นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงการดำเนินการของวุฒิสภาในการถอนถอน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ป.ป.ช. ส่งเรื่องมาจากกรณีสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่หน้ารัฐสภาวันที่ 7 ตุลาคม 51 ว่า เรื่องนี้คงต้องพิจารณากันอีกครั้งหนึ่งว่าจะดำเนินการอย่างไร แต่ส่วนตัวเห็นว่าการถอนถอนใคร คนๆ นั้นจะต้องดำรงอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ ดังนั้นเมื่อนายสมชาย ไม่ได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องยื่นถอดถอนอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม คงต้องแล้วแต่ที่ประชุมจะพิจารณา ซึ่งจะบรรจุวาระในการประชุมวุฒิสภาวันที่ 23 พ.ย.นี้ เป็นวาระเรื่องด่วน แต่ไม่ใช่ลำดับแรกสุดโดยจะพิจารณาต่อจากเรื่องด่วนอื่นๆ ที่บรรจุในวาระไว้แล้ว
"การพิจารณาเรื่องนี้วันที่ 23 พ.ย. ที่ประชุม จะมาดูว่า จะดำเนินการถอดถอนได้หรือไม่ ถ้าที่ประชุมเห็นว่าถอดถอนไม่ได้ ก็เป็นเรื่องรับทราบ แต่ถ้าที่ประชุมเห็นว่าถอดถอนได้ ก็ต้องเสนอเรื่องนี้เข้ามาใหม่ เป็นวาระพิจารณาเพื่อถอดถอน" นายประสพสุขกล่าว
เมื่อถามว่าหากที่ประชุมเห็นว่า ต้องพิจารณาถอดถอน จะต้องนัดประชุมเพิ่มเป็นวาระด่วนพิเศษหรือไม่ เพราะสภาจะปิดสมัยประชุมในวันที่ 28 พ.ย. นายประสพสุข กล่าวว่าต้องดูก่อน แต่คนคิดว่าคงไม่เร่งด่วนขนาดนั้น เพราะบุคคลดังกล่าวก็ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งแล้ว ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ดำเนินการโดยเร่งด่วน น่าจะเป็นกรณีที่บุคคลคนนั้นอยู่ในตำแหน่ง
**อ้างส.ว.เหนื่อยล้าทำสภาล่ม
นายประสพสุข ยังกล่าวกล่าวถึงการประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 16 พ.ย ที่องค์ประชุมล่มระหว่างการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.... ว่า ไม่ได้เป็นการเล่นเกมการเมือง แต่คงเกิดจากการการประชุมที่ต่อเนื่องยาวนาน จนทำให้สมาชิกเหนื่อยล้า รวมทั้งสมาชิกส่วนใหญ่ก็ติดภารกิจ
อย่างไรก็ตามในการประชุมวุฒิสภาถือเป็นครั้งแรกที่องค์ประชุมล่ม ซึ่งตนมั่นใจว่าต่อไปจะไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีก รวมทั้งคงไม่ทำให้วุฒิสภาเสียภาพลักษณ์ ส่วนการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน คงต้องเลื่อนไปลงมติในวันจันทร์ที่ 23 พ.ย. ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหา
นอกจากนี้การพิจารณากฎหมายสำคัญของวุฒิสภา จะทันก่อนที่จะมีการปิดประชุมสภาสมัยนิติบัญญัติในวันที่ 28 พ.ย หรือไม่นั้น นายประสพสุข กล่าวว่าเรื่องนี้ไม่น่ามีปัญหา เพราะเหลือกฎหมายที่สำคัญอีกเพียง 9 ฉบับ ซึ่งมี 3 ฉบับ ที่อยู่ในการพิจารณาในวาระ 2 และวาระ 3 อาทิ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ…. ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ... ส่วนกฎหมายที่เหลือ เมื่อผ่านการพิจารณาในวาระที่ 1 แล้วก็สามารถตั้งกรรมาธิการพิจารณาระหว่างปิดสมัยประชุมได้ ซึ่งจะทำให้การพิจารณากฎหมายเดินหน้าไปได้เรื่อยๆ
**โยนวิปวุฒิตัดสินใจเรื่องแก้รธน.
นายประสพสุข กล่าวต่อถึงกรณีที่กลุ่มส.ว. บางส่วนเสนอให้วิปวุฒิถอนตัวจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญร่วมกับวิปรัฐบาลว่า เรื่องนี้คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของวิปวุฒิสภาชุดใหม่ดำเนินการว่าจะเข้าร่วมประชุมเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อหรือไม่
เมื่อถามถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีเตรียมพิจารณาขึ้นเงินเดือนให้ส.ส. และส.ว. อีก 7 เปอร์เซนต์ ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นอำนาจของรัฐบาลที่พิจารณามาแล้ว ซึ่งคงเห็นว่าเงินเดือนของฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติมีความเหลื่อมล้ำกัน จึงเห็นควรให้ปรับขึ้น เรื่องนี้ไม่ใช่ฝ่ายนิติบัญญัติจะขอพิจารณาขึ้นเงินเดือนตัวเอง ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมนั้นก็เป็นสิทธิ์ของแต่ละบุคคล แต่ส่วนตัวไม่ขอแสดงความเห็น
**ชี้ประชุมวุฒิล่มเป็นเกมการเมือง
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวถึงการประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 16 พ.ย ที่องค์ประชุมล่ม ระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.... ว่าเป็นไปตามความคาดหมาย เป็นเกมการเมือง เนื่องจากตนได้รับทราบเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า มีกระบวนการสกัดกฎหมายโดยมีกลุ่ม ส.ส.ฝ่ายค้านได้ตั้งวอร์รูมเรื่องดังกล่าวแล้วว่าไม่ควรผ่านกฎหมายดังกล่าว ซึ่งผลการประชุมวุฒิสภาก็สอดคล้องกับกระแสข่าวสกัด พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ตนเห็นว่า พ.ร.บ.นี้เป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างมาก เพราะที่ผ่านมามีการทุจริตอย่างต่อเนื่อง ทั้งส่วนท้องถิ่นหรือระดับประเทศโดย พ.ร.บ.นี้จะเป็นการเพิ่มอำนาจให้ สตง.เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเป็น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ เพราะที่ผ่านมาเหมือนให้ปืนแก่ สตง.ปราบโจรผู้ร้าย แต่กลับไม่ให้ลูกปืน เมื่อมีร่าง พ.ร.บ.นี้เปรียบเป็นลูกปืน ทำให้การทำหน้าที่ สตง.มีประสิทธิภาพมากขึ้น พวกนักการเมืองไม่มีใครอยากให้กฎหมายนี้ผ่านไปได้ เพราะตราบใดที่ยังต้องใช้ฐานเสียงจากกลุ่มผู้นำท้องถิ่นในการหาเสียง เมื่อนั้นคงยากต่อการเสนอให้ผ่านร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้
**ส.ว.เลียนแบบส.ส.ไม่ยอมเสียบบัตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีการประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ซึ่งมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. .... ที่คณะกรรมาธิการ(กมธ.) วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ในวาระ 2 และ 3 ปรากฏว่า ในการพิจารณาวาระ 2 ซึ่งพิจารณารายมาตรา มีการถกเถียงกันมากโดยเฉพาะส่วนที่ 3 การตรวจสอบ สืบสวน ที่ให้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)ตรวจสอบกระทำทุจริตเกี่ยวกับการบริหาร การเงินการคลัง หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ เงินหรือทรัพย์สินของราชการอย่างกว้างขวาง และส่งฟ้องศาลที่มีเขตอำนาจได้เช่นเดียวกับป.ป.ช. ซึ่งอาจเป็นการให้อำนาจ คตง.เกินกว่าที่ รัฐธรรมนูญ 2550 บัญญัติ และบทเฉพาะกาล มาตรา 116 ที่บัญญัติว่า มิให้นำบทบัญญัติในเรื่องการห้าม กรรมการ คตง.เพียงวาระเดียว มาใช้บังคับกับกรรมการ คตง.ที่ได้รับการสรรหาครั้งแรก ซึ่งดำรงตำแหน่ง 3 ปีตามรัฐธรรมนูญปี 2540 อาจเอื้อประโยชน์ให้บุคคลคนใดบุคคลหนึ่งได้ประโยชน์ ทำให้สุดท้าย วุฒิสภาองค์ประชุมไม่ครบ ทำให้สภาล่ม ก่อนการลงมติในมาตรา 116
นายสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ส.ว.นครศรีธรรมราช กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้ที่ประชุมวุฒิสภาล่มว่า ระหว่างการพิจารณาถึงมาตรา 102 ซึ่งเป็นมาตราที่ทุกคนจับตา ปรากฏว่า มีความพยายามจะขอให้เลื่อนการพิจารณาไปในสัปดาห์ถัดไป ทั้งที่องค์ประชุมอยู่กันถึง 115 คน ถือว่าส.ว.อยู่ประชุมมากกว่าปกติด้วยซ้ำ และมีการขอเลื่อนอีกครั้งตอนพิจารณามาตรา 116 ซึ่งส.ว.สรรหา ที่สนับสนุนร่างของ กมธ. ก็ยอมรับว่าเกรงว่าเสียงเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ ก็เป็นท่าทีที่แสดงออกมาชัดเจน ทั้งที่ ร่างกฎหมายใดๆ หากไม่สอดคล้องตามหลักนิติธรรม อาจขัดรัฐธรรมนูญ หรือไม่เป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบการทุจริตอย่างแท้จริง วุฒิสภา ไม่ให้ผ่านก็ได้ เหมือน พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.ภาษีน้ำมัน ที่วุฒิสภา เคยไม่ให้ผ่านมาแล้ว แต่ที่บางฝ่ายในส.ว.กำลังทำกัน เหมือนมีธงอยู่แล้ว
"ตอนลงมติให้ประชุมต่อ กับการนับองค์ประชุมก่อนโหวตมาตรา 116 ห่างกันไม่ถึง 3 นาที ส.ว.ที่มี 79 คน เหลือ 74 คน และผมเห็นกับตาว่า มี ส.ว.อยู่ในห้องประชุมแต่ไม่ยอมเสียบบัตรแสดงตน ซึ่งส.ว.เหล่านี้เคยวิจารณ์พฤติกรรมของ ส.ส.แบบดังกล่าวมาแล้วว่าเล่นเกม วันนี้ ส.ว.ดังกล่าวกำลังเล่นเกมเช่นกันหรือไม่ ผมไม่อยากเห็นการชิงไหวชิงพริบในวุฒิสภาอย่างนี้" นายสิริวัฒน์ กล่าว
"การพิจารณาเรื่องนี้วันที่ 23 พ.ย. ที่ประชุม จะมาดูว่า จะดำเนินการถอดถอนได้หรือไม่ ถ้าที่ประชุมเห็นว่าถอดถอนไม่ได้ ก็เป็นเรื่องรับทราบ แต่ถ้าที่ประชุมเห็นว่าถอดถอนได้ ก็ต้องเสนอเรื่องนี้เข้ามาใหม่ เป็นวาระพิจารณาเพื่อถอดถอน" นายประสพสุขกล่าว
เมื่อถามว่าหากที่ประชุมเห็นว่า ต้องพิจารณาถอดถอน จะต้องนัดประชุมเพิ่มเป็นวาระด่วนพิเศษหรือไม่ เพราะสภาจะปิดสมัยประชุมในวันที่ 28 พ.ย. นายประสพสุข กล่าวว่าต้องดูก่อน แต่คนคิดว่าคงไม่เร่งด่วนขนาดนั้น เพราะบุคคลดังกล่าวก็ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งแล้ว ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ดำเนินการโดยเร่งด่วน น่าจะเป็นกรณีที่บุคคลคนนั้นอยู่ในตำแหน่ง
**อ้างส.ว.เหนื่อยล้าทำสภาล่ม
นายประสพสุข ยังกล่าวกล่าวถึงการประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 16 พ.ย ที่องค์ประชุมล่มระหว่างการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.... ว่า ไม่ได้เป็นการเล่นเกมการเมือง แต่คงเกิดจากการการประชุมที่ต่อเนื่องยาวนาน จนทำให้สมาชิกเหนื่อยล้า รวมทั้งสมาชิกส่วนใหญ่ก็ติดภารกิจ
อย่างไรก็ตามในการประชุมวุฒิสภาถือเป็นครั้งแรกที่องค์ประชุมล่ม ซึ่งตนมั่นใจว่าต่อไปจะไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีก รวมทั้งคงไม่ทำให้วุฒิสภาเสียภาพลักษณ์ ส่วนการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน คงต้องเลื่อนไปลงมติในวันจันทร์ที่ 23 พ.ย. ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหา
นอกจากนี้การพิจารณากฎหมายสำคัญของวุฒิสภา จะทันก่อนที่จะมีการปิดประชุมสภาสมัยนิติบัญญัติในวันที่ 28 พ.ย หรือไม่นั้น นายประสพสุข กล่าวว่าเรื่องนี้ไม่น่ามีปัญหา เพราะเหลือกฎหมายที่สำคัญอีกเพียง 9 ฉบับ ซึ่งมี 3 ฉบับ ที่อยู่ในการพิจารณาในวาระ 2 และวาระ 3 อาทิ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ…. ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ... ส่วนกฎหมายที่เหลือ เมื่อผ่านการพิจารณาในวาระที่ 1 แล้วก็สามารถตั้งกรรมาธิการพิจารณาระหว่างปิดสมัยประชุมได้ ซึ่งจะทำให้การพิจารณากฎหมายเดินหน้าไปได้เรื่อยๆ
**โยนวิปวุฒิตัดสินใจเรื่องแก้รธน.
นายประสพสุข กล่าวต่อถึงกรณีที่กลุ่มส.ว. บางส่วนเสนอให้วิปวุฒิถอนตัวจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญร่วมกับวิปรัฐบาลว่า เรื่องนี้คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของวิปวุฒิสภาชุดใหม่ดำเนินการว่าจะเข้าร่วมประชุมเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อหรือไม่
เมื่อถามถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีเตรียมพิจารณาขึ้นเงินเดือนให้ส.ส. และส.ว. อีก 7 เปอร์เซนต์ ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นอำนาจของรัฐบาลที่พิจารณามาแล้ว ซึ่งคงเห็นว่าเงินเดือนของฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติมีความเหลื่อมล้ำกัน จึงเห็นควรให้ปรับขึ้น เรื่องนี้ไม่ใช่ฝ่ายนิติบัญญัติจะขอพิจารณาขึ้นเงินเดือนตัวเอง ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมนั้นก็เป็นสิทธิ์ของแต่ละบุคคล แต่ส่วนตัวไม่ขอแสดงความเห็น
**ชี้ประชุมวุฒิล่มเป็นเกมการเมือง
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวถึงการประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 16 พ.ย ที่องค์ประชุมล่ม ระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.... ว่าเป็นไปตามความคาดหมาย เป็นเกมการเมือง เนื่องจากตนได้รับทราบเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า มีกระบวนการสกัดกฎหมายโดยมีกลุ่ม ส.ส.ฝ่ายค้านได้ตั้งวอร์รูมเรื่องดังกล่าวแล้วว่าไม่ควรผ่านกฎหมายดังกล่าว ซึ่งผลการประชุมวุฒิสภาก็สอดคล้องกับกระแสข่าวสกัด พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ตนเห็นว่า พ.ร.บ.นี้เป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างมาก เพราะที่ผ่านมามีการทุจริตอย่างต่อเนื่อง ทั้งส่วนท้องถิ่นหรือระดับประเทศโดย พ.ร.บ.นี้จะเป็นการเพิ่มอำนาจให้ สตง.เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเป็น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ เพราะที่ผ่านมาเหมือนให้ปืนแก่ สตง.ปราบโจรผู้ร้าย แต่กลับไม่ให้ลูกปืน เมื่อมีร่าง พ.ร.บ.นี้เปรียบเป็นลูกปืน ทำให้การทำหน้าที่ สตง.มีประสิทธิภาพมากขึ้น พวกนักการเมืองไม่มีใครอยากให้กฎหมายนี้ผ่านไปได้ เพราะตราบใดที่ยังต้องใช้ฐานเสียงจากกลุ่มผู้นำท้องถิ่นในการหาเสียง เมื่อนั้นคงยากต่อการเสนอให้ผ่านร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้
**ส.ว.เลียนแบบส.ส.ไม่ยอมเสียบบัตร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีการประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ซึ่งมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. .... ที่คณะกรรมาธิการ(กมธ.) วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ในวาระ 2 และ 3 ปรากฏว่า ในการพิจารณาวาระ 2 ซึ่งพิจารณารายมาตรา มีการถกเถียงกันมากโดยเฉพาะส่วนที่ 3 การตรวจสอบ สืบสวน ที่ให้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)ตรวจสอบกระทำทุจริตเกี่ยวกับการบริหาร การเงินการคลัง หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ เงินหรือทรัพย์สินของราชการอย่างกว้างขวาง และส่งฟ้องศาลที่มีเขตอำนาจได้เช่นเดียวกับป.ป.ช. ซึ่งอาจเป็นการให้อำนาจ คตง.เกินกว่าที่ รัฐธรรมนูญ 2550 บัญญัติ และบทเฉพาะกาล มาตรา 116 ที่บัญญัติว่า มิให้นำบทบัญญัติในเรื่องการห้าม กรรมการ คตง.เพียงวาระเดียว มาใช้บังคับกับกรรมการ คตง.ที่ได้รับการสรรหาครั้งแรก ซึ่งดำรงตำแหน่ง 3 ปีตามรัฐธรรมนูญปี 2540 อาจเอื้อประโยชน์ให้บุคคลคนใดบุคคลหนึ่งได้ประโยชน์ ทำให้สุดท้าย วุฒิสภาองค์ประชุมไม่ครบ ทำให้สภาล่ม ก่อนการลงมติในมาตรา 116
นายสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ส.ว.นครศรีธรรมราช กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้ที่ประชุมวุฒิสภาล่มว่า ระหว่างการพิจารณาถึงมาตรา 102 ซึ่งเป็นมาตราที่ทุกคนจับตา ปรากฏว่า มีความพยายามจะขอให้เลื่อนการพิจารณาไปในสัปดาห์ถัดไป ทั้งที่องค์ประชุมอยู่กันถึง 115 คน ถือว่าส.ว.อยู่ประชุมมากกว่าปกติด้วยซ้ำ และมีการขอเลื่อนอีกครั้งตอนพิจารณามาตรา 116 ซึ่งส.ว.สรรหา ที่สนับสนุนร่างของ กมธ. ก็ยอมรับว่าเกรงว่าเสียงเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ ก็เป็นท่าทีที่แสดงออกมาชัดเจน ทั้งที่ ร่างกฎหมายใดๆ หากไม่สอดคล้องตามหลักนิติธรรม อาจขัดรัฐธรรมนูญ หรือไม่เป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบการทุจริตอย่างแท้จริง วุฒิสภา ไม่ให้ผ่านก็ได้ เหมือน พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.ภาษีน้ำมัน ที่วุฒิสภา เคยไม่ให้ผ่านมาแล้ว แต่ที่บางฝ่ายในส.ว.กำลังทำกัน เหมือนมีธงอยู่แล้ว
"ตอนลงมติให้ประชุมต่อ กับการนับองค์ประชุมก่อนโหวตมาตรา 116 ห่างกันไม่ถึง 3 นาที ส.ว.ที่มี 79 คน เหลือ 74 คน และผมเห็นกับตาว่า มี ส.ว.อยู่ในห้องประชุมแต่ไม่ยอมเสียบบัตรแสดงตน ซึ่งส.ว.เหล่านี้เคยวิจารณ์พฤติกรรมของ ส.ส.แบบดังกล่าวมาแล้วว่าเล่นเกม วันนี้ ส.ว.ดังกล่าวกำลังเล่นเกมเช่นกันหรือไม่ ผมไม่อยากเห็นการชิงไหวชิงพริบในวุฒิสภาอย่างนี้" นายสิริวัฒน์ กล่าว