันมาก ดังนั้น จึงควรทบทวนให้ถูกต้อง ครบถ้วนเพื่อประกอบการตัดสินใจ ขณะที่เห็นว่า ควรจะทบทวนหลักการค่าตอบแทนตามผลงาน หรือโบนัสข้าราชการเพื่อจะพิจารณาถึงความประหยัดรายจ่ายในแต่ละปี ขณะที่โครงการเออร์ลีรีไทร์ควรมีมาตรการเพิ่มเติมที่จะประกันได้ว่าการคัดเลือกสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคคลระยะยาว โดยรักษาสิทธิของระบบราชการไว้
“การปรับลดพนักงานราชการบางส่วน การจัดตั้งองค์การชั่วคราวเพื่อการรองรับการโอนภารกิจต้องศึกษาอย่างรอบครอบ เพราะจะมีผลกระทบต่อขวัญกำลังใจ”
นพ.ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.อนุมิตงตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ที่ว่างและแทนกัน จำนวน 3 คน ดังนี้ 1.เลื่อน นายวิทยา สุริยะวงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงาน สำนักงานกิจการยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงาน สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 2.ย้าย น.ส.กัญญานุช สอทิพย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม และ 3.เลื่อน พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
วันนี้ (24 พ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการปรับปรุงระบบราชการ ว่า เป็นการรวบรวมเพื่อเป็นการปรับปรุงระบบราชการต่อไป แต่ที่ ก.พ.ร.ให้หน่วยงานต่างๆทบทวนภารกิจตัวเอง และได้ให้ ครม.พิจารณาแล้วที่สุดเห็นว่ามีความก้าวหน้าค่อนข้างยาก เพราะในอดีตเวลาให้หน่วยงานต่างๆ ทบทวนภารกิจของตัวเอง พบว่า มักจะมีภารกิจส่วนใหญ่ของตนเป็นภารกิจหลัก สุดท้ายจะทำอะไรได้น้อยมาก ซึ่งตนได้คุยกับทาง ก.พ.ร.แล้วเบื้องต้น จะเชิญให้มีการประชุมร่วมกันทั้ง ก.พ.และ ก.พ.ร.
ทั้งนี้ การหยิบยกภารกิจกรณีตัวอย่างการปรับภารกิจของบางหน่วยงานออกจากระบบราชการไป และมีมาตรการรองรับที่ดีสำหรับทุกฝ่าย และจะทำในลักษณะโครงการนำร่อง และคิดว่าหากทำโครงการสำเร็จ จะสามารถขับเคลื่อนตามเป้าหมายได้ดี คาดว่า ประมาณ 2-3 สัปดาห์ในการให้ทาง ก.พ.และ ก.พ.ร.หารือ
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.ตีกลับมาตรการทบทวนบทบาทภารกิจของส่วนราชการ ตามมาตรา 33 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลัหเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ตามที่ ก.พ.ร.เสนอ
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เห็นว่า ขอให้ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯ ที่กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการ้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) นัดเวลาประชุมอย่างเร่งด่วนเพื่อกำหนดเรื่องการดึงส่วนราชการออกนอกระบบตามที่ ก.พ.ร.เสนอ อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรียังเห็นว่า บทบาทของ ก.พ.ร.ในขณะนี้ก็สมควรที่จะต้องมาพิจารณาใหม่ว่ามีความซ้ำซ้อนกับการทำการของ ก.พ.หรือไม่
“นายกฯเห็นว่า ข้อเสนอที่ ก.พ.ร.เสนอมานั้น ไม่ผิด แต่เห็นว่าบางเรื่องทำได้ยาก เพราะทราบว่าอายุเฉลี่ยของข้าราชการขณะนี้สูงถึง 40 ปี ซึ่งถือว่ามากและขอให้ ก.พ.ร.เสนอเป็นโครงการนำร่องมาหนึ่งโครงการเพื่อเป็นตัวอย่างว่าหากออกจากระบบจะได้ประโยชน์อย่างไร”
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ครม.แจ้งว่า ในที่ประชุมนายกฯ เห็นว่า ก.พ.ร.ซึ่งตามกฎหมายเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินการปรับระบบราชการในระยะ 3 ปีตามกฎหมายและมีการอนุมัติให้ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แต่เมื่อ ก.พ.ร.อยู่มาถึง 7-8 ปี ก็ควรจะทบทวนบทบาทและภารกิจของ ก.พ.ร.เองด้วย ว่ามีความซ้ำซ้อนหรือไม่
ทั้งนี้ ก.พ.ร.เสนอปรับภารกิจให้คงเหลือเฉพาะบทบาทภารกิจหลักที่สำคัญ จำเป็นและมีความคุ้มค่าต่อการปฏิบัติงาน และจะจัดการกำลังคนประเภทต่างๆ โดยเฉพาะข้าราชการกับพนักงานราชการอย่างเหมาะสม ขณะที่จะสามารถลดงบประมาณได้กว่า 50,000 ล้านบาท
ที่ผ่านมา นายกฯได้ขอให้ทบทวนบทบาทภารกิจของกระทรวงสาธารณสุข โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่า การให้มีการระงับการขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่ หรือปรับปรุงหน่วยงานเป็นกรณีทั่วไป อาจกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของรัฐทำให้ประสิทธิภาพลดลงได้ เพราะลักษณะงานที่เปลี่ยนแปลงไปอาจไม่สอดคล้องกับโครงสร้างเดิมหรือจำนวนบุคลากรที่มีไม่เพียงพอ
ขณะที่สำนักงบประมาณ เห็นว่า ประมาณค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ประหยัดได้ตามมาตรการ มีความแตกต่างกันมาก ดังนั้น จึงควรทบทวนให้ถูกต้อง ครบถ้วนเพื่อประกอบการตัดสินใจ ขณะที่เห็นว่า ควรจะทบทวนหลักการค่าตอบแทนตามผลงาน หรือโบนัสข้าราชการเพื่อจะพิจารณาถึงความประหยัดรายจ่ายในแต่ละปี ขณะที่โครงการเออร์ลีรีไทร์ควรมีมาตรการเพิ่มเติมที่จะประกันได้ว่าการคัดเลือกสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคคลระยะยาว โดยรักษาสิทธิของระบบราชการไว้
“การปรับลดพนักงานราชการบางส่วน การจัดตั้งองค์การชั่วคราวเพื่อการรองรับการโอนภารกิจต้องศึกษาอย่างรอบครอบ เพราะจะมีผลกระทบต่อขวัญกำลังใจ”
นพ.ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.อนุมิตงตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ที่ว่างและแทนกัน จำนวน 3 คน ดังนี้ 1.เลื่อน นายวิทยา สุริยะวงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงาน สำนักงานกิจการยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงาน สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม 2.ย้าย น.ส.กัญญานุช สอทิพย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม และ 3.เลื่อน พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป