ASTVผู้จัดการรายวัน-วุฒิสภาเลือกรอบสองฉลุยได้ "สุรนันท์" เป็นกทช. แทนตำแหน่งที่ว่างจากการลาออก ส่วนการคัด กทช.แทนตำแหน่งที่ว่างจากการจับสลากออก 3 คน รอบแรก"พ.อ.นที – บัณฑูร" ผ่าน รอบสอง"พนา"นำลิ่ว
ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวานนี้ (23พ.ย.) มีนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม เพื่อเลือกกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) แทนตำแหน่งที่ว่างโดยการลาออก 1 ตำแหน่ง โดยมีผู้ได้รับการเสนอชื่อ 2 คน คือนายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร เลขาธิการ กทช. และพล.อ. ชูชาติ สุขสงวน ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของ กทช. อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงแรกเป็นการประชุมโดยเปิดเผย เพื่อพิจารณารายงานการตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้ได้รับการเสนอชื่อ ซึ่งมีการอภิปรายประมาณ 1 ชั่วโมง โดยมีประเด็นน่าสนใจ อาทิ นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา กล่าวว่า มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากว่า มีการนำผู้สมัครบางคนมาขอเสียงสนับสนุน และแจกเอกสารแนะนำตัวหลังห้องรับประทานอาหารของสมาชิกในช่วงที่ผ่านมา ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ขอให้คณะกมธ.ตรวจสอบประวัติฯ ชี้แจงด้วย เพราะปฏิเสธรับเป็นเรื่องร้องเรียน
ส่วนนาย ธวัช บวรวนิชยกูร ส.ว.สรรหา กล่าวว่า กมธ.ได้ขอข้อมูลไปยังองค์กรต่างๆ ไม่ได้มีการส่งข้อมูลมา แต่ภายหลังวันที่ 13 พ.ย. ที่ผ่านมา ทำไมมีการส่งเอกสารจาก สตง.มา และส่งให้สมาชิกที่บ้านโดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับนายสุรนันท์ ถึง 5 ประเด็น จึงสงสัยว่ามีกระบวนการทำลายความน่าเชื่อถือของผู้ได้รับการเสนอชื่อหรือไม่
ขณะที่นายอนันต์ วรธิติพงศ์ ส.ว.สรรหา เลขานุการกมธ. ชี้แจงว่า เอกสารดังกล่าวตนไม่ได้รับ และคิดว่าข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ที่ถูกพาดพิง เพราะไม่มีโอกาสได้ชี้แจง อย่างไรก็ดี การทำงานของกมธ.ได้ตรวจสอบประวัติ และความประพฤติ โดยได้ข้อมูลจาก 17 องค์กร และจะขอชี้แจงในการประชุมลับ ทำให้นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ กล่าวว่า เอกสารที่มาภายหลังโดยที่ผู้ได้รับการเสนอไม่ได้ชี้แจง ถือว่าไม่ได้ให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่ถูกกกล่าวหา จึงต้องพิจารณาเรื่องนี้ด้วย
จากนั้นเป็นการประชุมลับใช้เวลา 30 นาที ก่อนที่จะลงมติด้วยการใช้บัตรลงคะแนนลับ ซึ่งต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง คือต้องได้ 76 เสียงขึ้นไป หากรอบแรกได้ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ให้ลงคะแนนลับรอบที่สองทันที โดยต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งเช่นกัน หากไม่ได้ให้วุฒิสภาส่งชื่อกลับไปให้คณะกรรมการสรรหา เพื่อสรรหาผู้สมควรเป็นกทช.มาใหม่
ทั้งนี้ การลงคะแนนลับรอบแรก ผลปรากฏว่านายสุรนันท์ ได้ 69 คะแนน พล.อ.ชูชาติ ได้ 56 คะแนน งดออกเสียง 17 คะแนน ทำให้ต้องมีการลงคะแนนลับรอบสอง ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนลงคะแนน พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ ส.ว.อ่างทอง ขอหารือว่า วุฒิสภา เคยเลือกกทช. โดยลงคะแนนไม่ถึงกึ่งหนึ่งมาแล้วรอบหนึ่ง เมื่อหลายเดือนที่แล้ว ทำให้การเลือก กทช.ล่าช้ามา 1 ปี ขณะที่กทช. มีความสำคัญมาก ขณะนี้ก็มีเค้าลางว่าอาจจะได้ไม่ถึงกึ่งหนึ่งอีกครั้งทำให้ต้องมีการสรรหามาใหม่ จึงขอหารือว่ามีทางออกอื่นอย่างไรบ้างในเรื่องนี้ ทำให้นาย นิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 ที่กำลังทำหน้าที่ประธานการประชุมแจ้งว่าในที่ประชุมกมธ.วิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิ) เห็นปัญหาและหารือเรื่องนี้ และเห็นว่า ใครได้คะแนนสูงกว่าในรอบแรก ส.ว.ก็มีสัญญาสุภาพบุรุษกันอยู่ จากนั้นจึงมีการลงคะแนนลับรองสอง ผลปรากฏว่านายสุรนันท์ ได้ 82 คะแนน พล.อ.ชูชาติ ได้ 42 คะแนน งดออกเสียง 17 คะแนน ทำให้นายสุรนันท์ ได้รับเลือกเป็น กทช. ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้จะเป็นการตรวจสอบเอกสารอีกครั้ง ก่อนที่ประธานวุฒิสภาจะนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯต่อไป
ทั้งนี้ นายสุรนันท์ เกิดวันที่ 14 เมษายน 2495 อายุ 57 ปี สมรสกับนางรัชนี กัลยาณคุณาวุฒิ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จบการศึกษา เศรษฐศาสตร์บัณฑิต สาขาการเงินและการคลังจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์พัฒนาการ จาก Williams College สหรัฐอเมริกา ปริญญาบัตรวปอ. หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชนปี 2545 หลักสูตร ITU Executive High level Training for Regulators and Policy Makers สถาบัน International Telecommunication Union (ITU) ประเทศฮ่องกง หลักสูตร Effective Regulation in a Boardband World Executive level Training for Regulators สถาบัน ITU ประเทศ ตูนีเซีย อบรมและดูงานด้านนโยบายและการวางแผนโทรคมนาคมและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ สถาบัน SICA ประเทศญี่ปุ่น เคยดำรงตำแหน่งเป็น ผอ.กองโครงสร้างพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ผู้ช่วยเลขาธิการ สศช. ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สศช. และในปี 2548 ถึงปัจจุบัน เป็นเลขาธิการ กทช.
**"นที-บัณฑูร-พนา"แทนผู้พ้นตำแหน่ง
หลังจากได้กทช. ที่มาแทนผู้ที่ลาออกแล้ว จากนั้นเข้าสู่วาระการเลือก กทช.แทนตำแหน่งที่ว่าง กรณีกรรมการพ้นตำแหน่งโดยการจับสลาก 3 คน ทั้งนี้ มีผู้ได้รับการเสนอชื่อ 6 คน คือ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ นายธรรมนูญ จุลมณีโชติ พล.ร.อ. สุรินทร์ เริงอารมณ์ นายบัณฑูร สุภัควณิช นาย พนา ทองมีอาคม และนางนรีวรรณ จินตกานนท์ เก่งเรียน โดยเป็นการประชุมลับ ใช้เวลา 45 นาที ก่อนที่จะลงมติด้วยการใช้บัตรลงคะแนนลับ ซึ่งต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งคือ ต้องได้ 76 เสียงขึ้นไป หากรอบแรกได้ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ให้ลงคะแนนลับรอบที่สองทันที โดยต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งเช่นกัน หากไม่ได้ให้วุฒิสภาส่งชื่อกลับไปให้คณะกรรมการสรรหา สรรหาผู้สมควรเป็น กทช.มาใหม่
ทั้งนี้ การลงคะแนนลับรอบแรก ผลปรากฏ พ.อ.นที ได้ 117 เสียง นายบัณฑูรได้ 83 คะแนน นายพนา ได้ 75 คะแนน พล.ร.อ.สุรินทร์ ได้ 52 คะแนนนางนรีวรรณ ได้ 48 คะแนน นายธรรมนูญ ได้ 26 คะแนน ทำให้ รอบแรกถือว่า มี 2 คน ได้รับเลือกคือ พ.อ.นที และ นายบัณฑูร
ส่วนการลงคะแนนรอบสองอีก 1 ตำแหน่ง ปรากฏว่า นายพนา ได้ 109 คะแนน พล.ร.อ. สุรินทร์ ได้ 19 คะแนน นายธรรมนูญ ได้ 4 คะแนน นางนรีวรรณ ได้ 2 คะแนน ทำให้นายพนา ได้รับเลือกเป็น กทช. ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้ จะเป็นการตรวจสอบเอกสารของผู้ได้รับเลือกทั้งสามคนอีกครั้ง ก่อนที่ประธานวุฒิสภา จะนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯต่อไป
**เอกชนทำใจ 3G ล่อเลื่อนยาว
พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานกทช. กล่าวว่า กทช.ชุดจับฉลากลาออกจะยังคงทำหน้าที่ไปต่อไปจนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ กทช.ชุดใหม่ ส่วนเรื่องต่างๆที่กทช.ชุดจับฉลากออกได้ทำไว้ โดยเฉพาะเรื่องการประมูลคลื่นความถี่ 3Gนั้นขึ้นอยู่กับว่ากทช.ชุดใหม่จะนำเรื่องดังกล่าวไปดำเนินการต่อทันที หรือนำแผนที่ทำไว้ไปทบทวนอีกครั้งก็สามารถดำเนินการได้ทั้ง 2 อย่างขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ กทช.ชุดใหม่
นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า การประมูล 3G นั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ กทช.ชุดใหม่ 4 คนที่จะเข้ามารับช่วงต่อ หากกทช.ชุดใหม่ต้องการเดินหน้าประมูล 3G โดยยึดตามที่กทช.ชุดเดิมเตรียมการไว้ก็ถือเป็นเรื่องดี ที่โครงการสามารถเดินหน้าได้ตามกำหนดเดิม แต่หากกทช.ต้องการทบทวนเรื่องดังกล่าวใหม่ก็ต้องปล่อยไปเพราะเรื่องนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กทช.และหากการประมูล 3G ล่าช้าออกไปอีกภาคเอกชนก็ต้องยอมรับเพราะเรื่องดังกล่าวล่าช้ามานานแล้ว
ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวานนี้ (23พ.ย.) มีนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม เพื่อเลือกกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) แทนตำแหน่งที่ว่างโดยการลาออก 1 ตำแหน่ง โดยมีผู้ได้รับการเสนอชื่อ 2 คน คือนายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร เลขาธิการ กทช. และพล.อ. ชูชาติ สุขสงวน ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของ กทช. อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงแรกเป็นการประชุมโดยเปิดเผย เพื่อพิจารณารายงานการตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้ได้รับการเสนอชื่อ ซึ่งมีการอภิปรายประมาณ 1 ชั่วโมง โดยมีประเด็นน่าสนใจ อาทิ นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา กล่าวว่า มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากว่า มีการนำผู้สมัครบางคนมาขอเสียงสนับสนุน และแจกเอกสารแนะนำตัวหลังห้องรับประทานอาหารของสมาชิกในช่วงที่ผ่านมา ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ขอให้คณะกมธ.ตรวจสอบประวัติฯ ชี้แจงด้วย เพราะปฏิเสธรับเป็นเรื่องร้องเรียน
ส่วนนาย ธวัช บวรวนิชยกูร ส.ว.สรรหา กล่าวว่า กมธ.ได้ขอข้อมูลไปยังองค์กรต่างๆ ไม่ได้มีการส่งข้อมูลมา แต่ภายหลังวันที่ 13 พ.ย. ที่ผ่านมา ทำไมมีการส่งเอกสารจาก สตง.มา และส่งให้สมาชิกที่บ้านโดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับนายสุรนันท์ ถึง 5 ประเด็น จึงสงสัยว่ามีกระบวนการทำลายความน่าเชื่อถือของผู้ได้รับการเสนอชื่อหรือไม่
ขณะที่นายอนันต์ วรธิติพงศ์ ส.ว.สรรหา เลขานุการกมธ. ชี้แจงว่า เอกสารดังกล่าวตนไม่ได้รับ และคิดว่าข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ที่ถูกพาดพิง เพราะไม่มีโอกาสได้ชี้แจง อย่างไรก็ดี การทำงานของกมธ.ได้ตรวจสอบประวัติ และความประพฤติ โดยได้ข้อมูลจาก 17 องค์กร และจะขอชี้แจงในการประชุมลับ ทำให้นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ กล่าวว่า เอกสารที่มาภายหลังโดยที่ผู้ได้รับการเสนอไม่ได้ชี้แจง ถือว่าไม่ได้ให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่ถูกกกล่าวหา จึงต้องพิจารณาเรื่องนี้ด้วย
จากนั้นเป็นการประชุมลับใช้เวลา 30 นาที ก่อนที่จะลงมติด้วยการใช้บัตรลงคะแนนลับ ซึ่งต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง คือต้องได้ 76 เสียงขึ้นไป หากรอบแรกได้ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ให้ลงคะแนนลับรอบที่สองทันที โดยต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งเช่นกัน หากไม่ได้ให้วุฒิสภาส่งชื่อกลับไปให้คณะกรรมการสรรหา เพื่อสรรหาผู้สมควรเป็นกทช.มาใหม่
ทั้งนี้ การลงคะแนนลับรอบแรก ผลปรากฏว่านายสุรนันท์ ได้ 69 คะแนน พล.อ.ชูชาติ ได้ 56 คะแนน งดออกเสียง 17 คะแนน ทำให้ต้องมีการลงคะแนนลับรอบสอง ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนลงคะแนน พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ ส.ว.อ่างทอง ขอหารือว่า วุฒิสภา เคยเลือกกทช. โดยลงคะแนนไม่ถึงกึ่งหนึ่งมาแล้วรอบหนึ่ง เมื่อหลายเดือนที่แล้ว ทำให้การเลือก กทช.ล่าช้ามา 1 ปี ขณะที่กทช. มีความสำคัญมาก ขณะนี้ก็มีเค้าลางว่าอาจจะได้ไม่ถึงกึ่งหนึ่งอีกครั้งทำให้ต้องมีการสรรหามาใหม่ จึงขอหารือว่ามีทางออกอื่นอย่างไรบ้างในเรื่องนี้ ทำให้นาย นิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 ที่กำลังทำหน้าที่ประธานการประชุมแจ้งว่าในที่ประชุมกมธ.วิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิ) เห็นปัญหาและหารือเรื่องนี้ และเห็นว่า ใครได้คะแนนสูงกว่าในรอบแรก ส.ว.ก็มีสัญญาสุภาพบุรุษกันอยู่ จากนั้นจึงมีการลงคะแนนลับรองสอง ผลปรากฏว่านายสุรนันท์ ได้ 82 คะแนน พล.อ.ชูชาติ ได้ 42 คะแนน งดออกเสียง 17 คะแนน ทำให้นายสุรนันท์ ได้รับเลือกเป็น กทช. ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้จะเป็นการตรวจสอบเอกสารอีกครั้ง ก่อนที่ประธานวุฒิสภาจะนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯต่อไป
ทั้งนี้ นายสุรนันท์ เกิดวันที่ 14 เมษายน 2495 อายุ 57 ปี สมรสกับนางรัชนี กัลยาณคุณาวุฒิ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จบการศึกษา เศรษฐศาสตร์บัณฑิต สาขาการเงินและการคลังจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์พัฒนาการ จาก Williams College สหรัฐอเมริกา ปริญญาบัตรวปอ. หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชนปี 2545 หลักสูตร ITU Executive High level Training for Regulators and Policy Makers สถาบัน International Telecommunication Union (ITU) ประเทศฮ่องกง หลักสูตร Effective Regulation in a Boardband World Executive level Training for Regulators สถาบัน ITU ประเทศ ตูนีเซีย อบรมและดูงานด้านนโยบายและการวางแผนโทรคมนาคมและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ สถาบัน SICA ประเทศญี่ปุ่น เคยดำรงตำแหน่งเป็น ผอ.กองโครงสร้างพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ผู้ช่วยเลขาธิการ สศช. ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สศช. และในปี 2548 ถึงปัจจุบัน เป็นเลขาธิการ กทช.
**"นที-บัณฑูร-พนา"แทนผู้พ้นตำแหน่ง
หลังจากได้กทช. ที่มาแทนผู้ที่ลาออกแล้ว จากนั้นเข้าสู่วาระการเลือก กทช.แทนตำแหน่งที่ว่าง กรณีกรรมการพ้นตำแหน่งโดยการจับสลาก 3 คน ทั้งนี้ มีผู้ได้รับการเสนอชื่อ 6 คน คือ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ นายธรรมนูญ จุลมณีโชติ พล.ร.อ. สุรินทร์ เริงอารมณ์ นายบัณฑูร สุภัควณิช นาย พนา ทองมีอาคม และนางนรีวรรณ จินตกานนท์ เก่งเรียน โดยเป็นการประชุมลับ ใช้เวลา 45 นาที ก่อนที่จะลงมติด้วยการใช้บัตรลงคะแนนลับ ซึ่งต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งคือ ต้องได้ 76 เสียงขึ้นไป หากรอบแรกได้ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ให้ลงคะแนนลับรอบที่สองทันที โดยต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งเช่นกัน หากไม่ได้ให้วุฒิสภาส่งชื่อกลับไปให้คณะกรรมการสรรหา สรรหาผู้สมควรเป็น กทช.มาใหม่
ทั้งนี้ การลงคะแนนลับรอบแรก ผลปรากฏ พ.อ.นที ได้ 117 เสียง นายบัณฑูรได้ 83 คะแนน นายพนา ได้ 75 คะแนน พล.ร.อ.สุรินทร์ ได้ 52 คะแนนนางนรีวรรณ ได้ 48 คะแนน นายธรรมนูญ ได้ 26 คะแนน ทำให้ รอบแรกถือว่า มี 2 คน ได้รับเลือกคือ พ.อ.นที และ นายบัณฑูร
ส่วนการลงคะแนนรอบสองอีก 1 ตำแหน่ง ปรากฏว่า นายพนา ได้ 109 คะแนน พล.ร.อ. สุรินทร์ ได้ 19 คะแนน นายธรรมนูญ ได้ 4 คะแนน นางนรีวรรณ ได้ 2 คะแนน ทำให้นายพนา ได้รับเลือกเป็น กทช. ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้ จะเป็นการตรวจสอบเอกสารของผู้ได้รับเลือกทั้งสามคนอีกครั้ง ก่อนที่ประธานวุฒิสภา จะนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯต่อไป
**เอกชนทำใจ 3G ล่อเลื่อนยาว
พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานกทช. กล่าวว่า กทช.ชุดจับฉลากลาออกจะยังคงทำหน้าที่ไปต่อไปจนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ กทช.ชุดใหม่ ส่วนเรื่องต่างๆที่กทช.ชุดจับฉลากออกได้ทำไว้ โดยเฉพาะเรื่องการประมูลคลื่นความถี่ 3Gนั้นขึ้นอยู่กับว่ากทช.ชุดใหม่จะนำเรื่องดังกล่าวไปดำเนินการต่อทันที หรือนำแผนที่ทำไว้ไปทบทวนอีกครั้งก็สามารถดำเนินการได้ทั้ง 2 อย่างขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ กทช.ชุดใหม่
นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า การประมูล 3G นั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ กทช.ชุดใหม่ 4 คนที่จะเข้ามารับช่วงต่อ หากกทช.ชุดใหม่ต้องการเดินหน้าประมูล 3G โดยยึดตามที่กทช.ชุดเดิมเตรียมการไว้ก็ถือเป็นเรื่องดี ที่โครงการสามารถเดินหน้าได้ตามกำหนดเดิม แต่หากกทช.ต้องการทบทวนเรื่องดังกล่าวใหม่ก็ต้องปล่อยไปเพราะเรื่องนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กทช.และหากการประมูล 3G ล่าช้าออกไปอีกภาคเอกชนก็ต้องยอมรับเพราะเรื่องดังกล่าวล่าช้ามานานแล้ว