ดีเดย์ลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ 1 ธ.ค.นี้ บิ๊ก ธ.ก.ส.แนะต้องกองทุนดูแลป้องกันหนี้เสีย พร้อมตั้งงบฟื้นฟูอาชีพ เตรียมจัดเวทีเจรจาต่อรองลด ดบ.จากเจ้าหนี้เดิม โดยไม่ขอลดเงินต้น ก่อนโอนเข้าระบบใหม่
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลเตรียมที่จะจัดให้มีโครงการถ่ายโอนหนี้นอกระบบรายย่อยรายละไม่เกิน 200,000 บาท ให้มาเป็นหนี้ในระบบ โดยเกษตรกรย้ายมาเป็นลูกหนี้ ธ.ก.ส. และผู้ที่ไม่ใช่เกษตรกรย้ายมาเป็นลูกหนี้ของธนาคารออมสินหรือธนาคารของรัฐแห่งอื่นๆ นั้น ธ.ก.ส.ประเมินว่า มีประมาณร้อยละ 30 แม้จะย้ายมาเป็นหนี้ในระบบแล้ว ซึ่งมีระยะเวลาผ่อนชำระกับ ธ.ก.ส. นาน 12 ปี ดอกเบี้ยอัตราปกติหรือประมาณร้อยละ 6.75 ต่อปีแล้ว ก็จะยังคงไม่สามารถชำระหนี้ได้
ดังนั้น ธ.ก.ส.จึงเห็นว่า รัฐควรตั้งกองทุนขึ้นมาเป็นการเฉพาะเพื่อดูแลในส่วนนี้ หรือไม่ก็จ่ายชดเชยให้กับธนาคารที่ได้รับความเสียหายจากการที่ลูกหนี้กลุ่มนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ นอกจากนี้ ธ.ก.ส.ยังเสนอให้ทีมงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้พิจารณาจัดให้มีงบประมาณเพื่อฟื้นฟูอาชีพแก่ผู้ที่ย้ายหนี้นอกระบบมาอยู่ในระบบด้วย
นายลักษณ์ กล่าวว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะประกาศนโยบายถ่ายโอนหนี้นอกระบบรายย่อยรายละไม่เกิน 200,000 บาท ให้มาเป็นหนี้ในระบบอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2552 ที่จะถึงนี้ และเริ่มรับขึ้นทะเบียนผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบรายย่อยตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2552 นี้ และเริ่มดำเนินการถ่ายโอนหนี้นอกระบบมาอยู่ในระบบตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2553
โดยการถ่ายโอนหนี้จะมีคณะกรรมการเจรจาประนอมหนี้ ซึ่งประกอบด้วยนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่สรรพากร เป็นต้น การเจรจาจะต่อรองให้ลดดอกเบี้ยลงให้มากที่สุด แต่จะไม่ต่อรองเงินต้นกับเจ้าหนี้นอกระบบ
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลเตรียมที่จะจัดให้มีโครงการถ่ายโอนหนี้นอกระบบรายย่อยรายละไม่เกิน 200,000 บาท ให้มาเป็นหนี้ในระบบ โดยเกษตรกรย้ายมาเป็นลูกหนี้ ธ.ก.ส. และผู้ที่ไม่ใช่เกษตรกรย้ายมาเป็นลูกหนี้ของธนาคารออมสินหรือธนาคารของรัฐแห่งอื่นๆ นั้น ธ.ก.ส.ประเมินว่า มีประมาณร้อยละ 30 แม้จะย้ายมาเป็นหนี้ในระบบแล้ว ซึ่งมีระยะเวลาผ่อนชำระกับ ธ.ก.ส. นาน 12 ปี ดอกเบี้ยอัตราปกติหรือประมาณร้อยละ 6.75 ต่อปีแล้ว ก็จะยังคงไม่สามารถชำระหนี้ได้
ดังนั้น ธ.ก.ส.จึงเห็นว่า รัฐควรตั้งกองทุนขึ้นมาเป็นการเฉพาะเพื่อดูแลในส่วนนี้ หรือไม่ก็จ่ายชดเชยให้กับธนาคารที่ได้รับความเสียหายจากการที่ลูกหนี้กลุ่มนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ นอกจากนี้ ธ.ก.ส.ยังเสนอให้ทีมงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้พิจารณาจัดให้มีงบประมาณเพื่อฟื้นฟูอาชีพแก่ผู้ที่ย้ายหนี้นอกระบบมาอยู่ในระบบด้วย
นายลักษณ์ กล่าวว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะประกาศนโยบายถ่ายโอนหนี้นอกระบบรายย่อยรายละไม่เกิน 200,000 บาท ให้มาเป็นหนี้ในระบบอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2552 ที่จะถึงนี้ และเริ่มรับขึ้นทะเบียนผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบรายย่อยตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2552 นี้ และเริ่มดำเนินการถ่ายโอนหนี้นอกระบบมาอยู่ในระบบตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2553
โดยการถ่ายโอนหนี้จะมีคณะกรรมการเจรจาประนอมหนี้ ซึ่งประกอบด้วยนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่สรรพากร เป็นต้น การเจรจาจะต่อรองให้ลดดอกเบี้ยลงให้มากที่สุด แต่จะไม่ต่อรองเงินต้นกับเจ้าหนี้นอกระบบ