ASTVผู้จัดการรายวัน – ยักษ์ใหญ่ฟองเบียร์ “สิงห์-ไฮเนเก้น” เฮแนวคิด “กรณ์” จวกกรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีเบียร์ไม่โปร่งใส แนะรื้อระบบปรับสู่มาตรฐานสากล จัดเก็บตามดีกรีแอลกอฮอล์ รับมืออาฟต้าภาษีนำเข้าน้ำเมา 0% หวั่นเบียร์ราคาถูกจีน-ลาว คาร์ลสเบิร์ก แห่ทะลักร่วม 100 แบรนด์ “ไฮเนเก้น-อาซาฮี” จ่อนำเข้าหวังราคาสินค้าถูก
นายฉัตรชัย วิรัตน์โยสินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท สิงห์คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์สิงห์ กล่าวถึงกรณีที่ “กรณ์ จาติกวณิช” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวถึงการจัดเก็บภาษีสินค้าบางกลุ่มที่ไม่มีความโปร่งใส และการไม่มีมาตรฐานการตรวจสอบ อาทิ การจัดเก็บภาษีเบียร์ ณ หน้าโรงงานของกรมสรรพสามิตซึ่งตนเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว จากปัจจุบันทั่วโลกมีการใช้ระบบการจัดเก็บภาษีตามปริมาณดีกรีแอลกอฮอล์ ขณะที่ประเทศไทยยังมีการจัดเก็บภาษีตามมูลค่า ณ ราคาหน้าโรงงาน มีทั้งหมด 3 อัตรา ได้แก่ เบียร์อีโคโนมีเสียภาษีสรรพสามิตขวดละ 20.87 บาท เบียร์สแตนดาร์ด 28.33 บาท และเบียร์พรีเมียม 29.11 บาท
“การจัดเก็บภาษีตามปริมาณดีกรีแอลกอฮอล์ จะมีผลทำให้ตลาดเปลี่ยน โดยผู้ประกอบการหันผลิตเบียร์ดีกรีต่ำ สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนมาดื่มเบียร์ดีกรีต่ำ เพราะมีราคาถูก ซึ่งในยุโรปและญี่ปุ่นให้ระบบการจัดเก็บภาษีดังกล่าว ก็มีผลทำให้คนดื่มเบียร์ดีกรีต่ำ ทดแทนการดื่มดีกรีสูงที่มีผลเสียต่อร่างกายมากกว่ายกตัวอย่าง เบียร์ช้างมีปริมาณดีกรีแอลกอฮอล์สูง 6.4% แต่เป็นเบียร์ที่อยู่ในเซกเมนต์อีโคโนมี การเสียภาษีต่อขวดจึงถูก เมื่อเทียบกับเบียร์เซกเมนต์อื่นๆ”
ทั้งนี้หากกรมสรรพสามิตยังมีการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ณ หน้าโรงงานตาม โดยคิดตามเซกเมนต์ของสินค้า จะสร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปีหน้านี้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการคนไทย จากปีหน้าการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้า มีผลทำให้ภาษีนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เหลือ 0% ที่จะเริ่มมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2553
ซึ่งจะทำให้เบียร์จากต่างประเทศหรือทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ เข้ามาทำตลาดด้วยการวางราคาสินค้าถูก เพราะสามารถแจ้งในราคาที่ต่ำตามความพอใจได้ จากการที่ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าเพียงแต่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในกระบวนการส่งออกที่เกิดขึ้นในไทย (CIF:Cost Insurance and Freight)
“การจัดเก็บภาษี ณ หน้าโรงงานโดยถูกกำหนดให้เก็บตามเซกเมนต์ ทำให้เบียร์ของผู้ประกอบการไทยเสียเปรียบทันทีในปีหน้านี้ เบียร์ไทยจะมีราคาสูง ขณะที่เบียร์นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านจะมีราคาถูก อย่างไรก็ตามแผนการตลาดเพื่อรองรับกับการแข่งขันในปีหน้านี้ที่มีความรุนแรง บริษัทโฟกัสด้านระบบลอจิสติกส์และด้านบริการ
ส่วนอาซาฮีมีโอกาสที่จะใช้ฐานการผลิตจากประเทศอื่นๆ แทน และส่งกลับมาไทยเพื่อได้ราคาสินค้าถูกกว่า”
นายฉัตรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ปีหน้าจะมีเบียร์ใหม่ๆ จากประเทศต่างประเทศทะลักเข้าสู่ประเทศไทย 100 แบรนด์ และผลจากราคาเบียร์ที่ถูกกว่าเบียร์ไทย ยังมีผลทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคดื่มเบียร์มากขึ้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวทางที่ภาครัฐรณรงค์ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทย ขณะที่กรมสรรพสามิต มีแนวโน้มว่าจะจัดเก็บภาษีได้น้อยลง
ซึ่งปีนี้สภาพตลาดเบียร์มูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท ติดลบ 10% นับว่าเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี สำหรับการติดลบเป็นตัวเลขสองหลัก
**ไฮเนเก้นจ่อนำเข้าเบียร์เพื่อนบ้าน**
นายปริญ มาลากุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการองค์กร บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ไฮเนเก้น ไทเกอร์ และเชียร์ เปิดเผยว่า จากการจัดเก็บภาษี ณ หน้าโรงงานตามเซกเมนต์ของเบียร์ และการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้าในเดือนมกราคม ทำให้เบียร์นำเข้ามีราคาถูกกว่าเบียร์ที่ผลิตในประเทศ
โดยยกตัวอย่างการผลิตเบียร์จีนหรือลาว มีต้นทุน12-13 บาท เมื่อเทียบกับเบียร์ผลิตในประเทศไทย เสียภาษี 20 บาทขึ้นไปต่อขวด เป็นต้น ตลาดเบียร์จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ส่วนกรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีได้น้อยลง
ทั้งนี้เสนอให้กรมสรรพสามิต ปรับระบบการจัดเก็บภาษีหน้าโรงงานใหม่ โดยมีด้วยกัน 2 แนวทาง คือ 1.การจัดเก็บภาษีตามปริมาณดีกรีแอลกอฮอล์ ตามมาตรฐานสากล หรือ 2.การจัดเก็บภาษีโดยแบ่งกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น กลุ่มเบียร์ เหล้า เหล้าขาว โดยไม่ได้คิดภาษีตามเซกเมนต์ ซึ่งจะเป็นมาตรการที่ควบคุมการทะลักของเบียร์ต่างประเทศราคาถูกเข้ามาทำตลาด
และยังทำให้เบียร์จากผู้ประกอบการไทยหรือเบียร์ไฮเนเก้น ซึ่งมีฐานการผลิตในประเทศไทยสามารถแข่งขันทางการตลาดโดยไม่เสียเปรียบด้านราคา
“ยังไม่สายหากกรมสรรพสามิต ปรับเปลี่ยนระบบการจัดเก็บภาษีใหม่ ซึ่งก็ดีกว่าไม่ดำเนินการทำอะไรเลย เพราะระบบจัดเก็บภาษีดั้งเดิมจะเอื้อให้เกิดเบียร์ต่างประเทศราคาถูกเข้ามาทำตลาด และสนับสนุนให้คนไทยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ”
นายปริญ กล่าวว่า สำหรับแนวทางการตลาดเพื่อรองรับกับการแข่งขันในปีหน้านี้ ซึ่งมีแนวโน้มว่าคาลเบิร์ก เบียร์เซกเมนต์พรีเมียมเช่นเดียวกับไฮเนเก้น จะเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยในเชิงรุกมากขึ้น โดยใช้ฐานการผลิตจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและลาว ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่เบียร์คาลเบิร์กจะมีราคาถูกกว่า ซึ่งมีผลต่อเบียร์ไฮเนเก้นโดยตรง
ดังนั้นจึงมีแนวโน้มว่าบริษัทจะพิจารณานำเข้าเบียร์ไฮเนเก้นโดยใช้ฐานการผลิตในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม เป็นต้น
นายฉัตรชัย วิรัตน์โยสินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท สิงห์คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์สิงห์ กล่าวถึงกรณีที่ “กรณ์ จาติกวณิช” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวถึงการจัดเก็บภาษีสินค้าบางกลุ่มที่ไม่มีความโปร่งใส และการไม่มีมาตรฐานการตรวจสอบ อาทิ การจัดเก็บภาษีเบียร์ ณ หน้าโรงงานของกรมสรรพสามิตซึ่งตนเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว จากปัจจุบันทั่วโลกมีการใช้ระบบการจัดเก็บภาษีตามปริมาณดีกรีแอลกอฮอล์ ขณะที่ประเทศไทยยังมีการจัดเก็บภาษีตามมูลค่า ณ ราคาหน้าโรงงาน มีทั้งหมด 3 อัตรา ได้แก่ เบียร์อีโคโนมีเสียภาษีสรรพสามิตขวดละ 20.87 บาท เบียร์สแตนดาร์ด 28.33 บาท และเบียร์พรีเมียม 29.11 บาท
“การจัดเก็บภาษีตามปริมาณดีกรีแอลกอฮอล์ จะมีผลทำให้ตลาดเปลี่ยน โดยผู้ประกอบการหันผลิตเบียร์ดีกรีต่ำ สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนมาดื่มเบียร์ดีกรีต่ำ เพราะมีราคาถูก ซึ่งในยุโรปและญี่ปุ่นให้ระบบการจัดเก็บภาษีดังกล่าว ก็มีผลทำให้คนดื่มเบียร์ดีกรีต่ำ ทดแทนการดื่มดีกรีสูงที่มีผลเสียต่อร่างกายมากกว่ายกตัวอย่าง เบียร์ช้างมีปริมาณดีกรีแอลกอฮอล์สูง 6.4% แต่เป็นเบียร์ที่อยู่ในเซกเมนต์อีโคโนมี การเสียภาษีต่อขวดจึงถูก เมื่อเทียบกับเบียร์เซกเมนต์อื่นๆ”
ทั้งนี้หากกรมสรรพสามิตยังมีการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ณ หน้าโรงงานตาม โดยคิดตามเซกเมนต์ของสินค้า จะสร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปีหน้านี้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการคนไทย จากปีหน้าการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้า มีผลทำให้ภาษีนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เหลือ 0% ที่จะเริ่มมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2553
ซึ่งจะทำให้เบียร์จากต่างประเทศหรือทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ เข้ามาทำตลาดด้วยการวางราคาสินค้าถูก เพราะสามารถแจ้งในราคาที่ต่ำตามความพอใจได้ จากการที่ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าเพียงแต่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในกระบวนการส่งออกที่เกิดขึ้นในไทย (CIF:Cost Insurance and Freight)
“การจัดเก็บภาษี ณ หน้าโรงงานโดยถูกกำหนดให้เก็บตามเซกเมนต์ ทำให้เบียร์ของผู้ประกอบการไทยเสียเปรียบทันทีในปีหน้านี้ เบียร์ไทยจะมีราคาสูง ขณะที่เบียร์นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านจะมีราคาถูก อย่างไรก็ตามแผนการตลาดเพื่อรองรับกับการแข่งขันในปีหน้านี้ที่มีความรุนแรง บริษัทโฟกัสด้านระบบลอจิสติกส์และด้านบริการ
ส่วนอาซาฮีมีโอกาสที่จะใช้ฐานการผลิตจากประเทศอื่นๆ แทน และส่งกลับมาไทยเพื่อได้ราคาสินค้าถูกกว่า”
นายฉัตรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ปีหน้าจะมีเบียร์ใหม่ๆ จากประเทศต่างประเทศทะลักเข้าสู่ประเทศไทย 100 แบรนด์ และผลจากราคาเบียร์ที่ถูกกว่าเบียร์ไทย ยังมีผลทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคดื่มเบียร์มากขึ้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวทางที่ภาครัฐรณรงค์ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทย ขณะที่กรมสรรพสามิต มีแนวโน้มว่าจะจัดเก็บภาษีได้น้อยลง
ซึ่งปีนี้สภาพตลาดเบียร์มูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท ติดลบ 10% นับว่าเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี สำหรับการติดลบเป็นตัวเลขสองหลัก
**ไฮเนเก้นจ่อนำเข้าเบียร์เพื่อนบ้าน**
นายปริญ มาลากุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการองค์กร บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ไฮเนเก้น ไทเกอร์ และเชียร์ เปิดเผยว่า จากการจัดเก็บภาษี ณ หน้าโรงงานตามเซกเมนต์ของเบียร์ และการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้าในเดือนมกราคม ทำให้เบียร์นำเข้ามีราคาถูกกว่าเบียร์ที่ผลิตในประเทศ
โดยยกตัวอย่างการผลิตเบียร์จีนหรือลาว มีต้นทุน12-13 บาท เมื่อเทียบกับเบียร์ผลิตในประเทศไทย เสียภาษี 20 บาทขึ้นไปต่อขวด เป็นต้น ตลาดเบียร์จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ส่วนกรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีได้น้อยลง
ทั้งนี้เสนอให้กรมสรรพสามิต ปรับระบบการจัดเก็บภาษีหน้าโรงงานใหม่ โดยมีด้วยกัน 2 แนวทาง คือ 1.การจัดเก็บภาษีตามปริมาณดีกรีแอลกอฮอล์ ตามมาตรฐานสากล หรือ 2.การจัดเก็บภาษีโดยแบ่งกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น กลุ่มเบียร์ เหล้า เหล้าขาว โดยไม่ได้คิดภาษีตามเซกเมนต์ ซึ่งจะเป็นมาตรการที่ควบคุมการทะลักของเบียร์ต่างประเทศราคาถูกเข้ามาทำตลาด
และยังทำให้เบียร์จากผู้ประกอบการไทยหรือเบียร์ไฮเนเก้น ซึ่งมีฐานการผลิตในประเทศไทยสามารถแข่งขันทางการตลาดโดยไม่เสียเปรียบด้านราคา
“ยังไม่สายหากกรมสรรพสามิต ปรับเปลี่ยนระบบการจัดเก็บภาษีใหม่ ซึ่งก็ดีกว่าไม่ดำเนินการทำอะไรเลย เพราะระบบจัดเก็บภาษีดั้งเดิมจะเอื้อให้เกิดเบียร์ต่างประเทศราคาถูกเข้ามาทำตลาด และสนับสนุนให้คนไทยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ”
นายปริญ กล่าวว่า สำหรับแนวทางการตลาดเพื่อรองรับกับการแข่งขันในปีหน้านี้ ซึ่งมีแนวโน้มว่าคาลเบิร์ก เบียร์เซกเมนต์พรีเมียมเช่นเดียวกับไฮเนเก้น จะเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยในเชิงรุกมากขึ้น โดยใช้ฐานการผลิตจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและลาว ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่เบียร์คาลเบิร์กจะมีราคาถูกกว่า ซึ่งมีผลต่อเบียร์ไฮเนเก้นโดยตรง
ดังนั้นจึงมีแนวโน้มว่าบริษัทจะพิจารณานำเข้าเบียร์ไฮเนเก้นโดยใช้ฐานการผลิตในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม เป็นต้น