xs
xsm
sm
md
lg

6แบงก์ไม่อั้น เด้งรับรับโอนหนี้เข้าระบบ..เพื่อชีวิตใหม่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

แบงก์รัฐเด้งรับ "โอนหนี้เข้าระบบ...เพื่อชีวิตใหม่” บิ๊กออมสินลั่นพร้อม กู้ไม่อั้น ธ.ก.ส.เตรียมอย่างน้อยหมื่นล้าน ด้านแบงก์กรุงไทยดูแลลูกหนี้ข้าราชการและ รสก. ให้ชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายเดือนๆ ละเท่าๆ กัน

หลังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กดปุ่มโครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ภายใต้ชื่อ “โอนหนี้เข้าระบบ...เพื่อชีวิตใหม่” วานนี้ (19 พ.ย.) นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า จะมีการเปิดให้ลูกหนี้ขึ้นทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. คิดดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 12 ไม่จำเป็นต้องมีเอกสารหลักฐานการเป็นหนี้มายืนยัน เพียงแต่ต้องใช้บุคคลค้ำประกันอย่างน้อย 1 คน หากสินเชื่อไม่เกิน 1 แสนบาท และใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน กรณีสินเชื่อมากกว่า 1 แสนบาท เพียงลูกหนี้เตรียมสำเนาบัตรประชาชนพร้อมด้วยเอกสารการเป็นหนี้ไปแสดงที่สาขาของ ธ.ก.ส. หากไม่มีก็ลงทะเบียนได้ แต่ต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นหนี้ที่เกิดโดยสุจรติ

"คาดว่าภายในวันที่ 15 ม.ค. จะมีความชัดเจนว่า ธ.ก.ส.จะรับโอนลูกหนี้มาจำนวนเท่าใด เบื้องต้นเตรียมวงเงินไว้ประมาณ 1 หมื่นล้านบาทแต่หากมากกว่านี้ก็ไม่มีปัญหา ส่วนการคิดดอกเบี้ยที่ 12% นั้นจะคิดเพียง 3 ปีแรกหลังจากนั้นคิดตามอัตราของธนาคารที่ 6.75-9.75% และสามารถขยายเวลาการผ่อนชำระได้นานสุด 12 ปี" นายลักษณ์กล่าว

นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี รองผู้อำนวยการธนาคารออมสินอาวุโส กล่าวว่า ออมสินคิดอัตราดอกเบี้ยแตกต่างจากแบงก์อื่น เนื่องจากมองว่ากลุ่มลูกหนี้นอกระบบนั้นเป็นฐานเดียวกันกับลูกค้าของธนาคารประชาชนที่น่าจะมีหนี้นอกระบบไม่เกินรายละ 2-3 หมื่นบาท จึงคิดดอกเบี้ยเท่าธนาคารประชาชนที่ 0.5% ต่อเดือนสำหรับมูลหนี้ไม่เกิน 3 หมื่นบาท หากวงเงินสูงกว่านี้และไม่เกิน 2 แสนบาทก็คิด 0.75% ต่อเดือนโดยจะมีการขยายเวลาการชำระหนี้จาก 5 ปีเป็น 8 ปี

“จากที่ปล่อยกู้ในโครงการธนาคารประชาชนมียอดหนี้คงค้าง 1 หมื่นล้านบาทและมีลูกหนี้ประมาณ 5 แสนราย ครั้งนี้ก็ไม่น่าจะมีจำนวนมากกว่านี้ โดยการรับโอนหนี้นอกระบบนี้จะแยกเป็นบัญชีสินเชื่อโครงการแก้ไขปัญหานี้นอกระบบและยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะมีหนี้เสียเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด”

หลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นหนี้ที่มีเงินต้นคงค้างไม่เกิน 2 แสนบาท/ราย เป็นหนี้ที่เกิดก่อน 19 พ.ย.52 ประชาชนต้องไปขึ้นทะเบียนที่ธนาคารออมสินระหว่างวันที่ 1-30 ธ.ค.52 หลังจากกรมบัญชีกลาง จะทำการประมวลผล พร้อมส่งข้อมูลไปยังทีมเจรจาหนี้ในแต่ละจังหวัด เพื่อทำการเจรจาประนอมหนี้ในเดือน ก.พ.-เม.ย.53 จากนั้นจะส่งลูกหนี้ไปยังธนาคาร 6 แห่ง

นางศรีประภา พริ้งพงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้บริหารสายงาน สายงานธุรกิจภาครัฐ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ลูกหนี้ที่มีหนี้ทั้งนอกระบบและในระบบ ให้ธนาคารที่มีจำนวนหนี้มากที่สุดรับไปดำเนินการ ส่วนลูกหนี้ที่มีเฉพาะหนี้นอกระบบ ให้ธนาคารกรุงไทยดูแลลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ เอสเอ็มอีแบงก์ ดูแลลูกหนี้ที่มีอาชีพค้าขายและเป็นหนี้เนื่องจากการลงทุนประกอบอาชีพ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยดูแลลูกหนี้ที่มีหนี้บัตรเครดิตและอยู่ใน 9 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ที่เหลือออมสินรับไปดำเนินการ

ธนาคารกรุงไทย กำหนดรูปแบบการกู้เงินแบบมีระยะเวลา โดยวงเงินกู้รายละไม่เกิน 2 แสนบาทจะพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ ระยะเวลาชำระหนี้ไม่เกิน 8 ปี ผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายเดือนๆ ละเท่าๆ กัน หากลูกหนี้สมัครใจชำระหนี้ก่อนกำหนด จะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม สามารถใช้บุคคลค้ำประกันหรือจำนองหลักทรัพย์ กรณีที่กู้เกิน 1 แสนบาท ใช้ผู้ค้ำประกันได้มากกว่า 1 คน โดยรายได้ของผู้ค้ำประกันรวมกันต้องไม่ต่ำกว่า 10% ของวงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย กรณีใช้บุคคลค้ำประกัน คิดอัตรา MRR บวก 4% ต่อปี หรือปัจจุบันอยุ่ที่ 10.375% ต่อปี กรณีจำนองหลักทรัพย์ คิดอัตรา MRR บวก 2% ต่อปี หรือปัจจุบันอยู่ที่ 8.375% ต่อปี ทั้งนี้ดอกเบี้ย 3 ปีแรกต้องไม่เกิน 12% ต่อปี

สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐรวม 6 แห่ง ประกอบด้วย ธ.ก.ส. ออมสิน แบงก์เอสเอ็มอี อิสลามแบงก์ กรุงไทย และ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.
กำลังโหลดความคิดเห็น