ASTVผู้จัดการรายวัน – คลังพร้อมลุยแก้หนี้นอกระบบจับมือ "สรรพากร-ปปง.-ดีเอสไอ" เจรจาเจ้าหนี้ลดต้นลดดอกเบี้ย ขู่!หากไม่ยอม เตรียมงัดกฎหมายเล่นงานพร้อมดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา คาดจากยอดลงทะเบียน 1 ล้านราย จะสามารถดึงเข้าสู่ระบบแบงก์ได้ 8 แสนราย อีก 2 แสนชำระคืนเจ้าหนี้ตามเดิมในอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม
นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า แผนการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของกระทรวงการคลังคืบหน้าไปมากโดยได้ประสานงานร่วมกับกรมสรรพากร กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) เพื่อเจรจากับเจ้าหนี้เงินกู้เพื่อขอผ่อนปรนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงมากให้ลดลงเพราะที่ผ่านมาได้เก็บเงินจากลูกหนี้เป็นจำนวนมากแล้ว
โดยวิธีการทำงานของทีมงานเจรจากับเจ้าหนี้นั้นจะเริ่มต้นจากการขอให้เจ้าหนี้ลดหนี้ให้เกิดความเป็นธรรมกับลูกหนี้ หากไม่ยอมลดจะใช้อำนาจของกรมสรรพากร ดีเอสไอ และปปง.ที่มีอยู่ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดโดยเฉพาะกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654บัญญัติว่า ห้ามมิให้เรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี มิฉะนั้นจะถือว่าหนี้จากการกู้เงินดังกล่าวเป็นโมฆะทันที
“เรื่องนี้เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าเจ้าหนี้ที่ปล่อยกู้คิดดอกเบี้ยรายวันทำผิดกฎหมายอย่างแน่นอน กระบวนการเจรจาก็จะเริ่มจากเข้าไปคุยด้วยความละมุนละม่อมก่อนหากเขาไม่ยอมก็ใช้กฎหมายจัดการ ทั้งนี้ไม่กังวลว่าจะเป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพลหรือนักเลงหนุนหลังเพราะภาครัฐก็ใช้ 3 หน่วยงานนี้ทำหน้าที่นักเลงไปจัดการ”
สำหรับการเปิดรับลงทะเบียนโดยธนาคารออมสินที่ดูแลหนี้นอกระบบทั่วไปและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ทำหน้าที่ดูแลหนี้นอกระบบภาคเกษตรนั้นคาดว่าจะมียอดลงทะเบียนจำนวน 1 ล้านราย และเข้าสู่ระบบธนาคารเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 6 แห่ง และธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)KTB จำนวนประมาณ 8 แสนราย ส่วนอีก2 แสนรายนั้นภายหลังจากการเจรจาร่วม 3 ฝ่ายแล้วและมีการลดต้นลดดอกจนเกิดความเป็นธรรมก็จะผ่อนชำระกับเจ้าหนี้ต่อไป
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า บทเรียนจากการแก้ไขหนี้นอกระบบของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาจะให้การทำงานของ ธ.ก.ส.มีความคล่องตัวมากสามารถช่วยเหลือเกษตรกรที่มีนอกระบบสามารถพลิกฟื้น เริ่มต้นในอาชีพใหม่ได้ 89% ของจำนวนเกษตรกรที่ลงทะเบียนในรอบนี้ ขณะนี้ ธ.ก.ส.เตรียมแผนแก้ไขหนี้นอกระบบไว้แล้ว เหลือแต่เพียงการเจรจาเรื่องของระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้ที่ไม่ตรงกันระหว่าง ธ.ก.ส.ที่ต้องการให้เกษตรกร ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้จากพืชผลทางการเกษตรตามฤดูกาลมีเวลาผ่อนชำระหนี้นาน 12 ปี แต่ธนาคารออมสินที่ดูแลลูกหนี้เชิงพาณิชย์จะกำหนดเวลาผ่อนชำระเพียง 5 ปี ทำให้รมว.คลัง ได้สั่งให้ทั้งสองธนาคารหารือกันเพื่อให้มีระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน
"ในสัปดาห์นี้ทั้งสองธนาคารจะได้ข้อสรุป เพราะอาชีพของลูกค้าแต่ละธนาคารมีความแตกต่างกัน ดังนั้น ธ.ก.ส.ก็จะยืนยันการผ่อนชำระไว้ที่ 12 ปีตามเดิม เพื่อให้ลูกค้ามีภาระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยน้อยที่สุด เนื่องจากเกษตรกรมีรายได้หลักจากการเก็บเกี่ยวพืชผลตามฤดูกาล ไม่ใช่ค้าขายหรือธุรกิจเชิงพาณิชย์ที่มีรายได้เข้ามาทุกวันหรือทุกเดือน"
สำหรับดอกเบี้ยที่จะใช้ในโครงการหนี้นอกระบบ ธ.ก.ส.จะใช้อัตราดอกเบี้ยตามปกติของ ธ.ก.ส. เริ่มตั้งแต่ 6.75%-9.75% ต่อปี ขึ้นอยู่กับคุณภาพของลูกหนี้ หากเป็นลูกหนี้ชั้นดี หรือ AAA ได้รับอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดคือ 6.75% ไล่ไปจนถึงแพงที่สุด นอกจากนี้แล้วลูกหนี้ที่เข้ามาร่วมโครงการนี้จะต้องผ่านการฝึกอบรม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และการลด ละ เลิก อบายมุข เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดหากเกษตรกรไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็จะไม่มีโอกาสแก้ไขหนี้สินของตัวเองได้
ขณะที่ในขั้นตอนการปล่อยสินเชื่อในโครงการนี้ จะเริ่มต้นลงทะเบียนในวันที่ 1-31 ม.ค. 2553 ในส่วนของ ธ.ก.ส.จะใช้เวลาในการอนุมัติสินเชื่อไม่เกิน 15 วันหลังจากผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการระดับชาติแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและในระดับจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาคลังจังหวัดเป็นเลขานุการคณะกรรมการ และผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการในพื้นที่ จะช่วยคัดลูกหนี้เพื่อส่งรายชื่อให้กับ ธ.ก.ส. ซึ่งคณะกรรมการในพื้นที่ประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร กระทรวงมหาดไทย ในการตั้งโต๊ะช่วยเจรจาหนี้ให้กับชาวบ้าน
"ในขั้นตอนนี้เจ้าหนี้นอกระบบต้องงดคิดอัตราดอกเบี้ยก่อนอันดับแรก และเมื่อการเจรจาเสร็จสิ้น ธ.ก.ส.ก็จะปล่อยสินเชื่อในวงเงินที่พิจารณาจากเงินต้นที่เป็นหนี้ค้างเดิมเท่านั้น"
นายลักษณ์กล่าวว่า ในรอบแรกที่มีการแก้ไขหนี้นอกระบบ จากสถิติพบว่ามีประชาชนลงทุนทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 110,000 คน คุณสมบัติผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ 70% และในจำนวนนี้ 89% หรือเกือบ 70,000 คน สามารถแก้ไขหนี้ได้สำเร็จ และมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ส่วนที่เหลือเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ประชาชนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ แต่ไม่ผ่านพิจารณาจากคณะกรรมการเกือบทั้งหมด มีหนี้ที่เกิดจากอบายมุขเช่นติดการพนัน หรือดื่มสุราบางรายก็บอกไม่ได้ว่าไปก่อหนี้นอกระบบเพราะอะไร เมื่อเหตุผลไม่ชัดเจน การแก้ไขหนี้ก็ยากลำบาก เพราะเมื่อแก้ไขไปแล้วแต่ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุดท้ายก็กลายเป็นเอ็นพีแอล
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารยืนยันที่จะใช้เงื่อนไขดอกเบี้ยที่ 0.75% สำหรับเงินกู้มากกว่า 30,000-200,000 บาท และที่ 0.50% สำหรับเงินกู้ไม่เกิน 30,000 บาท โดยให้ผ่อน 3-5 ปี แล้วแต่วงเงินกู้ พร้อมทั้งจะขอแยกบัญชีการช่วยเหลือทางสังคม(พีเอสเอ)ออกจากบัญชีการดำเนินงานปกติของธนาคาร ที่สำคัญต้องเป็นไม่เป็นหนี้ที่เกิดจากอบายมุขทุกประเภทด้วย
“แม้ว่าขณะนี้กระทรวงการคลังกำลังพิจารณากำหนดเงื่อนไขของผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการอยู่และต้องการให้เป็นหลักเกณฑ์เดียวกันทั้งหมด แต่ธนาคารออมสินยืนยันเงื่อนไขดังกล่าวไปยังกระทรวงการคลังแล้ว เนื่องจากเห็นว่า ลูกค้าของแต่ละธนาคารมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป โดยลูกหนี้นอกระบบที่เป็นเกษตรกรนั้น เหมาะสมที่จะให้ดอกเบี้ยต่ำและผ่อนนานตามฤดูกาลของสินค้าเกษตรนั้น ๆ ซึ่งไม่เหมือนกับผู้ที่ทำธุรกิจค้าขาย ซึ่งมีเงินหมุนกันเป็นรายเดือน ความสามารถในการชำระเงินต่างกัน จึงเห็นว่าต้องให้เงื่อนไขที่แตกต่างกันไป ในส่วนของออมสินโดยเฉลี่ยแล้วลูกค้าที่เป็นพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยทั่วไปนั้น กู้อยู่ที่วงเงิน 30,000 บาท และให้ผ่อน 3-5 ปี จึงคิดดอกเบี้ยเท่ากับอัตราปกติของธนาคารประชาชน 0.50% นั้นเหมาะสมอยู่แล้ว”
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่เปิดให้ลงทะเบียนนั้น ออมสินพร้อมที่จะให้เจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มาร่วมเปิดรับสมัครที่สาขาของออมสินด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าทั้งที่เป็นเกษตรกรและไม่ใช่เกษตรกร เพราะท้ายที่สุด ต้องมีคณะกรรมการคัดแยกประเภทหนี้ แล้วนำส่งให้แต่ละธนาคารที่เกี่ยวข้องอยู่ดี
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงการคลัง เรื่อง การบริหารจัดการภายในศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน(ศอก.นส.) โดยแต่งตั้งปลัดกระทรวงการคลังเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ หัวหน้าส่วนราชการและผู้บริหารสถาบันการเงินของรัฐทั้ง 6 แห่ง เป็นกรรมการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการให้กับประชาชนในความรับผิดชอบของกระทรวงการคลังให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพและบรรลุผลตามนโยบายของรัฐ
โดยวานนี้ (12 พ.ย.) ปลัดกระทรวงการคลังได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือเกี่ยวกับโครงการนี้โดยเฉพาะการเปิดตัวโครงการในวันที่ 19 พ.ย. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยระดมความเห็นจากหน่วยงานประชาสัมพันธ์แบงก์รัฐ และมีบริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด เข้ามาร่วมเสนอรูปแบบการจัดงานในครั้งนี้ด้วย.
นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า แผนการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของกระทรวงการคลังคืบหน้าไปมากโดยได้ประสานงานร่วมกับกรมสรรพากร กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) เพื่อเจรจากับเจ้าหนี้เงินกู้เพื่อขอผ่อนปรนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงมากให้ลดลงเพราะที่ผ่านมาได้เก็บเงินจากลูกหนี้เป็นจำนวนมากแล้ว
โดยวิธีการทำงานของทีมงานเจรจากับเจ้าหนี้นั้นจะเริ่มต้นจากการขอให้เจ้าหนี้ลดหนี้ให้เกิดความเป็นธรรมกับลูกหนี้ หากไม่ยอมลดจะใช้อำนาจของกรมสรรพากร ดีเอสไอ และปปง.ที่มีอยู่ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดโดยเฉพาะกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654บัญญัติว่า ห้ามมิให้เรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี มิฉะนั้นจะถือว่าหนี้จากการกู้เงินดังกล่าวเป็นโมฆะทันที
“เรื่องนี้เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าเจ้าหนี้ที่ปล่อยกู้คิดดอกเบี้ยรายวันทำผิดกฎหมายอย่างแน่นอน กระบวนการเจรจาก็จะเริ่มจากเข้าไปคุยด้วยความละมุนละม่อมก่อนหากเขาไม่ยอมก็ใช้กฎหมายจัดการ ทั้งนี้ไม่กังวลว่าจะเป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพลหรือนักเลงหนุนหลังเพราะภาครัฐก็ใช้ 3 หน่วยงานนี้ทำหน้าที่นักเลงไปจัดการ”
สำหรับการเปิดรับลงทะเบียนโดยธนาคารออมสินที่ดูแลหนี้นอกระบบทั่วไปและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ทำหน้าที่ดูแลหนี้นอกระบบภาคเกษตรนั้นคาดว่าจะมียอดลงทะเบียนจำนวน 1 ล้านราย และเข้าสู่ระบบธนาคารเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 6 แห่ง และธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)KTB จำนวนประมาณ 8 แสนราย ส่วนอีก2 แสนรายนั้นภายหลังจากการเจรจาร่วม 3 ฝ่ายแล้วและมีการลดต้นลดดอกจนเกิดความเป็นธรรมก็จะผ่อนชำระกับเจ้าหนี้ต่อไป
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า บทเรียนจากการแก้ไขหนี้นอกระบบของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาจะให้การทำงานของ ธ.ก.ส.มีความคล่องตัวมากสามารถช่วยเหลือเกษตรกรที่มีนอกระบบสามารถพลิกฟื้น เริ่มต้นในอาชีพใหม่ได้ 89% ของจำนวนเกษตรกรที่ลงทะเบียนในรอบนี้ ขณะนี้ ธ.ก.ส.เตรียมแผนแก้ไขหนี้นอกระบบไว้แล้ว เหลือแต่เพียงการเจรจาเรื่องของระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้ที่ไม่ตรงกันระหว่าง ธ.ก.ส.ที่ต้องการให้เกษตรกร ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้จากพืชผลทางการเกษตรตามฤดูกาลมีเวลาผ่อนชำระหนี้นาน 12 ปี แต่ธนาคารออมสินที่ดูแลลูกหนี้เชิงพาณิชย์จะกำหนดเวลาผ่อนชำระเพียง 5 ปี ทำให้รมว.คลัง ได้สั่งให้ทั้งสองธนาคารหารือกันเพื่อให้มีระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน
"ในสัปดาห์นี้ทั้งสองธนาคารจะได้ข้อสรุป เพราะอาชีพของลูกค้าแต่ละธนาคารมีความแตกต่างกัน ดังนั้น ธ.ก.ส.ก็จะยืนยันการผ่อนชำระไว้ที่ 12 ปีตามเดิม เพื่อให้ลูกค้ามีภาระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยน้อยที่สุด เนื่องจากเกษตรกรมีรายได้หลักจากการเก็บเกี่ยวพืชผลตามฤดูกาล ไม่ใช่ค้าขายหรือธุรกิจเชิงพาณิชย์ที่มีรายได้เข้ามาทุกวันหรือทุกเดือน"
สำหรับดอกเบี้ยที่จะใช้ในโครงการหนี้นอกระบบ ธ.ก.ส.จะใช้อัตราดอกเบี้ยตามปกติของ ธ.ก.ส. เริ่มตั้งแต่ 6.75%-9.75% ต่อปี ขึ้นอยู่กับคุณภาพของลูกหนี้ หากเป็นลูกหนี้ชั้นดี หรือ AAA ได้รับอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดคือ 6.75% ไล่ไปจนถึงแพงที่สุด นอกจากนี้แล้วลูกหนี้ที่เข้ามาร่วมโครงการนี้จะต้องผ่านการฝึกอบรม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และการลด ละ เลิก อบายมุข เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดหากเกษตรกรไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็จะไม่มีโอกาสแก้ไขหนี้สินของตัวเองได้
ขณะที่ในขั้นตอนการปล่อยสินเชื่อในโครงการนี้ จะเริ่มต้นลงทะเบียนในวันที่ 1-31 ม.ค. 2553 ในส่วนของ ธ.ก.ส.จะใช้เวลาในการอนุมัติสินเชื่อไม่เกิน 15 วันหลังจากผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการระดับชาติแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและในระดับจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาคลังจังหวัดเป็นเลขานุการคณะกรรมการ และผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการในพื้นที่ จะช่วยคัดลูกหนี้เพื่อส่งรายชื่อให้กับ ธ.ก.ส. ซึ่งคณะกรรมการในพื้นที่ประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมสรรพากร กระทรวงมหาดไทย ในการตั้งโต๊ะช่วยเจรจาหนี้ให้กับชาวบ้าน
"ในขั้นตอนนี้เจ้าหนี้นอกระบบต้องงดคิดอัตราดอกเบี้ยก่อนอันดับแรก และเมื่อการเจรจาเสร็จสิ้น ธ.ก.ส.ก็จะปล่อยสินเชื่อในวงเงินที่พิจารณาจากเงินต้นที่เป็นหนี้ค้างเดิมเท่านั้น"
นายลักษณ์กล่าวว่า ในรอบแรกที่มีการแก้ไขหนี้นอกระบบ จากสถิติพบว่ามีประชาชนลงทุนทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 110,000 คน คุณสมบัติผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ 70% และในจำนวนนี้ 89% หรือเกือบ 70,000 คน สามารถแก้ไขหนี้ได้สำเร็จ และมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ส่วนที่เหลือเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ประชาชนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ แต่ไม่ผ่านพิจารณาจากคณะกรรมการเกือบทั้งหมด มีหนี้ที่เกิดจากอบายมุขเช่นติดการพนัน หรือดื่มสุราบางรายก็บอกไม่ได้ว่าไปก่อหนี้นอกระบบเพราะอะไร เมื่อเหตุผลไม่ชัดเจน การแก้ไขหนี้ก็ยากลำบาก เพราะเมื่อแก้ไขไปแล้วแต่ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุดท้ายก็กลายเป็นเอ็นพีแอล
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารยืนยันที่จะใช้เงื่อนไขดอกเบี้ยที่ 0.75% สำหรับเงินกู้มากกว่า 30,000-200,000 บาท และที่ 0.50% สำหรับเงินกู้ไม่เกิน 30,000 บาท โดยให้ผ่อน 3-5 ปี แล้วแต่วงเงินกู้ พร้อมทั้งจะขอแยกบัญชีการช่วยเหลือทางสังคม(พีเอสเอ)ออกจากบัญชีการดำเนินงานปกติของธนาคาร ที่สำคัญต้องเป็นไม่เป็นหนี้ที่เกิดจากอบายมุขทุกประเภทด้วย
“แม้ว่าขณะนี้กระทรวงการคลังกำลังพิจารณากำหนดเงื่อนไขของผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการอยู่และต้องการให้เป็นหลักเกณฑ์เดียวกันทั้งหมด แต่ธนาคารออมสินยืนยันเงื่อนไขดังกล่าวไปยังกระทรวงการคลังแล้ว เนื่องจากเห็นว่า ลูกค้าของแต่ละธนาคารมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป โดยลูกหนี้นอกระบบที่เป็นเกษตรกรนั้น เหมาะสมที่จะให้ดอกเบี้ยต่ำและผ่อนนานตามฤดูกาลของสินค้าเกษตรนั้น ๆ ซึ่งไม่เหมือนกับผู้ที่ทำธุรกิจค้าขาย ซึ่งมีเงินหมุนกันเป็นรายเดือน ความสามารถในการชำระเงินต่างกัน จึงเห็นว่าต้องให้เงื่อนไขที่แตกต่างกันไป ในส่วนของออมสินโดยเฉลี่ยแล้วลูกค้าที่เป็นพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยทั่วไปนั้น กู้อยู่ที่วงเงิน 30,000 บาท และให้ผ่อน 3-5 ปี จึงคิดดอกเบี้ยเท่ากับอัตราปกติของธนาคารประชาชน 0.50% นั้นเหมาะสมอยู่แล้ว”
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่เปิดให้ลงทะเบียนนั้น ออมสินพร้อมที่จะให้เจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มาร่วมเปิดรับสมัครที่สาขาของออมสินด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าทั้งที่เป็นเกษตรกรและไม่ใช่เกษตรกร เพราะท้ายที่สุด ต้องมีคณะกรรมการคัดแยกประเภทหนี้ แล้วนำส่งให้แต่ละธนาคารที่เกี่ยวข้องอยู่ดี
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงการคลัง เรื่อง การบริหารจัดการภายในศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน(ศอก.นส.) โดยแต่งตั้งปลัดกระทรวงการคลังเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ หัวหน้าส่วนราชการและผู้บริหารสถาบันการเงินของรัฐทั้ง 6 แห่ง เป็นกรรมการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการให้กับประชาชนในความรับผิดชอบของกระทรวงการคลังให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพและบรรลุผลตามนโยบายของรัฐ
โดยวานนี้ (12 พ.ย.) ปลัดกระทรวงการคลังได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือเกี่ยวกับโครงการนี้โดยเฉพาะการเปิดตัวโครงการในวันที่ 19 พ.ย. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยระดมความเห็นจากหน่วยงานประชาสัมพันธ์แบงก์รัฐ และมีบริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด เข้ามาร่วมเสนอรูปแบบการจัดงานในครั้งนี้ด้วย.