ASTVผู้จัดการรายวัน – ไทยเบฟฯ เท 100 ล้านบาท ชูแผนก้าวแรกโค่นบัลลังก์เบียร์สิงห์ ปล่อยหมัดอัด”มิวสิก มาร์เก็ตติ้ง – สื่อโฆษณาครบเครื่อง” สร้างการรับรู้เบียร์ช้างภาพลักษณ์ใหม่ หวัง 1 เดือนเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 80% ลั่นปีหน้าตอดแชร์เพิ่ม 5% เป็น 45% รับอานิสงส์ปัญหาการเมืองไทย-กัมพูชา เอเยนต์แห่สต็อกเบียร์กักตุนขายในประเทศ
นายชาลี จิตจรุงพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ช้าง เปิดเผยว่า บริษัทได้ทุ่มงบการตลาด 100 ล้านบาท ดำเนินกลยุทธ์มิวสิกมาร์เก็ตติ้งควบคู่กับการทำอะโบฟเดอะไลน์ โดยใช้สื่อโฆษณาอย่างครบวงจร เพื่อสร้างการรับรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ภายหลังจากที่เบียร์ช้างได้รีแบรนด์ เบียร์ทั้ง 3 ตัว คือ เบียร์ช้างคลาสสิก เบียร์ช้างดราฟท์ และเบียร์ช้างไลท์ โดยปรับบุคลิกของแบรนด์ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันไป
แผนการตลาดในขณะนี้ นับว่าเป็นก้าวแรกของการสร้างการรับรู้ ซึ่งบริษัทจะดำเนินการตลาดเชิงรุก หลังจากได้วางสินค้าครอบคลุม 80% โดยด้านมิวสิกมาร์เก็ตติ้ง ได้จัดคอนเสิร์ต 1,000 ครั้ง ตลอดจนจัดลานเบียร์ช้าง บนพื้นที่ 967 ตร.ม.โดยใช้คอนเซปต์”ช้าง ไลฟ์ มิวสิก” พร้อมกันนี้บริษัทได้เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาเพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ใหม่และคาแรกเตอร์ที่แตกต่างกันของเบียร์แต่ละชนิด คือ ช้างคลาสสิก สำหรับหนุ่มมาดเข้ม ช้างดราฟต์ สำหรับหนุ่มมาดลึก และช้างไลท์ หนุ่มมาดเฉียบ แต่ภายใต้แนวคิดเดียวกัน คือ ”คนไทยหัวใจเดียวกัน” ซึ่งคาดว่าภายใน 1 เดือน เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 80%
ภายหลังจากที่บริษัทวางเป้าหมายทวงตำแหน่งผู้นำตลาด 2 ปี ด้วยการครองส่วนแบ่งเพิ่มจาก 40% เป็นมากกว่า 50% โดยปีหน้าเพิ่มส่วนแบ่งเป็น 45% พบว่าค่ายเบียร์สิงห์ผู้นำตลาด เริ่มมีการเคลื่อนไหวทางการตลาดอย่างรุนแรง ด้วยการอัดเทรดโปรโมชันสกัดเบียร์ช้าง ส่วนภาวะการแข่งขันตลาดเบียร์ปีหน้า คาดว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น จากการเปิดเขตเสรีการค้าอาเซียนหรือเอฟทีเอส่งผลให้ภาษีนำเข้าเบียร์ลดลง 0% ทำให้เบียร์จากต่างประเทศเข้ามาทำตลาดมากขึ้น ในแง่ของการตลาดมองว่า คู่แข่งเพิ่มมากขึ้นก็ส่งผลให้ตลาดเบียร์มูลค่า 1 แสนล้านบาท เติบโตมากขึ้น
“ตลาดเบียร์ในปีหน้านี้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตมากขึ้น มาจากภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว และความมีเสถียรภาพทางการเมือง เมื่อเทียบกับปีนี้ตลาดเบียร์โดยรวมติดลบ โดยมีเพียงเซกเมนต์อีโคโนมี 8 หมื่นล้านบาทเติบโต 4-5% ส่วนสแตนดาร์ด 1.5 หมื่นล้านบาท ไม่เติบโต และระดับพรีเมียม 5,000 ล้านบาท ติดลบ”
สำหรับการจัดเทศกาลเบียร์การ์เด้นปีนี้ทุ่มงบ 30-40 ล้านบาท โดยบนพื้นที่ 1,667 ตร.ม. มีด้วยกัน 2 แบรนด์ คือ เบียร์ช้าง เฟดเดอร์บรอย นอกจากนี้ยังมีการจัดลานเบียร์ 30 แห่งทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งบริษัทไม่ได้มุ่งเน้นด้านยอดขายแต่ต้องการสร้างภาพพจน์ของสินค้าเป็นหลัก หลังจากเปิดตัว 10 วัน ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยตั้งเป้ายอดขาย 2 เดือน 2,500 ถังต่อลาน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 2,000 ถังต่อลาน
อย่างไรก็ตามปัญหาการเมืองในประเทศกัมพูชา ทำให้กลุ่มเบียร์ช้างได้รับอานิสงส์ โดยเอเยนต์กัมพูชาสต็อกเบียร์ช้าง เพื่อกักตุนและนำมาจำหน่ายภายในประเทศเพิ่มขึ้น
นายชาลี จิตจรุงพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ช้าง เปิดเผยว่า บริษัทได้ทุ่มงบการตลาด 100 ล้านบาท ดำเนินกลยุทธ์มิวสิกมาร์เก็ตติ้งควบคู่กับการทำอะโบฟเดอะไลน์ โดยใช้สื่อโฆษณาอย่างครบวงจร เพื่อสร้างการรับรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ภายหลังจากที่เบียร์ช้างได้รีแบรนด์ เบียร์ทั้ง 3 ตัว คือ เบียร์ช้างคลาสสิก เบียร์ช้างดราฟท์ และเบียร์ช้างไลท์ โดยปรับบุคลิกของแบรนด์ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันไป
แผนการตลาดในขณะนี้ นับว่าเป็นก้าวแรกของการสร้างการรับรู้ ซึ่งบริษัทจะดำเนินการตลาดเชิงรุก หลังจากได้วางสินค้าครอบคลุม 80% โดยด้านมิวสิกมาร์เก็ตติ้ง ได้จัดคอนเสิร์ต 1,000 ครั้ง ตลอดจนจัดลานเบียร์ช้าง บนพื้นที่ 967 ตร.ม.โดยใช้คอนเซปต์”ช้าง ไลฟ์ มิวสิก” พร้อมกันนี้บริษัทได้เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาเพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ใหม่และคาแรกเตอร์ที่แตกต่างกันของเบียร์แต่ละชนิด คือ ช้างคลาสสิก สำหรับหนุ่มมาดเข้ม ช้างดราฟต์ สำหรับหนุ่มมาดลึก และช้างไลท์ หนุ่มมาดเฉียบ แต่ภายใต้แนวคิดเดียวกัน คือ ”คนไทยหัวใจเดียวกัน” ซึ่งคาดว่าภายใน 1 เดือน เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 80%
ภายหลังจากที่บริษัทวางเป้าหมายทวงตำแหน่งผู้นำตลาด 2 ปี ด้วยการครองส่วนแบ่งเพิ่มจาก 40% เป็นมากกว่า 50% โดยปีหน้าเพิ่มส่วนแบ่งเป็น 45% พบว่าค่ายเบียร์สิงห์ผู้นำตลาด เริ่มมีการเคลื่อนไหวทางการตลาดอย่างรุนแรง ด้วยการอัดเทรดโปรโมชันสกัดเบียร์ช้าง ส่วนภาวะการแข่งขันตลาดเบียร์ปีหน้า คาดว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น จากการเปิดเขตเสรีการค้าอาเซียนหรือเอฟทีเอส่งผลให้ภาษีนำเข้าเบียร์ลดลง 0% ทำให้เบียร์จากต่างประเทศเข้ามาทำตลาดมากขึ้น ในแง่ของการตลาดมองว่า คู่แข่งเพิ่มมากขึ้นก็ส่งผลให้ตลาดเบียร์มูลค่า 1 แสนล้านบาท เติบโตมากขึ้น
“ตลาดเบียร์ในปีหน้านี้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตมากขึ้น มาจากภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว และความมีเสถียรภาพทางการเมือง เมื่อเทียบกับปีนี้ตลาดเบียร์โดยรวมติดลบ โดยมีเพียงเซกเมนต์อีโคโนมี 8 หมื่นล้านบาทเติบโต 4-5% ส่วนสแตนดาร์ด 1.5 หมื่นล้านบาท ไม่เติบโต และระดับพรีเมียม 5,000 ล้านบาท ติดลบ”
สำหรับการจัดเทศกาลเบียร์การ์เด้นปีนี้ทุ่มงบ 30-40 ล้านบาท โดยบนพื้นที่ 1,667 ตร.ม. มีด้วยกัน 2 แบรนด์ คือ เบียร์ช้าง เฟดเดอร์บรอย นอกจากนี้ยังมีการจัดลานเบียร์ 30 แห่งทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งบริษัทไม่ได้มุ่งเน้นด้านยอดขายแต่ต้องการสร้างภาพพจน์ของสินค้าเป็นหลัก หลังจากเปิดตัว 10 วัน ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยตั้งเป้ายอดขาย 2 เดือน 2,500 ถังต่อลาน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 2,000 ถังต่อลาน
อย่างไรก็ตามปัญหาการเมืองในประเทศกัมพูชา ทำให้กลุ่มเบียร์ช้างได้รับอานิสงส์ โดยเอเยนต์กัมพูชาสต็อกเบียร์ช้าง เพื่อกักตุนและนำมาจำหน่ายภายในประเทศเพิ่มขึ้น