ASTVผู้จัดการรายวัน - “กรณ์” ยกผลงานให้ “อภิสิทธิ์” แถลงเปิดโครงการแก้หนี้นอกระบบ 19 พ.ย.นี้ ก่อนกดปุ่มให้ลูกหนี้ลงทะเบียน 1 ธ.ค. คาดมีผู้เข้าร่วมลงทะเบียนในโครงการเบื้องต้นกว่า 1 ล้านราย เร่งสางให้จบในปีงบประมาณ 53 พร้อมจัดหาโครงการฟื้นฟูอาชีพเข้ามารองรับหวังแก้ปัญหาในระยะยาว
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้หารือร่วมกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 6 แห่ง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ เพื่อซักซ้อมเงื่อนไขในการปล่อยสินเชื่อ พร้อมทั้งกำหนดกฎ กติกา ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ โดยในวันที่ 19 พ.ย.ที่จะถึงนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้แถลงรายละเอียดของโครงการทั้งหมด ซึ่งนับเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่จะแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของประชาชนทั่วทั้งประเทศ
ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน เป็นผู้รับขึ้นทะเบียนแก้ปัญหาหนี้นอกระบบทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1-31 ธ.ค.นี้ เนื่องจากเป็นธนาคารที่มีสาขาทั่วประเทศจำนวนมาก เบื้องต้นประเมินว่า จะให้ประชาชนที่เป็นหนี้นอกระบบเปลี่ยนมาเป็นหนี้ในระบบในวงเงินคนละ 200,000 บาท โดยธนาคารของรัฐทั้งหมด จะมีโครงการสินเชื่อที่เหมาะสมออกมารองรับ ส่วนดอกเบี้ยนั้น ยังรอพิจารณารายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง และต้องดูตามความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชนแต่ละรายด้วย ประเมินว่าจะมีผู้เข้าร่วมโครงการ 1 ล้านราย และรัฐจะเร่งแก้ไขหนี้นอกระบบครั้งนี้ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีงบประมาณ 2553
“ต้องย้ำว่า โครงการนี้เป็นการเปลี่ยนจากหนี้นอกระบบมาเป็นหนี้ในระบบ ซึ่งนอกจากธนาคารของรัฐจะมีสินเชื่อที่เหมาะสมกับประชาชนกลุ่มนี้แล้ว จะต้องปรับลดเงื่อนไขให้สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม ที่สำคัญการฟื้นฟูและฝึกหัดอาชีพจะต้องมีรองรับด้วย ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญของโครงการนี้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้ประชาชนที่เคยเป็นหนี้นอกระบบเหล่านี้ไม่ให้กลับมาเป็นหนี้นอกระบบอีกครั้งในระยะยาว โดยกระทรวงการคลังจะให้ความสำคัญทั้งการแก้ปัญหาระยะสั้นและระยะยาว เพื่อเพิ่มช่องทางทางการเงินให้ประชาชนระดับรากหญ้ามีโอกาสเข้าถึงได้” นายกรณ์กล่าว
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หลังจากที่ธ.ก.ส.และออมสินขึ้นทะเบียนประชาชนที่จะเข้าร่วมโครงการเรียบร้อยแล้ว กระทรวงการคลังจะรวบรวมข้อมูลส่งมาให้กรมบัญชีกลางคัดแยกประเภทของหนี้ เพื่อส่งให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐดำเนินการช่วยเหลือประชาชนต่อไป เบื้องต้น จะให้ธ.ก.ส.ดูแลหนี้ของเกษตรกร ส่วนประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่เกษตรกรนั้น จะให้ธนาคารออมสิน และธนาคารอื่นๆ ของรัฐเข้าร่วมด้วย
“รัฐบาลได้ปรับเป้าหมายการแก้ปัญหาดังกล่าว จากเดิมที่จะเป็นเฉพาะหนี้ในระบบเท่านั้น เนื่องจากเห็นว่า หนี้ของประชาชนจะมีทั้งในส่วนที่เป็นหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ จึงต้องการที่จะแก้ปัญหาหนี้ของประชาชนทั้งหมดไปพร้อมๆ กัน” นายสถิตย์กล่าว
นายพงษ์เทพ ถิฐาพันธ์ เลขานุการศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน กล่าวว่า ขณะนี้รายละเอียดเงื่อนไขในการดำเนินโครงการดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ จึงยังไม่สามารถที่จะกำหนดดอกเบี้ย หรือเกณฑ์การผ่อนชำระที่ชัดเจนออกมาได้ และแต่ละธนาคารมีความสามารถต่างกันไป คาดว่าจะต้องประชุมร่วมกันอีกหลายรอบก่อนที่จะเริ่มเปิดรับสมัคร
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้หารือร่วมกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 6 แห่ง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ เพื่อซักซ้อมเงื่อนไขในการปล่อยสินเชื่อ พร้อมทั้งกำหนดกฎ กติกา ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ โดยในวันที่ 19 พ.ย.ที่จะถึงนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้แถลงรายละเอียดของโครงการทั้งหมด ซึ่งนับเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่จะแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของประชาชนทั่วทั้งประเทศ
ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน เป็นผู้รับขึ้นทะเบียนแก้ปัญหาหนี้นอกระบบทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1-31 ธ.ค.นี้ เนื่องจากเป็นธนาคารที่มีสาขาทั่วประเทศจำนวนมาก เบื้องต้นประเมินว่า จะให้ประชาชนที่เป็นหนี้นอกระบบเปลี่ยนมาเป็นหนี้ในระบบในวงเงินคนละ 200,000 บาท โดยธนาคารของรัฐทั้งหมด จะมีโครงการสินเชื่อที่เหมาะสมออกมารองรับ ส่วนดอกเบี้ยนั้น ยังรอพิจารณารายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง และต้องดูตามความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชนแต่ละรายด้วย ประเมินว่าจะมีผู้เข้าร่วมโครงการ 1 ล้านราย และรัฐจะเร่งแก้ไขหนี้นอกระบบครั้งนี้ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีงบประมาณ 2553
“ต้องย้ำว่า โครงการนี้เป็นการเปลี่ยนจากหนี้นอกระบบมาเป็นหนี้ในระบบ ซึ่งนอกจากธนาคารของรัฐจะมีสินเชื่อที่เหมาะสมกับประชาชนกลุ่มนี้แล้ว จะต้องปรับลดเงื่อนไขให้สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายในอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม ที่สำคัญการฟื้นฟูและฝึกหัดอาชีพจะต้องมีรองรับด้วย ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญของโครงการนี้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้ประชาชนที่เคยเป็นหนี้นอกระบบเหล่านี้ไม่ให้กลับมาเป็นหนี้นอกระบบอีกครั้งในระยะยาว โดยกระทรวงการคลังจะให้ความสำคัญทั้งการแก้ปัญหาระยะสั้นและระยะยาว เพื่อเพิ่มช่องทางทางการเงินให้ประชาชนระดับรากหญ้ามีโอกาสเข้าถึงได้” นายกรณ์กล่าว
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หลังจากที่ธ.ก.ส.และออมสินขึ้นทะเบียนประชาชนที่จะเข้าร่วมโครงการเรียบร้อยแล้ว กระทรวงการคลังจะรวบรวมข้อมูลส่งมาให้กรมบัญชีกลางคัดแยกประเภทของหนี้ เพื่อส่งให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐดำเนินการช่วยเหลือประชาชนต่อไป เบื้องต้น จะให้ธ.ก.ส.ดูแลหนี้ของเกษตรกร ส่วนประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่เกษตรกรนั้น จะให้ธนาคารออมสิน และธนาคารอื่นๆ ของรัฐเข้าร่วมด้วย
“รัฐบาลได้ปรับเป้าหมายการแก้ปัญหาดังกล่าว จากเดิมที่จะเป็นเฉพาะหนี้ในระบบเท่านั้น เนื่องจากเห็นว่า หนี้ของประชาชนจะมีทั้งในส่วนที่เป็นหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ จึงต้องการที่จะแก้ปัญหาหนี้ของประชาชนทั้งหมดไปพร้อมๆ กัน” นายสถิตย์กล่าว
นายพงษ์เทพ ถิฐาพันธ์ เลขานุการศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน กล่าวว่า ขณะนี้รายละเอียดเงื่อนไขในการดำเนินโครงการดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ จึงยังไม่สามารถที่จะกำหนดดอกเบี้ย หรือเกณฑ์การผ่อนชำระที่ชัดเจนออกมาได้ และแต่ละธนาคารมีความสามารถต่างกันไป คาดว่าจะต้องประชุมร่วมกันอีกหลายรอบก่อนที่จะเริ่มเปิดรับสมัคร