ผู้จัดการรายวัน – ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ สยายปีกลงทุนโรงไฟฟ้าพลังน้ำในลาวเพิ่มอีก 2 โครงการ "เซกอง4-เซกอง5 " กำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 600 เมกะวัตต์ โดยถือหุ้น 29% พร้อมยื่นเสนอซื้อโรงไฟฟ้า 3 โรงในออสเตรเลีย คาดได้ข้อสรุปไตรมาสแรกปีหน้า ส่วนอีก 1 โรงอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด ย้ำโรงไฟฟ้าพลังความร้อน 1 บล็อก ขนาด 700 เมกะวัตต์พร้อมเดินเครื่องผลิต หากกฟผ.สั่ง หลังแหล่งก๊าซฯ ในพม่าปิดซ่อมบำรุงในปลายปีนี้
นายประจวบ อุชชิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ในเครือบมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง เปิดเผยว่า ได้ขยายการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำในสปป.ลาวเพิ่มเติมอีก 2 โครงการ คือ โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซกอง 4 และโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซกอง 5 กำลังการผลิตไฟฟ้าโครงการละ 300 เมกะวัตต์ มูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเข้าไปถือหุ้น 29% ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาอัตราค่าไฟฟ้าและจะยื่นเสนออัตราค่าไฟต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในเร็วๆนี้
"มีแผนยื่นเสนอค่าไฟโครงการโรงไฟฟ้าในลาวที่บริษัทลงทุนอยู่ให้กับ กฟผ.พิจารณา จำนวน 4 โครงการ โดยได้ยื่นเสนอค่าไฟไปแล้ว 2 โครงการ คือ โครงการโรงไฟฟ้าเซเปียนเซน้ำน้อย โครงการโรงไฟฟ้าน้ำงึม 3 ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าเซกอง 4 และโครงการโรงไฟฟ้าเซกอง 5 อยู่ระหว่างการศึกษาค่าไฟอยู่ หากการเจรจาค่าซื้อขายไฟแล้วเสร็จคาดว่าโครงการดังกล่าวจะป้อนไฟเข้าระบบในไทยหลังปี 2560"
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซกอง 4 และโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซกอง 5 จะเข้าไปถือหุ้นสัดส่วน 29% รัฐบาลลาว 20% และรัสเซีย 51% ซึ่งปีนี้จะใช้เงินลงทุนไม่มากสำหรับ 2โครงการใหม่ดังกล่าวจากงบการลงทุนในปี 2553 ที่ตั้งไว้สำหรับโครงการต่อเนื่องทั้งโครงการโรงไฟฟ้าน้ำงึม 3 โครงการโรงไฟฟ้าหงสา จำนวน 5 พันล้านบาท
นายประจวบ กล่าวถึงความคืบหน้าการลงทุนโรงไฟฟ้าในประเทศออสเตรเลียว่า ได้ยื่นเสนอซื้อโรงไฟฟ้าในออสเตรเลียจำนวน 3 โรงๆ ละ 200-300 เมกะวัตต์ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาคาดว่าจะได้ข้อสรุปในไตรมาส 1/2553 สาเหตุที่มีการขายโรงไฟฟ้าในออสเตรเลียนี้ สืบเนื่องจากบริษัทแม่มีปัญหา ทำให้ต้องขายโรงไฟฟ้าในมือจำนวน 10 กว่าโรง ซึ่งมีคู่แข่งบางรายเสนอซื้อโรงไฟฟ้าทั้งหมด แต่ราชบุรีฯ เลือกเฉพาะโรงไฟฟ้าที่มีศักยภาพและให้ผลตอบแทนทีดีเท่านั้น ขณะเดียวกันมีความสนใจที่จะลงทุนโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซฯ เป็นเชื้อเพลิงในออสเตรเลียอีก 1 โรง หลังจากเจ้าของเสนอขาย ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด ยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องนี้
สำหรับการลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย สนใจที่จะลงทุนโรงไฟฟ้าพลังน้ำในอินโดนีเซีย เนื่องจากมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน สืบเนื่องการไฟฟ้าของอินโดนีเซียอุดหนุนค่าไฟ ทำให้รับซื้อไฟในอัตราที่ต่ำ หากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงโอกาสจัดหาเงินกู้ได้ยาก ส่งผลให้อินโดนีเซียขาดแคลนไฟฟ้าถึง 1 หมื่นเมกะวัตต์ จากกรณีที่แหล่งก๊าซฯ ในพม่าทั้งเยตากุนและยาดานาจะปิดซ่อมบำรุงครั้งในใหญ่ในปลายปีนี้ ทำให้ปริมาณก๊าซฯ หายไปจากระบบประมาณ 1,000 ล้านลบ.ฟุต/วัน หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของปริมาณก๊าซฯ ที่ใช้ในประเทศ ดังนั้นบริษัทต้องเตรียมความพร้อมที่จะเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงจำนวน 1โรง ขนาด 700 เมกะวัตต์ หากกฟผ.สั่งให้เดินเครื่องหลังก๊าซฯ ในพม่าหยุดป้อน โดนสำรองน้ำมันเตาเผื่อฉุกเฉินไว้ 5 วันและน้ำมันดีเซล 3 วัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กฟผ.ยังไม่ได้แจ้งแน่นอนให้ราชบุรีฯ ผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันเตาในช่วงที่แหล่งก๊าซฯในพม่าหยุดซ่อมบำรุง
แหล่งข่าวจาก ปตท. กล่าวว่า การหยุดซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ของแหล่งเยาตากุน และยาดานาเป็นไปตามแผนที่วางไว้ระหว่างวันที่ 22 ธ.ค.2552-5 ม.ค.2553 โดยปริมาณก๊าซฯจะหายไป 1,000 ล้านลบ.ฟุต/วัน ซึ่งไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อโหลดไฟฟ้า เนื่องจากช่วงเวลานั้นความต้องการใช้ไฟลดลง และปตท.ได้วางมาตรการรองรับโดยรับก๊าซฯจากแหล่งB17 และเชฟรอนจะผลิตปริมาณการส่งก๊าซฯให้มากขึ้น ทำให้ก๊าซฯหายไปจากระบบเพียง 500 ล้าน ลบ.ฟุต/วัน
นายประจวบ อุชชิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ในเครือบมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง เปิดเผยว่า ได้ขยายการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำในสปป.ลาวเพิ่มเติมอีก 2 โครงการ คือ โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซกอง 4 และโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซกอง 5 กำลังการผลิตไฟฟ้าโครงการละ 300 เมกะวัตต์ มูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเข้าไปถือหุ้น 29% ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาอัตราค่าไฟฟ้าและจะยื่นเสนออัตราค่าไฟต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในเร็วๆนี้
"มีแผนยื่นเสนอค่าไฟโครงการโรงไฟฟ้าในลาวที่บริษัทลงทุนอยู่ให้กับ กฟผ.พิจารณา จำนวน 4 โครงการ โดยได้ยื่นเสนอค่าไฟไปแล้ว 2 โครงการ คือ โครงการโรงไฟฟ้าเซเปียนเซน้ำน้อย โครงการโรงไฟฟ้าน้ำงึม 3 ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าเซกอง 4 และโครงการโรงไฟฟ้าเซกอง 5 อยู่ระหว่างการศึกษาค่าไฟอยู่ หากการเจรจาค่าซื้อขายไฟแล้วเสร็จคาดว่าโครงการดังกล่าวจะป้อนไฟเข้าระบบในไทยหลังปี 2560"
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซกอง 4 และโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซกอง 5 จะเข้าไปถือหุ้นสัดส่วน 29% รัฐบาลลาว 20% และรัสเซีย 51% ซึ่งปีนี้จะใช้เงินลงทุนไม่มากสำหรับ 2โครงการใหม่ดังกล่าวจากงบการลงทุนในปี 2553 ที่ตั้งไว้สำหรับโครงการต่อเนื่องทั้งโครงการโรงไฟฟ้าน้ำงึม 3 โครงการโรงไฟฟ้าหงสา จำนวน 5 พันล้านบาท
นายประจวบ กล่าวถึงความคืบหน้าการลงทุนโรงไฟฟ้าในประเทศออสเตรเลียว่า ได้ยื่นเสนอซื้อโรงไฟฟ้าในออสเตรเลียจำนวน 3 โรงๆ ละ 200-300 เมกะวัตต์ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาคาดว่าจะได้ข้อสรุปในไตรมาส 1/2553 สาเหตุที่มีการขายโรงไฟฟ้าในออสเตรเลียนี้ สืบเนื่องจากบริษัทแม่มีปัญหา ทำให้ต้องขายโรงไฟฟ้าในมือจำนวน 10 กว่าโรง ซึ่งมีคู่แข่งบางรายเสนอซื้อโรงไฟฟ้าทั้งหมด แต่ราชบุรีฯ เลือกเฉพาะโรงไฟฟ้าที่มีศักยภาพและให้ผลตอบแทนทีดีเท่านั้น ขณะเดียวกันมีความสนใจที่จะลงทุนโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซฯ เป็นเชื้อเพลิงในออสเตรเลียอีก 1 โรง หลังจากเจ้าของเสนอขาย ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด ยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องนี้
สำหรับการลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย สนใจที่จะลงทุนโรงไฟฟ้าพลังน้ำในอินโดนีเซีย เนื่องจากมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน สืบเนื่องการไฟฟ้าของอินโดนีเซียอุดหนุนค่าไฟ ทำให้รับซื้อไฟในอัตราที่ต่ำ หากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงโอกาสจัดหาเงินกู้ได้ยาก ส่งผลให้อินโดนีเซียขาดแคลนไฟฟ้าถึง 1 หมื่นเมกะวัตต์ จากกรณีที่แหล่งก๊าซฯ ในพม่าทั้งเยตากุนและยาดานาจะปิดซ่อมบำรุงครั้งในใหญ่ในปลายปีนี้ ทำให้ปริมาณก๊าซฯ หายไปจากระบบประมาณ 1,000 ล้านลบ.ฟุต/วัน หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของปริมาณก๊าซฯ ที่ใช้ในประเทศ ดังนั้นบริษัทต้องเตรียมความพร้อมที่จะเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงจำนวน 1โรง ขนาด 700 เมกะวัตต์ หากกฟผ.สั่งให้เดินเครื่องหลังก๊าซฯ ในพม่าหยุดป้อน โดนสำรองน้ำมันเตาเผื่อฉุกเฉินไว้ 5 วันและน้ำมันดีเซล 3 วัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กฟผ.ยังไม่ได้แจ้งแน่นอนให้ราชบุรีฯ ผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันเตาในช่วงที่แหล่งก๊าซฯในพม่าหยุดซ่อมบำรุง
แหล่งข่าวจาก ปตท. กล่าวว่า การหยุดซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ของแหล่งเยาตากุน และยาดานาเป็นไปตามแผนที่วางไว้ระหว่างวันที่ 22 ธ.ค.2552-5 ม.ค.2553 โดยปริมาณก๊าซฯจะหายไป 1,000 ล้านลบ.ฟุต/วัน ซึ่งไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อโหลดไฟฟ้า เนื่องจากช่วงเวลานั้นความต้องการใช้ไฟลดลง และปตท.ได้วางมาตรการรองรับโดยรับก๊าซฯจากแหล่งB17 และเชฟรอนจะผลิตปริมาณการส่งก๊าซฯให้มากขึ้น ทำให้ก๊าซฯหายไปจากระบบเพียง 500 ล้าน ลบ.ฟุต/วัน