ไทยเบฟฯ ปรับตัวรับมือเปิดเขตการค้าเสรีอาฟต้า-เอฟทีเอ จ่อใช้โรงงานจีนฐานการผลิตเหล้านำเข้า หวังอาศัยภาษีนำเข้า 0% สกัดสินค้าต่างประเทศแห่บุกตลาดน้ำเมาไทย โต้ปรับโครงการสร้างภาษีเบียร์ตามดีกรีไม่สามารถสกัดเบียร์นำเข้าทะลักปีหน้า วอนภาครัฐ-เอกชน หาทางรอดร่วมกัน ชูวิชั่นมองการแข่งขันระดับภูมิภาคมากกว่าในประเทศ
นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ช้าง สุราสีและสุราขาว เปิดเผยว่า นโยบายการตลาดเพื่อรองรับกับการเปิดเขตเสรีการค้าอาเซียนหรืออาฟต้า มีผลทำให้ภาษีนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เหลือ 0% ซึ่งจะเริ่มมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2553 หรือกระทั่งการรองรับกับการเปิดเขตเสรีการค้าระหว่างประเทศ หรือเอฟทีเอ มีความเป็นไปได้ที่บริษัทจะพิจารณาใช้โรงงานในต่างประเทศเป็นฐานการผลิตแล้วนำเข้ามา จากปัจจุบันบริษัทมีโรงงานผลิตเหล้าในประเทศจีน สามารถผลิตเหล้าไทยได้ ส่วนการซื้อกิจการโรงงานจากประเทศอื่นๆ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม อีกทั้งบริษัทยังมีโรงงานในสก็อตแลนด์ 1 แห่ง
ทั้งนี้การใช้โรงงานประเทศจีนเป็นฐานการผลิต และนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จะมีประโยชน์อะไร เพราะวิธีดังกล่าว นอกจากจะทำให้ผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศกันหมด ดังนั้นในเรื่องของโครงสร้างภาษี ภาครัฐบาลกับเอกชนต้องแสดงความคิดร่วมกัน และพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมและเศรษฐกิจ ภาครัฐต้องแสดงจุดยืนให้ชัดเจนและมีนโยบายสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศให้แข็งแกร่ง เพื่อรองรับกับการแข่งขันที่เกิดขึ้น จากปัจจุบันเบียร์จีนขนาด 640 ซีซี ราคา 10 บาท เบียร์ไทยบรรจุภัณฑ์กระป๋องขนา ด330 ซีซี ราคา 30-40บาท
นายฐาปน กล่าวต่อว่า สิ่งสำคัญคือบริษัทต้องปรับตัวตามสภาพของตลาดมากกว่า ก่อนหน้านี้บริษัทได้ชูด้าน 3 มิติ ทั้งการปรับด้านองค์กร สินค้า และคู่ค้า มาแล้ว เพื่อรองรับกับการค้าที่ไร้พรมแดน ส่วนกรณีการปรับโครงสร้างภาษีจากการจัดเก็บภาษีตามมูลค่า ณ ราคาหน้าโรงงาน มีทั้งหมด 3 อัตรา ได้แก่ เบียร์อีโคโนมี เบียร์สแตนดาร์ด และเบียร์พรีเมียม มาสู่การจัดเก็บภาษีตามปริมาณดีกรีแอลกอฮอล์ เป็นระบบการจัดเก็บภาษีที่ไม่ได้สกัดคู่แข่งจากประเทศอื่นๆ ที่จะนำเข้ามาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาทำตลาด
“ต้องถามว่าการปรับระบบการจัดเก็บภาษีมาเป็นตามปริมาณแอลกอฮอล์ มีประโยชน์อย่างไรต่ออุตสาหกรรมและต่อประเทศ เพราะการดำเนินธุรกิจอย่ามองแค่การแข่งขันในประเทศ แต่ให้มองในแง่ของการแข่งขันระดับภูมิภาค ถ้าเบียร์จีนจะเข้ามาทำตลาด ก็ต้องเสียภาษีตามเซกเมนต์ของเบียร์ อย่างไฮเนเก้นเข้ามาทำตลาดวางเป็นเบียร์พรีเมียมก็เสียภาษีสูง แต่สุดท้ายก็ยังขึ้นเป็นผู้นำตลาดเบียร์พรีเมียมได้”
สำหรับการเปิดเขตการค้าเสรี มีความได้เปรียบการแข่งขันจริงหรือ ไม่มีประเทศใดในโลก ที่เปิดเขตเสรีการค้าอย่างใจกว้าง มีเพียงแต่ประเทศที่ไม่มีอะไรจะแข่งขันจึงต้องเปิดเขตการค้าเสรี ดังนั้นโอกาสที่สินค้าไทยจะขยายตลาดในภูมิภาคอาเซียน แต่ก็ต้องมีกำแพงด้านอื่นๆ แทน ซึ่งผู้ประกอบการไทยมีความได้เปรียบทางการตลาดน้อยมาก
อย่างไรก็ตามภาพรวมตลาดเบียร์มูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท ในปีหน้าคาดว่าจะกลับมามีอัตราการเติบโต จากการที่ภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับปีนี้ตลาดเบียร์โดยรวมติดลบ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย
นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ช้าง สุราสีและสุราขาว เปิดเผยว่า นโยบายการตลาดเพื่อรองรับกับการเปิดเขตเสรีการค้าอาเซียนหรืออาฟต้า มีผลทำให้ภาษีนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เหลือ 0% ซึ่งจะเริ่มมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2553 หรือกระทั่งการรองรับกับการเปิดเขตเสรีการค้าระหว่างประเทศ หรือเอฟทีเอ มีความเป็นไปได้ที่บริษัทจะพิจารณาใช้โรงงานในต่างประเทศเป็นฐานการผลิตแล้วนำเข้ามา จากปัจจุบันบริษัทมีโรงงานผลิตเหล้าในประเทศจีน สามารถผลิตเหล้าไทยได้ ส่วนการซื้อกิจการโรงงานจากประเทศอื่นๆ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม อีกทั้งบริษัทยังมีโรงงานในสก็อตแลนด์ 1 แห่ง
ทั้งนี้การใช้โรงงานประเทศจีนเป็นฐานการผลิต และนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จะมีประโยชน์อะไร เพราะวิธีดังกล่าว นอกจากจะทำให้ผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศกันหมด ดังนั้นในเรื่องของโครงสร้างภาษี ภาครัฐบาลกับเอกชนต้องแสดงความคิดร่วมกัน และพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมและเศรษฐกิจ ภาครัฐต้องแสดงจุดยืนให้ชัดเจนและมีนโยบายสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศให้แข็งแกร่ง เพื่อรองรับกับการแข่งขันที่เกิดขึ้น จากปัจจุบันเบียร์จีนขนาด 640 ซีซี ราคา 10 บาท เบียร์ไทยบรรจุภัณฑ์กระป๋องขนา ด330 ซีซี ราคา 30-40บาท
นายฐาปน กล่าวต่อว่า สิ่งสำคัญคือบริษัทต้องปรับตัวตามสภาพของตลาดมากกว่า ก่อนหน้านี้บริษัทได้ชูด้าน 3 มิติ ทั้งการปรับด้านองค์กร สินค้า และคู่ค้า มาแล้ว เพื่อรองรับกับการค้าที่ไร้พรมแดน ส่วนกรณีการปรับโครงสร้างภาษีจากการจัดเก็บภาษีตามมูลค่า ณ ราคาหน้าโรงงาน มีทั้งหมด 3 อัตรา ได้แก่ เบียร์อีโคโนมี เบียร์สแตนดาร์ด และเบียร์พรีเมียม มาสู่การจัดเก็บภาษีตามปริมาณดีกรีแอลกอฮอล์ เป็นระบบการจัดเก็บภาษีที่ไม่ได้สกัดคู่แข่งจากประเทศอื่นๆ ที่จะนำเข้ามาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาทำตลาด
“ต้องถามว่าการปรับระบบการจัดเก็บภาษีมาเป็นตามปริมาณแอลกอฮอล์ มีประโยชน์อย่างไรต่ออุตสาหกรรมและต่อประเทศ เพราะการดำเนินธุรกิจอย่ามองแค่การแข่งขันในประเทศ แต่ให้มองในแง่ของการแข่งขันระดับภูมิภาค ถ้าเบียร์จีนจะเข้ามาทำตลาด ก็ต้องเสียภาษีตามเซกเมนต์ของเบียร์ อย่างไฮเนเก้นเข้ามาทำตลาดวางเป็นเบียร์พรีเมียมก็เสียภาษีสูง แต่สุดท้ายก็ยังขึ้นเป็นผู้นำตลาดเบียร์พรีเมียมได้”
สำหรับการเปิดเขตการค้าเสรี มีความได้เปรียบการแข่งขันจริงหรือ ไม่มีประเทศใดในโลก ที่เปิดเขตเสรีการค้าอย่างใจกว้าง มีเพียงแต่ประเทศที่ไม่มีอะไรจะแข่งขันจึงต้องเปิดเขตการค้าเสรี ดังนั้นโอกาสที่สินค้าไทยจะขยายตลาดในภูมิภาคอาเซียน แต่ก็ต้องมีกำแพงด้านอื่นๆ แทน ซึ่งผู้ประกอบการไทยมีความได้เปรียบทางการตลาดน้อยมาก
อย่างไรก็ตามภาพรวมตลาดเบียร์มูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท ในปีหน้าคาดว่าจะกลับมามีอัตราการเติบโต จากการที่ภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับปีนี้ตลาดเบียร์โดยรวมติดลบ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย