สัปดาห์ที่แล้วในช่วงสายของวันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2552 เมื่อเว็บไซต์ ASTVผู้จัดการ เป็นสื่อไทยเจ้าแรกที่เผยแพร่ข่าวและคำให้สัมภาษณ์ของ “นายทักษิณ ชินวัตร” ที่ให้ไว้กับหนังสือพิมพ์เดอะไทมส์จากประเทศอังกฤษ โดยนายทักษิณ พูดพาดพิง ล่วงละเมิด และจาบจ้วงองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเชื้อพระวงศ์อย่างรุนแรงหลายประการ ทว่ากว่าที่สื่อมวลชนไทยและเว็บไซต์ข่าวสำนักอื่นๆ จะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมานำเสนอ เวลาก็ล่วงไปจนช่วงบ่ายแก่ๆ โดยสื่อบางสำนักกลับเปิดโอกาสและให้พื้นที่ นายทักษิณ ในการแก้ตัวเป็นหลักเสียด้วยซ้ำ
เหตุการณ์นี้เองที่ทำให้ผมมั่นใจว่า นายทักษิณ ยังมีอิทธิพลอยู่ในระดับสูงมากในบรรดาสื่อยักษ์ใหญ่ของไทยไม่ว่าจะเป็น หัวเขียว หัวชมพู หัวดำแดงที่ป่าวประกาศว่าตัวเองเป็นหนังสือพิมพ์ระดับปัญญาชน (ไม่นับสื่อวิทยุและฟรีทีวีทั้งหลายที่ประพฤติตัวเป็น “พ่อค้า” อยู่แล้ว และพยายามจะไม่ข้องแวะหรือเกี่ยวพันกับความขัดแย้งใดๆ แม้ว่าความขัดแย้งนั้นจะเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย ถึงขั้นสูญสิ้นประเทศชาติ-สังคมล่มสลายก็ตาม)
ในความเห็นส่วนตัว การให้สัมภาษณ์ของ นายทักษิณ กับ นายริชาร์ด ลอยด์ แพร์รี บรรณาธิการข่าวเอเชียของเดอะไทมส์ ถือเป็นบทสัมภาษณ์ที่ สถาบันการศึกษาที่สอนด้านสื่อสารมวลชน วารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ทุกสำนักควรหยิบไปสอนนักเรียน ส่วนองค์กรสื่อทุกองค์กรต้องเก็บไว้ศึกษาและสื่อมวลชนชาวไทยทุกคนควรจะอ่านอย่างละเอียด หรือถ้าภาษาอังกฤษไม่แข็งแรงก็ควรขวนขวายหาฉบับแปลมาอ่าน
เหตุผลที่ต้องหามาอ่านก็เพราะบทสัมภาษณ์ Thaksin Shinawatra : the full transcript of his interview with The Times โดยริชาร์ด ลอยด์ แพร์รีที่มีความยาวกว่า 10 หน้านั้นเป็นวิธีการสัมภาษณ์ของสื่อมวลชนมืออาชีพที่ทำงานในระดับนานาชาติของแท้ มิใช่แบบสื่อมวลชนไทยๆ ร้อยละ 99 ที่ถามคำถามแหล่งข่าวด้วยคำถามหน่อมแน้ม โดยปราศจากความรู้-ความเข้าใจถึงพื้นหลังของบุคคลและเรื่องราวอย่างสิ้นเชิง
คำถามหน่อมแน้มของสื่อไทย ยกตัวอย่างเช่น “การที่รัฐบาลไทยเรียกเอกอัครราชทูตกลับจากพนมเปญ ถือเป็นการทำลายความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาหรือไม่?”
คำถามเช่นข้างต้น มิเพียงบ่งชี้ให้เห็นถึงสติปัญญาของผู้ถามว่าสูงส่งหรือต่ำเตี้ยเพียงไร? แต่ยังสะท้อนภูมิปัญญาด้วยว่า บุคคลผู้นั้นขาดคุณสมบัติความเป็นผู้สื่อข่าวและขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตโดยสิ้นเชิง?
เมื่อได้อ่านคำให้สัมภาษณ์นายทักษิณ ฉบับเต็มยาว 12 หน้า ที่เดอะไทมส์นำมาเผยแพร่ ผมก็อดหวนนึกถึงคำให้สัมภาษณ์ของพี่สุทิน วรรณบวร อดีตผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์และเอพี ที่เคยกล่าวกับผมเมื่อต้นปี 2552 ไม่ได้
“ ... จำไว้เลยว่าสื่อนั้นอันตรายที่สุด ถ้าคุณใช้ไปสักพักหนึ่ง มันจะลอบกัดคุณเอง แล้วคุณจะเสียหายเพราะสื่อ คนที่เล่นกับสื่อ ตายกับสื่อมาเยอะแล้ว ปิโนเชต์เล่นกับสื่อตายกับสื่อไหม อาควิโนเล่นกับสื่อตายกับสื่อสื่อไหม ทักษิณเล่นกับสื่อแล้วจะตายกับสื่อไหม?”
หากใครยังจำได้ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2551 ถึงต้นปี 2552 ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ “สงกรานต์เลือด” นายทักษิณ พยายามใช้ยุทธศาสตร์โลกล้อมประเทศ โดยว่าจ้างล็อบบี้ยิสต์เชื่อมไปยังสื่อฝรั่ง ให้ตีพิมพ์ข่าวคราวตนเองและข่าวปัญหาของประเทศไทยออกมาเป็นระยะๆ ไม่ว่าจะเป็นบทสัมภาษณ์ของตัวเขา ข่าวปัญหากลุ่มผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวโรฮิงยา เพื่อบีบให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ตกอยู่ในวงล้อมของสื่อมวลชนและสูญเสียความชอบธรรมในการบริหารประเทศในที่สุด
ทว่า ในอีกไม่กี่เดือนต่อมา ช่วงเดือนเมษายน 2552 กลับเป็น นายทักษิณและกลุ่มคนเสื้อแดงเอง ที่เพลี่ยงพล้ำตกหลุมพรางซึ่งตัวเองขุดเอาไว้
เช่นเดียวกัน ในกรณีให้สัมภาษณ์กับเดอะไทมส์ การที่นายใหญ่ของกลุ่มคนเสื้อแดงเปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวฝรั่งอย่าง นายแพร์รี บินไปสัมภาษณ์ถึงดูไบ คาดว่าตอนแรกที่นายทักษิณตกปากรับคำนักข่าวอังกฤษ เขาคงรู้สึกกระหยิ่มยิ้มย่องอยู่ในใจแล้วว่า เขามีโอกาสที่จะกลับมาแย่งชิงพื้นที่ในหน้าสื่อฝรั่งได้อีกครั้งหลังจากที่ในช่วงสงกรานต์เลือด เขาปล่อยไก่กลางจอโทรทัศน์ โกหกไม่แนบเนียน จนทำให้สื่อฝรั่งอย่างบีบีซี ซีเอ็นเอ็น จับโกหกได้แบบคาหนังคาเขาไปแล้ว
แต่คราวนี้ผลกลับปรากฏออกมาในทิศทางตรงกันข้ามกับสิ่งที่นายทักษิณจินตนาการเอาไว้ เพราะ “คำถาม” แบบถึงลูกถึงคนของนายแพร์รี ไล่จี้และไล่บี้เสียจนนายทักษิณต้องคาย “ความรู้สึกในส่วนลึก” ออกมา
ยกอย่างเช่นในบทสัมภาษณ์หน้าที่ 6 เมื่อนักข่าวอังกฤษย้อนถามถึงกรณีที่ นายทักษิณเคยลั่นวาจาเอาไว้ว่าจะเดินนำประชาชนเข้ามาในกรุงเทพฯ หากเสียงปืนแตก สังเกตว่าคำถามนี้ทำให้ทักษิณรู้สึกอึดอัดและต้องกล่าวเบี่ยงเบน จนในประโยคต่อๆ มา เขาถึงกับคายความในใจออกมา
นอกจากนี้ วิธีการสรุปรวบยอดและนำเนื้อหาคำให้สัมภาษณ์ของนายทักษิณไปพาดหัวข่าวด้วยลีลาค่อนข้างรุนแรงของเดอะไทมส์ในเวลาต่อมายังสร้างความเดือดร้อนให้กับนักโทษผู้หลบหนีคดีชาวไทยอย่างมาก จนเจ้าตัวถึงกับกล่าวสบถออกมาว่า “พาดหัวข่าวได้เลวมาก” ในระหว่างการออกรายการวิทยุออนไลน์
การตีข่าวดังกล่าวของเดอะไทมส์ ที่ในเวลาต่อมาย้อนกลับมาเป็นหอกทิ่มแทงนายทักษิณ แม้จะช่วยให้คนไทยได้เห็นถึงเนื้อแท้ของเขา และเปิดโปงถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของการเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วง 7-8 ปีหลังของชายผู้นี้ แต่ชาวไทยต้องไม่ลืมว่า ลึกๆ แล้ว “สื่อฝรั่ง” (โดยเฉพาะจากฝั่งอังกฤษ) ไม่ว่าจะเป็น เดอะไทมส์ ดิ อินดีเพนเดนต์ ดิ อีโคโนมิสต์ ไทม์ วอชิงตันโพสต์ ดิ ออบเซิร์ฟเวอร์ เดลี เทเลกราฟ รวมไปถึงบีบีซี ต่างก็มีความรู้สึก “ไม่ปลื้ม” กับธรรมเนียมประเพณีหลายๆ ประการที่คนไทยยึดถือ และกฎหมายไทยที่บังคับใช้เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์อยู่แล้ว เพราะ ในบ้านเขา สถาบันกษัตริย์นั้นสื่อสามารถวิพากษ์วิจารณ์ รวมไปถึงล้อเลียนได้อย่างเต็มที่
เพราะฉะนั้น เมื่อฝรั่งหรือนักข่าวฝรั่งเหล่านี้มาอยู่เมืองไทย แล้วข้อเขียนของเขาถูกแบนหรือพรรคพวกของเขาถูกฟ้องร้องในกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อย่างเช่น กรณีฟาร์อีสเทิร์นอีโคโนมิกรีวิวเมื่อหลายปีก่อน กรณีนายโจนาธาน เฮด อดีตนักข่าวประจำภูมิภาคของบีบีซี กรณีนายพอล แฮนด์ลีย์ ผู้เขียนหนังสือ The King Never Smile กรณีนายแฮร์รี นิโคไลเดส นักเขียนชาวออสเตรเลีย จนถึงล่าสุดคือ กรณีนายริชาร์ด ลอยด์ แพร์รี นักข่าวฝรั่งพวกนี้จึงใช้เครือข่ายสื่อของตัวเองตีข่าวให้เป็นเรื่องใหญ่โต
หากใครยังจำได้ 15 ปีก่อน เมื่อศาลสิงคโปร์ตัดสินลงโทษเด็กวัยรุ่นชาวอเมริกันที่ชื่อไมเคิล เฟย์ (Michael P. Fay) ในข้อหามีพฤติกรรมเป็นอันธพาล เนื่องจากไปพ่นสีผนังบ้าน กรีดรถยนต์ และทำความเสียหายให้กับทรัพย์สินของเพื่อนบ้าน โดยสั่งจำคุก 4 เดือน ปรับเงินเป็นจำนวน 3,500 สิงคโปร์ดอลลาร์ และเฆี่ยนที่ก้นอีก 4 ที สื่ออเมริกันก็ตีข่าวของ ไมเคิล เฟย์ เป็นเรื่องใหญ่โตในระดับโลกเช่นกัน
ในเวลานั้นนักข่าวฝรั่งถึงกับเขียนด่าทอรัฐบาลสิงคโปร์ว่าเป็นรัฐเผด็จการ กฎหมายดังกล่าวของสิงคโปร์ก็เป็นกฎหมายดราโก หรือกฎหมายโหดเหี้ยม (Draconian Law) เพราะมีบทลงโทษผู้กระทำผิดแม้ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ (ในสายตาฝรั่ง) อย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการเดินข้ามถนนในที่ห้าม หรือการเคี้ยวหมากฝรั่ง ทว่า เมื่อนักข่าวฝรั่งเซ้าซี้มากๆ เข้า รัฐบาลสิงคโปร์ก็ใช้สติปัญญาในการตอบนักข่าวฝรั่งไปอย่างชาญฉลาดว่า สิงคโปร์เป็นรัฐอธิปไตย ที่มีเอกลักษณ์ทางการเมืองและคุณค่าทางวัฒนธรรมของตัวเอง เพราะฉะนั้นชาวต่างชาติกรุณาทำความเข้าใจและกรุณาอย่าแทรกแซง
ครั้งหนึ่งเมื่อนักข่าวบีบีซีซัก นายลี กวนยู (นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ บิดาของนายลี เซียนลุง นายกฯ สิงคโปร์คนปัจจุบัน) มากเข้าเรื่องความเข้มงวดของกฎหมายห้ามนำเข้าและเคี้ยวหมากฝรั่งของสิงคโปร์ อดีตผู้นำสิงคโปร์จึงยียวนกลับไปบ้างว่า “ถ้าคุณคิดอะไรไม่ออกเพราะคุณไม่ได้เคี้ยวหมากฝรั่ง ก็ลองกินกล้วยดูสิ!”
เมื่อพิจารณาและเปรียบเทียบกับเมืองไทยแล้ว จะเห็นได้ชัดว่า กฎหมายห้ามเคี้ยวหมากฝรั่งของสิงคโปร์ และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่ต่างก็ถูกนักข่าวฝรั่งต่อต้านนั้น ส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งสองในระดับที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเพราะกฎหมายหมิ่นฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของไทยนั้นเป็นกฎหมายที่ลักษณะความผิดนั้นมิได้เป็นเพียงแค่การหมิ่นประมาทธรรมดา เหมือนดาราฟ้องหมิ่นหมอดูหรือนักการเมืองฟ้องหมิ่นสื่อมวลชน แต่เป็นกฎหมายความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศเลยทีเดียว!
ความมั่นใจในตัวเอง พฤติกรรมเอาแต่ใจ และความไม่พยายามทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมที่แตกต่าง จนบางครั้งพัฒนาไปถึงขั้นการดูถูกวัฒนธรรมอื่นว่าเป็นวัฒนธรรมล้าหลัง เป็นสังคมด้อยพัฒนานั้น นอกเหนือจากการแก้ไขด้วยวิธีอธิบายอย่างผู้ดีแล้ว บางครั้งก็จำเป็นต้องตอกกลับด้วยน้ำเสียงและมาตรการที่เฉียบขาดบ้าง
กระนั้น พฤติกรรมก้าวร้าวของสื่อฝรั่งเอาเข้าจริงก็ไม่ได้น่าเกรงกลัวเท่าใดนัก เพราะเขาเหล่านั้นทำงานอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อและมาตรฐานของวิชาชีพแบบที่สังคมของเขาวางรากฐานมา แต่พฤติกรรมสยบยอมให้กับ “อำนาจเงินตรา” โดยปราศจากรากฐานของคุณธรรมและจริยธรรมของสื่อบ้านเรา รวมถึง “สื่อไทยใจเขมร” บางส่วนต่างหากที่น่าเป็นห่วงกว่า
ห่วงว่าในท้ายที่สุดแล้ว พฤติกรรมของสื่อขายวิญญาณเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศชาติและสังคมไทยต้องล่มจม อย่างที่ไม่ควรจะเป็น
เหตุการณ์นี้เองที่ทำให้ผมมั่นใจว่า นายทักษิณ ยังมีอิทธิพลอยู่ในระดับสูงมากในบรรดาสื่อยักษ์ใหญ่ของไทยไม่ว่าจะเป็น หัวเขียว หัวชมพู หัวดำแดงที่ป่าวประกาศว่าตัวเองเป็นหนังสือพิมพ์ระดับปัญญาชน (ไม่นับสื่อวิทยุและฟรีทีวีทั้งหลายที่ประพฤติตัวเป็น “พ่อค้า” อยู่แล้ว และพยายามจะไม่ข้องแวะหรือเกี่ยวพันกับความขัดแย้งใดๆ แม้ว่าความขัดแย้งนั้นจะเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย ถึงขั้นสูญสิ้นประเทศชาติ-สังคมล่มสลายก็ตาม)
ในความเห็นส่วนตัว การให้สัมภาษณ์ของ นายทักษิณ กับ นายริชาร์ด ลอยด์ แพร์รี บรรณาธิการข่าวเอเชียของเดอะไทมส์ ถือเป็นบทสัมภาษณ์ที่ สถาบันการศึกษาที่สอนด้านสื่อสารมวลชน วารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ทุกสำนักควรหยิบไปสอนนักเรียน ส่วนองค์กรสื่อทุกองค์กรต้องเก็บไว้ศึกษาและสื่อมวลชนชาวไทยทุกคนควรจะอ่านอย่างละเอียด หรือถ้าภาษาอังกฤษไม่แข็งแรงก็ควรขวนขวายหาฉบับแปลมาอ่าน
เหตุผลที่ต้องหามาอ่านก็เพราะบทสัมภาษณ์ Thaksin Shinawatra : the full transcript of his interview with The Times โดยริชาร์ด ลอยด์ แพร์รีที่มีความยาวกว่า 10 หน้านั้นเป็นวิธีการสัมภาษณ์ของสื่อมวลชนมืออาชีพที่ทำงานในระดับนานาชาติของแท้ มิใช่แบบสื่อมวลชนไทยๆ ร้อยละ 99 ที่ถามคำถามแหล่งข่าวด้วยคำถามหน่อมแน้ม โดยปราศจากความรู้-ความเข้าใจถึงพื้นหลังของบุคคลและเรื่องราวอย่างสิ้นเชิง
คำถามหน่อมแน้มของสื่อไทย ยกตัวอย่างเช่น “การที่รัฐบาลไทยเรียกเอกอัครราชทูตกลับจากพนมเปญ ถือเป็นการทำลายความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาหรือไม่?”
คำถามเช่นข้างต้น มิเพียงบ่งชี้ให้เห็นถึงสติปัญญาของผู้ถามว่าสูงส่งหรือต่ำเตี้ยเพียงไร? แต่ยังสะท้อนภูมิปัญญาด้วยว่า บุคคลผู้นั้นขาดคุณสมบัติความเป็นผู้สื่อข่าวและขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตโดยสิ้นเชิง?
เมื่อได้อ่านคำให้สัมภาษณ์นายทักษิณ ฉบับเต็มยาว 12 หน้า ที่เดอะไทมส์นำมาเผยแพร่ ผมก็อดหวนนึกถึงคำให้สัมภาษณ์ของพี่สุทิน วรรณบวร อดีตผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์และเอพี ที่เคยกล่าวกับผมเมื่อต้นปี 2552 ไม่ได้
“ ... จำไว้เลยว่าสื่อนั้นอันตรายที่สุด ถ้าคุณใช้ไปสักพักหนึ่ง มันจะลอบกัดคุณเอง แล้วคุณจะเสียหายเพราะสื่อ คนที่เล่นกับสื่อ ตายกับสื่อมาเยอะแล้ว ปิโนเชต์เล่นกับสื่อตายกับสื่อไหม อาควิโนเล่นกับสื่อตายกับสื่อสื่อไหม ทักษิณเล่นกับสื่อแล้วจะตายกับสื่อไหม?”
หากใครยังจำได้ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2551 ถึงต้นปี 2552 ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ “สงกรานต์เลือด” นายทักษิณ พยายามใช้ยุทธศาสตร์โลกล้อมประเทศ โดยว่าจ้างล็อบบี้ยิสต์เชื่อมไปยังสื่อฝรั่ง ให้ตีพิมพ์ข่าวคราวตนเองและข่าวปัญหาของประเทศไทยออกมาเป็นระยะๆ ไม่ว่าจะเป็นบทสัมภาษณ์ของตัวเขา ข่าวปัญหากลุ่มผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวโรฮิงยา เพื่อบีบให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ตกอยู่ในวงล้อมของสื่อมวลชนและสูญเสียความชอบธรรมในการบริหารประเทศในที่สุด
ทว่า ในอีกไม่กี่เดือนต่อมา ช่วงเดือนเมษายน 2552 กลับเป็น นายทักษิณและกลุ่มคนเสื้อแดงเอง ที่เพลี่ยงพล้ำตกหลุมพรางซึ่งตัวเองขุดเอาไว้
เช่นเดียวกัน ในกรณีให้สัมภาษณ์กับเดอะไทมส์ การที่นายใหญ่ของกลุ่มคนเสื้อแดงเปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวฝรั่งอย่าง นายแพร์รี บินไปสัมภาษณ์ถึงดูไบ คาดว่าตอนแรกที่นายทักษิณตกปากรับคำนักข่าวอังกฤษ เขาคงรู้สึกกระหยิ่มยิ้มย่องอยู่ในใจแล้วว่า เขามีโอกาสที่จะกลับมาแย่งชิงพื้นที่ในหน้าสื่อฝรั่งได้อีกครั้งหลังจากที่ในช่วงสงกรานต์เลือด เขาปล่อยไก่กลางจอโทรทัศน์ โกหกไม่แนบเนียน จนทำให้สื่อฝรั่งอย่างบีบีซี ซีเอ็นเอ็น จับโกหกได้แบบคาหนังคาเขาไปแล้ว
แต่คราวนี้ผลกลับปรากฏออกมาในทิศทางตรงกันข้ามกับสิ่งที่นายทักษิณจินตนาการเอาไว้ เพราะ “คำถาม” แบบถึงลูกถึงคนของนายแพร์รี ไล่จี้และไล่บี้เสียจนนายทักษิณต้องคาย “ความรู้สึกในส่วนลึก” ออกมา
ยกอย่างเช่นในบทสัมภาษณ์หน้าที่ 6 เมื่อนักข่าวอังกฤษย้อนถามถึงกรณีที่ นายทักษิณเคยลั่นวาจาเอาไว้ว่าจะเดินนำประชาชนเข้ามาในกรุงเทพฯ หากเสียงปืนแตก สังเกตว่าคำถามนี้ทำให้ทักษิณรู้สึกอึดอัดและต้องกล่าวเบี่ยงเบน จนในประโยคต่อๆ มา เขาถึงกับคายความในใจออกมา
นอกจากนี้ วิธีการสรุปรวบยอดและนำเนื้อหาคำให้สัมภาษณ์ของนายทักษิณไปพาดหัวข่าวด้วยลีลาค่อนข้างรุนแรงของเดอะไทมส์ในเวลาต่อมายังสร้างความเดือดร้อนให้กับนักโทษผู้หลบหนีคดีชาวไทยอย่างมาก จนเจ้าตัวถึงกับกล่าวสบถออกมาว่า “พาดหัวข่าวได้เลวมาก” ในระหว่างการออกรายการวิทยุออนไลน์
การตีข่าวดังกล่าวของเดอะไทมส์ ที่ในเวลาต่อมาย้อนกลับมาเป็นหอกทิ่มแทงนายทักษิณ แม้จะช่วยให้คนไทยได้เห็นถึงเนื้อแท้ของเขา และเปิดโปงถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของการเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วง 7-8 ปีหลังของชายผู้นี้ แต่ชาวไทยต้องไม่ลืมว่า ลึกๆ แล้ว “สื่อฝรั่ง” (โดยเฉพาะจากฝั่งอังกฤษ) ไม่ว่าจะเป็น เดอะไทมส์ ดิ อินดีเพนเดนต์ ดิ อีโคโนมิสต์ ไทม์ วอชิงตันโพสต์ ดิ ออบเซิร์ฟเวอร์ เดลี เทเลกราฟ รวมไปถึงบีบีซี ต่างก็มีความรู้สึก “ไม่ปลื้ม” กับธรรมเนียมประเพณีหลายๆ ประการที่คนไทยยึดถือ และกฎหมายไทยที่บังคับใช้เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์อยู่แล้ว เพราะ ในบ้านเขา สถาบันกษัตริย์นั้นสื่อสามารถวิพากษ์วิจารณ์ รวมไปถึงล้อเลียนได้อย่างเต็มที่
เพราะฉะนั้น เมื่อฝรั่งหรือนักข่าวฝรั่งเหล่านี้มาอยู่เมืองไทย แล้วข้อเขียนของเขาถูกแบนหรือพรรคพวกของเขาถูกฟ้องร้องในกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อย่างเช่น กรณีฟาร์อีสเทิร์นอีโคโนมิกรีวิวเมื่อหลายปีก่อน กรณีนายโจนาธาน เฮด อดีตนักข่าวประจำภูมิภาคของบีบีซี กรณีนายพอล แฮนด์ลีย์ ผู้เขียนหนังสือ The King Never Smile กรณีนายแฮร์รี นิโคไลเดส นักเขียนชาวออสเตรเลีย จนถึงล่าสุดคือ กรณีนายริชาร์ด ลอยด์ แพร์รี นักข่าวฝรั่งพวกนี้จึงใช้เครือข่ายสื่อของตัวเองตีข่าวให้เป็นเรื่องใหญ่โต
หากใครยังจำได้ 15 ปีก่อน เมื่อศาลสิงคโปร์ตัดสินลงโทษเด็กวัยรุ่นชาวอเมริกันที่ชื่อไมเคิล เฟย์ (Michael P. Fay) ในข้อหามีพฤติกรรมเป็นอันธพาล เนื่องจากไปพ่นสีผนังบ้าน กรีดรถยนต์ และทำความเสียหายให้กับทรัพย์สินของเพื่อนบ้าน โดยสั่งจำคุก 4 เดือน ปรับเงินเป็นจำนวน 3,500 สิงคโปร์ดอลลาร์ และเฆี่ยนที่ก้นอีก 4 ที สื่ออเมริกันก็ตีข่าวของ ไมเคิล เฟย์ เป็นเรื่องใหญ่โตในระดับโลกเช่นกัน
ในเวลานั้นนักข่าวฝรั่งถึงกับเขียนด่าทอรัฐบาลสิงคโปร์ว่าเป็นรัฐเผด็จการ กฎหมายดังกล่าวของสิงคโปร์ก็เป็นกฎหมายดราโก หรือกฎหมายโหดเหี้ยม (Draconian Law) เพราะมีบทลงโทษผู้กระทำผิดแม้ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ (ในสายตาฝรั่ง) อย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการเดินข้ามถนนในที่ห้าม หรือการเคี้ยวหมากฝรั่ง ทว่า เมื่อนักข่าวฝรั่งเซ้าซี้มากๆ เข้า รัฐบาลสิงคโปร์ก็ใช้สติปัญญาในการตอบนักข่าวฝรั่งไปอย่างชาญฉลาดว่า สิงคโปร์เป็นรัฐอธิปไตย ที่มีเอกลักษณ์ทางการเมืองและคุณค่าทางวัฒนธรรมของตัวเอง เพราะฉะนั้นชาวต่างชาติกรุณาทำความเข้าใจและกรุณาอย่าแทรกแซง
ครั้งหนึ่งเมื่อนักข่าวบีบีซีซัก นายลี กวนยู (นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ บิดาของนายลี เซียนลุง นายกฯ สิงคโปร์คนปัจจุบัน) มากเข้าเรื่องความเข้มงวดของกฎหมายห้ามนำเข้าและเคี้ยวหมากฝรั่งของสิงคโปร์ อดีตผู้นำสิงคโปร์จึงยียวนกลับไปบ้างว่า “ถ้าคุณคิดอะไรไม่ออกเพราะคุณไม่ได้เคี้ยวหมากฝรั่ง ก็ลองกินกล้วยดูสิ!”
เมื่อพิจารณาและเปรียบเทียบกับเมืองไทยแล้ว จะเห็นได้ชัดว่า กฎหมายห้ามเคี้ยวหมากฝรั่งของสิงคโปร์ และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่ต่างก็ถูกนักข่าวฝรั่งต่อต้านนั้น ส่งผลกระทบต่อสังคมทั้งสองในระดับที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเพราะกฎหมายหมิ่นฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของไทยนั้นเป็นกฎหมายที่ลักษณะความผิดนั้นมิได้เป็นเพียงแค่การหมิ่นประมาทธรรมดา เหมือนดาราฟ้องหมิ่นหมอดูหรือนักการเมืองฟ้องหมิ่นสื่อมวลชน แต่เป็นกฎหมายความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศเลยทีเดียว!
ความมั่นใจในตัวเอง พฤติกรรมเอาแต่ใจ และความไม่พยายามทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมที่แตกต่าง จนบางครั้งพัฒนาไปถึงขั้นการดูถูกวัฒนธรรมอื่นว่าเป็นวัฒนธรรมล้าหลัง เป็นสังคมด้อยพัฒนานั้น นอกเหนือจากการแก้ไขด้วยวิธีอธิบายอย่างผู้ดีแล้ว บางครั้งก็จำเป็นต้องตอกกลับด้วยน้ำเสียงและมาตรการที่เฉียบขาดบ้าง
กระนั้น พฤติกรรมก้าวร้าวของสื่อฝรั่งเอาเข้าจริงก็ไม่ได้น่าเกรงกลัวเท่าใดนัก เพราะเขาเหล่านั้นทำงานอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อและมาตรฐานของวิชาชีพแบบที่สังคมของเขาวางรากฐานมา แต่พฤติกรรมสยบยอมให้กับ “อำนาจเงินตรา” โดยปราศจากรากฐานของคุณธรรมและจริยธรรมของสื่อบ้านเรา รวมถึง “สื่อไทยใจเขมร” บางส่วนต่างหากที่น่าเป็นห่วงกว่า
ห่วงว่าในท้ายที่สุดแล้ว พฤติกรรมของสื่อขายวิญญาณเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศชาติและสังคมไทยต้องล่มจม อย่างที่ไม่ควรจะเป็น