ASTVผู้จัดการรายวัน - “กรณ์” ลั่นต้องล้างไพ่สัญญาสัมปทานเดิมก่อนเดินหน้าประมูล 3G ย้ำจุดยืนสร้างความเป็นธรรมทั้งภาครัฐ ประชาชนและผู้ประกอบการ ระบุสมัย ”นช.ทักษิณ” แก้ไขสัญญาสัมปทานจนรัฐเสียหายยับต้องทำให้ถูกต้องทั้งระบบก่อนเดินหน้า 3G เห็นด้วยกับแนวทางยกเลิกเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม จวก “กทช.” แม้เป็นองค์กรอิสระก็ไม่ควรดันทุรังและไม่เป็นอิสระจากผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลและกระทรวงการคลังเห็นด้วยกับการเดินหน้าโครงการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หรือ 3G โดยเร็วแต่ต้องอยู่ภายใต้การแข่งขันที่เป็นธรรมและจริงจังไม่อยู่ในลักษณะผู้ขาด ซึ่งในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมารัฐบาลต่างๆ ยกเว้นรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร พยายามผลักดันให้มีการแปรสัญญาสัมปทานกิจการโทรคมนาคมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการทุกราย รัฐบาลไม่เสียประโยชน์และประชาชนได้รับการบริการที่เหมาะสม
ซึ่งกระทรวงการคลังปฏิเสธไม่ได้อยู่แล้วในกรณีของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทช.) จะเปิดประมูลใบอนุญาต 3 จี และบมจ.ทีโอที จะเปิดให้บริการ แต่หากดำเนินการไปแล้วส่งผลให้ผู้ประกอบการในปัจจุบันโอนลูกค้าจำนวนหลายล้านรายที่อยู่ในสัญญาสัมปทานเดิมที่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่รัฐบาลกว่า 20-30% กับสัญญาใหม่ที่จ่ายส่วนแบ่งเพียง 2% จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ซึ่งต้องดูว่ามีความคุ้มค่ากับภาษีที่รัฐบาลจะได้รับคืนหรือไม่
“นายกรัฐมนตรีได้ฝากกำชับในเรื่องนี้ว่าต้องการให้มีการแปรสัญญาสัมปทานให้เสร็จสิ้นเพื่อเป็นการล้างไพ่ให้การแข่งขันในธุรกิจโทรคมนาคมเกิดความเป็นธรรมและเสมอภาคของผู้ประกอบการทุกรายทั้งรายเก่และรายใหม่ แนวคิดของรัฐบาลก็เพื่อประโยชน์สูงสุดของสังคมส่วนรวมมีวิธีที่ทำให้ทุกคนคิดว่าผู้ประกอบการรายใดได้มากกว่าใครรวมทั้งรัฐบาลเองก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้ที่ได้มากที่สุดแต่ต้องการให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นมาจริงๆ ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม” นายกรณ์กล่าว
**จี้ กทช.ตอบสังคมสูญเงินแสนล้าน
นายกรณ์กล่าวว่า เมื่อย้อนกลับไปเมื่อปี 2543 รัฐบาลที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์พยายามที่จะแปรสัญญาสัมปทานแต่ก็มีการเตะถ่วงมาโดยตลอดไม่ให้มีการแปรสัญญา จนมาถึงรัฐบาลต่อมาก็ยังไม่มีการดำเนินการแถมยังไปแกไขสัญญาสัมปทานที่เอื้อต่อบริษัทเอกชนคู่สัญญา ซึ่งกรณีนี้มีความชัดเจนเป็นอย่างยิ่งที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความมาแล้วว่าขัดต่อกฎหมายและ พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2535 อย่างชัดเจน
สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือจะหาวิธีแปรสัญญาสัมปทานอย่างไรก่อนประมูล 3จี ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ทีโอทีและกทช.ไม่ยอมแก้ปมปัญหาต้นเรื่องก่อนที่จะเริ่มเรื่องใหม่จึงทำให้เรื่องเรื้อรังมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งหลักการก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมากนักเพียงแต่ต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่าจะแปรสัญญาสัมปทานและเปิดประมูล 3จีอย่างไรให้เกิดความเป็นธรรมต่อรัฐบาล ผู้ประกอบการและประชาชนผู้ใช้บริการรวมทั้งไม่เห็นด้วยกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมที่ทำให้รัฐบาลเสียเปรียบเอกชน
”วงเงินกว่า 2 หมื่นล้านบาทที่ทีโอทีบอกว่าพร้อมจะลงทุนก็ยังไม่เคยยื่นแผนธุรกิจเข้ามาว่าจะทำอะไรบ้างแผนการกู้การใช้หนี้จะทำอย่างไรก็มีแค่ว่าจะทำแต่อนาคตเป็นอย่างไรไม่รู้ ส่วนกทช.นั้นแม้เป็นองค์กรอิสระก็จริงแต่ก็ต้องไม่ลืมว่าการทำหน้าที่ขององค์กรอิสระนั้นไม่มีการเมืองเข้ามาแทรกแซงเป็นเรื่องที่ดีแต่ต้องไม่เป็นอิสระจากผลประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมือง” นายกรณ์กล่าวและว่า หากตัดสินใจประมูลไปแล้วกทช.จะต้องตอบคำถามสังคมและประชาชนให้ได้ว่าผลประโยชน์นับแสนล้านบาทที่สูญเสียไปใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
**ลดภาษีเมื่อถึงเวลาเหมาะสม
นายกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงการคลังมีแนวคิดที่จะปรับโครงสร้างภาษี ในส่วนของกรมสรรพากร โดยเฉพาะภาษีนิติบุคคล ภาษีส่วนบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จะพิจารณาเมื่อใดนั้นต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้สอดรับกับภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว สำหรับ ขณะนี้กระทรวงการคลังได้มีการเตรียมยกร่างพ.ร.บ.ศุลกากร และขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษายกร่างพ.ร.บ.สรรพสามิต เพื่อเป็นการสร้างความสะดวกให้กับการดำเนินงานของภาครัฐ และยังส่งผลประโยชน์ต่อผู้ประกอบการและประชาชนโดยรวมด้วย เวลาที่เหมาะสม
**เดินหน้าโครงการพัฒนา ศก.
ส่วนทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นไปตามที่กระทรวงการคลังได้คาดการณ์ไว้ จากในช่วงที่ผ่านมา โดยคาดว่าการขยายตัวของจีดีพีในไตรมาส 3/2552 จะขยายตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2552 ซึ่งจะทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 กลับมาเป็นบวกได้ สะท้อนได้จากตัวเลขการส่งออกในเดือนตุลาคมของกระทรวงพาณิชย์เริ่มเห็นสัญญาณไปในทิศทางที่ดีขึ้น ผนวกกับการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียมีความแข็งแกร่งพอสมควร
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยขณะนี้ยังมีความเปราะบางและยังไม่มีการฟื้นตัวที่ชัดเจนนัก แม้จะดีขึ้นจากในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม ซึ่งรัฐบาลจะต้องเน้นสร้างโครงการที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมโดยเร็ว อาทิ การใช้พลังงานทดแทน การพัฒนาระบบราง การลดต้นทุน การขนส่งในระบบคมนาคม และการพัฒนาสถาบันการเงินให้มีความแข็งแกร่ง ซึ่งจะถือได้ว่าเป็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ชัดเจน
”ภายในสิ้นปีนี้ซึ่งจะครบ 1 ปีการทำงานของรัฐบาลจะมีการประเมินผลการทำงานของรัฐในรอบ 1 ปี รวมถึงเป้าหมายการทำงานในอนาคต โดยจะปฏิรูปเศรษฐกิจโดยรวมใน 3 ด้านด้วยกัน ประกอบด้วย การปฏิรูปภาคประชาชน การปฏิรูปภาคเอกชนและการปฏิรูปภาครัฐบาลให้เกิดความโปร่งใสมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้” นายกรณ์กล่าว.
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลและกระทรวงการคลังเห็นด้วยกับการเดินหน้าโครงการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หรือ 3G โดยเร็วแต่ต้องอยู่ภายใต้การแข่งขันที่เป็นธรรมและจริงจังไม่อยู่ในลักษณะผู้ขาด ซึ่งในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมารัฐบาลต่างๆ ยกเว้นรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร พยายามผลักดันให้มีการแปรสัญญาสัมปทานกิจการโทรคมนาคมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการทุกราย รัฐบาลไม่เสียประโยชน์และประชาชนได้รับการบริการที่เหมาะสม
ซึ่งกระทรวงการคลังปฏิเสธไม่ได้อยู่แล้วในกรณีของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทช.) จะเปิดประมูลใบอนุญาต 3 จี และบมจ.ทีโอที จะเปิดให้บริการ แต่หากดำเนินการไปแล้วส่งผลให้ผู้ประกอบการในปัจจุบันโอนลูกค้าจำนวนหลายล้านรายที่อยู่ในสัญญาสัมปทานเดิมที่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่รัฐบาลกว่า 20-30% กับสัญญาใหม่ที่จ่ายส่วนแบ่งเพียง 2% จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ซึ่งต้องดูว่ามีความคุ้มค่ากับภาษีที่รัฐบาลจะได้รับคืนหรือไม่
“นายกรัฐมนตรีได้ฝากกำชับในเรื่องนี้ว่าต้องการให้มีการแปรสัญญาสัมปทานให้เสร็จสิ้นเพื่อเป็นการล้างไพ่ให้การแข่งขันในธุรกิจโทรคมนาคมเกิดความเป็นธรรมและเสมอภาคของผู้ประกอบการทุกรายทั้งรายเก่และรายใหม่ แนวคิดของรัฐบาลก็เพื่อประโยชน์สูงสุดของสังคมส่วนรวมมีวิธีที่ทำให้ทุกคนคิดว่าผู้ประกอบการรายใดได้มากกว่าใครรวมทั้งรัฐบาลเองก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้ที่ได้มากที่สุดแต่ต้องการให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นมาจริงๆ ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม” นายกรณ์กล่าว
**จี้ กทช.ตอบสังคมสูญเงินแสนล้าน
นายกรณ์กล่าวว่า เมื่อย้อนกลับไปเมื่อปี 2543 รัฐบาลที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์พยายามที่จะแปรสัญญาสัมปทานแต่ก็มีการเตะถ่วงมาโดยตลอดไม่ให้มีการแปรสัญญา จนมาถึงรัฐบาลต่อมาก็ยังไม่มีการดำเนินการแถมยังไปแกไขสัญญาสัมปทานที่เอื้อต่อบริษัทเอกชนคู่สัญญา ซึ่งกรณีนี้มีความชัดเจนเป็นอย่างยิ่งที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความมาแล้วว่าขัดต่อกฎหมายและ พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2535 อย่างชัดเจน
สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือจะหาวิธีแปรสัญญาสัมปทานอย่างไรก่อนประมูล 3จี ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ทีโอทีและกทช.ไม่ยอมแก้ปมปัญหาต้นเรื่องก่อนที่จะเริ่มเรื่องใหม่จึงทำให้เรื่องเรื้อรังมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งหลักการก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมากนักเพียงแต่ต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่าจะแปรสัญญาสัมปทานและเปิดประมูล 3จีอย่างไรให้เกิดความเป็นธรรมต่อรัฐบาล ผู้ประกอบการและประชาชนผู้ใช้บริการรวมทั้งไม่เห็นด้วยกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมที่ทำให้รัฐบาลเสียเปรียบเอกชน
”วงเงินกว่า 2 หมื่นล้านบาทที่ทีโอทีบอกว่าพร้อมจะลงทุนก็ยังไม่เคยยื่นแผนธุรกิจเข้ามาว่าจะทำอะไรบ้างแผนการกู้การใช้หนี้จะทำอย่างไรก็มีแค่ว่าจะทำแต่อนาคตเป็นอย่างไรไม่รู้ ส่วนกทช.นั้นแม้เป็นองค์กรอิสระก็จริงแต่ก็ต้องไม่ลืมว่าการทำหน้าที่ขององค์กรอิสระนั้นไม่มีการเมืองเข้ามาแทรกแซงเป็นเรื่องที่ดีแต่ต้องไม่เป็นอิสระจากผลประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมือง” นายกรณ์กล่าวและว่า หากตัดสินใจประมูลไปแล้วกทช.จะต้องตอบคำถามสังคมและประชาชนให้ได้ว่าผลประโยชน์นับแสนล้านบาทที่สูญเสียไปใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
**ลดภาษีเมื่อถึงเวลาเหมาะสม
นายกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงการคลังมีแนวคิดที่จะปรับโครงสร้างภาษี ในส่วนของกรมสรรพากร โดยเฉพาะภาษีนิติบุคคล ภาษีส่วนบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จะพิจารณาเมื่อใดนั้นต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้สอดรับกับภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว สำหรับ ขณะนี้กระทรวงการคลังได้มีการเตรียมยกร่างพ.ร.บ.ศุลกากร และขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษายกร่างพ.ร.บ.สรรพสามิต เพื่อเป็นการสร้างความสะดวกให้กับการดำเนินงานของภาครัฐ และยังส่งผลประโยชน์ต่อผู้ประกอบการและประชาชนโดยรวมด้วย เวลาที่เหมาะสม
**เดินหน้าโครงการพัฒนา ศก.
ส่วนทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นไปตามที่กระทรวงการคลังได้คาดการณ์ไว้ จากในช่วงที่ผ่านมา โดยคาดว่าการขยายตัวของจีดีพีในไตรมาส 3/2552 จะขยายตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2552 ซึ่งจะทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 กลับมาเป็นบวกได้ สะท้อนได้จากตัวเลขการส่งออกในเดือนตุลาคมของกระทรวงพาณิชย์เริ่มเห็นสัญญาณไปในทิศทางที่ดีขึ้น ผนวกกับการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียมีความแข็งแกร่งพอสมควร
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าเศรษฐกิจไทยขณะนี้ยังมีความเปราะบางและยังไม่มีการฟื้นตัวที่ชัดเจนนัก แม้จะดีขึ้นจากในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม ซึ่งรัฐบาลจะต้องเน้นสร้างโครงการที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมโดยเร็ว อาทิ การใช้พลังงานทดแทน การพัฒนาระบบราง การลดต้นทุน การขนส่งในระบบคมนาคม และการพัฒนาสถาบันการเงินให้มีความแข็งแกร่ง ซึ่งจะถือได้ว่าเป็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ชัดเจน
”ภายในสิ้นปีนี้ซึ่งจะครบ 1 ปีการทำงานของรัฐบาลจะมีการประเมินผลการทำงานของรัฐในรอบ 1 ปี รวมถึงเป้าหมายการทำงานในอนาคต โดยจะปฏิรูปเศรษฐกิจโดยรวมใน 3 ด้านด้วยกัน ประกอบด้วย การปฏิรูปภาคประชาชน การปฏิรูปภาคเอกชนและการปฏิรูปภาครัฐบาลให้เกิดความโปร่งใสมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้” นายกรณ์กล่าว.