นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิ) เปิดเผยว่า การประชุมวุฒิสภาวันที่ 23 พ.ย.นี้ ซึ่งเป็นการประชุมนัดสุดท้ายของวุฒิสภาในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ จะเริ่มเวลา 10.00 น. ซึ่งมีวาระสำคัญเป็นจำนวนมาก โดยจะเริ่มจากวาระรับทราบ คือรับทราบกรอบการเจรจาการใช้จ่ายเงินกู้ตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552
จากนั้นจะเป็นวาระเรื่องด่วน คือ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการพิจารณาต่อจาการประชุมเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ที่ค้างพิจารณาอยู่ที่มาตรา 116 ซึ่งเมื่อพิจารณาจบจบที่มาตรา 121 ก็จะลงมติในวาระ 3 ซึ่งต้องใช้เสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเกินกึ่งหนึ่ง จากนั้นจะเป็นการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว ต่อด้วย ร่าง พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
จากนั้นจะเป็นการเลือกกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) แทนตำแหน่งที่ว่าง โดยการลาออก 1 ตำแหน่ง โดยมีผู้ได้รับการเสนอชื่อ 2 คน ซึ่งในการเลือกต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งคาดว่าวุฒิสภาน่าจะเลือกได้ เพื่อให้การทำงานของ กทช.ในปัจจุบัน เดินหน้าไปได้ เพราะตอนนี้มี กทช. เหลือเพียง 3 คน เท่านั้น จากนั้นจะเป็นการให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อด้วย การเลือก กทช. แทนตำแหน่งที่ว่าง กรณีกรรมการพ้นตำแหน่งโดยการจับสลาก 3 คน จากที่มีผู้ได้รับการเสนอชื่อ 6 คน ซึ่งดูทิศทางแล้วไม่แน่ว่าวุฒิสภาจะเลือกได้ทั้งหมดหรือไม่ อาจได้แค่ 1 หรือ 2 คน หรือไม่ได้เลยก็เป็นได้
จากนั้นเป็นการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และยังมีร่างกฎหมายอีก 5 ฉบับ รวมถึงการให้วุฒิสภาพิจารณาว่า จะดำเนินการต่อไปอย่างไร กรณีรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงของป.ป.ช. ในการถอดถอนนาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากตำแหน่งจากคดีสลายการชุมนุม 7 ต.ค.51
ทั้งนี้ หากพิจารณากฎหมายสำคัญไม่ทัน จะมีการประชุมต่อในวันที่ 24พ.ย.หรือไม่นั้น คงต้องดูเหตุการณ์ก่อน ซึ่งก็เตรียมเผื่อไว้เหมือนกัน แต่วันดังกล่าวเริ่มมีกรรมาธิการสามัญของวุฒิสภา เดินทางไปต่างประเทศแล้วฉะนั้นวันที่ 23 พ.ย. ต้องพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้ได้ เนื่องจากจะครบกำหนด 90 วัน ในวันที่ 28 ธ.ค.นี้ ขณะที่วันที่ 27 พ.ย. ก็จะปิดประชุมสมัยสามัญนิติบัญญัติแล้ว หากพิจารณาไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด จะถือว่าวุฒิสภาพิจารณาไม่ทัน และสภาผู้แทนราษฎรสามารถยืนยันร่างที่สภาเห็นชอบฯได้
จากนั้นจะเป็นวาระเรื่องด่วน คือ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการพิจารณาต่อจาการประชุมเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ที่ค้างพิจารณาอยู่ที่มาตรา 116 ซึ่งเมื่อพิจารณาจบจบที่มาตรา 121 ก็จะลงมติในวาระ 3 ซึ่งต้องใช้เสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเกินกึ่งหนึ่ง จากนั้นจะเป็นการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว ต่อด้วย ร่าง พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
จากนั้นจะเป็นการเลือกกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) แทนตำแหน่งที่ว่าง โดยการลาออก 1 ตำแหน่ง โดยมีผู้ได้รับการเสนอชื่อ 2 คน ซึ่งในการเลือกต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งคาดว่าวุฒิสภาน่าจะเลือกได้ เพื่อให้การทำงานของ กทช.ในปัจจุบัน เดินหน้าไปได้ เพราะตอนนี้มี กทช. เหลือเพียง 3 คน เท่านั้น จากนั้นจะเป็นการให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อด้วย การเลือก กทช. แทนตำแหน่งที่ว่าง กรณีกรรมการพ้นตำแหน่งโดยการจับสลาก 3 คน จากที่มีผู้ได้รับการเสนอชื่อ 6 คน ซึ่งดูทิศทางแล้วไม่แน่ว่าวุฒิสภาจะเลือกได้ทั้งหมดหรือไม่ อาจได้แค่ 1 หรือ 2 คน หรือไม่ได้เลยก็เป็นได้
จากนั้นเป็นการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และยังมีร่างกฎหมายอีก 5 ฉบับ รวมถึงการให้วุฒิสภาพิจารณาว่า จะดำเนินการต่อไปอย่างไร กรณีรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงของป.ป.ช. ในการถอดถอนนาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากตำแหน่งจากคดีสลายการชุมนุม 7 ต.ค.51
ทั้งนี้ หากพิจารณากฎหมายสำคัญไม่ทัน จะมีการประชุมต่อในวันที่ 24พ.ย.หรือไม่นั้น คงต้องดูเหตุการณ์ก่อน ซึ่งก็เตรียมเผื่อไว้เหมือนกัน แต่วันดังกล่าวเริ่มมีกรรมาธิการสามัญของวุฒิสภา เดินทางไปต่างประเทศแล้วฉะนั้นวันที่ 23 พ.ย. ต้องพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้ได้ เนื่องจากจะครบกำหนด 90 วัน ในวันที่ 28 ธ.ค.นี้ ขณะที่วันที่ 27 พ.ย. ก็จะปิดประชุมสมัยสามัญนิติบัญญัติแล้ว หากพิจารณาไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด จะถือว่าวุฒิสภาพิจารณาไม่ทัน และสภาผู้แทนราษฎรสามารถยืนยันร่างที่สภาเห็นชอบฯได้