ASTVผู้จัดการรายวัน – ลงแขกแก้หนี้นอกระบบ นายกฯ กดปุ่มได้เวลาแก้ปัญหาจริงจัง “โอนหนี้เข้าระบบ...เพื่อชีวิตใหม่” “กรณ์” การันตี ติดเครดิตบูโรกู้ได้ ลั่นฟื้นฟูไม่ให้กลับไปนอกระบบซ้ำ มท.1 สั่งการฝ่ายปกครองทุกระดับให้ความร่วมมือเต็มที่ ส่วน รมว.ยุติธรรมเตรียมตั้งศูนย์แก้หนี้ผิดกฎหมาย
วานนี้ (19 พ.ย.) ที่โรงแรม มิราเคิลแกรนด์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดตัวโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ภายใต้ชื่อ “โอนหนี้เข้าระบบ...เพื่อชีวิตใหม่” จัดโดย สำนักนายกฯ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม และธนาคารของรัฐบาล นายกฯ กล่าวว่า เป็นโอกาสที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้มีหนี้สินขอให้เข้ามา หน่วยงานนี้จะพาผ่านพ้นปัญหา เพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้ และรณรงค์ให้คนไทยใช้ชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อไม่ต้องกลับเข้าสู่วงจรเป็นหนี้ต่อไป เนื่องจากปัจจุบันมีคนไทยเป็นหนี้นอกระบบที่ต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ยอย่างโหดร้ายทารุณ นำมาซึ่งความทุกข์ในการใช้ชีวิตซึ่งต้องการความช่วงเหลืออย่างเร่งด่วน รัฐบาลจึงตระหนักถึงความเดือนร้อนของประชาชนในจุดนี้จึงพยายามหาหนทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ลุล่วงไปได้
นายกฯ กล่าวและว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้รับโจทย์นี้จากรัฐบาลไปเพื่อคลี่คลายความทุกข์ของประชาชน จนกระทั่งกระบวนการทุกอย่างได้เริ่มต้นเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการแปลงหนี้เข้าสู่ระบบ ประชาชนสามารถชำระหนี้ได้ด้วยอัตราดอกเบี้ยและเงินต้นที่สมเหตุสมผล อีกทั้งเรื่องหนี้นอกระบบมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพลในแต่ละท้องถิ่นจึงมีความจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม เข้ามาร่วมแก้ปัญหานี้ด้วย
“ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของประชาชนจากการเริ่มเปิดให้ลงทะเบียนตลอดเดือน ธ.ค.นี้ เป็ฯโอกาสที่ดีที่รัฐบาลจะเข้ามาดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้คนไทยใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดในการใช้ชีวิต" นายอภิสิทธิ์กล่าว
**”กรณ์” เปิดทางแบล็กลิสต์กู้
นายกรณ์กล่าวว่า การแก้ไขปัญหานี้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ฝนตกทั่วฟ้าที่ต้องการแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชนทุกกลุ่ม ซึ่งปัญหาหนี้นอกระบบเป็นเรื่องเดือดร้อนเรื้อรังมายาวนาน ผู้ที่เป็นหนี้มีสภาพที่ไม่ต่างกับทาสที่ไม่เคยได้รับการปลดปล่อย รัฐบาลจึงพยายามเป็นอย่างมากเพื่อหาวิธีปรับหนี้นอกระบบเพื่อเข้ามาอยู่ในระบบมากที่สุดและพยายามขยายสินเชื่อในระบบออกไปสู่ประชาชนให้มากที่สุดเช่นกัน
แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบรัฐบาลขอยืนยันว่าไม่มีความตั้งใจให้ประชาชนเข้าใจว่าคือการปลดหนี้ การให้เปล่า หรือการจ่ายหนี้แทนแต่อย่างใด แต่เป็นการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่เรื้อรังเข้ามาสู่กระบวนการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ซึ่งการเปิดลงทะเบียนที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 – 30 ธันวาคม ที่ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นการรวบรวมข้อมูลเบื้อต้นเพื่อส่งให้กรมบัญชีกลางคัดกรองประเภทหนี้เพื่อกำหนดว่าธนาคารใดจะเป็นเจ้าภาพแก้ปัญหาหนี้รายนั้นๆ ต่อไป
“รัฐบาลได้กำชับต่อนโยบายนี้อย่างชัดเจนว่าจะไม่ใช่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเด็ดขาด เราไม่อยากให้คนที่เข้าสู่กระบวนการแล้วกลับมาเป็นหนี้อีกในภายหลัง จะมีการฝึกอบรมการทำบัญชีครัวเรือน ภายใต้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้ง ธ.ก.ส.-ออมสินจะมีบทบาทที่สำคัญในการอมรมอาชีพให้กับประชาชนทั่วประเทศให้มีความรู้และเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับประชาชนในอนาคต” นายกรณ์กล่าว
สำหรับประชาชนที่เตรียมเข้าร่วมโครงการแต่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีของ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเครดิตบูโรนั้น สามารถเข้าร่วมโครงการได้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากรายงานข้อมูลในเครดิตบูโรนั้นเป็นเพียงการแจ้งสถานการชำระหนี้กับสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโรเท่าไม่มีผลต่อการยื่นขอสินเชื่อแต่อย่างใด
รายงานดังกล่าวนี้ไม่มีกฎหมายฉบับใดไปบังคับสถาบันการเงินไม่ให้ปล่อยสินเชื่อกับลูกหนี้ที่มีรายชื่ออยู่ในรายงานของเครดิตบูโรรวมทั้งไม่มีคำว่าบัญชีดำหรือแบล็กลิสต์แต่อย่างใด ข้อมูลนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการประกอบการตัดสินใจพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินเท่านั้น
“การที่ประชาชนเป็นหนี้นอกระบบนั้นถือว่าเขาไม่มีที่พึ่งแล้วจึงต้องไปพึ่งพาการกู้หนี้นอกระบบเป็นที่พึ่งสุดท้าย ผมขอยืนยันว่าไม่มีแบล็กลิสต์ในเครดิตบูโรที่จะนำมาเป็นอุปสรรคในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินแต่อย่างใด” รมว.คลังย้ำ
**มท.1 สั่งผู้ว่าฯ นายอำเภอร่วมมือ
นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รมว.มหาดไทย กล่าวว่า ได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการทุกจังหวัด และนายอำเภอ อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ในกระบวนการเจรจาหนี้ภายใต้กฎหมายการรักษาผลประโยชน์ของทุกฝ่ายเป็นสำคัญ ซึ่งในระดับตำบล หมู่บ้านได้จัดชุดปฏิบัติการสนับสนุนกรรมการหมู่บ้านตรวจสอบข้อมูลลูกหนี้ก่อนส่งให้ระดับอำเภอดำเนินการเจรจาตามขั้นตอนต่อไป
“ในส่วนของกระทรวงมหาดไทยขอยืนยันว่าข้าราชการทุกคนถือว่านโยบายนี้เป็นเรื่องสำคัญระดับชาติที่ต้องให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่และให้ความร่วมมือเพื่อให้โครงการเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมโดยเร็วเพื่อประโยชน์ตกแก่พี่น้องประชาชนคนไทย” นายชวรัตน์กล่าว
**ยธ.ตั้งศูนย์ฯ แจ้งหนี้ผิดกฎหมาย
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า กระทรวงยุติธรรมจะดำเนินการโดยใช้กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้หนี้นอกระบบเพื่อให้สังคมเกิดความเป็นธรรม และปลดแอกประชาชนนับล้านที่เป็นลูกหนี้นอกระบบให้ลืมตาอ้าปากได้ จะมีการตั้งศูนย์รับร้องเรียนการแก้ปัญหาหนี้ที่ผิดกฎหมายซึ่งหากมีการร้องเรียนและตรวจสอบพบก็จะใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ที่บัญญัติว่า ห้ามมิให้เรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี มิฉะนั้นจะถือว่าหนี้จากการกู้เงินดังกล่าวเป็นโมฆะทันที หากไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการเจรจาแก้ไขหรือประนอมหนี้.
วานนี้ (19 พ.ย.) ที่โรงแรม มิราเคิลแกรนด์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดตัวโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ภายใต้ชื่อ “โอนหนี้เข้าระบบ...เพื่อชีวิตใหม่” จัดโดย สำนักนายกฯ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม และธนาคารของรัฐบาล นายกฯ กล่าวว่า เป็นโอกาสที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้มีหนี้สินขอให้เข้ามา หน่วยงานนี้จะพาผ่านพ้นปัญหา เพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้ และรณรงค์ให้คนไทยใช้ชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อไม่ต้องกลับเข้าสู่วงจรเป็นหนี้ต่อไป เนื่องจากปัจจุบันมีคนไทยเป็นหนี้นอกระบบที่ต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ยอย่างโหดร้ายทารุณ นำมาซึ่งความทุกข์ในการใช้ชีวิตซึ่งต้องการความช่วงเหลืออย่างเร่งด่วน รัฐบาลจึงตระหนักถึงความเดือนร้อนของประชาชนในจุดนี้จึงพยายามหาหนทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ลุล่วงไปได้
นายกฯ กล่าวและว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้รับโจทย์นี้จากรัฐบาลไปเพื่อคลี่คลายความทุกข์ของประชาชน จนกระทั่งกระบวนการทุกอย่างได้เริ่มต้นเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการแปลงหนี้เข้าสู่ระบบ ประชาชนสามารถชำระหนี้ได้ด้วยอัตราดอกเบี้ยและเงินต้นที่สมเหตุสมผล อีกทั้งเรื่องหนี้นอกระบบมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพลในแต่ละท้องถิ่นจึงมีความจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม เข้ามาร่วมแก้ปัญหานี้ด้วย
“ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของประชาชนจากการเริ่มเปิดให้ลงทะเบียนตลอดเดือน ธ.ค.นี้ เป็ฯโอกาสที่ดีที่รัฐบาลจะเข้ามาดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้คนไทยใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดในการใช้ชีวิต" นายอภิสิทธิ์กล่าว
**”กรณ์” เปิดทางแบล็กลิสต์กู้
นายกรณ์กล่าวว่า การแก้ไขปัญหานี้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ฝนตกทั่วฟ้าที่ต้องการแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชนทุกกลุ่ม ซึ่งปัญหาหนี้นอกระบบเป็นเรื่องเดือดร้อนเรื้อรังมายาวนาน ผู้ที่เป็นหนี้มีสภาพที่ไม่ต่างกับทาสที่ไม่เคยได้รับการปลดปล่อย รัฐบาลจึงพยายามเป็นอย่างมากเพื่อหาวิธีปรับหนี้นอกระบบเพื่อเข้ามาอยู่ในระบบมากที่สุดและพยายามขยายสินเชื่อในระบบออกไปสู่ประชาชนให้มากที่สุดเช่นกัน
แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบรัฐบาลขอยืนยันว่าไม่มีความตั้งใจให้ประชาชนเข้าใจว่าคือการปลดหนี้ การให้เปล่า หรือการจ่ายหนี้แทนแต่อย่างใด แต่เป็นการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่เรื้อรังเข้ามาสู่กระบวนการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ซึ่งการเปิดลงทะเบียนที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 – 30 ธันวาคม ที่ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นการรวบรวมข้อมูลเบื้อต้นเพื่อส่งให้กรมบัญชีกลางคัดกรองประเภทหนี้เพื่อกำหนดว่าธนาคารใดจะเป็นเจ้าภาพแก้ปัญหาหนี้รายนั้นๆ ต่อไป
“รัฐบาลได้กำชับต่อนโยบายนี้อย่างชัดเจนว่าจะไม่ใช่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเด็ดขาด เราไม่อยากให้คนที่เข้าสู่กระบวนการแล้วกลับมาเป็นหนี้อีกในภายหลัง จะมีการฝึกอบรมการทำบัญชีครัวเรือน ภายใต้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้ง ธ.ก.ส.-ออมสินจะมีบทบาทที่สำคัญในการอมรมอาชีพให้กับประชาชนทั่วประเทศให้มีความรู้และเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับประชาชนในอนาคต” นายกรณ์กล่าว
สำหรับประชาชนที่เตรียมเข้าร่วมโครงการแต่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีของ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเครดิตบูโรนั้น สามารถเข้าร่วมโครงการได้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากรายงานข้อมูลในเครดิตบูโรนั้นเป็นเพียงการแจ้งสถานการชำระหนี้กับสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโรเท่าไม่มีผลต่อการยื่นขอสินเชื่อแต่อย่างใด
รายงานดังกล่าวนี้ไม่มีกฎหมายฉบับใดไปบังคับสถาบันการเงินไม่ให้ปล่อยสินเชื่อกับลูกหนี้ที่มีรายชื่ออยู่ในรายงานของเครดิตบูโรรวมทั้งไม่มีคำว่าบัญชีดำหรือแบล็กลิสต์แต่อย่างใด ข้อมูลนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการประกอบการตัดสินใจพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินเท่านั้น
“การที่ประชาชนเป็นหนี้นอกระบบนั้นถือว่าเขาไม่มีที่พึ่งแล้วจึงต้องไปพึ่งพาการกู้หนี้นอกระบบเป็นที่พึ่งสุดท้าย ผมขอยืนยันว่าไม่มีแบล็กลิสต์ในเครดิตบูโรที่จะนำมาเป็นอุปสรรคในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินแต่อย่างใด” รมว.คลังย้ำ
**มท.1 สั่งผู้ว่าฯ นายอำเภอร่วมมือ
นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รมว.มหาดไทย กล่าวว่า ได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการทุกจังหวัด และนายอำเภอ อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ในกระบวนการเจรจาหนี้ภายใต้กฎหมายการรักษาผลประโยชน์ของทุกฝ่ายเป็นสำคัญ ซึ่งในระดับตำบล หมู่บ้านได้จัดชุดปฏิบัติการสนับสนุนกรรมการหมู่บ้านตรวจสอบข้อมูลลูกหนี้ก่อนส่งให้ระดับอำเภอดำเนินการเจรจาตามขั้นตอนต่อไป
“ในส่วนของกระทรวงมหาดไทยขอยืนยันว่าข้าราชการทุกคนถือว่านโยบายนี้เป็นเรื่องสำคัญระดับชาติที่ต้องให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่และให้ความร่วมมือเพื่อให้โครงการเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมโดยเร็วเพื่อประโยชน์ตกแก่พี่น้องประชาชนคนไทย” นายชวรัตน์กล่าว
**ยธ.ตั้งศูนย์ฯ แจ้งหนี้ผิดกฎหมาย
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า กระทรวงยุติธรรมจะดำเนินการโดยใช้กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้หนี้นอกระบบเพื่อให้สังคมเกิดความเป็นธรรม และปลดแอกประชาชนนับล้านที่เป็นลูกหนี้นอกระบบให้ลืมตาอ้าปากได้ จะมีการตั้งศูนย์รับร้องเรียนการแก้ปัญหาหนี้ที่ผิดกฎหมายซึ่งหากมีการร้องเรียนและตรวจสอบพบก็จะใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ที่บัญญัติว่า ห้ามมิให้เรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี มิฉะนั้นจะถือว่าหนี้จากการกู้เงินดังกล่าวเป็นโมฆะทันที หากไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการเจรจาแก้ไขหรือประนอมหนี้.