เครือข่ายสุขภาพฯ แฉซีอีโอบริษัทน้ำดำ ดอดพบ “อภิสิทธิ์” ต่อรองขอลดภาษีน้ำอัดลม แลกลงทุนเพิ่มในไทย หมอค้านสุดชีวิต ชี้ทั่วโลกมีแต่เพิ่มภาษี เพราะเป็นสินค้าทำลายสุขภาพ ทำประชาชนป่วย รัฐแบกค่ารักษา ตะลึงเด็กไทยครึ่งหนึ่งดื่มน้ำดำ เด็กอนุบาลดื่มวันละกระป๋อง ถ้าไม่ป้องกัน ปี 69 คนไทยครึ่งประเทศ จะเป็นโรคอ้วน เตรียมตบเท้าไปก.คลัง ยื่นหนังสือค้าน
ทพ.ดร.วีระศักดิ์ พุทธาศรี นักวิจัยอาวุโส สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ และเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ผู้บริหารจากบริษัทน้ำอัดลมรายใหญ่ของโลก ได้เข้าพบกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยเสนอให้รัฐบาลไทยให้ลดภาษีน้ำอัดลม เพื่อแลกกับการขยายการลงทุนเพิ่มในไทย แนวคิดดังกล่าวเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง เพราะสินค้าประเภทน้ำอัดลม เป็นอาหารที่ทำลายสุขภาพ หากมีการลดภาษีก็เท่ากับสนับสนุนกระตุ้นประชาชนให้บริโภคเพิ่มขึ้น ซึ่งสวนทางกับนานาประเทศ ที่หันมาเพิ่มภาษีอาหารประเภททำลายสุขภาพ อาทิ น้ำอัดลม เพื่อลดภาระของรัฐบาลที่ต้องใช้เงินมหาศาลในการดูแลสุขภาพประชาชน
“ผลการศึกษาในประเทศสหรัฐฯ พบว่าปี 2008 รัฐบาลต้องจ่ายค่ารักษาโรคอ้วนถึง147,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 5 ล้านล้านบาทไทย ซึ่งมากกว่างบประมาณแผ่นดินของไทยถึง 2 เท่าครึ่ง ทั้งยังพบว่ารัฐที่ไม่มีการเก็บภาษีเครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว มีประชากรเป็นโรคอ้วนชุกกว่ารัฐที่มีการเก็บภาษีถึง 4 เท่าและรัฐที่ยกเลิกการเก็บภาษีมีประชากรโรคอ้วนชุกขึ้นเป็น 13 เท่าของรัฐที่ไม่เก็บภาษี ซึ่งแสดงความสัมพันธ์กันว่าเมื่อไม่มีการเก็บภาษี ก็ยิ่งมีกระตุ้นให้เกิดการบริโภค สร้างผลเสียต่อสุขภาพ เพราะเป็นสินค้าที่มีน้ำตาลสูง มีผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากของเด็ก ทั้งฟันผุ ฟันกร่อน โรคอ้วน โรคเบาหวาน” ทพ.วีระศักดิ์ กล่าว
ทพ.ดร.วีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า โดยหลักการแล้วแม้ภาครัฐ มีความจำเป็นที่ควรให้การสนับสนุนการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม แต่การสนับสนุนใดๆต้องเป็นไปอย่างระมัดระวังและเหมาะสม อาทิ การให้การส่งเสริมแก่ภาคอุตสาหกรรมที่ใช้ต้นทุนส่วนใหญ่จากวัตถุดิบและแรงงานในประเทศ น่าจะมีผลดีมากกว่าการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตน้ำอัดลม ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่มีความจำเป็น ทั้งยังสร้างภาระต่อภาครัฐและสุขภาพของประชาชนในอนาคต ธุรกิจน้ำอัดลมใช้ต้นทุนเครื่องจักรนำเข้าราคาสูง และมีต้นทุนเป็นค่าหัวเชื้อที่ต้องนำเข้าถึง 39% ต้นทุนน้ำตาล 38% โดยมีค่าแรงงานเพียง 7% เท่านั้น จึงอยากให้รัฐบาลพิจารณาอย่างรอบคอบ
“วันที่ 24 ก.ย.นี้เวลา 13.00 น. เครือข่ายสุขภาพประกอบด้วยเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เครือข่ายคนไทยไร้พุง เครือข่ายโภชนาการสมวัย มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ชมรมทันตสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ประมาณ 10 คน จะเดินทางเข้าพบ นายพฤฒิชัย ดํารงรัตน์ รมช.กระทรวงการคลัง เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านการลดภาษีให้อุตสาหกรรมน้ำอัดลม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนไทยทั้งประเทศ”ทพ.ดร.วีระศักดิ์ กล่าว
ทพ.ปิยะดา ประเสริฐสม กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กล่าวว่า การสำรวจของ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ขณะนี้เด็กไทยวัยประถม มีพฤติกรรมดื่มน้ำหวานน้ำอัดลมถึง 50% และมีเด็กที่ดื่มเป็นประจำทุกวันถึง 30% ที่น่าตกใจคือ โดยเฉลี่ยเด็กไทยในวัยอนุบาลและประถมศึกษาดื่มน้ำอัดลม 0.2 ลิตรต่อคนต่อวัน หรือเฉลี่ยวันละ 1 กระป๋อง หรือคิดเป็น 66 ล้านลิตรต่อปี หมายถึงจะได้น้ำตาลเฉลี่ยครั้งละ 7.4-8 ช้อนชา ซึ่งเกินปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน จึงเป็นอันตรายอย่างมาก และคาดการณ์ว่า ในอนาคตไทยจะประสบปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนที่รุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างมาก หากไม่มีมาตรการใด ในปี 2568 จะมีประชากรครึ่งหนึ่งมีภาวะน้ำหนักเกิน กลายเป็นปัญหาสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจในระยะยาว
ทพ.ดร.วีระศักดิ์ พุทธาศรี นักวิจัยอาวุโส สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ และเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ผู้บริหารจากบริษัทน้ำอัดลมรายใหญ่ของโลก ได้เข้าพบกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยเสนอให้รัฐบาลไทยให้ลดภาษีน้ำอัดลม เพื่อแลกกับการขยายการลงทุนเพิ่มในไทย แนวคิดดังกล่าวเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง เพราะสินค้าประเภทน้ำอัดลม เป็นอาหารที่ทำลายสุขภาพ หากมีการลดภาษีก็เท่ากับสนับสนุนกระตุ้นประชาชนให้บริโภคเพิ่มขึ้น ซึ่งสวนทางกับนานาประเทศ ที่หันมาเพิ่มภาษีอาหารประเภททำลายสุขภาพ อาทิ น้ำอัดลม เพื่อลดภาระของรัฐบาลที่ต้องใช้เงินมหาศาลในการดูแลสุขภาพประชาชน
“ผลการศึกษาในประเทศสหรัฐฯ พบว่าปี 2008 รัฐบาลต้องจ่ายค่ารักษาโรคอ้วนถึง147,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 5 ล้านล้านบาทไทย ซึ่งมากกว่างบประมาณแผ่นดินของไทยถึง 2 เท่าครึ่ง ทั้งยังพบว่ารัฐที่ไม่มีการเก็บภาษีเครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว มีประชากรเป็นโรคอ้วนชุกกว่ารัฐที่มีการเก็บภาษีถึง 4 เท่าและรัฐที่ยกเลิกการเก็บภาษีมีประชากรโรคอ้วนชุกขึ้นเป็น 13 เท่าของรัฐที่ไม่เก็บภาษี ซึ่งแสดงความสัมพันธ์กันว่าเมื่อไม่มีการเก็บภาษี ก็ยิ่งมีกระตุ้นให้เกิดการบริโภค สร้างผลเสียต่อสุขภาพ เพราะเป็นสินค้าที่มีน้ำตาลสูง มีผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากของเด็ก ทั้งฟันผุ ฟันกร่อน โรคอ้วน โรคเบาหวาน” ทพ.วีระศักดิ์ กล่าว
ทพ.ดร.วีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า โดยหลักการแล้วแม้ภาครัฐ มีความจำเป็นที่ควรให้การสนับสนุนการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม แต่การสนับสนุนใดๆต้องเป็นไปอย่างระมัดระวังและเหมาะสม อาทิ การให้การส่งเสริมแก่ภาคอุตสาหกรรมที่ใช้ต้นทุนส่วนใหญ่จากวัตถุดิบและแรงงานในประเทศ น่าจะมีผลดีมากกว่าการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตน้ำอัดลม ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่มีความจำเป็น ทั้งยังสร้างภาระต่อภาครัฐและสุขภาพของประชาชนในอนาคต ธุรกิจน้ำอัดลมใช้ต้นทุนเครื่องจักรนำเข้าราคาสูง และมีต้นทุนเป็นค่าหัวเชื้อที่ต้องนำเข้าถึง 39% ต้นทุนน้ำตาล 38% โดยมีค่าแรงงานเพียง 7% เท่านั้น จึงอยากให้รัฐบาลพิจารณาอย่างรอบคอบ
“วันที่ 24 ก.ย.นี้เวลา 13.00 น. เครือข่ายสุขภาพประกอบด้วยเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เครือข่ายคนไทยไร้พุง เครือข่ายโภชนาการสมวัย มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ชมรมทันตสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ประมาณ 10 คน จะเดินทางเข้าพบ นายพฤฒิชัย ดํารงรัตน์ รมช.กระทรวงการคลัง เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านการลดภาษีให้อุตสาหกรรมน้ำอัดลม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนไทยทั้งประเทศ”ทพ.ดร.วีระศักดิ์ กล่าว
ทพ.ปิยะดา ประเสริฐสม กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กล่าวว่า การสำรวจของ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ขณะนี้เด็กไทยวัยประถม มีพฤติกรรมดื่มน้ำหวานน้ำอัดลมถึง 50% และมีเด็กที่ดื่มเป็นประจำทุกวันถึง 30% ที่น่าตกใจคือ โดยเฉลี่ยเด็กไทยในวัยอนุบาลและประถมศึกษาดื่มน้ำอัดลม 0.2 ลิตรต่อคนต่อวัน หรือเฉลี่ยวันละ 1 กระป๋อง หรือคิดเป็น 66 ล้านลิตรต่อปี หมายถึงจะได้น้ำตาลเฉลี่ยครั้งละ 7.4-8 ช้อนชา ซึ่งเกินปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน จึงเป็นอันตรายอย่างมาก และคาดการณ์ว่า ในอนาคตไทยจะประสบปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนที่รุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างมาก หากไม่มีมาตรการใด ในปี 2568 จะมีประชากรครึ่งหนึ่งมีภาวะน้ำหนักเกิน กลายเป็นปัญหาสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจในระยะยาว